23.8 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.7 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-90
GravityOfLove, 8 ตุลาคม เวลา 18:54 น
.
ขอบพระคุณค่ะ
ขอเวลาอ่านพระสูตรแนะนำให้จบก่อนนะคะ

ความคิดเห็นที่ 6-91
ฐานาฐานะ, 9 ตุลาคม เวลา 15:53 น.

             คำถามในเสลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9484&Z=9672

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-92
GravityOfLove, 9 ตุลาคม เวลา 16:00 น.

             ตอบคำถามในเสลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9484&Z=9672

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เราเป็นพระราชา เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เราประกาศธรรมจักร อันเป็นจักรที่ใครๆ ประกาศไม่ได้
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า เป็นจักรที่เราประกาศแล้ว
สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต ย่อมประกาศตามได้
             ๓. เสลพราหมณ์และมาณพ ๓๐๐ เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ในวันที่ ๘
ก็ได้เป็นพระอรหันต์
             ๔. เกณิยชฏิล เป็นพราหมณ์มหาศาล แต่ถือบวชเป็นดาบส
เพื่อต้องการรักษาทรัพย์ กลางวันทรงผ้ากาสายะและสวมชฎา กลางคืนเสวยกาม
             ๕. โรงกลม ได้แก่ มณฑปที่ดาษด้วยผ้า
             ๖. บุตร ๓ จำพวก คืออนุชาตบุตร อวชาตบุตร อติชาตบุตร
             ๗. อนุชาตบุตร คือผู้เกิดเพราะพระตถาคตเจ้าเป็นเหตุ หมายความว่า
ผู้เกิดตามเพราะเหตุพระตถาคตเจ้า พระตถาคตเจ้ามีอนุชาตบุตรจำพวกเดียวเท่านั้น
             อวชาตบุตร เป็นผู้ทุศีล ไม่ชื่อว่าเป็นบุตรของพระตถาคตเจ้า
             อติชาตบุตร คือผู้ที่ยิ่งกว่าบิดา พระตถาคตเจ้าไม่มีบุตรแบบนี้

ความคิดเห็นที่ 6-93
ฐานาฐานะ, 9 ตุลาคม เวลา 16:14 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในเสลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9484&Z=9672
...
3:59 PM 10/9/2013

             ตอบคำถามได้ครับ.
             คำถามถัดไปคือ
             เสลพราหมณ์และมาณพ ๓๐๐ ได้บรรพชาอุปสมบทและบรรลุพระอรหัต.
             เกณิยชฏิล ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-94
GravityOfLove, 9 ตุลาคม เวลา 18:54 น.

             เกณิยชฎิลได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแถวนั้น จึงดำริจะไป
เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ก็กังวลว่าจะถวายอะไรพระองค์และภิกษุสงฆ์ดี (เสลสูตรที่ ๗)
             แสดงว่า ยังไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนาก็เลื่อมใสในพระพุทธคุณแล้ว
             เมื่อไปเข้าเฝ้าพระองค์และกราบทูลอาราธนาฉันภัตตาหาร แม้พระองค์จะทรงปฏิเสธ
แต่เขาก็ยังยืนยันความตั้งใจเดิมถึง ๓ ครั้ง
             เขาได้สร้างปะรำด้วยตนเอง ได้ถวายภัตตาหารด้วยมือของตนเอง
             แสดงว่า มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคมาก แต่สันนิษฐานว่า
ก็ยังเลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลายอยู่ด้วย เพราะพระองค์ไม่ได้เทศนาข้อธรรมที่ลึกซึ้งใน
พระธรรมวินัยนี้มาก เหมือนเป็นปัจจัยให้เขาสำหรับในอนาคต และทรงอนุโมทนาภัตตาหาร
โดยเปรียบกับการบูชาไฟของชฎิล คือไม่ได้ปฏิวัติทิฏฐิเขามากนัก
             เสลสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=9007&Z=9204&bgc=8

ความคิดเห็นที่ 6-95
ฐานาฐานะ, 10 ตุลาคม เวลา 16:16 น.

GravityOfLove, 21 ชั่วโมงที่แล้ว
             เกณิยชฎิลได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแถวนั้น จึงดำริจะไป
...
6:54 PM 10/9/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             เกณิยชฎิล แม้จะไม่ปรากฏว่า ได้ไตรสรณคมน์ ในพระสูตร
             แต่ได้ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค และได้ถวายทานโดยเคารพ
แก่พระภิกษุหมู่ใหญ่ (มาก) อันมีพระผู้มีพระภาคทรงเป็นประมุข.
             เป็นการทำที่พึ่งแก่ตนเองในระดับหนึ่ง ในวัฏฏะสงสารนี้.

             สัปปุริสทานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=4024

ความคิดเห็นที่ 6-96
ฐานาฐานะ, 10 ตุลาคม เวลา 16:18 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เสลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9484&Z=9672

              พระสูตรหลักถัดไป คือเสลสูตร [พระสูตรที่ 42].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              อัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9673&Z=9914
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=613

              โฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9915&Z=10193
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=630

              จังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646

ความคิดเห็นที่ 6-97
GravityOfLove, 10 ตุลาคม เวลา 17:03 น.

             คำถามอัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9673&Z=9914

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พ. ดูกรอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในโลกนี้ เขาพึง
ผสมแม่ม้ากับพ่อลา เพราะอาศัยการผสมแม่ม้ากับพ่อลานั้น พึงเกิดลูกม้า แม้ลูกม้าที่เกิดแต่
แม่ม้ากับพ่อลานั้น เหมือนแม่ก็ดี เหมือนพ่อก็ดี ก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นม้าบ้าง เป็นลาบ้างหรือ?
             อ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ลูกผสมนั้นก็ย่อมเป็นม้าอัสดร ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
เรื่องของสัตว์นี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าต่างกัน แต่ในนัยต้น ในเรื่องของมนุษย์เหล่าโน้น ข้าพเจ้า
เห็นว่าไม่ต่างอะไรกัน.
             ๒. ทำไมอสิตเทวละฤาษีถามว่า
             ท่านรู้หรือว่า มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น
ไม่ได้แต่งงานกะชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย?
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-98
ฐานาฐานะ, 10 ตุลาคม เวลา 19:44 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามอัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9673&Z=9914

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. พ. ดูกรอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในโลกนี้ เขาพึง
ผสมแม่ม้ากับพ่อลา เพราะอาศัยการผสมแม่ม้ากับพ่อลานั้น พึงเกิดลูกม้า แม้ลูกม้าที่เกิดแต่
แม่ม้ากับพ่อลานั้น เหมือนแม่ก็ดี เหมือนพ่อก็ดี ก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นม้าบ้าง เป็นลาบ้างหรือ?
              อ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ลูกผสมนั้นก็ย่อมเป็นม้าอัสดร ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
เรื่องของสัตว์นี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าต่างกัน แต่ในนัยต้น ในเรื่องของมนุษย์เหล่าโน้น ข้าพเจ้า
เห็นว่าไม่ต่างอะไรกัน.
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              อัสสลายนะเห็นว่า นัยนี้แตกต่างจากนัยก่อน คือ
              ม้าตัวเมียและลาตัวผู้ แตกต่างจากขัตติยกุมารและนางพราหมณี
หรือพราหมณ์กุมารและนางกษัตริย์
              โดยนัยก็คือ ม้าและลา เป็นสัตว์ต่างสายพันธุ์กัน
              แต่ขัตติยกุมารและนางพราหมณี หรือพราหมณ์กุมารและนางกษัตริย์
เป็นชาติมนุษย์เหมือนกัน (สายพันธุ์เดียวกัน)
              ดังนั้น เมื่ออัสสลายนะเห็นว่าแตกต่างกัน
              ก็เป็นอันย้ำว่า
              ขัตติยกุมาร, นางพราหมณี, พราหมณ์กุมารและนางกษัตริย์ สายพันธุ์เดียวกัน.
              ดังนั้น ความประเสริฐ ความหมดจด เพราะอาศัยชาติ จะมีได้อย่างไร?

              ๒. ทำไมอสิตเทวละฤาษีถามว่า
              ท่านรู้หรือว่า มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น
ไม่ได้แต่งงานกะชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย?
              ขอบพระคุณค่ะ
5:02 PM 10/10/2013

อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              อสิตเทวละฤาษีถามฤาษีเหล่านั้นว่า แน่ใจหรือว่า มารดาของท่าน
แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้ไปมีอะไรๆ กับวรรณะอื่นๆ
              เมื่อเขาเหล่านั้นไม่แน่ใจว่า ตนเองเป็นลูกผสมหรือไม่?
              ความเห็นว่า ชาติพราหมณ์เท่านั้นประเสริฐ ของพวกไม่แน่ใจกำเนิด
ของตนเอง จะน่าเชื่อถือหรือ เพราะแต่ละที่มีความเห็นอย่างนี้ ก็ไม่แน่ใจกำเนิด
ของตนเอง เพราะสืบความประพฤติของบุรพชนของตนเองไม่ได้.
              ทั้งใครๆ ก็ขอให้ลูกในครรภ์ เป็นวรรณะโน้นนี้ ตามต้องการไม่ได้
              ดังนั้น พวกที่เห็นว่า ตนเองประเสริฐ ก็เป็นเหมือนกล่าวว่า
พวกที่ไม่แน่ว่าเป็นลูกผสมหรือไม่ เป็นพวกประเสริฐ.

