ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

สร้างโรคระบาดในแมลง ด้วยจุลินทรีย์ แทนการฉีดยาฆ่าแมลง

เก็บกันมาฝากสำหรับ การทดแทนการใช้ยาฆ่าแมลงด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ Metarhizium จากข่าวและส่วนหนึ่งจากอีกหลาย ๆ งานวิจัยถึงประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชครับ


ข่าว

พบ “เชื้อรา” สกัดเพลี้ยในพืชผัก ช่วยลดใช้สารเคมีในการเกษตร

จากที่สังคมได้ตื่นตัวเรื่องสภาพแวดล้อมมากขึ้น รวมไปถึงการคำนึงถึงผลเสียของการปนเปื้อนของสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ
ทำให้เกิดความต้องการที่จะลดปริมาณการใช้สารเคมีลง โดยเฉพาะในพืชผักนั้น หลายฝ่ายต่างคิดค้นหาวิธีอื่นทดแทน เช่นเดียวกับ 2 นักวิจัย
จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มทร.ล้านนา และ มทร.ธัญบุรี ที่ได้วิจัยค้นพบ “เชื้อรา” สกัดเพลี้ยอ่อนได้ชะงัด
อันนำมาซึ่งการช่วยลดปริมาณใช้สารเคมีในพืชผัก

นักวิจัยทั้งสอง คือ ผศ.ดร.มาลี ตั้งระเบียบ จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มทร.ล้านนา และ ผศ.ดร.ศิรินันธ์ เอี่ยมประภา
นักวิจัยจาก มทร.ธัญบุรี คือเจ้าของผลงานวิจัยสายพันธุ์เชื้อราเพื่อใช้ในการควบคุมเพลี้ยอ่อนได้เป็นผลสำเร็จ

ผศ.ดร.ศิริ นันธ์ กล่าวถึงเหตุผลที่วิจัยเชื้อราว่า เกิดจากการที่ตัวเอง และผศ.ดร.มาลี เพื่อนร่วมทีมสังเกตเห็นว่า ปัจจุบันสังคมได้ตื่นตัวเรื่อง
สภาพแวดล้อมมากขึ้น รวมไปถึงการคำนึงถึงผลเสียของการปนเปื้อนของสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้
ทำให้หลายฝ่ายต่างต้องการที่จะลดปริมาณการใช้สารเคมีลง ซึ่งต่างก็คิดค้นหาวิธีการอื่นมาทดแทน

“วิธี ที่เราทราบก็เช่น การใช้สารสกัดจากพืช หรือการใช้แมลงตัวห้ำ แต่ในส่วนของการวิจัยครั้งนี้ เราได้เลือกศึกษาหาว่า สายพันธุ์เชื้อราชนิดใด
ที่มีความสามารถควบคุมเพลี้ยอ่อนได้ ซึ่งเพลี้ยอ่อนพวกนี้ ที่รู้จักกันดี คือ เพลี้ยอ่อนลูกท้อ พบเห็นได้ในพืชผัก โดยเฉพาะพริก
นอก จากทำความเสียหายให้แก่พืชผักแล้ว เพลี้ยอ่อนพวกนี้ยังเป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคพืชชนิดอื่นๆ อีกด้วย” ผศ.ดร.ศิรินันธ์ แจง

พร้อมกันนี้ ผศ.ดร.มาลี เสริมถึงรายละเอียดงานวิจัยว่า ทีมได้คัดเลือกสายพันธุ์เชื้อรา จำนวน 27 ไอโซเลต ประกอบด้วย Metarhizium spp. 17
ไอโซเลต, Paecilomyces spp. 7 ไอโซเลต และ Hirsutella citriformis 3 ไอโซเลต มาทดสอบ โดยใช้สปอร์แขวนลอยที่ความเข้มข้น 108
สปอร์ต่อมิลลิลิตร นำไปฉีดพ่นกับเพลี้ยอ่อน Myzus persicae ที่พบมากในพริก และเพลี้ยอ่อน Macrosiphum euphobiae หรือเพลี้ยลูกท้อ
ซึ่งพบตามพืชผักทั่วไป ทั้งนี้ ผลจการทดสอบแบบ CAD พบว่า เชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมเพลี้ยอ่อนทั้ง 2 ชนิด
คือ Metarhizium sp. ไอโซเลต 7965

