ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 10

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)

เฟอร์แบม
(ferbam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราคาร์บาเมท (carbamate)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 17,000 มก./กก. ทำให้จมูกและลำคอระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราสีน้ำเงิน (Bluemold) โรคเน่าคอดิน (Damping off) โรคใบจุด โรคกล้าแห้ง (Seeding blight) โรคเน่าสีน้ำตาล โรคสแคป โรคราสนิม (Rust) โรคใบม้วน โรคแอนแทรกโนส โรคราน้ำค้างและโรคที่เกิดจากเชื้อ Botrytis spp.
พืช ที่ใช้ ยาสูบ มะเขือเทศ แอปเปิล ถั่วลันเตา กะหล่ำปลี แตงแคนตาลูป แครอท คื่นฉ่าย ส้ม แตงกวา องุ่น พริกไทย มันฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ แตงโมและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 3-98% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ - ไม่เข้ากับสารประกอบพวก Lime , copper และ mercury
- ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อผสมกับสารที่มี copper , mercury หรือ Lime ผสมอยู่
- เข้าได้กับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราธรรมดาทั่วไป
- ออกฤทธิ์เป็นสารขับไล่ Japanese beetles
- ในประเทศไทยมีจำหน่ายในรูปที่ผสมกับสารกำจัดเชื้อราชนิดอื่น คือ
เฟอร์แบม + แมนโคเซ็บ – ไตรแมนโซน 85% - โรห์นปูแลงค์
เฟอร์แบม + มาเน็บ + ซีเน็บ – แมนบีไซด์ – หจก.ส่งเสริมเกษตร

ฟลูโตลานิล
(flutolanil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา anilide : trifluoromethyl ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 10,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบไหม้ (Sheath blight) โรคราสนิม (Rust) โรคที่เกิดจากเชื้อรา Basidiomycetes spp. , Rhizoctonia , Corticium และ Typhula
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง ข้าว ธัญพืช ผักต่าง ๆ และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 25% และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืชให้ทั่ว ก่อนที่จะเกิดโรค ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- มีอายุอยู่ในดินได้ 40-60 วัน

โฟลเพ็ท
(folpet)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phthalimide ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 10,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 22,600 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุด โรคราแป้ง โรคสแคป โรคมีลาโนส โรคDeadarm โรคราสีเทา (Greymold) โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคเน่าดำขององุ่น โรคไรสนิม และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Gleosporium , Botrytis , Alternaria , Pythium & Rhizoctonia spp.
พืช ที่ใช้ ผักตระกูลคื่นฉ่าย ส้ม เชอร์รี่ พืชตระกูลแตง กระเทียม กุหลาบ องุ่น หอม ฟักทอง มะเขือเทศ พืชผักและไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 50% และ 75% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชตามช่วงระยะที่กำหนด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ห้ามผสมหรือใช้ฉีดพ่นในระยะใกล้ชิดกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรูปน้ำมัน
- อย่าใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงที่อยู่ในรูป อีซี (น้ำมัน)
- เป็นพิษต่อปลา

ฟอสเอ็ทธิล อลูมิเนียม
(fosethyl aluminium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organo-aluminium ประเภทดูดซึมเข้าไปในต้นได้ โดยผ่านทางใบ ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,800 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ดวงตา ผิวหนังและทางเดินหายใจระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรครากเน่า โรคผลเน่า โรคราน้ำค้าง โรคใบร่วง โรคเส้นดำ โรคเน่าดำ โรค (Phytophthora , Plasmopara , Bremia spp. Etc)
พืช ที่ใช้ ทุเรียน ส้ม มะนาว องุ่น กล้ายางพาราและยางพารา กล้วยไม้ สัปปะรด โกโก้ พืชตระกูลแตง หอม พริกไทย สตรอเบอร์รี่และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ มีความแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของพืชและโรคที่ต้องการกำจัด ดังนั้นจึงควรศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
อาการ เกิดพิษ ทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง ถ้ากลืนกินเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็วและอาเจียน
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังไม่หมดสติ ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือดื่มน้ำเกลืออุ่น และล้างท้อง ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
- ห้ามผสมกับปุ๋ยที่ฉีดพ่นทางใบ
- ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดโรค Late blight
- ให้ผลควบคุมโรคพืชได้นาน
- ไม่ให้ผลในทางป้องกัน เพราะจะออกฤทธิ์ต่อเมื่อมีเชื้อโรคเท่านั้น

อ่านต่อตอน 11 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 11 มกราคม 2554
Last Update : 11 มกราคม 2554 10:03:51 น. 0 comments
Counter : 1843 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.