19.6 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.5 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-49
ฐานาฐานะ, 9 กรกฎาคม เวลา 00:26 น.

             คำถามในโปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 10-50
GravityOfLove, 9 กรกฎาคม เวลา 09:47 น.

ขอบพระคุณค่ะ
---------------------
            ตอบคำถามในโปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
             ๒. อุปมากาม ๗ ข้อ
             ๓. วิชชาที่ ๓ (อาสวักขยญาณ) ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง
             ๔. โวหารมี ๓ คือ บัญญัติโวหาร วจนโวหาร และเจตนาโวหาร
             คำว่า โวหาร ในพระสูตรนี้คือ เจตนาโวหาร
             ๕. รายละเอียดภูเขาหิมพานต์
- - - - - - - - - - - -
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีได้อะไรบ้าง?
             ได้ไตรสรณคมน์ตลอดชีวิต
             [๕๕] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
             ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

ความคิดเห็นที่ 10-51
ฐานาฐานะ, 9 กรกฎาคม เวลา 10:06 น.

             ตอบคำถามในโปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 10-52
ฐานาฐานะ, 9 กรกฎาคม เวลา 10:15 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า โปตลิยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949

              พระสูตรหลักถัดไป คือชีวกสูตร [พระสูตรที่ 5].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              ชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

              อุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=62

              กุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=84

              อภัยราชกุมารสูตร   
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91

ความคิดเห็นที่ 10-53
GravityOfLove, 9 กรกฎาคม เวลา 13:59 น.

             คำถามอรรถกถาชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

             กรุณาอธิบายค่ะ       
             ๑. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปฏิจฺจ กมฺมํ นี้เป็นชื่อของนิมิตตกรรม. กรรมที่อาศัยตนเป็นเหตุกระทำมีอยู่ในเนื้อนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายว่า กรรมมีอยู่เพราะอาศัยเนื้อ. ลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของคนเหล่านั้นมีอยู่ว่า ผู้ใดบริโภคเนื้อเช่นนั้น (อุทิศมังสะ) ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นด้วย ปาณฆาตกรรมจึงมีแม้แก่คนนั้น เหมือนกับฆ่าเอง.
             คำว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวเหตุตามเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำนั้น การบริโภคเนื้อโดยส่วน ๓ ชื่อว่าเหตุ. การพยากรณ์อย่างนั้นของมหาชน ชื่อว่าตามเหตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสวยเนื้อที่เขาทำเจาะจง (อุทิศมังสะ). เพราะฉะนั้น ข้อนั้นไม่ชื่อว่าเหตุ. การกระทำอย่างนั้นของพวกเดียรถีย์ ก็ไม่ชื่อว่าตามเหตุ.
             ๒. อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้นคนทั้งหลายรับบาตรเอาไปตกแต่งบิณฑบาตที่มีเนื้อปลานำไปถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ.
             นี้ชื่อว่าสงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร.
             ๓. ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ มารู้ภายหลังที่ฉันแล้ว ก็ไม่มีกิจคือการแสดงอาบัติ. ส่วนภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ. ภิกษุรู้ว่าเป็นอุทิศมังสะแล้วฉันเป็นอาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะแล้วฉัน ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้นภิกษุผู้กลัวอาบัติ แม้กำหนดรูปเป็นอารมณ์อยู่ ถามแล้ว ค่อยรับมังสะหรือเธอรับด้วยคิดว่าจักถามแล้วฉัน ในเวลาฉันถามแล้วค่อยฉัน.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-54
ฐานาฐานะ, 10 กรกฎาคม เวลา 14:27 น.

GravityOfLove, 21 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามอรรถกถาชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปฏิจฺจ กมฺมํ นี้เป็นชื่อของนิมิตตกรรม. กรรมที่อาศัยตนเป็นเหตุกระทำมีอยู่ในเนื้อนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายว่า กรรมมีอยู่เพราะอาศัยเนื้อ. ลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของคนเหล่านั้นมีอยู่ว่า ผู้ใดบริโภค
เนื้อเช่นนั้น (อุทิศมังสะ) ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นด้วย ปาณฆาตกรรมจึงมีแม้แก่คนนั้น เหมือนกับฆ่าเอง.
อธิบายว่า
             คำว่า ปฏิจฺจ กมฺมํ แปลว่า กระทำเจาะจงตน.
             เป็นการอธิบายคำว่า ปฏิจฺจ กมฺมํ (กระทำเจาะจงตน.) โดยการแยกศัพท์
คือ ปฏิจฺจ อาศัยแล้ว, กมฺมํ กระทำ หรือ อาศัยพระภิกษุแล้ว เขาจึงทำเนื้อมาถวาย
(ฆ่าสัตว์มาถวาย) คือ กระทำเจาะจงพระภิกษุรูปนั้นๆ.
             ลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของคนเหล่านั้นมีอยู่ว่า ใครกินเนื้อเช่นนั้นก็ต้องรับผลกรรม
เป็นลัทธิที่ไม่คำนึงถึงเจตนาของผู้บริโภค นึกแต่ว่า ถ้ากินก็ต้องรับผลกรรมทั้งนั้น.
             ซึ่งความจริงแล้ว ถึงจะบริโภคเนื้อเช่นนั้น ก็ไม่มีเจตนาฆ่าสัตว์นั้นๆ อยู่ดี.
             เรื่องนี้มาในพาโลวาทชาดก
             พาโลวาทชาดก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=1927&Z=1933

คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : ปฏิจฺจ
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : ปะ-ดิด-จะ
คำแปลที่พบ : อาศัยแล้ว
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             คำว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวเหตุตามเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำนั้น
การบริโภคเนื้อโดยส่วน ๓ ชื่อว่าเหตุ. การพยากรณ์อย่างนั้นของมหาชน ชื่อว่าตามเหตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสวย
เนื้อที่เขาทำเจาะจง (อุทิศมังสะ). เพราะฉะนั้น ข้อนั้นไม่ชื่อว่าเหตุ. การกระทำอย่างนั้นของพวกเดียรถีย์ ก็ไม่ชื่อว่าตามเหตุ.
อธิบายว่า เป็๋นคำถามของหมอชีวกซึ่งรอบคอบมากว่า
             การกล่าวอย่างนั้น ชื่อว่า กล่าวตามเหตุผลที่ถูกต้อง ทั้งผู้กล่าวและผู้กล่าวตาม หรือไม่?
             ก็เพราะว่า พระผู้มีพระภาคไม่ได้เสวยตามที่กล่าวมา ดังนั้น สิ่งที่กล่าวมา จึงไม่เป็นเหตุ
กล่าวไปอย่างนั้นจะชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๒. อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น
คนทั้งหลายรับบาตรเอาไป ตกแต่งบิณฑบาตที่มีเนื้อปลานำไปถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยว่า
เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ.
             นี้ชื่อว่าสงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใด
มิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร.
อธิบายว่า เกิดสงสัยขึ้นมา โดยไม่ได้เห็นเขาถือเครื่องมือล่าสัตว์ ฯ หรือ
โดยไม่ได้ยินมาว่า เขาไปล่าสัตว์ กล่าวคือ อาจจะเป็นเพราะเห็นปลา โดยนัยว่า ประณีตนัก
คงตั้งใจฆ่าแล้วถวายภิกษุทั้งหลายหรือ? กล่าวคือ แค่เห็นเนื้อนั้นก็เกิดสงสัยได้โดยเหตุต่างๆ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๓. ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ มารู้ภายหลังที่ฉันแล้ว ก็ไม่มีกิจคือการแสดงอาบัติ.
ส่วนภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ. ภิกษุรู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ
แล้วฉันเป็นอาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะแล้วฉัน ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้น
ภิกษุผู้กลัวอาบัติ แม้กำหนดรูปเป็นอารมณ์อยู่ ถามแล้ว ค่อยรับมังสะหรือเธอรับด้วย
คิดว่าจักถามแล้วฉัน ในเวลาฉันถามแล้วค่อยฉัน.
             ขอบพระคุณค่ะ
1:59 PM 7/9/2013
อธิบายว่า
             คำว่า อุทิศมังสะ คือเนื้อที่เขาฆ่า โดยตั้งใจนำมาถวายพระภิกษุ.
             คำว่า อกัปปิยมังสะ คือ เนื้อที่ไม่ควรแก่พระภิกษุ กล่าวคืออุทิศมังสะข้อต้น
แล้วเนื้ออื่นๆ เช่น เนื้อ 10 ชนิดก็เป็นอกัปปิยมังสะ
             ในคำถามข้อ 3 นี้ อรรถกถากล่าวถึงอกัปปิยมังสะ น่าจะหมายถึงเนื้อ 10 ชนิด
ดังจะเห็นว่า มีการกล่าวถึงเนื้อหมี เนื้อเสือเหลืองด้วย
             เนื้อ 10 ชนิด ได้แก่เนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือเหลือง หมี เสือดาว
             เรื่องอุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขา
             พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
             พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้างเป็นต้น.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1372&Z=1508

ความคิดเห็นที่ 10-55
GravityOfLove, 10 กรกฎาคม เวลา 15:01 น.

๓. คำว่า อกัปปิยมังสะ คือ เนื้อที่ไม่ควรแก่พระภิกษุ กล่าวคืออุทิศมังสะข้อต้น
หมายความว่า อกัปปิยมังสะ คือ อุทิศมังสะ ๓ ข้อต้น + เนื้ออัปปิยะ ๑๐ ชนิด
หรือคะ

ความคิดเห็นที่ 10-56
ฐานาฐานะ, 10 กรกฎาคม เวลา 15:39 น.

น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%A1%D1%BB%BB&detail=on

ความคิดเห็นที่ 10-57
GravityOfLove, 10 กรกฎาคม เวลา 19:17 น.

ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ มารู้ภายหลังที่ฉันแล้ว ก็ไม่มีกิจคือการแสดงอาบัติ. ส่วนภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ. ภิกษุรู้ว่าเป็นอุทิศมังสะแล้วฉันเป็นอาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะแล้วฉัน ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้นภิกษุผู้กลัวอาบัติ แม้กำหนดรูปเป็นอารมณ์อยู่ ถามแล้ว ค่อยรับมังสะหรือเธอรับด้วยคิดว่าจักถามแล้วฉัน ในเวลาฉันถามแล้วค่อยฉัน.

อุทิศมังสะ คือ ๓ ประการ
เนื้ออกัปปิยะ คือ ๑๐ ประการใช่ไหมคะ

๑. มีภิกษุ ๕ รูป ถ้าทายกฆ่าสัตว์ถวายเจาะจงภิกษุรูปหนึ่ง (อุทิศมังสะ) ภิกษุรูปนี้ไม่ฉัน แต่นำไปถวายภิกษีอีก ๔ รูป
ภิกษุทั้ง ๔ รูปรับไว้ด้วยความเชื่อถือภิกษุนั้น กรณีนี้ ไม่มีใครอาบัติเลย
๒. สถานการณ์เหมือนข้อ ๑ แต่เป็นเนื้ออกัปปิยะ
ภิกษุ ๔ รูปที่รับเนื้อไว้ เมื่อฉันแล้วต้องแสดงอาบ้ติ
ถามว่า ภิกษุรูปที่ ๑ อาบัติหรือไม่คะ
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-58
ฐานาฐานะ, 10 กรกฎาคม เวลา 23:46 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ มารู้ภายหลังที่ฉันแล้ว ก็ไม่มีกิจคือการแสดงอาบัติ.
ส่วนภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ.
ภิกษุรู้ว่าเป็นอุทิศมังสะแล้วฉันเป็นอาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะแล้วฉัน ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นภิกษุผู้กลัวอาบัติ แม้กำหนดรูปเป็นอารมณ์อยู่ ถามแล้ว
ค่อยรับมังสะหรือเธอรับด้วยคิดว่าจักถามแล้วฉัน ในเวลาฉันถามแล้วค่อยฉัน.

             อุทิศมังสะ คือ ๓ ประการ (ได้เห็น ได้ยิน และสงสัยรังเกียจ)
ตอบว่า ถูกต้องครับ
             เนื้ออกัปปิยะ คือ ๑๐ ประการใช่ไหมคะ
ตอบว่า เนื้ออกัปปิยะ คือ 10 ประการและอุทิศมังสะ
             เห็นที่รวมอุทิศมังสะไว้ด้วย เพราะเหตุว่า
             ข้อ 60 พระพุทธพจน์ ดังนี้ว่า
             [๖๐] ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ...
ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ
//84000.org/tipitaka/read/?13/60

             แต่ในอรรถกถานี้ คำว่า อกัปปิยมังสะ น่าจะหมายถึงเนื้อ 10 ชนิดเท่านั้น.

๑. มีภิกษุ ๕ รูป ถ้าทายกฆ่าสัตว์ถวายเจาะจงภิกษุรูปหนึ่ง (อุทิศมังสะ)
ภิกษุรูปนี้ไม่ฉัน แต่นำไปถวายภิกษุอีก ๔ รูป
ภิกษุทั้ง ๔ รูปรับไว้ด้วยความเชื่อถือภิกษุนั้น กรณีนี้ ไม่มีใครอาบัติเลย
๒. สถานการณ์เหมือนข้อ ๑ แต่เป็นเนื้ออกัปปิยะ
ภิกษุ ๔ รูปที่รับเนื้อไว้ เมื่อฉันแล้วต้องแสดงอาบ้ติ
ถามว่า ภิกษุรูปที่ ๑ อาบัติหรือไม่คะ
ขอบพระคุณค่ะ
7:16 PM 7/10/2013

             ภิกษุรูปที่ ๑ อาบัติหรือไม่คะ
ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่ฉันครับ.
             พระพุทธบัญญัติ :-
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1372&Z=1508#60

ความคิดเห็นที่ 10-59
GravityOfLove, 11 กรกฎาคม เวลา 04:00 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-60
GravityOfLove, 11 กรกฎาคม เวลา 04:02 น.

