ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
15 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 14

อรุณสวัสดิ์ ยามเช้า ครับ วันนี้ตื่นตั้งแต่ ตี 3 มานั่งทำงานโน่นงานนี่ พอได้เวลาก็มาโพสกันให้เหมือนเิดิมครับ อ้อ ฝากเข้าไปดูงานชิ้นใหม่ของผม ที่ Group blog "ฉันคือผู้บริโภค" ด้วยนะครับ ขอบคุณ
(นายยักษ์เขียว)

ฟอร์โมไธออน
(formothion)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 365 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 400 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น ไรแดง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ และแมลงอื่นๆ
พืชที่ใช้ ฝ้าย อ้อย ส้ม องุ่น ยาสูบ แตงโม ไม้ดอก ไม้ประดับและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 25% และ 33% อีซี
อัตราการใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 20-30 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ เมื่อได้รับพิษจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะและเจ็บหน้าอก
การแก้พิษ ถ้าพิษเกิดที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปต้องรีบนำส่งแพทย์ ห้ามมิให้คนไข้กินยาแก้พิษก่อนเกิดอาการเป็นพิษ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท กับ PAM หรือ อะโทรปิน กับobidoxime chloride
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน
- เป็นพิษต่อผึ้งและปลา
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
- พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้นานวัน จึงให้ผลในทางควบคุมศัตรูพืชได้ 10-12 วัน

ฟูราธิโอคาร์บ
(furathiocarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 137 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนกัดรากข้าวโพด เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน ไร แมลงที่อาศัยอยู่ในดิน
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ผักต่าง ๆ ทานตะวัน และพืชน้ำมันอื่น ๆ
สูตรผสม 40% อีซี , 5% , 10% จี และชนิดคลุกเมล็ด
อัตราใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
ข้อควรรู้ - สารกำจัดแมลงชนิดนี้อยู่ในระหว่างการทดลองเท่านั้น
- มีความคงตัวอยู่ในดินได้นาน 6-12 สัปดาห์

เฮ็พตาคลอร์
(heptachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย มีฤทธิ์อยู่ได้นานวัน
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 147-220 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ปลวก มด ด้วงดิน และแมลงที่อยู่ในดินอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ห้ามใช้กับพืชอาหาร ผัก ไม้ผล ควรใช้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในการกำจัด มด ปลวก และแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดินเท่านั้น
สูตรผสม 32.3% อีซี , 40% ดับบลิวพี , 14% ดีพี
อัตราใช้และวิธีใช้ สำหรับชนิด 40% ดับบลิวพี ใช้อัตรา 50-200 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วพื้นดินที่ต้องการกำจัดแมลง ถ้าใช้คลุกเมล็ดใช้อัตรา 10-25 กรัม ต่อเมล็ดหนัก 10 กก. คลุกเคล้าให้ทั่ว สำหรับชนิดอื่น ๆ ให้ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย กล้ามเนื้อกระตุก หดเกร็ง โดยทั่วไปอาจมีอาการชัก ถ้ากลืนกินเข้าไป จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น 1 แก้ว แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ถ้ากลืนกินเข้าไปให้ดื่มน้ำมาก ๆ แล้วทำให้อาเจียน ป้องกันอาการชักได้ด้วยการใช้ยาบาร์บิทูเรท (barbiturates)
ข้อควรรู้ - เป็นสารกำจัดแมลงที่ห้ามนำเข้ามาจำหน่ายและใช้ทางการเกษตร
- มีความคงตัวอยู่ในดินได้นานประมาณ 5 ปี
- เป็นอันตรายต่อปลา
- ปัจจุบันทางราชการได้ห้ามนำเข้ามาจำหน่ายและใช้ในประเทศ

เฮ็พทีโนฟอส
(heptenophos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 96 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง (หนู) 2,925 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน แมลงวันผลไม้ เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ และแมลงศัตรูภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เหา หมัด ไร และเห็บ
พืชที่ใช้ ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ พืชสวน ไม้ดอกและไม้ประดับ รวมทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แมว แกะ หมู สุนัข
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นที่ใบเมื่อตรวจพบว่ามีแมลงกำลังทำลายพืชที่เพาะปลูก ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ยาแก้พิษ อะโทรปินซัลเฟท ร่วมกับ Toxogonin โดยใช้ฉีดแบบ IV ถ้าจำเป็นอาจให้ออกซิเจนช่วยด้วย
ข้อควรรู้ - ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว ฤทธิ์ตกค้างมีระยะสั้น
- แทรกซึมผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของพืชและเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างรวดเร็ว