“เชื้อราไอโซเลต 7965 เป็นไอโซเลตที่มีประสิทธิภาพกับเพลี้ยอ่อนทั้งสองชนิด มีคุณสมบัติคือเลี้ยงง่าย เติบโตและสร้างสปอร์ได้เร็ว
ซึ่งเหมาะสมในสภาพความเป็นจริงในธรรมชาติ เพราะการระบาดของเพลี้ยอ่อนมักเกิดขึ้นในพืชผักหลายชนิดพร้อมๆ กัน
ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องหันมาใช้สารเคมีมากขึ้น แต่หากสามารถเพาะเลี้ยงเชื้อรานี้ได้ แล้วนำไปใช้ในวงการเกษตร ก็เท่ากับว่าช่วยลดปริมาณ
การใช้สารเคมีฆ่าแมลงลงได้ อันส่งผลดีต่อสุขภาพของทุกคนด้วย”

นับเป็นอีกงานวิจัย อันเป็นแนวทางที่จะต่อยอดนำไปพัฒนาใช้กับเชื้อราตัวอื่นๆ ซึ่งพบเห็นได้ตามธรรมชาติ มีอยู่หลากหลายชนิด
และมีคุณสมบัติพิเศษเช่นเดียวกับเชื้อรา ไอโซเลต ที่สามารถควบคุมปริมาณเพลี้ยอ่อนให้หยุดการเจริญเติบโตได้อย่างชะงัด
ซึ่งท้ายที่สุดเป็นการนำมาซึ่งการลดปริมาณการใช้สารเคมีในพืช ผัก ผลไม้ ได้โดยปริยาย

ที่มา หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก  2 พ.ย. 2553


งานวิจัย

ประสิทธิภาพการควบคุมของเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในแมลงวันผลไม (Diptera: Tephritidae)


 นริศ ท้าวจันทร1 และ อนุชิต ชินาจริยวงศ1

                                                                      บทคัดย่อ

                 แมลงวันผลไม (Diptera: Tephritidae) เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญ สามารถเข้าทำลายผลไมและพืชผักได้หลายชนิด แพรหลายทั่วโลก มีการจัดจำแนกแมลงวันผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไวประมาณ 200 ชนิด การควบคุมแมลงผลไมด้วยเชื้อรา Metarhizium anisopliae ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ ผลจากการศึกษาการ ควบคุมตัวเต็มวัยของแมลงวันผลไม (Bactrocera papayae Drew & Hancock) ดวยเชื้อรา M. anisopliae 3 ไอโซเลท (M1, M3 และ M4) ที่แยกไดจากแมลงในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและเชื้อบริสุทธิ์ 1 ไอโซเลท (M2) ที่ไดรับจากศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ความสามารถในการก่อให้เกิดโรคกับแมลงวันผลไมที่อายุ 10 วัน ที่ความเข้มข้นของสปอร์ 1x106 สปอร์/มิลลิลิตรของเชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลท พบว่าเชื้อราสามารถฆ่าแมลงวันผลไม้ได โดยแมลงจะตายด้วยเชื้อราไอโซเลท M1, M2, M3 และ M4 ภายในระยะเวลา 4.00 ฑ 0.00, 5.33 ฑ 0.58, 4.00 ฑ 0.00 และ 4.67 ฑ 1.15 วัน ตามลำดับ การทดสอบการแพร่กระจายของแมลงที่ติดเชื้อราสูแมลงปกติในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 มีอัตราการตายของแมลงด้วยเชื้อราไอโซเลท M2 (1.33 ฑ 0.29 ตัว) และ M3 (1.37 ฑ 0.40 ตัว) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากเชื้อราไอโซเลท M1 (2.00 ฑ 0.00 ตัว) และ M4 (1.97 ฑ 0.05 ตัว) (P<0.05) ส่วนการแพร่กระจายของแมลงที่ติดเชื้อราสูแมลงปกติในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 อัตราการตายของแมลงไมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)

 ที่มา :  วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร

ประสิทธภาพเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในการเข้าทําลายหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลําต้นอ้อย Dorysthenes uqueti Guerin (Coleoptera: Cerambycediae) ในห้องปฏิบัติการ

