ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
16 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 15

เมื่อวานนี้ นายยักษ์เขียวได้ทำบล็อกเพิ่มเติมไว้ที่ blogger.com ใครสนใจก็ดูตรง Link แล้วคลิกไปทักทายได้นะครับ จะมีทั้งสำเนา จาก ยักษ์เขียว@bloggang เผื่อ bloggang ล่ม ข้อมูลที่ต้องการให้เพื่อนเกษตรกรและผู้สนใจดู จะได้ไม่หายสาบสูญไป และนายยักษ์เขียวก็จะมีเรื่องโพสใหม่ ๆ สลับกันไปทั้งที่บ้านใหม่ และบ้านเก่าอย่างที่นี่ ที่ยังคงความขลังเสมอ ตามชมกันได้อีกที่นึง ที่นี่ครับ //yakkeaw.blogspot.com/
ส่วนท่านใดที่ติดตามชมกันมา หากชอบ ก็กด add ให้กำลังใจกันได้ครับ
(นายยักษ์เขียว)

ไอโซโปรคาร์บ หรือ เอ็มไอพีซี
(isoprocarb or MIPC)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 485 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 500 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยจักจั่นชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นมะม่วง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และแมลงทั่ว ๆ ไป
พืชที่ใช้ ข้าว มะม่วง ฝ้าย กาแฟ มันฝรั่ง อ้อย ถั่วลิสง ไม้ผลทั่วไป ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม 2% ดีพี , 50% ดับบลิวพี
อัตราการใช้ ชนิด 2% ดีพี ใช้อัตรา 4 กก./ไร่ ชนิด 50% ดับบลิวพี ใช้อัตรา 40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
วิธีใช้ ชนิด 2% ดีพี พ่นให้ทั่วพื้นที่ สำหรับชนิด 50% ดับบลิวพี ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ อาจช่วยให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง นัยน์ตา เยื่อบุจมูก ถ้าซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย เมื่อออกฤทธิ์ ร่างกายจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก น้ำลายไหล ม่านตาหรี่ ปวดท้องและมีอาการท้องเดิน กล้ามเนื้อบิดเกร็ง ทำให้พูดและเดินลำบาก ไม่รู้สึกตัวและอาจมีอาการชัก
การแก้พิษ ถ้ามีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ต้องรีบทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษ คือ อะโทรปินซัลเฟท และรักษาตามอาการ ไม่ควรใช้ 2-PAM
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
- เป็นอันตรายกับผึ้ง
- อย่าใช้ก่อนหรือหลังการใช้โปรพานิล ภายใน 10 วัน
- ออกฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานปานกลาง
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้ยกเว้นชนิดที่มีสภาพเป็นด่าง

ไอโซซาไธออน
(isozathion)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 112 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 450 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนกินใบและดอกยาสูบ หนอนม้วนใบ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยกระโดด ไร แมลงเต่าทอง และแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ส้ม ยาสูบ ข้าวโพด ข้าว ผักตระกูลกะหล่ำและผักอื่น ๆ ชา ไม้ผล ไม้ดอก และไม้ประดับ
สูตรผสม 54.3% อีซี
อัตราการใช้ ใช้ 15-20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เมื่อตรวจพบศัตรูพืชรบกวน ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อกระตุก สั่น ท้องร่วง เป็นตะคริว เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นช้า หายใจลำบาก
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปและมีอาการเป็นพิษเกิดขึ้น ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ใช้ยา อะโทรปินซัลเฟท ขนาด 0.4-2.0 มก. ฉีดแบบ IM หรือ IV และฉีดซ้ำทุก 15-30 นาที จนเกิดอาการ atropinization พร้อมกับล้างท้องคนไข้ ถ้ามีอาการรุนแรงให้ใช้ยา 2-PAM รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว สำหรับผักและชา ใช้เวลา 14-21 วัน
- เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีสภาพเป็นด่าง

