"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
12 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
ชนชาติฮั่น


ชนชาติฮั่น เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหวงตี้ (黄帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ชนชาติฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า

ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การทักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพ ที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ

นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน

บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้

และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia)

ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลหยวนเซียว เช็งเม้ง เทศกาลไหว้พระจันทร์ (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น

ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น (ฮั่นอี่ว์) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น (ฮั่นจื้อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方话) ภาษากวางตุ้ง (粤语) ภาษาแคะ (客家话) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (闽南话) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (闽北话) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吴语) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘语) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (赣语)


ในสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย เป็นยุคสมัยที่สัญญาขายชาติหลายฉบับได้รับการลงนามโดยข้าราชการผู้โกงกินที่สงครามฝิ่นปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1840 และเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ลัทธิจักรวรรดินิยมยาตราเข้าสู่ดินแดนจงหยวน

เมื่อกองทัพทหาร 8 ชาติบุกเข้าประเทศจีนในปี ค.ศ. 1900 และเป็นยุคเข็ญของชาวจีนที่ถูกตราหน้าจากชาวโลกว่าเป็น 'ขี้โรคแห่งเอเชีย' บ้าง 'ทหารผมเปีย' บ้าง หรือแม้แต่ล้อเลียนการแต่งกายชุดยาวกลอมข้อเท้ากับชุดขี่ม้าแบบชาวแมนจู

การรุกรานจากมหาอำนาจตะวันตก ความฟอนเฟะของราชสำนักชิง กอปรกับความอ่อนแอของชาวจีนได้สร้างความคับแค้นใจให้แก่ ดร. ซุน อย่างใหญ่หลวง ท่านได้รวบรวมกลุ่มคนผู้รักชาติขึ้นเพื่อขับไล่ต่างชาติ และปรารถนาที่จักเสริมสร้างความเป็นชาติขึ้นมาใหม่

ภายหลังการเสียสละเลือดเนื้อของเหล่าวีรชนทั้งหลาย ชาวจีนก็ประสบชัยชนะสามารถล้มล้างราชสำนักชิงในการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) เมื่อปี ค.ศ. 1911

และก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐ โดยมีท่าน ดร. ซุนยัตเซ็น ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก นับจากนั้น ดร. ซุนได้ริเริ่มระบบการปกครอง ปฏิรูปเศรษฐกิจและกฎหมายต่าง ๆ และให้ตัดหางเปียที่ชาวจีนเคยไว้ออกเสีย ทั้งยังออกแบบชุดประจำชนชาติเสียใหม่

โดยมอบหมายให้ร้านเสื้อที่เซี่ยงไฮ้ (上海亨利西服店) เป็นผู้ตัดเย็บ และให้ชื่อชุดตามชื่อของท่านว่า 'จงซัน' ซึ่งได้กลายเป็นชุดที่ยอมรับในสมัยนั้นว่าเป็นชุดของชนชาวฮั่น

ชุดจงซันนี้ออกแบบโดยรับอิทธิพลมาจากชุดของตะวันตก เสื้อเป็นเสื้อคอปกตั้ง กระดุม 5-7 เม็ด มีกระเป๋า 4 ใบ ทั้งบนล่างซ้ายขวา กระเป๋าล่างขยายได้สามารถใส่หนังสือหรือสิ่งของได้ตามชอบใจ ส่วนกางเกงผ่าด้านหน้ามีกระดุมลับ ด้านข้างซ้ายขวามีกระเป๋าลับ และจับจีบที่เอว

ดร. ซุนเป็นผู้นำการสวมใส่ชุดจงซันนี้ด้วยตัวท่านเองไม่ว่าในโอกาสไหน ๆ และได้รับความนิยมจากชาวฮั่นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความเป็นสากล สง่างาม เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย และสวมใส่สะดวกสบาย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้วัสดุในการตัดเย็บได้หลายแบบเพื่อโอกาสใช้สอยต่าง ๆ กัน

ปัจจุบัน ชุดจงซันยังเป็นชุดทางการที่นิยมในหมู่สุภาพบุรุษนักการเมือง และประชาชนจีนทุกสาขาอาชีพ (สำหรับสตรีนิยมสวมชุดกี่เพ้า (旗袍) ของชาวแมนจู)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โสรวารสิริสวัสดิ์ มานมนัสภิรมย์ปรีดิ์ค่ะ


Create Date : 12 ธันวาคม 2552
Last Update : 12 ธันวาคม 2552 11:15:45 น. 0 comments
Counter : 1167 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.