ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 16


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)

โปลี่อ๊อกซิน
(polyoxins)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา antibiotic ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน 21,200 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบไหม้ของข้าว โรคจุดดำ โรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria และ Botrytis โรคเน่า Sclerotinia โรคใบจุด โรคราแป้ง และอื่น ๆแ
พืชที่ใช้ ข้าว มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง สตรอเบอร์รี่ แครอท ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 2.2% ดับบลิวพี 10% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก เมื่อมีโรคพืชปรากฏ ฉีดพ่นซ้ำได้ทุก 10 วัน
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
- ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น

โปรคลอราซ
(prochloraz)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา imidazole ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและกำจัดโรคพืช
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,600 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 3,000 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง Fusarium , Septoria spp. โรคสแคป Botrytis , Alternaria , Sclerotina , Cercospora , Rice blast , Penicillium spp. และโรคอื่น ๆ อีกจำนวนมาก
พืชที่ใช้ ข้าวและธัญพืชทั่วไป เห็ดและผักต่าง ๆ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช เมื่อพบเห็นว่าโรคพืชเริ่มปรากฏ ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดป้องกันโรคพืชได้ด้วย
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา แต่ปลอดภัยสำหรับผึ้งและแมลงที่มีประโยชน์อื่น ๆ
- อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

โปรไซมิโดน
(procymidone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dicarboximide ประเภทดูดซึม และออกฤทธิ์ในทางสัมผัส ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 6,800 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,500 มก./กก. (หนู)
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Botrytis , Sclerotinia , Helminthosporium และ Monillinia spp.
พืชที่ใช้ พืชผัก ไม้ผลและพืชไร่ เช่น ธัญพืช ถั่ว มันฝรั่ง และอื่น ๆ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก เมื่อปรากฏว่ามีโรคพืช ใช้ซ้ำได้ตามกำหนด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
- ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา
- ให้ผลดีในการกำจัดเชื้อโรคพืชที่มีความต้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราโนมิลและธิโอฟาเนท เม็ทธิล
- มีความคงตัวอยู่ได้นานมากกว่าหนึ่งอาทิตย์

โปรพาโมคาร์บ
(propamocarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา carbamate ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช สามารถดูดซึมเข้าไปในต้นได้โดยทางรากและเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใบพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 7,860 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง มากกว่า 3,600 มก./กก. (กระต่าย)
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคเน่าคอดิน โรค Black shank โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และโรคที่เกิดจากเชื้อ Pythium , Phytophthora , Bremia , Aphanomyces , Peronospora , Pseudoperonospora และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ยาสูบ พืชผักและพืชอย่างอื่น
สูตรผสม 72% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก ใช้ซ้ำได้ทุก 7-21 วัน
การแก้พิษ ยาอะโทรปิน
ข้อควรรู้ - ควรใช้เป็นสารป้องกันโรคพืช
- ควรใช้ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นเพื่อเพิ่มขอบเขตการกำจัดโรคพืช
- ไม่เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ป่า
- ออกฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้ 10-21 วัน

อ่านต่อตอน 17 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย




 

Create Date : 20 มกราคม 2554
1 comments
Last Update : 20 มกราคม 2554 9:11:09 น.
Counter : 2660 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แวะไปเที่ยวงานเจียไต๋ด้วยกันนะคะ

 

โดย: auau_py 20 มกราคม 2554 10:05:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.