ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 18

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)


ไพราโซฟอส
(pyrazophos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organophosphate pyrimidine ประเภทดูดซึมออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 415-778 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง และโรคที่เกิดจากเชื้อ Helminthosporium spp.
พืชที่ใช้ องุ่น พืชตระกูลแตง ฟักทอง สตรอเบอร์รี่ ธัญพืช ยาสูบ ผักต่าง ๆ และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 30% อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 6-10 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้ผสมกันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ทุก 7-14 วัน
อาการ เกิดพิษ อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง ถ้าเข้าปาก จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย อาการสั่นที่ปลายลิ้นและเปลือกตา ม่านตาหรี่ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ชีพจรเต้นช้า กล้ามเนื้อเกร็ง ในกรณีที่รับพิษเข้าไปมากระบบประสาทจะถูกทำลายและกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ ถ้าเข้าปาก ห้ามทำให้อาเจียน สำหรับแพทย์ ให้คนไข้ด้วยยา liquid paraffin ขนาด 200 มิลลิลิตร แล้วล้างท้องโดยใช้น้ำ 4 ลิตร ระวังอย่าให้สารพิษหลงเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ เมื่อล้างท้องเสร็จแล้วให้คนไข้รับประทานแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล และ โซเดียมซัลเฟท ให้ อะโทรปินซัลเฟท 2 มิลลิกรัม ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำและฉีดซ้ำทุก 15 นาที และให้ Toxogonin 250 มิลลิลิตร หรือฉีด 2-0.5-1 กรัม ทางเส้นเลือดดำช้า ๆ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
- เป็นอันตรายกับผึ้ง ไม่ควรใช้ในระยะที่พืชกำลังออกดอก
- เป็นอันตรายต่อปลา
- ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสารคลุกเมล็ดหรือราดดิน
- เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นได้

ไพโรควิลอน
(pyroquilon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา pyrroloquinoline ประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 320 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 3,100 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ กำจัดเชื้อ Pyricularia oryzae ของข้าว
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 2.7% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

ควินโตซีน หรือ พีซีเอ็นบี
(quintozene or PCNB)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organochlorine ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกัน โรคพืชที่อยู่ในดินและใช้คลุกเมล็ด
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 15,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคเน่าดำของกะหล่ำปลี โรครากเน่าของฝ้าย โรคสแคปของกะหล่ำปม โรคที่เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia spp. และ Sclerotinia spp. โรคต้นเน่าและรากเน่าของถั่วเหลือง โรคใบไหม้ของมะเขือเทศและพริกไทย โรคเน่าของกระเทียมและโรคอื่น ๆ อีกมาก
พืช ที่ใช้ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม ถั่วต่าง ๆ ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย กระเทียม พริกไทย มันฝรั่ง ข้าวฟ่าง มะเขือเทศ ข้าวสาลี กล้วย ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ชนิด 75% ใช้คลุกเมล็ดหรือคลุกดินตามอัตราที่กำหนดบนฉลาก หรืออาจจะใช้อัตราที่กำหนดผสมกับน้ำ แล้วราดบริเวณโคนต้นก็ได้
อาการ เกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังจะเกิดอาการระคายเคือง หรือมีอาการแพ้ ถ้าเข้าตาจะทำให้ดวงตาอักเสบ ถ้าสูดดมจะทำให้ทางเดินหายใจระคายเคืองและอักเสบ ถ้ากลืนกินเข้าไปจะปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ ตับและไต
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด ถ้ากลืนกินเข้าไป ต้องนำคนไข้ส่งแพทย์ทันที ห้ามทำให้อาเจียน รักษาตามอาการไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ Fusarium และ Pythium spp.
- ห้ามนำเมล็ดที่คลุกด้วยสารชนิดนี้ไปเป็นอาหารคนและสัตว์
- ผสมได้กับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ยกเว้นพวกที่จะมีปฏิกริยาออกฤทธิ์เป็นด่าง

ซัลเฟอร์
(sulphur)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา inorganic ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช กำจัดไรและแมลงบางชนิดได้
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 3,000 มก./กก. ไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ แต่อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรค พืชที่กำจัดได้ โรคสแคป โรคใบจุด โรคเน่าสีน้ำตาล โรคราแป้งและราน้ำค้าง โรคราสนิม รวมทั้งกำจัดไร เพลี้ยหอยและเพลี้ยไฟได้
พืช ที่ใช้ กล้วย องุ่น สตรอเบอร์รี่ ส้ม ฝ้าย ถั่วต่าง ๆ มะม่วง แอสพารากัส ผักต่าง ๆ มะเขือ หอม กระเทียม พริกไทย มันฝรั่ง ฟักทอง มะเขือเทศ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่วอย่างสม่ำเสมอ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - อย่าใช้ในขณะที่อากาศร้อนเกินกว่า 32 องศาเซลเซียส
- ห้ามใช้ร่วมกับสารที่เป็นน้ำมัน หรือภายหลังจากฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นน้ำมันทันที
- เข้ากับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้
- ไม่มีอันตรายต่อผึ้ง

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 17


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)

โปรฟิโคนาโซล
(propiconazole)
การ ออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา triazole ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางบำบัดรักษาและป้องกันโรคพืช ใช้กับโรคที่เป็นกับใบพืชโดยเฉพาะ
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,517 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,000 มก./กก. (หนู) อาจทำให้ผิวหนัง ดวงตาและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Erysiphe spp. โรค dollar spot โรค brown patch โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม โรคสมัท (smut) และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Puccinia spp , Septoria spp , Rhynochosporium spp. และเชื้อ Pseudocercosporella spp.
พืชที่ใช้ ถั่วลิสง ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ท และธัญพืชอื่น ๆ ดอกเบญจมาศ ยางพารา กาแฟ อ้อย
สูตรผสม 25% ดับบลิวพี 12.5% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก เมื่อตรวจพบว่ามีโรคพืชเกิดขึ้น ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 4-5 สัปดาห์
- ให้ผลในการควบคุมโรคพืชได้นาน 3-6 อาทิตย์
- เพื่อเพิ่มขอบเขตความสามารถในการกำจัดโรคพืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อาจใช้ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้
- ในทางปฏิบัติ เป็นพิษต่อปลา

โปรพิเน็บ
(propineb)
การ ออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา carbamate ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชที่เกิดตามใบ สารตกค้างออกฤทธิ์อยู่ได้นานและกำจัดไรได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 8,500 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก.
โรค พืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Septoria spp. โรค Sigatoka โรคราน้ำค้าง โรค Earty and late blight โรคที่เกิดจากเชื้อ Botrytis spp , Cercospora spp , Phytophthora spp , Alternaria spp. และโรคราแป้ง
พืช ที่ใช้ กล้วย ส้ม ฝ้าย องุ่น มันฝรั่ง ข้าว ชา มะเขือเทศ ยาสูบ ผักต่าง ๆ หอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง ไม้ผล ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 70% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 30-40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 7-10 วัน
อาการ เกิดพิษ ถ้าเข้าตา จมูกหรือถูกผิวหนัง จะมีอาการคัน เป็นผื่นแดง ถ้ากินเข้าไปจะปวดศีรษะ เซื่องซึม คลื่นเหียน อาเจียน ท้องร่วง อ่อนเพลีย
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากลืนกินเข้าไป รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ล้างท้องคนไข้แล้วตามด้วยยา Lacative salt สูดดม Camomile แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ห้ามให้ยา หรืออาหารที่มีแอลกอฮอล์ ไขมัน และน้ำมันผสมอยู่
ข้อควรรู้ - อย่าใช้ฉีดพ่นก่อนหรือหลังที่ใช้สารกำจัดเชื้อราที่มี copper ประกอบอยู่
- เมื่อผสมกับสารที่มีสภาพเป็นด่าง ให้รีบฉีดพ่นทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้
- ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

โปรธิโอคาร์บ
(prothiocarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราและคลุกเมล็ดป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,300 มก./กก.
โรค พืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Pythium spp , Peronospora spp , Bremia spp , Phytophthora spp. และเชื้อ Peronosporales
พืชที่ใช้ ใช้คลุกเมล็ด
สูตรผสม 70% แอลซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้คลุกเมล็ด หยอดตามร่องปลูกและร่องหว่านหรือฉีดพ่นทั้งก่อนและหลังงอก

ไพราคาร์โบลิด
(pyracarbolid)
การออกฤทธิ์ กำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 15,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราสนิม โรคสมัท โรครากเน่าและโรคโคนเน่า
พืชที่ใช้ ข้าว ธัญพืช ชา กาแฟ ไม้ประดับ เมล็ดฝ้ายและธัญพืชต่าง ๆ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

อ่านต่อตอน 19 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย



Create Date : 22 มกราคม 2554
Last Update : 22 มกราคม 2554 7:37:40 น. 0 comments
Counter : 2052 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.