ลินเดน
(lindane)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส กินตาย และเป็นสารรมควันพิษได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 88-125 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 900 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดศัตรูพืชและปศุสัตว์ได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งแมลงที่อยู่ในดินด้วย เช่น มด ปลวก เหา เห็บ ไร หมัด
พืชที่ใช้ ใช้คลุกเมล็ด รมดิน ฉีดพ่นไม้ซุง สำหรับสัตว์เลี้ยงใช้กับวัว ควาย หมู ม้า
สูตรผสม 7.5% ดับบลิวพี , 10% อีซี และ 20% อีซี
อัตราการใช้ ชนิด 7.5% ดับบลิวพี ใช้อัตรา 30-40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ชนิด 10% อีซี ใช้ 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 1,000 ส่วน ในกรณีกำจัดศัตรูปศุสัตว์ และ ใช้ 80-120 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ในกรณีกำจัดมดและปลวก ชนิด 20% อีซี ใช้ 1 ส่วน ผสมน้ำ 99 ส่วน เพื่อแช่ไม้ยางพารา
วิธีใช้ กำจัดมด ปลวก ใช้ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วราดตามในรัง และตามทางเดินของมด ในกรณีกำจัดศัตรูปศุสัตว์ ใช้ผสมน้ำแล้วใช้อาบหรือพ่นที่ตัวสัตว์
อาการเกิดพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ตัวสั่น หูอื้อ และจะเป็นลม ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกกระตุ้นทำให้หงุดหงิด กระวนกระวาย ฉุนเฉียว และอาจจะชักได้ ถ้ารับพิษเข้าไปมาก ๆ จะมีไข้สูงและจะตายเนื่องจากระบบหายใจหยุดทำงาน
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด ชาร์โคล แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ให้ล้างท้องคนไข้ด้วยน้ำมาก ๆ แล้วให้ยาถ่ายพวก saline cathartics ห้ามใช้ยาถ่ายที่มีน้ำมันผสม ถ้าคนไข้มีอาการชักให้ใช้ยา Phenobarbitol sodium หรือ pentobarbital sodium ถ้ามีอาการรุนแรงห้ามใช้ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา ผึ้ง และสัตว์ป่า
- อาจเป็นพิษต่อลูกสัตว์มากกว่าสัตว์โต
- ไม่เข้ากับ sulphur , lime และ calcium arsrnate
- กัดกร่อนอะลูมิเนียม
- มีความคงทนอยู่ในดินได้นานมากกว่า 1 ปี
- ห้ามใช้กับสัตว์ปีกหรือโรงเลี้ยงสัตว์ปีก
- Lindane คือ BHC gamma ISOMER

แม็กนีเซียม ฟอสไฟด์
(magnesium phosphide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารรมควันพิษกำจัดแมลงในโรงเก็บผลิตผลเกษตร ออกฤทธิ์เมื่อถูกความชื้นในบรรยากาศ โดยจะปล่อยแก๊สไฮโดรเจน ฟอสไฟด์ (hydrogen phosphide) ออกมา แมลงจะตายเมื่อหายใจเอาแก๊สนี้เข้าไป
ความเป็นพิษ ถ้าหายใจเอาอากาศที่มีแก๊สไฮโดรเจน ฟอสไฟด์ ผสม 200 ส่วนในล้านส่วนของอากาศเข้าไป จะเป็นอันตรายถึงชีวิตทันที
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ มอดยาสูบ มอดแป้ง มอดข้าวเปลือก มอดฟันเลื่อย มอดฟันเลื่อยใหญ่ ด้วงงวงข้าว ด้วงงวงข้าวโพด ด้วงถั่วเขียว ด้วงถั่วเหลือง ด้วงกาแฟ ด้วงขาแดง ด้วงหนังสัตว์ ผีเสื้อข้าวสาร ผีเสื้อข้าวเปลือก ผีเสื้อข้าวโพด และแมลงศัตรูในโรงเก็บอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ผลิตผลพืชที่เก็บไว้ในโรงเก็บ เช่น ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว แป้งต่าง ๆ
สูตรผสม ชนิดเม็ด 66.06%
อัตราใช้และวิธีใช้ ผลิตผลที่เก็บในยุ้งฉางไซโล ให้ใช้ 2-5 เม็ดต่อต้น ระยะเวลารม 3-5 วัน ให้ศึกษารายละเอียดการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ จะมีอาการของการได้รับผิดแตกต่างกันออกไปตามขนาดของแก๊สที่ได้รับ คือ 1.ถ้าได้รับแก๊สพิษเพียงเล็กน้อย จะมีอาการเมื่อย คลื่นไส้ หูอื้อ แน่นหน้าอก อึดอัด อาการเหล่านี้จะหมดไป เมื่อได้รับอากาศบริสุทธิ์ 2.ได้รับแก๊สระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก จะมีอาการปวดเมื่อย คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เสียการทรงตัว เจ็บปวดในทรวงอก หายใจไม่สะดวก 3.ได้รับแก๊สที่มีความเข้มข้นมาก จะเกิดอาการหายใจติดขัดอย่างมาก ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ กระวนกระวาย ร่างกายอ่อนปวกเปียก โลหิตขาดออกซิเจน หมดสติ และตาย
การแก้พิษ ถ้าคนไข้หายใจเอาแก๊สพิษเข้าไป ให้นำคนไข้ออกจากบริเวณนั้น และให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ให้นอนนิ่ง ๆ พร้อมกับให้ความอบอุ่น ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป ต้องทำให้ท้องว่างโดยให้อาเจียน แล้วล้างท้องด้วยน้ำยาโปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต ที่มีความเข้มข้นหนึ่งต่อพัน จนกว่าน้ำยาที่ใช้ล้างท้องจะหมดกลิ่นคาร์ไบด์ หลังจากนั้นให้ยาประเภทคาร์บอนต่อไป
ข้อควรรู้ - ห้ามสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงานรมยา
- ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ ในขณะที่มีการรมยาอยู่ (เพราะเป็นแก๊สที่ไวไฟ)
- เก็บในห้องที่มีอาการเย็น แห้ง และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
- หลีกเลี่ยงอย่าให้ถูกน้ำหรือความชื้นใด ๆ
- ห้ามใช้กับสินค้าที่เป็นอาหารโดยตรง
- ภายหลังการใช้ให้เป่าอากาศบริเวณนี้ออกให้หมด
- แม็กนีเซียม ฟอสไฟด์ แต่ละแผ่นจะให้แก๊สไฮโดรเจน ฟอสไฟด์ประมาณ 33 กรัม

มาลาไธออน
(malathion)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสมากกว่าทางการกิน เป็นสารกำจัดไรได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,000-1,375 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 4,100 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง หนอนคืบ หนอนใยผัก หนอนกระทู้ มวนแดง มวนเขียว แมลงหวี่ขาว บั่ว ไร กำจัดแมลงศัตรูสัตว์เลี้ยงและในบ้านเรือน คือ เรือด แมงมุม แมลงสาป ตัวสามง่าม แมลงหางหนีบ แมลงวัน หมัด ไร เห็บและเหา
พืชที่ใช้ ฝ้าย ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ละหุ่ง ถั่วลิสง หอม พริก ส้ม มะม่วง องุ่น ฝรั่ง อ้อย ชา กาแฟ ฟักทอง แตงโม มะเขือเทศ มันฝรั่ง ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 57% , 83% และ 84% อีซี
อัตราการใช้ ชนิด 83% อีซี ใช้อัตรา 10-20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและปวดเกร็ง ปวดศีรษะ เซื่องซึม อ่อนเพลีย น้ำมูกไหล น้ำลายฟูมปาก แน่นหน้าอก ม่านตาหรี่ ปวดและมีน้ำตาไหล พูดไม่ชัด กล้ามเนื้อกระตุก หายใจอึดอัด
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษ คือ อะโทรปินซัลเฟท Theophylline , Aninophylline อาจใช้ 2-PAM ร่วมกับอะโทรปินได้ ในกรณีที่ใช้ยาอย่างเดียวไม่ได้ผล ห้ามใช้ยาพวกมอร์ฟีน
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 3 วัน
- เป็นอันตรายต่อผึ้ง อย่าใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก
- ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น เหล็ก
- ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไปได้

อ่านต่อตอน 16 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 16 ธันวาคม 2553
Last Update : 16 ธันวาคม 2553 5:53:41 น. 1 comments
Counter : 1070 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...



โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 16 ธันวาคม 2553 เวลา:10:14:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.