ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
3 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 5

เบ็นดิโอคาร์บ
(bendiocarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท ที่ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย เป็น cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนู) 40-120 มก./กก. ทางผิวหนังมากกว่า 1,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว หนอนใยผัก ผีเสื้อมันฝรั่ง มวนต่าง ๆ ตัวอ่อนแมลงเต่าทอง ด้วง ด้วงงวง ไร แมลงสาบ แมลงสามง่าม ปลวก แตน หมัด ยุง ศัตรูพืชอื่น ๆ และศัตรูปศุสัตว์
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง กะหล่ำ แตงโม พืชสวนต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งใช้กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือน
สูตรผสม 20% , 80% ดับบลิวพี , 10% จี
อัตราการใช้และวิธีใช้ กำจัดแมลงทั่วไปใช้ในอัตรา 15-25 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ควรอ่านรายละเอียดในฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้ ใช้เมื่อปรากฏว่ามีแมลงศัตรูพืช โดยฉีดพ่นน้ำยาผสมให้ทั่วต้นพืช ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ มึนงง คลื่นเหียนอาเจียน ตาพร่า น้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก เป็นตะคริว ท้องร่วง ตัวสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับพิษมาก ๆ จะหายใจไม่ค่อยออก ปอดบวม เกิดอาการกระตุกที่ปลายนิ้วมือและเท้า และอาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้าพิษเกิดจากการกลืนกินเข้าไปและมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรให้ยาพวกซาไลน์ เช่น ดีเกลือ (epsom salt) แก่คนไข้ พร้อมกับให้กินยาอะโทรปินซัลเฟท ขนาด 1/100 เกรน 2 เม็ด แล้วนำส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ถ้าคนไข้มีอาการ ได้รับพิษสูงและรุนแรง อาจใช้อะโทรปิน ซัลเฟท ขนาด 1-2 มก. ฉีดแบบ IM ทุก 15 นาที จนกว่าอาการ atropinization จะปรากฏให้เห็น
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวกับพืชอาหาร ทิ้งระยะเก็บอย่างน้อย 14 วัน
- เป็นพิษต่อปลาสูง
- ออกฤทธิ์น๊อคหนอนได้เร็ว และมีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานเกือบ 10 อาทิตย์

เบ็นฟูราคาร์บ
(benfuracarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย มีฤทธิ์ในทางดูดซึม โดยผ่านทางรากพืช เป็น cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนู) 138 มก./กก. (สุนัข) 300 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เพลี้ยกระโดด เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ หนอนกอ บั่ว เพลี้ยจักจั่น หนอนม้วนใบ หนอนแมลงวัน ด้วง หนอนใบกะหล่ำ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้ ข้าว อ้อย มันฝรั่ง ถั่วเหลืองข้าวฟ่าง ส้ม ฝ้าย ข้าวโพด ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 20% และ 30% อีซี , 3% G
อัตราการใช้และวิธีใช้ แตกต่างกันออกไปตามพืชที่ใช้ ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนใช้ ใช้ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช
อาการเกิดพิษ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา เมื่อสัมผัสถูก ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นเหียนอาเจียน น้ำลายไหลฟูมปาก เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อบิดเกร็งกระตุก ตัวสั่นและหายใจลำบาก
การแก้พิษ ในกรณีที่เกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ ให้ดื่มน้ำก่อน 1-2 แก้ว แล้วทำให้อาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงคอ ถ้าคนไข้หมดสติอย่าทำให้คนไข้อาเจียนหรือให้สิ่งของใด ๆ ทางปากคนไข้ ถ้าหายใจเอาละอองไอเข้าไป ให้ย้ายคนไข้ไปอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์ สำหรับแพทย์ ห้ามใช้ยาพวกอ๊อกไซม์ (oximes) เช่น 2-PAM แต่ให้ใช้อะโทรปินซัลเฟท ขนาด 2 มก. ฉีดเข้าทางเส้นเลือด (IV) หรือฉีดใต้ผิวหนังก็ได้
ข้อควรรู้ - ไม่มีการจำหน่ายในอเมริกา
- เป็นอันตรายต่อปลาสูง อย่าปล่อยให้ปะปนกับน้ำในแม่น้ำลำคลอง
- เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

เบนซัลแท็พ
(bensultap)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลง ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนูตัวผู้) 1,105 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ด้วงมันฝรั่ง หนอนกอข้าว หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนชอนใบ ด้วงงวงเจาะสมอ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว ฝ้าย องุ่น ข้าวโพด มันฝรั่ง ไม้ผล พืชผักและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี และ 4% จี
อัตราการใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นเมื่อตรวจพบว่ามีแมลงศัตรูพืชกำลังทำลายพืชเพาะปลูก ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองได้
- อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ค่อนข้างจะปลอดภัยต่อปลา
- ไม่เป็น cholinesterase inhibitor
- หนอนที่ถูกตัวยาจะเคลื่อนไหวได้เชื่องช้าและหยุดกินอาหารและตายในเวลาต่อมา
- ออกฤทธิ์ได้ช้า
เบ็นโซเมท
(benzomate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไรที่ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์ตกค้าง
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก 15,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรชนิดต่าง ๆ ทั้งในระยะที่เป็นไข่และตัวแก่
พืชที่ใช้ ส้ม องุ่น และไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 20% อีจี
อัตราการใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นเมื่อตรวจพบว่ามีไรรบกวนพืชที่ปลูก ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา แต่ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์
- อย่าผสมกับ EPN หรือ Bordeaux
- ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

ไบเฟนธริน
(bifenthrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไร
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน ทางปาก (หนู) 375 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนเจาะสมอสีชมพู หนอนเจาะสมอฝ้าย ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่ฟ้า แมลงหวี่ขาว
พืชที่ใช้ ส้ม ฝ้าย มะเขือเทศมะเขืออื่นๆ กระถิน
สูตรผสม 10% อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้ 10-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนัง ดวงตา จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าสูดดมเขาไปจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า และระบบหายใจระคายเคือง ถ้าได้รับปริมาณมากอาจมีอาการชักกระตุก หมดสติและเสียชีวิต
การแก้พิษ หากถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่ หากเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วไปพบแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยฉลากวัตถุมีพิษ สำหรับแพทย์ ช่วยทำให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก โดยการดูแสมหะและให้ออกซิเจน ทำการ้างท้องโดยใช้ endotracheal tube เพื่อป้องกัน chemical pneumonia และตามด้วย activated charcoal และยาถ่ายโซเดียมซัลเฟททางสายยาง หากผู้ป่วยมีอาการชักให้ใช้ยา diazepam 2-5 มก./IV หรือ IM รักษาตามอาการ

ไบนาพาคริล
(binapacryl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไรประเภทดูดซึมและมีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคราแป้งได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน ทางปาก (หนู) 421 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ตัวเต็มวัยและไข่ของไรชนิดต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ฝ้าย ปอกะเจา ข้าวฟ่าง ถั่ว พริก แตง มะเขือ มะเขือเทศ ชา องุ่น มะม่วง ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 40 % อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช
อาการเกิดพิษ อาจเกิดขึ้นภายหลังจากรับพิษโดยทางสัมผัส สูดดมหรือกินเข้าไป ทางปากเป็นเวลา 2 วัน โดยในระยะแรกจะมีอาการเป็นไข้ ความร้อนสูง เหนื่อยและไม่มีแรง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก ในระยะหลังจะมีอาการมึนงง ตัวเขียวคล้ำเพราะขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อตามตัวจะสั่นกระตุกและหมดสติ บางรายอาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ตับไตเป็นแผล พร้อมกับมีอาการดีซ่านตามมา
การแก้พิษ ถ้าเป็นพิษที่เกิดจากการสัมผัส ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ หรือจะใช้น้ำยาล้างตาไอโวโทนิคก็ได้ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้ล้างท้องคนไข้ทันทีด้วยการใช้ยาโซเดียมไบคาร์โบเนท 5% ถ้ายังล้างท้องไม่ได้ต้องทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการใช้ยา syrup of IPECAC และถ่ายท้องโดยใช้ยา saline cathartics แล้วรักษาด้วยยา Phenobarbitol หรือรักษาตามอาการ

อ่านต่อตอน 6 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 03 ธันวาคม 2553
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 13:46:11 น. 1 comments
Counter : 1212 Pageviews.

 
Glitter Graphics




รักษาสุขภาพด้วยค่ะ อากาศหนาวแล้ว


โดย: Junenaka1 วันที่: 3 ธันวาคม 2553 เวลา:13:29:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.