ความคิดเห็นที่ 6-99
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 01:10 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-100
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 01:27 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๓. อัสสลายนสูตร ทรงโปรดอัสสลายนมาณพ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9673&Z=9914&bgc=mintcream&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พราหมณ์ผู้มาจากแคว้นต่างๆ ประมาณ ๕๐๐ คน พักอาศัยอยู่ใน
พระนครสาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง
             พราหมณ์เหล่านั้นได้คิดกันว่า พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์
ทั่วไปแก่วรรณะทั้ง ๔ ใครหนอพอจะสามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้
             มีมาณพคนหนึ่งชื่อว่าอัสสลายนะอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี ยังเป็นเด็ก
โกนศีรษะ มีอายุ ๑๖ ปี เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ
พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์
ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ
             พราหมณ์เหล่านั้นคิดกันว่า อัสสลายนมาณพผู้นี้คงสามารถจะเจรจาโต้ตอบกับ
พระสมณโคดมได้ จึงพากันเข้าไปหาอัสสลายนมาณพ แล้วขอให้ไปเจรจาโต้ตอบ
กับพระองค์
             อัสสลายนมาณพกล่าวว่า
             ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาที บุคคลผู้เป็นธรรมวาที ย่อมเป็นผู้ที่
ใครๆ จะเจรจาโต้ตอบได้โดยยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระองค์ได้
             พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวอีก อัสสลายนมาณพก็ปฏิเสธอีกครั้ง
             จนครั้งที่ ๓ พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวเสริมอีกว่า
             ท่านได้ประพฤติวิธีบรรพชาของปริพาชกมาแล้ว อย่ากลัวแพ้ซึ่งยังไม่ทันรบเลย
             อัสสลายนมาณพจึงกล่าวว่า
             ข้าพเจ้ายอมไม่ได้แน่ ได้ทราบว่าพระสมณโคดมเป็นธรรมวาที ย่อมเป็นผู้ที่ใครๆ
จะเจรจาโต้ตอบได้โดยยาก ข้าพเจ้าจะไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระองค์ได้
แต่ว่า ข้าพเจ้าจักไปตามคำของท่านทั้งหลาย