 วิวัฒน สือสะอาด, พิมพรรณ สมมาตย 1,ปวีณา บูชาเทียน 1,อาภรณ ปั้นทองคํา  1 และรัตติรส เชียงสิน 1


บทคัดย่อ

จากการสำรวจแมลงศัตรูอ้อยในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 – พฤษภาคม 2547 พบเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ลงทำลายหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย Dorysthenes buqueti ในพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 4 จังหวด ได้แก่ อำเภอบ้านบึง จังหวดชลบุรี  อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น จากการศึกษาความรุนแรงของเชื้อราเขียว M. anisopliae ทั้ง 4 ไอโซเลท กับหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อยในห้องปฏิบัติการ พบวาเชื้อราไอโซเลทที่เก็บได้จากอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น สามารถทำให้หนอนตายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หนอนที่ถูกเชื้อเมทาไรเซียมทำลาย

ประสิทธิภาพของสารจากเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในการกำจัดปลวก Coptotermes curvignathus ศัตรูในต้นยางพารา
เศรษฐพงศ์ อัศวรัตน1, กฤษณพัฒน์ จิตจักร1, ปองสิทธิ์ โพธิคุณ1 และอรวรรณ ปิยะบุญ1


บทคัดย่อ

: ปลวกสายพันธุ Coptotermes curvignathus เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อต้นยางพารา การควบคุมปลวกด้วยชีววิธีโดยอาศัยเชื้อราเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถกําจัดปลวกได้ในระยะยาว และไม่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เชื้อรา Metarhizium anisopliae เป็นเชื้อราที่ก่อโรคกับแมลงได้หลายชนิด โดยการเจริญเส้นใย และหลั่งสารพิษเพื่อทำลายแมลง ในการศึกษาประสิทธิภาพของสารจากเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในการกำจัดปลวก Coptotermes curvignathus ศัตรูในต้นยางพารา โดยการฉีดพ่นปลวกด้วยสปอร์ของเชื้อราความเข้มข้น 5x107สปอร์ต่อมิลลิลิตร และสารจากเชื้อราที่มีความเข้มข้นของ สปอร์เริ่มต้น 1x108 5x107 และ2.5x107 สปอร์ต่อมิลลิลิตร พบว่าจำนวนปลวกที่ตายทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 90 89 95 และ 93 ตามลำดับ ดังนั้นประสิทธิภาพของสปอร์ของเชื้อราและสารจากเชื้อราในการกำจัดปลวกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

การใช้เชื้อราศัตรูแมลงในการควบคุมหนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua Hub.)

มณจันทร เมฆธน  และ ศศิเทพ ปติพรเทพิน  Monchan Maketon and Sasithep Pitiporntapin 


บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ไดศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อรา 5 ชนิดในการกําจัดหนอนกระทูหอมระยะไข  หนอนวัย 1-2 และ  พบว่าหลังหยดส่วนผสมของสปอร์ที่มีความเข้มข้น 1x106 สปอร์/มล. 1 ครั้งลงบนไขหนอนกระทูหอมและตรวจผลการทดลองเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในห้องปฏิบัติการ พบว่าไข่ที่ไดรับเชื้อรา Paecilomyces lilacinus CKP-012) มีเปอร์เซ็นต์การฟักเฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 56.95 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < .01) จากไขที่รับเชื้อรา Metarhizium anisopliae (CKM-048), P. lilacinus (CKP-032), M. lavoviride CKM-083), Beauveria bassiana  (CKB-048), น้ำกลั่น และกลุ่มควบคุม ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การฟักเฉลี่ยเท่ากับ 94.96, 95.00, 97.62, 98.57, 99.11 และ 99.48 ตามลำดับ ในหนอนวัย1-2 พบว่าหนอนที่ไดรับเชื้อรา  M. anisopliae (CKM-048)  และ P. lilacinus (CKP-012)  ให้ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนสูงสุดเท่ากับ 36.67  และ36.67 รองลงมาคือหนอนที่ไดรับเชื้อรา P. lilacinus (CKP-032), M. lavoviride (CKM-083) B.  bassiana (CKB-048),กลุ่มควบคุม และน้ำกลั่น ที่มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนอน เท่ากับ  30.00, 16.67, 10.00, 0.00 และ0.00 ตามลำดับ ในหนอนวัย 3 พบว่าหนอนที่ไดรับเชื้อรา M. anisopliae (CKM-048) มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนสูงสุด เท่ากับ 36.67 รองลงมาคือ P. lilacinus (CKP-012), M. flavoviride  (CKM-083), P. lilacinus (CKP-032), B. bassiana CKB-48) น้ำกลั่น, และกลุ่มควบคุม, ที่มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนอน เท่ากับ 28.33, 20.00, 20.00, 3.33, 8.33, และ 5.00 ตามลำดับ


ผลของเชื้อรา Metarhizium anisopliae ต่อเห็บโค (Boophilus microplus) 
มาลี ตั้งระเบียบ 1 , กรกฎ งานวงศพาณิชย 2


บทคัดย่อ


การศึกษา การนำเชื้อราสาเหตุโรคแมลงชนิด Metarhizium anisopliae  มาทดสอบต่อ เห็บโค (Boophilus microplus) ทําการทดลอง 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกทำการทดสอบความสามารถของเชื้อราในการทำให้เห็บโคเกิดโรคาย โดยใช้เชื้อรา จำนวน 5 สายพันธุ ที่ระดับความเข้มข้น 5 x108  โคนิเดีย ตอมล. ด้วยวิธีพ่นสารแขวนลอยเชื้อราบนตัวเห็บเพศเมียระยะกินเลือดจนอิ่มตัว (engorge) ลงในสารแขวนลอยของเชื้อรา   นับจำนวนเห็บที่ตายและมีเชื้อราขึ้นปกคลุม นำมาหาเปอร์เซ็นต์การตายที่แท้จริง โดยใช้ Abbot’s  formula  ผลการทดลองพบว่า เชื้อราจำนวน 4 สายพันธุ  มีความสามารถในการทำให้เห็บโคเกิดโรคตาย โดยที่เปอร์เซ็นต์การตายของเห็บขึ้นอยู่กับสายพันธุของเชื้อรา            M. anisopliae (Ma.) 6079 และ Ma. 7965 มีอัตราการตายร้อยละ 100 ในขณะที่สายพันธุ Ma. 7527 พบว่าไมสามารถทำให้เห็บตายได ขั้นตอนที่ 2 เป็นการนำเชื้อราที่มีความสามารถในการทำให้เห็บโคเกิดโรคตายสูง มาทดสอบหาความรุนแรงของเชื้อรา ที่ 4 ระดับความเข้มข้น ไดแก 1x104, 1x106 , 1x108  และ 1x1010 โคนิเดียตอมล. นําจำนวนเห็บที่ตายและมีเชื้อราขึ้นปกคลุมไปคำนวณหาค่า median  lethal concentration ( LC50 ) และ median ethal time ( LT50 ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ M stat C ซึ่งใช้ หลักการ Probit analysis   พบว่าเชื้อรา สายพันธุ a. 6079   มีค่า LC50 เท่ากับ 2.4 ×104 โคนิเดียต่อมล. มีค่า LT50  เท่ากับ 11.9 วัน สายพันธุ Ma.  6171   มีค่า C50 เท่ากับ 5.00×105 โคนิเดียต่อ มม. ค่า LT50  เท่ากับ 6.31 วัน สายพันธุ  7965   มีคา LC50 เท่ากับ 3.4 × 104 โคนิเดียต่อมล. มีค่า LT50 เท่ากับ 5.53   วัน ซึ่งจากค่า LC 50 และค่า LT50 แสดงให้เห็นว่า  เชื้อราที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมปริมาณเห็บโคไดดีคือ เชื้อราสายพันธุ Ma.  7965 ซึ่งเมื่อนำไปศึกษาผลที่มีต่อผิวหนังละร่างกายโค พบว่าเชื้อราไมสามารถก่อให้เกิดโรคกับโคได


ที่มา : เชียงใหม่สัตวแพทยสาร 2552;7(1):7-17

นิพนธต้นฉบับ






Free TextEditor




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 19 ธันวาคม 2553 16:30:05 น.
Counter : 2055 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.