ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 3

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผย แพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ เพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)

บูธิโอเบท
(buthiobate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา Pyridine ที่ออกฤทธิ์ให้ผลทั้งในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,200 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคบลาส(Blast) โรคใบจุด โรคกาบใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคแอนแทรคโนส
พืชที่ใช้ ไม้ผล ผักต่าง ๆ แตงกวา มะเขือ มันฝรั่ง พริกไทย ยาสูบ สตรอเบอร์รี่ ถั่ว ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 10% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำ กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นทั้งใต้ใบและบนใบให้ทั่วต้นพืช เมื่อปรากฏว่ามีโรคพืชในพื้นที่เพาะปลูก ใช้ซ้ำได้ทุก 7-10 วัน
ข้อควรรู้ - ใช้กำจัดโรคราแป้งที่มีความต้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราชนิดอื่น
- อาจผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
- เป็นพิษต่อปลาค่อนข้างน้อย

แคลเซียม โปลี่ซัลไฟด์
(calcium polysulphide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ใช้กำจัดได้ทั้งโรคพืช ไรและแมลงที่อยู่ตามใบพืช
ความเป็นพิษ มีพิษปานกลาง ทำให้ผิวหนังระคายเคืองและดวงตาเสียหาย
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส โรคสะแคป โรคเน่าสีน้ำตาล รวมทั้งแมลง ไรและเพลี้ยหอย
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง องุ่นและไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 17-31% (น้ำ) , 65-70% (ผงแป้ง) , 29% แอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - ถ้าใช้ในสภาพที่มีอากาศร้อน จะทำให้ใบไหม้
- ไม่เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด
- เป็นสารกัดกร่อนโลหะ

แคปตาโฟล
(captafol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dicarboximide ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช โดยขัดขวางการงอกหรือเจริญเติบโตตองสปอร์เชื้อรา
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,000-6,200 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 15,400 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังเกิดผื่นคันขึ้นมาได้
โรคพืชที่กำจัดได้ ป้องกันและกำจัดเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบไหม้ (Blight) โรคแคงเคอร์ (canker) โรคราน้ำค้าง โรคเน่าสี้น้ำตาล โรคสะแคป โรคเน่าคอดิน โรคแอนแทรคโนส ราสีเทาและโรคอื่น ๆ รวมทั้งเชื้อราที่อยู่ในดิน
พืชที่ใช้ ทุเรียน ส้ม กาแฟ สัปปะรด ไม้ผลบางชนิด หอม มะเขือเทศ แตงโม แตงกวา ข้าวโพด มันฝรั่ง เมล็ดข้าว เมล็ดฝ้ายและเมล็ดถั่วลิสง
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี และ 39% เอฟ (น้ำ)
ข้อควรรู้ - ปัจจุบันทางราชการไม่อนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายและใช้ในประเทศ

แคปแทน
(captan)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dicarboximide ที่ให้ผลในทางป้องกัน รักษาและกำจัดโรคพืขให้หมดสิ้น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 9,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,500 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคสแคป โรคเน่าดำ โรคเน่าสีน้ำตาล โรคใบจุด โรค leaf spot , dead arm โรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ (leaf blight) โรคแอนแทรคโนส โรคเน่าคอดินและโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ องุ่น แอสพารากัส ถั่วลันเตา คะน้า บรอคโคลี่ กะหล่ำปลี แคนตาลูป กะหล่ำดอก คื่นฉ่าย ส้ม มะม่วง หอม ถั่วลิสง พริกไทย สัปปะรด มันฝรั่ง ฟักทอง ข้าว ทานตะวัน ป่าน ปอ ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ฝ้าย สตรอเบอร์รี่ มะเขือเทศ แตงโม ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ สำหรับพืชทั่วไปใช้อัตรา 30-50 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืชก่อนที่อาการของโรคจะปรากฏให้เห็น ในกรณีคลุกเมล็ดใช้อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ด 1 กก.
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตาและทางเดินระบบหายใจระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน 15 นาที ในกรณีกลืนกินเข้าไป ต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยอาเจียนด้วยการล้วงคอหรือนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่างและน้ำมัน

อ่านต่อตอน 4 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 06 มกราคม 2554
Last Update : 6 มกราคม 2554 8:17:53 น. 0 comments
Counter : 2784 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.