ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 5

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ
มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ เพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)


คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์
(copper hydroxide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์ (inorganic) ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Cercospora spp. โรคแบคทีเรียล ไบล์ท (Bacterial blight) โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคใบม้วน (Leaf curl) โรค Late blight โรค Angular leaf spot โรค Melanose โรคสะแคป (Scab) และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กล้วย ถั่วต่าง ๆ บรอคโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก โกโก้ แตงแคนตาลูป แครอท คื่นฉ่าย เชอร์รี่ ส้ม กาแฟ แตงกวา องุ่น มะม่วง พริกไทย มะเขือ ฟักทอง สตรอเบอร์รี่ แอปเปิล มะเขือเทศ ผักกาดหอม มันฝรั่ง แตงโม และข้าวสาลี
สูตรผสม 35% และ 77% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช เมื่อพบว่ามีโรคพืชเริ่มระบาด ใช้ซ้ำได้ทุก 10-14 วัน
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตาและระบบหายใจเกิดอาการระคายเคือง
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน
- เป็นพิษต่อปลา
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นได้เกือบทั้งหมด

คอปเปอร์ อ๊อกไซด์
(copper oxide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา (inorganic) ออกฤทธิ์ในทางป้องกันโรคพืชและใช้คลุกเมล็ด
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 470 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคสแคป (Scab) โรคสมัท (Smuts) โรคใบไหม้ (Blight) โรคเน่าคอดิน โรคเน่าสีน้ำตาลและสีดำ โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กล้วย ถั่ว ข้าวโพด บรอคโคลี กะหล่ำปลี แคนตาลูป แครอท กะหล่ำดอก คื่นฉ่าย ส้ม โกโก้ กาแฟ แตงกวา มะเขือ กระเทียม องุ่น คะน้า หอม พริกไทย มันฝรั่ง ฟักทอง สตรอเบอร์รี่ มะเขือเทศ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชทุก 7-10 วัน
ข้อควรรู้ - ไม่ผสมกับ lime sulfur แต่ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ
- ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
(copper oxychloride)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์ (inorganic) ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชและแบคทีเรีย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,440 มก./กก. มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยมาก
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส โรคมีลาโนส โรคสแคป โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรคราสนิม โรคผลเน่า โรคแคงเคอร์
พืชที่ใช้ องุ่น ส้ม มะม่วง ถั่ว กล้วย มันฝรั่ง มะเขือเทศ ผักต่าง ๆ มะเขือ ชา กาแฟ ยาสูบ พริก มะนาว พืชตระกูลแตง หอม สตรอเบอร์รี่ พริกไทย ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 62% และ 85% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ชนิด 85% ใช้อัตรา 30-80 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็นและเขย่าถังขณะฉีดพ่น
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้แสบร้อนและอักเสบ ถ้าหายใจเอาละอองฝุ่นเข้าไปอาการจะเกิดขึ้นน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับปริมาณและละอองฝุ่นที่สูดดมเข้าไป ซึ่งอาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มีรสโลหะอยู่ในปาก ถ้าเข้าปากจะมีอาการแสบร้อนในปากและคอ กระเพาะและลำไส้อักเสบ อาเจียน ท้องเสีย ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกในกระเพาะและจะปนออกมากับอุจจาระ ปัสสาวะจะมีลักษณะคล้ายเป็นโรคดีซ่าน ตับโตและล้มเหลว
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ต้องรีบทำให้อาเจียน ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น สำหรับแพทย์ ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป ให้คนไข้ดื่มน้ำนมแม๊กนีเซียแล้วตามด้วยน้ำเกลือจนคนไข้อาเจียนออกมาหมด ล้างท้องคนไข้แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล กับ Potassium ferrocyamide 0.1% แล้วให้คนไข้รับประทานยา Penicillamine ขนาด 0.3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ในรายที่มีอาการหนัก ให้ฉีดด้วยยา บีเอแอล รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - มีคุณสมบัติกัดกร่อนโลหะ
- ในการให้ได้ผลดีนั้น จะต้องฉีดพ่นโดยละเอียดและทั่วถึง
- ถ้าน้ำใช้ผสมเป็นน้ำกระด้าง จะทำให้ได้สารละลายที่ข้นแข็ง
- ห้ามผสมหรือใช้ร่วมกับ ทีเอ็นทีดี (TNTD) สารประกอบปรอท น้ำปูนขาว (Lime sulfur) และสารกำจัดเชื้อรา dithiocarbamate
- ผสมกับสารกำจัดเชื้อราชนิดอื่น ๆ ได้
- ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

คอปเปอร์ ซัลเฟท
(copper sulfate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์ (inorganic) ออกฤทธิ์ให้ผลในทางด้านป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 300 มก./กก. ทำให้ดวงตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ (Leaf blight) โรคใบจุด (Cercospora leaf spot) โรคแบ๊คทีเรียลไบล์ท (Bacterial blight) โรคราน้ำค้าง โรคใบม้วน รวมทั้งใช้กำจัดสาหร่ายและตะไคร่น้ำ
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง มะเขือเทศ องุ่น คื่นฉ่าย แครอท พริกไทย สตรอเบอร์รี่และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 10% , 20% และ 25% ฝุ่น
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ทุก 7-10 วัน
อาการเกิดพิษ อาจกัดเนื้อเยื่อดวงตา ผิวหนังและท่อทางเดินอาหาร หากกลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นเหียน อาเจียนและช๊อค
การแก้พิษ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องทำให้อาเจียน ด้วยการให้ดื่มน้ำนมแม๊กนีเซีย 2 แก้ว ทำให้อาเจียนซ้ำจนกว่าจะหมด แล้วไปหาแพทย์ สำหรับแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน
- เป็นพิษต่อปลา
- ใช้สารนี้ในขณะที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบจะได้ผลดีขึ้น
- สารนี้จะดูดความชื้นทันทีเมื่อถูกกับอากาศ
- ผสมกับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้
- ในประเทศไทย มีจำหน่ายในรูปผสมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่น คือ คอปเปอร์ ซัลเฟท + มาเน็บ + ซีเน็บ (63 + 4 + 4 +%)


อ่านต่อตอน 6 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 08 มกราคม 2554
Last Update : 8 มกราคม 2554 11:24:17 น. 0 comments
Counter : 5743 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.