ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 14

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)

มัยโคลบูตานิล หรือ ซิสเธน
(myclobutanil or systhane)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 1,600 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ ป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา Ascomycetes , Deuteromycetes และ Basidiomycetes
พืชที่ใช้ อยู่ในระหว่างการทดลอง
สูตรผสม อยู่ในรูปน้ำมันผสมน้ำ (อีซี) และผงละลายน้ำ (ดับบลิวพี)
หมายเหตุ ไม่มีจำหน่ายในประเทศ

นีโอ – อะโซซิน
(neo – asozin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organic arsenical ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 5,700 มก./กก. (หนู) ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบไหม้ และ โรคเน่าของผลองุ่นสุก
พืชที่ใช้ ข้าว องุ่น
สูตรผสม 6.5% อีซี 4% ฝุ่น
อัตราใช้และวิธีใช้ สำหรับข้าว ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งที่กาบใบและลำต้น ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - ปลาจะตาย เมื่อมีตัวยานี้อยู่ในน้ำ 2-20 ppm.
- หลีกเลี่ยงอย่าใช้ซ้ำหลายครั้ง ควรใช้ก่อนระยะแตกยอดอ่อนเท่านั้น
- อาจใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

โอฟูเรซ
(ofurace)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phenylamide ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลทั้งในทางป้องกันและรักษาโรคพืช ดูดซึมเข้าลำต้นได้ทั้งทางรากและใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,600 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. (กระต่าย) อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Phycomycetes ซึ่งได้แก่ โรคราน้ำค้าง โรค Late blight และ โรคที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora คือโรครากเน่าและโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ องุ่น ผักกาดหอม มันฝรั่ง ยาสูบ ข้าว และพืชสวน
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช 14 วัน/ครั้ง หรืออาจจะใช้โดยวิธีรดโคนต้น จุ่มกิ่งพันธุ์ หรือคลุกเมล็ดก็ได้
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ไม่สามารถกำจัดโรคสแคป โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคเน่าดำและโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Botrytis spp. Fusarium spp. และ Septoria spp.
- แสดงผลในทางรักษาโรคพืชได้ดีมาก

อ๊อกซาไดซิล
(oxadixyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phenylamide ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,860 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Peronosporales รวมทั้งโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ (Early and late blight) โรคราสนิม และโรคพืชอื่น ๆ
พืชที่ใช้ องุ่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง พืชผัก ยาสูบ ไม้ผลและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 4% และ 90% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เมื่อพบว่ามีโรค ฉีดพ่นซ้ำทุก 10-14 วัน
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - นิยมใช้ในลักษณะที่ผสมกับสารอื่น เพื่อช่วยให้การป้องกันโรคพืชกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
- สามารถแทรกซึมเข้าไปในต้นได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางใบและราก

อ๊อกซิน – คอปเปอร์
(oxine copper)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organic copper หรือ quinoline
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 10,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคมีลาโนส โรคเน่าที่เกิดจากเชื้อ Alternaria โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคสแคป โรค Sooty blotch และ Molds and rots
พืชที่ใช้ ดอกคาร์เนชั่น กุหลาบ มะเขือเทศ แตงต่าง ๆ ส้ม ชา รวมทั้งใช้ทาอุปกรณ์เก็บและลังบรรจุผลไม้
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี และในรูปน้ำมันผสมน้ำ (อีซี)
วิธีใช้ ใช้คลุกเมล็ดหรือใช้ทาแผลพืชภายหลังถูกตัดแต่งกิ่ง หรือใช้วิธีการอื่นที่แนะนำบนฉลาก
หมายเหตุ ไม่มีจำหน่ายในประเทศ

อ่านต่อตอน 15 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย




 

Create Date : 17 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 20 มกราคม 2554 9:06:56 น.
Counter : 1637 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.