เรื่องวรรณะ ๔
             อัสสลายนมาณพพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             อัสสลายนมาณพได้ทูลถามพระองค์ว่า
             พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ
วรรณะอื่นเลว พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์
คนที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสพรหม เกิดจากปาก
ของพรหม เป็นทายาทของพรหม
             ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร?
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             ๑. นางพราหมณีของพราหมณ์ทั้งหลาย มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดบุตรบ้าง
ให้บุตรดื่มนมบ้าง ปรากฏอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นก็เป็นผู้เกิดจากช่องคลอดเหมือนกัน
             จะกล่าวว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหมได้อย่างไร
             อัสสลายนมาณพทูลว่า
             พระองค์ตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็ยังเข้าใจอย่างนั้น
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อ และอัสสลายนมาณพทูลตอบ มีใจความดังนี้
             ๒. ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพช และในปัจจันตชนบทอื่นๆ มีวรรณะอยู่ ๒ วรรณะ
เท่านั้น คือ เจ้า และทาส เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า
             ตรัสว่าในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลาย
(เอาอะไรมาอ้าง) ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม?
             อัสสลายนมาณพทูลว่า
             พระองค์ตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็ยังเข้าใจอย่างนั้น
             ๓. กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทรผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด
เมื่อตายไปพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เท่าเทียมกันหมด
             ตรัสว่า ...
             อัสสลายนมาณพทูลว่า ...
             ๔. กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทรผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ
จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภมาก มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ เมื่อตายไป พึงเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เท่าเทียมกันหมด
             ตรัสว่า ...
             อัสสลายนมาณพทูลว่า ...
             ๕. กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทรย่อมสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ได้เหมือนทั้งหมด
             ตรัสว่า ...
             อัสสลายนมาณพทูลว่า ...
             ๖. กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทรย่อมสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำ
แล้วลอยละอองและธุลีได้เหมือนกันหมด
             ตรัสว่า ...
             อัสสลายนมาณพทูลว่า ...
             ๗. สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลเจ้า ถือไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์
หรือไม้ทับทิม เอามาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลง
             สกุลจัณฑาล สกุลพราน สกุลจักสาน สกุลช่างรถ สกุลเทหยากเยื่อ ถือเอาไม้
รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง เอามาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลง
             ไฟเหล่านั้น ย่อมเป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และอาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟ
นั้นได้เหมือนกันทั้งหมด
             ตรัสว่าในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลาย
ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม
             อัสสลายนมาณพทูลว่า
             พระองค์ตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็ยังเข้าใจอย่างนั้น
             ๘. ขัตติยกุมารอยู่ร่วมกับนางพราหมณี หรือพราหมณ์กุมารอยู่ร่วมกับนางกษัตริย์
บุตรที่เกิดมาจะเรียกว่า กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้ (แสดงว่าพราหมณ์ (ชาติ) ไม่ประเสริฐจริง)
             แม่ม้ากับพ่อลาผสมกัน ลูกผสมที่เกิดมานั้น ย่อมเป็นม้าอัสดร
             อัสสลายนมาณพทูลว่า เรื่องของสัตว์นี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าต่างกัน แต่ในนัยต้น
ในเรื่องของมนุษย์เหล่าโน้น ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ต่างอะไรกัน
             (แสดงว่า ยอมรับว่า นัยต้นไม่แตกต่างกัน)
             ๙. มาณพสองคน เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน
อีกคนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ในสองคนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญคนที่ศึกษา
เล่าเรียนให้บริโภคก่อน ฯลฯ
             ของที่ให้ในบุคคลผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ไม่มีผลมาก (มนต์สำคัญ)
             ๑๐. มาณพสองคน เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน
แต่เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก อีกคนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน แต่เป็นคนมีศีล
มีกัลยาณธรรม ในสองคนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญมาณพคนที่มีศีลกัลยาณธรรม
ให้บริโภคก่อน ฯลฯ
             ของที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่มีผลมาก (ความบริสุทธิ์สำคัญกว่ามนต์)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เมื่อก่อนท่านได้ไปยังชาติ ครั้นไปยังชาติแล้วได้ไปในมนต์ ครั้นไปในมนต์แล้ว
กลับเว้นมนต์นั้นเสีย แล้วกลับมายังความบริสุทธิ์อันทั่วไปแก่วรรณะทั้ง ๔ ที่เราบัญญัติไว้
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพนิ่งเฉย เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ

วรรณ ๔ ในอดีต
             พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า
             เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน เกิดมีทิฏฐิอันลามกว่า
             พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม
             อสิตเทวละฤาษีได้สดับข่าวนี้ ปลงผมและหนวด นุ่งผ้าสีแดงอ่อน สวม
รองเท้าสองชั้น ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ไปปรากฏในบริเวณบรรณศาลาของพราหมณ์
ฤาษี ๗ ตน เดินไปมาพร้อมกล่าวว่า
             ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมดๆ
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน กล่าวกับอสิตเทวละฤาษีว่า
             ใครหนอนี่เหมือนเด็กชาวบ้านเดินไปมาแล้วกล่าวอย่างนั้น เอาละ เราทั้งหลาย
จะสาปแช่งมัน
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน สาปแช่งอสิตเทวละฤาษีว่า มันจงเป็นเถ้าเป็นจุรณไปๆ
             ปรากฏว่าอสิตเทวละฤาษีกลับเป็นผู้มีรูปงามกว่า เป็นผู้น่าดูกว่า และเป็นผู้น่า
เลื่อมใสกว่า
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนคิดว่า ตบะของตนเป็นโมฆะ พรหมจรรย์ไม่มีผล เพราะ
เมื่อก่อนสาปแช่งผู้ใด ผู้นั้นบางคนก็เป็นเถ้าไป แต่ผู้นี้กลับไม่ป็นดังนั้น
             อสิตเทวละฤาษีกล่าวว่า ตบะของท่านเป็นโมฆะก็หามิได้ และพรหมจรรย์ของ
ท่านไม่มีผลก็หามิได้ เชิญท่านจงละความคิดประทุษร้ายในเราเสียเถิด
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนยอมสละความคิดประทุษร้ายแล้วพากันเข้าไปหา
อสิตเทวละฤาษีเพื่อจะไหว้
             อสิตเทวละฤาษีได้ถามพราหมณ์ฤาษี ๗ ตนว่า มีทิฏฐิดังที่ได้ยินมา จริงหรือไม่
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ตอบว่า จริงอย่างนั้น
             อสิตเทวละฤาษีถามว่า
             ท่านรู้หรือว่า มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น
ไม่ได้แต่งงานกะชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย?
             ท่านรู้หรือว่า มารดาของมารดาบังเกิดเกล้า ตลอด ๗ ชั่วย่ายาย
ของมารดา ได้แต่งงานกะพราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกะชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย?
             ท่านรู้หรือว่า บิดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับนางพราหมณีเท่านั้น
ไม่ได้แต่งงานกะหญิงผู้มิใช่นางพราหมณีเลย?
             ท่านรู้หรือว่า บิดาของบิดาบังเกิดเกล้า ตลอด ๗ ชั่วปู่ตาของบิดา
ได้แต่งงานกะนางพราหมณีเท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกะหญิงผู้มิใช่นางพราหมณีเลย?
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนตอบว่า ไม่ทราบเลย
             อสิตเทวละฤาษีถามว่า
             ท่านรู้หรือว่า การตั้งครรภ์จะมีได้ด้วยอาการอย่างไร?
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนตอบว่า
             พวกตนรู้ว่า การตั้งครรภ์จะมีได้ด้วยอาการอย่างไร คือ
             มารดาและบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดามีระดู ๑ สัตว์ผู้จะเกิดในครรภ์ปรากฏ ๑
การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะความประชุมพร้อมแห่งเหตุ ๓ ประการอย่างนี้
             อสิตเทวละฤาษีถามว่า  ท่านอ้อนวอนได้หรือว่า ได้โปรดเถิด ขอสัตว์ที่เกิด
ในครรภ์จงเป็นกษัตริย์ จงเป็นพราหมณ์ จงเป็นแพศย์ หรือว่าจงเป็นศูทร?
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนตอบว่า อ้อนวอนอย่างนั้นไม่ได้เลย
             อสิตเทวละฤาษีถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านจะรู้ได้หรือว่า ท่านเป็นพวกไหน?
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนตอบว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ตนไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นพวกไหน
(ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจในกำเนิดตนเอง จะกล่าวได้อย่างไรว่า ประเสริฐกว่าวรรณอื่น)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนนั้น อันอสิตเทวละฤาษีซักไซ้ไล่เลียง ไต่ถามในวาทะ
ปรารภชาติของตน ก็ยังตอบไม่ได้
             บัดนี้ ท่านอันเราซักไซ้ไล่เลียง ไต่ถามในวาทะปรารภชาติของตน จะตอบ
ได้อย่างไร ท่านเป็นศิษย์มีอาจารย์ ยังรู้ไม่จบ เป็นแต่ถือทัพพี
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กราบทูลว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
             เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

[แก้ไขตาม #6-101]

ความคิดเห็นที่ 6-101
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 07:35 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
              ๔๓. อัสสลายนสูตร ทรงโปรดอัสสลายนมาณพ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9673&Z=9914&bgc=mintcream&pagebreak=0
...
1:27 AM 10/11/2013

              ย่อความได้ดีครับ
              ขอถามคำที่น่าจะตกไปดังนี้ :-
              พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนตอบว่า เมื่อเป็นอย่าง ตนไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นพวกไหน
(ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจในกำเนิดตนเอง จะกล่าวได้อย่างไรว่า ประเสริฐกว่าวรรณอื่น)
แก้ไขเป็น
              พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนตอบว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ตนไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นพวกไหน
(ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจในกำเนิดตนเอง จะกล่าวได้อย่างไรว่า ประเสริฐกว่าวรรณอื่น)

ความคิดเห็นที่ 6-102
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 07:42 น.

             คำถามในอัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9673&Z=9914

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ย้ายไปที่



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2557 22:50:35 น.
Counter : 477 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 10 : กะว่าก๋า
(21 มี.ค. 2567 06:01:34 น.)
เสมอ นาฬิกาสีชมพู
(13 มี.ค. 2567 11:49:46 น.)
11 มีค 67 คอร์สปฏิบัติธรรมอินเดีย 27 มค - 3 กพ 67 Ep 4 พระธรรมเทศนา mcayenne94
(11 มี.ค. 2567 18:57:57 น.)
สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดนายโรง ณ พระพุทธเจดีย์สารีริกธาตุ นายแว่นขยันเที่ยว
(11 มี.ค. 2567 00:10:31 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด