ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
10 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 12

อีโธเฟนพร๊อกซ์
(ethofenprox)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 40,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมอ หนอนกัดตา หนอนคืบกะหล่ำปลี หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนชอนใบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น ด้วงงวงมันฝรั่ง เพลี้ยอ่อน มวน แมลงหวี่ขาว บั่ว และอื่น ๆ
สูตรผสม 10-30% ดับบลิวพี และ อีซี 5% dust 1.5% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ชนิดดับบลิวพีและอีซี ใช้ผสมกับน้ำ กวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - ค่อนข้างเป็นพิษต่อปลา
- พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้นาน

อีโธโปรฟอส
(ethoprophos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไส้เดือนฝอยในกลุ่ม organic phosphate ที่ออกฤทธิ์ฆ่าโดยการสัมผัส
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 62 มก./กก. สามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้ทั้งหมด
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ แมลงเต่าทอง มวนต่าง ๆ หนอนแมลงวันเจาะรากข้าวโพด ไส้เดือนฝอยและแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ยาสูบ เห็ด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง สับปะรด กล้วย กะหล่ำปลี แตงกวา มันฝรั่ง ต้นกล้าส้ม และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 10% จี และ 10% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้ด้วยการคลุกเคล้าให้เข้ากับดินลึก 4-8 นิ้ว
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ป่า
- มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานประมาณ 8 สัปดาห์
- มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงในดินและไส้เดือนฝอย

เอ็ทธิลลีน ไดโบรไมด์
(ethylene dibromide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารรมควันพิษ กำจัดแมลงในโรงเก็บ ในดิน และไส้เดือนฝอย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 146 มก./กก. เมื่อมีไอผสมอยู่ในบรรยากาศ 1000 ส่วนในล้านส่วนจะเป็นพิษ
แมลงที่กำจัดได้ แมลงศัตรูในโรงเก็บ ยุ้งฉาง และไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้ ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บในโรงเก็บ
ข้อควรรู้ ปัจจุบัน ไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ

อีทริมฟอส
(etrimfos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,800 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,000 มก./กก.
แมลงที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอยส้ม หนอนเจาะฝักข้าวโพด ด้วงมันฝรั่ง หนอนผีเสื้อยาสูบ หนอนเจาะต้นข้าว แมลงเต่าทอง บั่ว และมวน สำหรับในโกดังเก็บใช้กำจัดด้วงปีกแข็ง ไรและเหา
พืชที่ใช้ ส้ม องุ่น ข้าว มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วเหลือง มะเขือเทศ กาแฟ โกโก้ ผักต่าง ๆ และไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลาก
การแก้พิษ ใช้อะโทรปิน ร่วมกับ PAM หรือ อะโทรปิน ร่วมกับ obidoxime chloride ในทุกกรณีที่สงสัยว่าได้รับพิษจากอีทรัมฟอส ควรรีบปรึกษาแพทย์
ข้อควรรู้ - ไม่อนุญาตให้จำหน่ายในอเมริกา
- เป็นพิษต่อปลา
- ออกฤทธิ์ได้นาน 7-11 วัน

ฟีนามิฟอส หรือ เนมาเคอร์
(fenamiphos or nemacur)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไส้เดือนฝอยและแมลง ประเภทดูดซึมและมีพิษในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ ชนิด Techn.Grade มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 8.1-9.6 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 178-225 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไส้เดือนฝอย และแมลงบางชนิด เช่น ด้วงงวง ไร ด้วงหมัด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ แอปเปิ้ล แอสพารากัส กล้วย กะหล่ำปลี เชอร์รี่ ส้ม โกโก้ ฝ้าย หอม องุ่น ถั่วลิสง สับปะรด ถั่วเหลือง ยาสูบ ผักต่าง ๆ รวมทั้งไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม มีทั้งชนิดอีซีและชนิดเม็ด (granule) (3% อีซี , 5 , 10 . 15% จี)
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามที่ได้แนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท รักษา 2-PAM และ Toxogonin เป็นยาที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้
ข้อควรรู้ - ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- เป็นพิษต่อปลา
- ดูดซึมได้ทางราก

เฟไนโตรไธออน
(fenitrothion)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 503 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 1,300 มก./กก.
แมลงที่กำจัดได้ หนอนผีเสื้อต่าง ๆ เช่น หนอนหนาม หนอนเจาะสมอ หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ หนอนเจาะลำต้นข้าว หนอนกอ หนอนเจาะฝักถั่วเหลือง หนอนกะหล่ำ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาว แมลงนูน เต่าแตง ยุง แมลงวัน และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ฝ้าย ยาสูบ ข้าว อ้อย ส้ม กาแฟ ชา องุ่น หัวหอม กล้วย ถั่ว กะหล่ำปลี แตงกวา มะเขือยาว สตรอเบอร์รี่ และไม้ประดับทั่วไป สามารถใช้เป็นสารกำจัดแมลงในทางสาธารณสุขได้
สูตรผสม 50% อีซี , 83% ยูแอลวี และ 40% ดับบลิวพี
อัตราการใช้ ชนิด 50% อีซี เมื่อใช้กับพืชทั่วไป ใช้อัตรา 12-20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับฝ้ายใช้อัตรา 40-60 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้ ผสมกับน้ำ กวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ เมื่อได้รับพิษเข้าไป ตอนต้นจะมีอาการ เหงื่อและน้ำลายออกมา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อและข้อเป็นตะคริว พูดไม่ชัด ตาพร่า และม่านตาหรี่ ในบางรายจะพบอาการขั้นรุนแรง คือ หมดสติ ขาดออกซิเจน การทำงานของกล้ามเนื้อและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกของร่างกายขาดการควบคุม
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำยา isotonic ถ้าเข้าปากต้องรีบล้างท้องคนไข้ โดยใช้ sodium bicarbonate 5% และทำให้คนไข้อาเจียนก่อนนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท ขนาด 2-4 มก. ฉีดเข้าเส้นอย่างช้า ๆ และให้ยา bralidoxime chloride ขนาด 1000-2000 มก.หรือ Toxoginin ขนาด 250 มก. รักษาร่วมกับอะโทรปิน ห้ามใช้ยา พวกมอร์ฟีน barbiturates , phenothiazine ยากล่อมประสาท และยากระตุ้นประสาทส่วนกลางทุกชนิด

ฟีโนไธโอคาร์บ
(fenothiocarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไรคาร์บาเมท
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,150 มก./กก. (หนู)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรชนิดต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ส้ม ฝ้าย ถั่ว พืชผัก และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 35% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก และใช้เมื่อพบเห็นว่าพืชกำลังถูกไรทำลาย ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - ห้ามผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ไม่มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง
- กำจัดไรได้ทุกระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เป็นไข่
- ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ
- พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้ยาวนาน

เฟนโปรพาธริน
(fenpropathrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารประกอบไพรีทรอยด์สังเคราะห์ที่ใช้กำจัดแมลงและไร ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและขับไล่แมลงได้
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 54 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรแมงมุม ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนม้วนใบ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ หนอนคืบ เพลี้ยอ่อน และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ไม้ผล ผักต่าง ๆ ดอกไม้ และพืชไร่
สูตรผสม 10% อีซี , 20% อีซี และ 5% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำบนฉลาก เมื่อมีแมลงศัตรูพืชปรากฏให้เห็น ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - ไม่เป็นพิษต่อพืชเมื่อใช้ตามคำแนะนำ
- เป็นพิษต่อปลา
- ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดไรสนิมเหล็ก (rust miter)
- จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าใช้ในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำ
- ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสกับตัวอ่อนและตัวเต็มวัย พร้อมกับมีฤทธิ์ในการกำจัดไข่แมลงได้ด้วย
- ฤทธิ์ตกค้างจะมีผลในทางขับไล่แมลง



อ่านต่อตอน 13 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 10 ธันวาคม 2553
Last Update : 10 ธันวาคม 2553 6:19:27 น. 0 comments
Counter : 1378 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.