ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 4

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ
มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ
เพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)

คาร์เบ็นดาซิม
(carbendazim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา benzimidazole:MBC ประเภทดูดซึมทั้งทางใบและทางราก ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 15,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 10,000 มก./กก.
โรค พืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ โรคกาบใบแห้ง โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคราแป้ง โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส โรคสแคป โรคมีลาโนส โรคราสีเทา โรคใบจุดดำ โรคผลเน่า
พืช ที่ใช้ ข้าว องุ่น ส้ม ถั่ว มะม่วง ยาสูบ กล้วย สัปปะรด กาแฟ ชา ผักต่าง ๆ พืชไร่ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี , 50% เอฟ (น้ำข้น)
อัตรา ใช้และวิธีใช้ กำจัดโรคพืชทั่วไปใช้อัตรา 6-12 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช เมื่อตรวจพบว่ามีโรคพืชปรากฏ ใช้ซ้ำทุก 7-14 วัน ในกรณีใช้แช่ท่อนพันธุ์อ้อย ใช้อัตรา 30-60 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็วแล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปได้
- ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง เป็นพิษต่อปลา
- ขัดขวางหรือยับยั้งการเพิ่มปริมาณของตัวไร
- ห้ามผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- อย่าใช้ในสภาพที่มีอากาศร้อน
- ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 4 สัปดาห์

คาร์บ๊อกซิน
(carboxin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา anilide ประเภทดูดซึมที่ใช้ป้องกันโรคที่เกิดกับเมล็ดด้วยการคลุกเมล็ด
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,820 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 8,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคสมัท (Smuts) โรคเน่าคอดิน และโรคที่เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia spp.
พืชที่ใช้ ข้าว ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดพืช ข้าวฟ่าง มะเขือเทศ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลีและอื่น ๆ
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ อัตราใช้แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช โรคและวิธีใช้ จึงควรศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
อาการ เกิดพิษ ทำให้ผิวหนังระคายเคือง ถ้าเข้าตาอาจมีอาการอักเสบรุนแรง ถ้ากลืนกินเข้าไปจะทำให้ไม่สบาย คลื่นไส้ ปวดท้องและท้องเสีย
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังมีสติอยู่ ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น สำหรับแพทย์ ให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - ห้ามนำเมล็ดพืชที่คลุกด้วยสารนี้ไปเป็นอาหาร
- เป็นพิษต่อปลา
- กัดกร่อนโลหะ
- ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้กันทั่วไป
- ไม่คงตัวเมื่ออยู่ในดิน

คลอโรธาโลนิล
(chlorothalonil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phthalimide ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชและได้ผลทางรักษาบ้างเล็กน้อย
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 10,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 10,000 มก./กก. ทำให้ดวงตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง
โรค พืชที่กำจัดได้ โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส โรคใบไหม้ โรครากำมะหยี่สีเขียว โรคตากบ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคกุ้งแห้ง โรคราสนิท และโรคใบจุดสีม่วง
พืช ที่ใช้ พืชตระกูลกะหล่ำ ผักกาดขาว แตงกวา แตงโม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ยาสูบ พริก ถั่วลิสง กระเทียม คื่นฉ่าย หอม มะละกอ ฟักทอง และถั่วเหลือง
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 25-50 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชเมื่อพบเห็นว่ามีโรคพืชเริ่มระบาด ในขณะฉีดพ่นควรเขย่าถังผสมไปด้วย ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนัง ในรายที่แพ้จะมีอาการคันที่ผิวหนังและเป็นผื่นแดง ดวงตาแดง ท่อหายใจมีอาการระคายเคือง
การ แก้พิษ ถ้าเกิดอาการพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน 15 นาที ถ้าเข้าปากห้ามทำให้อาเจียน รีบนำคนไข้ส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ให้ล้างท้องคนไข้ แต่ถ้าคนไข้อาเจียนเอง ต้องรีบดูดสิ่งตกค้างจากช่องทางหายใจออกให้หมด แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 1-7 วัน
- เป็นอันตรายต่อปลา
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่นได้
- ให้ผลในการกำจัดโรคพืชนาน
- ไม่กัดกร่อนโลหะ
- ห้ามเพิ่มสารลดความตึงผิว (Surfactants) หรือห้ามผสมกับปุ๋ยน้ำ
- ห้ามใช้กำจัดโรคหอมเกิน 6 ครั้ง

คอปเปอร์ แอมโมเนียม คาร์โบเนท
(copper ammonium carbonate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ใช้ป้องกันโรคพืชทางใบ
ความเป็นพิษ มีความเป็นพิษน้อย อาจทำให้ดวงตาและลำคอระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุด Angular โรคใบจุด Alternaria โรคใบจุด เซอร์โคสปอร์รา โรค Early และ Late blight โรคแอนแทรคโนส โรคมีลาโนส โรคราแป้ง โรคราน้ำค้างและโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ พืชตระกูลถั่ว คื่นฉ่าย ส้ม แตง องุ่น พริกไทย มันฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ มะเขือเทศ และอื่น ๆ
สูตรผสม อยู่ในรูป อีซีและเอสพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลากในขณะที่พืชยังเล็กอยู่ และใช้อย่างต่อเนื่องห่างกันครั้งละ 5-7 วัน การใช้สารมาเน็บผสม จะช่วยให้สามารถกำจัดโรคพืชได้กว้างขวางมากขึ้น
ข้อควรรู้ - เป็นสารกัดกร่อนอลูมิเนียม
- เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามผสมกับโอไมท์ (Omite) และ ดีเอ็นบีพี (DNBP)
- เมื่อใช้กับส้ม ห้ามใช้ร่วมกับสารที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน
- เมื่อใช้แอมโมเนียมจะระเหยไป คงเหลือไว้แต่คอปเปอร์ไบคาร์โบเนท (Copper bicarbonate)
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้


อ่านต่อตอน 5 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย




 

Create Date : 06 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 6 มกราคม 2554 9:02:03 น.
Counter : 1739 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.