ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
7 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 9

ไซฮาโลธริน
(cyhalothrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์ ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ ชนิด Technical Grade มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนูตัวผู้) 79 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 56 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนูตัวเมีย) 696 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ด้วงหมัดกระโดด หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนกินใบและดอก หนอนเจาะฝัก หนอนม้วนใบ หนอนเจาะสมอ และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ รวมทั้งไรชนิดต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ผักต่าง ๆ หอม มะเขือเทศ แตง ถั่วชนิดต่าง ๆ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ส้ม ไม้ผลอื่น ๆ และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 2.5% และ 5% อีซี.
อัตราการใช้ ชนิด 2.5% อีซี. ใช้อัตรา 8-16 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ชนิด 5% อีซี. ใช้อัตรา 8-16 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับฝ้ายกับพืชทั่วไป ใช้อัตรา 15-20 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช
อาการเกิดพิษ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังอาจมีอาการระคายเคืองเป็นผื่นคันในรายที่แพ้อาจมีอาการคัดจมูกกล้ามเนื้อกระตุก ชัก ถ้าแพ้มากอาจมีอาการรุนแรง คนไข้อาจหมดสติ โดยทั่วไปอาการพิษที่เกิดขึ้นจะไม่แน่นอน
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ให้ผู้ป่วยดื่มนมสด 1 แก้ว แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ให้ล้างท้องคนป่วยด้วยน้ำหรือน้ำเกลือธรรมดา แล้วให้ยา diazepam ขนาด 2-5 มก. โดยฉีดแบบ IV หรือ IM และฉีดซ้ำทุก 2 ชม. ถ้าผู้ป่วยมีอาการชัก หรือหายใจไม่ออก ควรให้ออกซิเจนช่วย
ข้อควรรู้ - ใช้กำจัดแมลงศัตรูภายนอกของวัว และแกะได้

ไซฟลูธริน
(cyfluthrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์ ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนูตัวผู้) 540 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 1,189 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนกระทู้หอม หนอนม้วนใบ หนอนคืบ หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อยาสูบ แมลงสามง่าม แมลงสาบ ปลวก ยุง ด้วงงวง แมลงวัน มด
พืชที่ใช้ ฝ้าย ส้ม องุ่น ยาสูบ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และผักต่าง ๆ
สูตรผสม 5% และ 10% อีซี.
อัตราการใช้และวิธีใช้ กับผักต่าง ๆ ใช้อัตรา 15 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร องุ่น ฝ้าย และพืชอื่น ๆ ใช้อัตรา 5-10 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ จะมีอาการกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปรกติ หายใจขัด เซื่องซึม
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ห้ามคนไข้รับประทาน นม น้ำมัน ไขมันและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
- เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
- ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้
- ออกฤทธิ์เร็ว

ไซเปอร์มีธริน
(cypermethrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์ ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส และกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนู) 200 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 1,600 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมออเมริกัน หนอนเจาะสมอสีชมพู หนอนคืบ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ มวนแดง
พืชที่ใช้ ข้าว ส้ม ยาสูบ ฝ้าย องุ่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง กาแฟ ถั่วเหลือง ไม้ผล ผักต่าง ๆ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่ว ๆ ไป
สูตรผสม 10% , 15% และ 25% อีซี.
อัตราการใช้และวิธีใช้ แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความเข้มข้นและชนิดของพืช ให้ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้จากฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้มีอาการตัวสั่น กล้ามเนื้อกระตุกแขนขาไม่มีแรง และอาจถึงกับเป็นอัมพาต สำหรับผู้แพ้เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคันเป็นผื่นแดง
การแก้พิษ ถ้ากลืนกินเข้าไปอย่าทำให้อาเจียนหรือให้ของเหลวใด ๆ แก่คนไข้ ให้คนไข้นอนเหยียดคว่ำ แล้วนำส่งแพทย์ทันที ถ้าถูกตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ทันที อย่างน้อย 15 นาที ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ สำหรับแพทย์ให้ล้างท้องคนไข้ด้วย sodium bicarbonate 5% แล้วฉีด diazepam ขนาด 2-5 มก. แบบ IV หรือ IM ถ้าจำเป็นอาจฉีดซ้ำได้ทุก ๆ 2 ชม. ถ้าคนไข้หายใจไม่ออกต้องให้ออกซิเจนแล้วฉีดอะโทรปินซัลเฟท ขนาด 1-2 มก.ทุก 30 นาที รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลาและเป็นอันตรายกับผึ้ง ไม่ควรใช้ในระยะที่พืชออกดอก
- ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้เร็วและมีความคงตัวดี
- ผลในการกำจัดส่วนใหญ่ได้รับจากการที่ตัวยาถูกตัวหนอน เมื่อใช้กับพืชที่มีการเพาะปลูกหนาแน่น จึงควรเพิ่มปริมาณฉีดพ่น
- อัตราและช่วงเวลาการใช้เปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของพืช ซึ่งควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้ทุกครั้ง
- แมลงที่ต้านทานสารกำจัดแมลงกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟทและออร์กาโนคลอรีน ส่วนมากจะแพ้สารกำจัดแมลงชนิดนี้
- ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวไม่มี

ไซโรมาซีน
(cyromazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของหนอนแมลง โดยไม่ให้หนอนลอกคราบเจริญเป็นตัวเต็มวัย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองเล็กน้อย
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันโดยเฉพาะ
สถานที่ใช้ กองมูลสัตว์ในคอกสัตว์เลี้ยง ไก่ หมู และวัว
สูตรผสม 25% ดับบลิวพี
อัตราการใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 250 กรัม ผสมกับน้ำ 10 ลิตร เมื่อใช้ฉีดโดยวิธีฉีดพ่นหรือราด ถ้าใช้โดยวิธีโรยหรือหว่านให้ใช้อัตรา 250 กรัม / 1 ตารางเมตร ก่อนใช้ควรอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ เมื่อถูกผิวหนังมาก ๆ จะทำให้ผิวหนังระคายเคือง หรือถ้าพิษเข้าสู่ร่างกายมาก ๆ จะมีอาการคลื่นไส้ หายใจขัด กล้ามเนื้อกระตุก และจะกลับคืนสู่สภาพปรกติได้ภายใน 2-3 วัน หลังจากที่สารพิษถูกขับออกทางปัสสาวะ
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำที่สะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากลืนกินเข้าไปทำให้อาเจียนโดยการดื่มน้ำเกลืออุ่นหรือล้วงคอ รักษาตามอาการ

ดี ดี ที
(D D T)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน (acute oral LD 50) ทางปาก (คน) 250 มก./กก. (หนู) 113 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดแมลงได้อย่างกว้างขวาง
พืชที่ใช้ ปัจจุบันห้ามใช้กับพืชทุกชนิด ใช้ได้เฉพาะในการกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อไข้มาเลเรียเท่านั้น
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี
ข้อควรรู้ - เป็นอันตรายต่อพืชตระกูลแตง
- มีการสะสมอยู่หน้าผิวดินและสะสมในไขมันสัตว์และคน
- มีความคงตัวสูงและคงสภาพอยู่ได้นาน
- เมื่อใช้ไปนาน ๆ แมลงจะเกิดความต้านทาน
- ปัจจุบันอนุญาตให้นำเข้าและใช้เฉพาะในทางสาธารณสุขเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาใช้ในทางการเกษตร

เดลต้ามีธริน หรือดีคามีธริน
(deltamethrin or decamethrin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์ ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 128 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ หนอนคืบกินใบฝ้าย หนอนม้วนใบ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อขาว หนอนแก้วส้ม หนอนชอนใบ หนอนเจาะลำต้น หนอนกอสีชมพู หนอนกระทู้หอม มวนแดง มวนเขียว เพลี้ยไฟ ด้วงงวงและเพลี้ยอ่อน
พืชที่ใช้ ฝ้าย มะเขือเทศ ส้ม ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ พริก อ้อย ถั่วต่าง ๆ ผักตระกูลกะหล่ำ กระเทียมและหอม
สูตรผสม 3% , 5% อีซี 0.5% ยูแอลวี 2.5% ดับบลิวพี
อัตราการใช้และวิธีใช้ ชนิด 3% อีซี เมื่อใช้กับพืชทั่วไป ใช้อัตรา 5-10 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร เมื่อใช้กับฝ้าย ข้าว ยาสูบ พริก ให้ใช้อัตรา 10-15 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับสูตรผสมชนิดอื่นให้ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้จากฉลาก ควรผสมให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น จะให้ผลในการคุ้มกันประมาณ 7-21 วัน
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้าลง แล้วตามด้วยการมีความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วมีอาการทางประสาท ตกใจง่าย ซึม ตัวสั่นและชักกระตุก
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปให้รีบนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วให้รับประทานยาลดกรด 2-3 วัน ในรายที่มีอาการทางประสาท ให้ยาบาร์บิทูเรท ที่ออกฤทธิ์ปานกลางฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ IV ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลาและสัตว์น้ำอย่างอื่น
- เป็นพิษต่อผึ้ง จึงไม่ควรใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก
- เป็นพิษต่อแมลงวันบ้านมากกว่าไพเรธรินประมาณ 1,000 เท่า
- ออกฤทธิ์เร็ว ขับไล่แมลงได้เล็กน้อย
- คงตัวอยู่ได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนแมลงปากดูดได้ดี
- ประสิทธิภาพและความคงตัวอาจลดลงได้ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส

ไดอะลิฟอส
(dialifos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท ออกฤทธิ์เมื่อกินเข้าไปและเมื่อสัมผัสถูกไอเป็นพิษเมื่อหายใจเข้าไป
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 43-53 มก./กก. (Technical grade) ชนิด 40% อีซี มีพิษเฉียบพลันทางปาก 62 มก./กก. ทางผิวหนัง 145 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมอฝ้ายและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ไรสนิมและไรแดง
พืชที่ใช้ ส้ม องุ่น ฝ้ายและผักต่าง ๆ
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 25-50 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตรกวนให้เข้ากันดี แล้วใช้ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ เมื่อได้รับพิษไม่ว่าจะโดยทางปาก ผิวหนังหรือสูดดมเข้าไป จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ม่านตาหรี่ ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ปวดท้องเกร็ง น้ำตาและน้ำลายไหล เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อกระตุก ตัวเขียวคล้ำขาดออกซิเจน
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้าเข้าปากและมีอาการเป็นพิษรุนแรง ให้คนไข้กินยา อะโทรปินซัลเฟท 1/100 เกรน 2 เม็ด แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ให้ฉีดอะโทรปินซัลเฟท ขนาด 2-4 มก.แบบ IV ให้กับคนไข้ และฉีดซ้ำทุก 5-10 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้นหรือเกิดอาการ atropinization ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยา 2-PAM ร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้ แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน

อ่านต่อตอน 10 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 07 ธันวาคม 2553
Last Update : 7 ธันวาคม 2553 5:22:35 น. 0 comments
Counter : 1245 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.