              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
              ๕. ชีวกสูตร เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวัน (สวนมะม่วง) ของหมอชีวกโกมารภัจจ์
เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า
             ได้ยินมาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงเพื่อถวาย (อุทิศมังสะ) พระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ดังนี้
             ชนเหล่านี้กล่าวตรงกับที่พระองค์ตรัส ไม่กล่าวตู่พระองค์ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง
หรือว่า กล่าวธรรมอันสมควรแก่ธรรม ไม่มีข้อติเตียน?
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             การกล่าวเช่นนั้นไม่ตรงกับที่พระองค์ตรัส เป็นการกล่าวตู่พระองค์ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง
เนื้อที่ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการดังนี้คือ
             ๑. เนื้อที่ตนเห็น (หมายถึงเนื้อสัตว์ที่ภิกษุเห็นทายกฆ่าแล้ัวนำมาปรุงเป็นอาหารถวาย)
             ๒. เนื้อที่ตนได้ยิน (หมายถึงเนื้อสัตว์ที่ภิกษุได้ยินว่า ทายกฆ่าแล้วนำมาปรุงเป็นอาหารถวาย)
             ๓. เนื้อที่ตนรังเกียจ (หมายถึงได้เห็น ได้ยิน หรือโดยประการอื่นๆ แล้วมีความสงสัยว่า
เนื้อนั้นถูกฆ่าอย่างเจาะจง)
             ส่วนเนื้อที่เป็นของควรบริโภค ตรัสตรงข้ามกับ ๓ ประการข้างบน
การแผ่เมตตา
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ มีใจประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศ แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ไม่มีความเบียดเบียน
             คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนิมนต์ด้วยภัตเพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น ถ้าภิกษุปรารถนา ก็รับนิมนต์ได้
             คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้นอังคาสด้วยบิณฑบาตอันประณีต ภิกษุนั้นย่อมไม่คิดอย่างนี้ว่า
             ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต
             ทั้งไม่คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต
เช่นนี้ตลอดไป
             เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ (ไม่หมกมุ่นด้วยการหมกมุ่นด้วยความอยาก)
ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่
             ภิกษุนั้นย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย
             ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษ
             หมอชีวกโกมารภัจจ์กราบทูลว่า
             ได้ยินว่าพรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา (ละด้วยวิกขัมภนปหาน คือข่มไว้)
พระผู้มีพระภาคเป็นพยานที่เห็นได้ เพราะทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา
(ทรงละด้วยด้วยสมุจเฉทปหานละอย่างเด็ดขาด คือละอย่างเด็ดขาด)
             ตรัสว่า
             บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด
ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้ว
             ถ้าท่านกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้
เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน
             หมอชีวกโกมารภัจจ์กราบทูลว่า ตนหมายถึงการละราคะ โทสะ และโมหะ เป็นต้นนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปหาน

การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วย
กรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ...
             ตรัสว่า
             บุคคลพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี มีความกระทบกระทั่ง
เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้ว
             ถ้าท่านกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้
เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน
             หมอชีวกโกมารภัจจ์กราบทูลว่า ตนหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4

ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ
             ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป
มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ
             ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อ (ชนิด) โน้นมา
             ๒. เมื่อสัตว์ถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส
             ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้
             ๔. สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส
             ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ (ไม่สมควร)
             คำว่า เนื้อเป็นอกัปปิยะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1372&Z=1508
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อกัปปิยะ

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันไม่มีโทษ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             แล้วทูลขอถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม #10-61]




Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 9:15:32 น.
Counter : 698 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 30 : กะว่าก๋า
(7 เม.ย. 2567 05:51:28 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 29 : กะว่าก๋า
(6 เม.ย. 2567 05:12:09 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 27 : กะว่าก๋า
(4 เม.ย. 2567 05:11:37 น.)
การได้มาซึ่งธรรมะ ปัญญา Dh
(2 เม.ย. 2567 17:00:57 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด