ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
20 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 19

อ๊อกซามิล
(oxamyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลง ไร และไส้เดือนฝอย คาร์บาเมท ประเภทดูดซึม โดยผ่านทางรากและใบ ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5.4 มก./กก. ชนิด 24% แอล มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 37 มก./กก. ชนิด 25% แอล มีพิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (กระต่าย) 2,960 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ไรแดง ไรสนิม หนอนชอนใบและไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้ ยาสูบ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มะเขือ ฝ้าย พริกไทย สัปปะรด มะเขือเทศ อ้อย ส้ม ไม้ผลและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 24% แอลซี
อัตราการใช้ แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช เช่น ส้ม ใช้อัตรา 25-100 ซีซี ไม้ดอกไม้ประดับใช้อัตรา 200-400 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบพืชหรือใช้ราดโคลนหรือใช้จุ่ม
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตา จมูก คอ ระคายเคือง ถ้าซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก เหงื่อออกมาก ตาหรี่ ชีพจรเต้นช้า-ต่ำ กล้ามเนื้อกระตุก
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษ คือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ฉีดแบบ IV ขนาด 1.2-2 มก. ฉีดซ้ำได้ทุก 10-30 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น ห้ามใช้มอร์ฟีน (morphine)
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-21 วัน
- เป็นพิษต่อผึ้ง อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก
- เป็นอันตรายต่อปลา นก และสัตว์ป่า
- เป็นอันตรายเมื่อหายใจเอาละอองไอเข้าไป
- ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ใช้แช่หรือจุ่มรากพืชเพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยได้

อ๊อกซีดีมีตัน-เม็ทธิล
(oxydemeton-methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย พร้อมกับมีฤทธิ์เป็นสารรมควันพิษในตัว cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 65-75 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 250 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ แมลงปากดูด คือ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่าง ๆ เช่น หนอนชอนใบ หนอนเจาะสมอ หนอนกระทู้ รวมทั้งหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว
พืชที่ใช้ ยาสูบ อ้อย ส้ม ฝ้าย กล้วย ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ชา กาแฟ มันฝรั่ง องุ่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ผักต่าง ๆ
สูตรผสม 25% อีซี
อัตราการใช้ กำจัดแมลงทั่วไป ใช้อัตรา 10 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช สารอ๊อกซีดีมีตันเม็ทธิล จะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในกระแสน้ำเลี้ยงของต้นพืช เป็นผลให้มีประสิทธิภาพตกค้างในต้นพืช
อาการเกิดพิษ จะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องเกร็ง ท้องร่วง ม่านตาหรี่ เหงื่อออกมาก และหายใจหอบ
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษขึ้นในขณะที่ใช้อยู่ ต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า ทำความสะอาดร่างกาย และให้ความอบอุ่นแก่คนไข้ ให้ดื่มน้ำสุกผสมถ่านยา เพื่อช่วยดูดซับพิษ อาจจะให้กินยาอะโทรปิน ขนาด 0.5 มก. จำนวน 2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเกิดพิษก่อนก็ได้ แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์ต่อไป สำหรับแพทย์ ถ้าคนไข้มีอาการไม่รุนแรง ใช้อะโทรปินซัลเฟท ขนาด 2 มก. ฉีดแบบ IV ถ้าอาการรุนแรงให้ใช้ ขนาด 4 มก. ฉีดซ้ำได้ทุก 10-15 นาที จนอาการดีขึ้น สำหรับยา 2-PAM และ Toxogonin เป็นยาแก้พิษที่อาจใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 2-3 อาทิตย์
- เป็นอันตรายต่อผึ้ง
- อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- มีความเจาะจงในการป้องกันกำจัดแมลง ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว
- ผสมกับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอื่น ๆ ได้ ยกเว้นพวกที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

พาราไดคลอโรเบ็นซีน
(paradichlorobenzene)
การออกฤทธิ์ เป็นสารรมควันพิษที่ใช้รมดินและผ้า
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 500 มก./กก. อาจจะทำให้ผิวหนังระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ โรคราสีน้ำเงิน หนอนเจาะต้นไม้ หนอนผีเสื้อกัดกินหญ้า กิ้งกือ มด และทำเป็นสารขับไล่แมลงสาบ แมลงสามง่าม ตามตู้เสื้อผ้า ตู้หนังสือและตามบ้านเรือน
พืชที่ใช้ ใช้รมแปลงเพาะกล้ายาสูบ รมผ้า และทำเป็นสารขับไล่แมลงในบ้านเรือน
ข้อควรรู้ - ทำให้ความงอกของเมล็ดพืชบางชนิดลดลงอย่างรุนแรง
- เป็นพิษต่อรากพืช เมล็ด และต้นกล้า เมื่อใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคในดิน
- ในทางอุตสาหกรรมใช้ป้องกันโรคราดำที่เป็นกับเสื้อผ้า

เปอร์มีธริน
(permethrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 500 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. (หนู) 4,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตา เกิดอาการระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมออเมริกัน หนอนคืบ หนอนเจาะสมอสีชมพู หนอนกัดตายาสูบ หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน และแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูปศุสัตว์อีกด้วย
พืชที่ใช้ ฝ้าย ผักตระกูลกะหล่ำ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ ฟักทอง องุ่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 5% , 10% อีซี และ 25% ดับบลิวพี
อัตราการใช้ ชนิด 10% อีซี เมื่อใช้กำจัดแมลงทั่วไป ใช้อัตรา 10-40 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับชนิดอื่น ศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี ฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช
อาการเกิดพิษ จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก ตาพร่ามัว ม่านตาหด น้ำลายไหล เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงและปวดเกร็ง ในช่องท้อง
การแก้พิษ ในกรณีที่เข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ทันที นานอย่างน้อย 15 นาที ในกรณีถูกผิวหนังและเกิดอาการเป็นพิษขึ้น ให้ถอดเสื้อผ้าออกทันทีแล้วล้างด้วยน้ำมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป อย่าทำให้คนไข้อาเจียน ควรไปหาแพทย์ สำหรับแพทย์ ควรล้างท้องคนไข้ด้วย sodium bicarbonate 5% แล้วให้ยา diazepam ขนาด 2-4 มก. แก่คนไข้ด้วยการฉีด แบบ IV หรือ IM ฉีดซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง ถ้าจำเป็น
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อผึ้ง อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก
- เป็นอันตรายต่อปลาสูงมาก อย่าปล่อยให้ปนเปื้อนลงไปในน้ำ
- อาจเป็นสาเหตุให้เกิดไรเพิ่มขึ้น
- ออกฤทธิ์ได้เร็ว ให้ผลในทางขับไล่แมลงได้

ปิโตรเลียม ออยล์
(petroleum oils)
การออกฤทธิ์ เป็นน้ำมันที่นำมาใช้กำจัดแมลง ไร และไข่ โดยทางสัมผัส
ความเป็นพิษ ไม่เป็นพิษ (โดยอนุโลม)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ไข่เพลี้ยอ่อนและตัวแก่ ไข่ไรและตัวแก่
พืชที่ใช้ ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วลิสง มะเขือเทศ ข้าว ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง องุ่น อ้อย ไม้ผล ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 85-90% น้ำมัน
อัตราใช้และวิธีใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - ใช้ผสมกับสารกำจัดแมลงบางชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
- อย่าใช้ซัลเฟอร์ภายหลังการฉีดพ่นปิโตรเลียม ออยล์ ในช่วงระยะ 2-3 สัปดาห์
- ทำลายชิ้นส่วนที่เป็นยางของเครื่องมือพ่นยา
- ห้ามใช้ภายหลังการใช้แคปแทน หรือ ฟัลแทน 60-90 วัน
- ห้ามใช้ร่วมกับคาร์บาริล
- ห้ามใช้ในขณะที่มีอากาศร้อน

เฟนโธเอท
(phenthoate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 300-439 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 2,100 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวาง เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ไร หนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะสมอ หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนใยผัก และมวนต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว ฝ้าย ผักต่าง ๆ ถั่ว ส้ม กาแฟ อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ชา ยาสูบ ไม้ผล องุ่น ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราการใช้ กำจัดแมลงศัตรูอ้อยและฝ้าย ใช้อัตรา 40-80 ซีซี พืชอื่น ๆ ใช้อัตรา 20-30 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
วิธีใช้ ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช เมื่อตรวจพบแมลงศัตรูพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ จะมีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย พูดไม่ชัด ตาพร่ามัว ปวดเกร็งช่องท้อง กล้ามเนื้อกระตุกและอาจชักได้
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ควรรีบนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ให้ล้างท้องคนไข้ด้วย sodium bicarbonate 5% ยาแก้พิษที่ใช้คือ อะโทรปินซัลเฟท ขนาด 2-4 มก. ฉีดแบบ IV หรือ IM ฉีดซ้ำทุก 5-10 นาที ตามความจำเป็น ห้ามใช้ยาที่มีมอร์ฟีนผสม
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลาและเป็นอันตรายต่อผึ้ง
- อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง
- ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

อ่านต่อตอน 20 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 20 ธันวาคม 2553
Last Update : 20 ธันวาคม 2553 5:46:45 น. 1 comments
Counter : 1534 Pageviews.

 
H.E.L.L.O.H.E.L.L.O.!.!.!. สวัสดีตอนเช้าๆคร๊าบบบ ~


โดย: MaFiaVza วันที่: 20 ธันวาคม 2553 เวลา:6:31:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.