เฮ็กซี่ไธอะซ๊อก
(hexythiazox)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไร Thiozolidinone ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย และไม่ดูดซึม (มีประสิทธิภาพในการกำจัดไข่และตัวอ่อนของไร แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดตัวแก่)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไข่และตัวอ่อนของไร
พืชที่ใช้ องุ่น ฝ้าย ผักต่าง ๆ และไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 10% อีซี , 10% และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุก่อนใช้ ควรใช้ในระยะต้นฤดูก่อนที่จะปรากฏ ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ยาแก้พิษ ขณะนี้ยังไม่ทราบยาแก้พิษ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ - ไม่เป็นอันตรายกับแมลงที่เป็นประโยชน์
- เป็นพิษต่อปลา ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง
- ไรถูกฉีดพ่นด้วยตัวยานี้ จะไม่ฟักเป็นตัว

อิมิดาโคลพริด
(imidacloprid)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงชนิดดูดซึมออกฤทธิ์กำจัดแมลงได้ทั้งทางถูกตัวตายและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 424 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 450-475 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบส้ม แมลงวันผลไม้
พืชที่ใช้ ข้าว ฝ้าย กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ พริกไทย แตงกวา ถั่ว หอม มะเขือ ส้ม ยาสูบ มันฝรั่ง และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 70% ดับบลิวเอส , 50% อีซี และ 10% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ สูตรผสม 70% ดับบลิวเอส ใช้คลุกเมล็ดในอัตรา 5 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก.ก่อนปลูก สูตรผสม 50% อีซี ใช้อัตราส่วน 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เมื่อพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด สูตรผสม 10% เอสแอล ใช้อัตราส่วน 8-20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เมื่อพบว่ามีศัตรูพืชระบาด
อาการเกิดพิษ จะมีอาการเซื่องซึม กล้ามเนื้อเปลี้ย หายใจขัด ตัวสั่น และอาจเป็นตะคริว
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่กับน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากินเข้าไป ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1-2 แก้ว แล้วทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอหรือดื่มน้ำเกลืออุ่น ห้ามให้นมหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ไอโอโดเฟนฟอส
(iodofenphos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,100-2,500 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ในบ้านเรือนใช้กำจัดแมลงวัน ยุง หมัด เรือด และแมลงสาป ในทางการเกษตร ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อชนิดต่าง ๆ แมลงเต่าทอง ในทางปศุสัตว์ใช้กำจัดไรไก่ เห็บ และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ใช้ในบ้านเรือน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และพืชผักต่าง ๆ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี , 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลากข้างภาชนะบรรจุก่อนใช้
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
- เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
- คงตัวอยู่บนผิวพื้นที่ฉีดพ่นได้ประมาณ 3 เดือน
- ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

ไอซาโซฟอส
(isazophos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไส้เดือนฝอยออร์กาโนฟอสโฟรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 40-60 มก./กก. มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนกัดรากข้าวโพด หนอนกระทู้ แมลงเต่าทอง เพลี้ยกระโดด หนอนเจาะลำต้น หนอนแมลงวัน แมลงอื่น ๆ ที่อยู่ในดินรวมทั้งไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้ กล้วย ข้าวโพด ฝ้าย ข้าว ส้ม ผักต่าง ๆ และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 2.5% จี และ 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ
การแก้พิษ ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท PAM หรือ Toxogonin ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ข้อควรรู้ - อย่าใช้กับยาสูบและมะเขือเทศ
- เป็นพิษต่อปลา

ไอโซเฟนฟอส
(isofenphos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสฟอรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย สามารถดูดซึมได้ทางรากพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 28-38 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 162-315 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ กำจัดแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดิน และแมลงกัดกินใบ หนอนกัดรากข้าวโพด บั่วต้นหอม มวนสิงห์ หนอนใยผัก และด้วงงวงกล้วย
พืชที่ใช้ กล้วย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หอม อ้อย ผักต่าง ๆ และพืชทั่วไป
สูตรผสม 50% อีซี , 40% ดีเอส
อัตราการใช้ ชนิด 50% อีซี ใช้อัตรา 40 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วราดบริเวณโคนต้นและดินโดยรอบ ต้นละ 5 ลิตร ศึกษาวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ ผู้รับพิษจะมีอาการน้ำลายฟูมปาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หายใจขัด เหงื่อออกมาก ม่านตาหรี่
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ให้รีบนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษ คือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ขนาด 1-2 มก. ฉีดแบบ IV และให้ซ้ำทุก 15-30 นาที จนเกิดอาการ atropinization รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลาและไส้เดือนปานกลาง
- ซึมผ่านผิวหนังได้รวดเร็ว
- มีประสิทธิภาพกับแมลงที่อยู่ในดิน

อ่านต่อตอน 15 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 15 ธันวาคม 2553 6:36:36 น.
Counter : 1115 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.