"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ประวัติศาสตร์สเปน (1)


ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน

อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง

ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง

มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ

ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุด เมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492

จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา

ปี ค.ศ. 1492 นี้ยังเป็นปีแห่งความสำเร็จของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสในการค้นพบโลกใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความมั่งคั่งและความแข็งแกร่งให้กับสเปน อีกหลายศตวรรษถัดมา

สเปนในฐานะเจ้าอาณานิคมได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มีความสำคัญมากสุดในเวทีโลก

วรรณกรรมสเปนและศิลปะสเปนเข้าสู่ยุคทองในสมัยใหม่นี้เอง อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์สเปนในช่วงนี้ก็มีจุดด่างพร้อยในเรื่องการขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิม การตั้งศาลไต่สวนทางศาสนา และการปฏิบัติต่อชนพื้นเมืองอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างการล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกา

ภายในอีกไม่กี่ศตวรรษ จักรวรรดิของสเปนในโลกใหม่ก็มีอาณาเขตแผ่ขยายจากแคลิฟอร์เนียไปจรดปาตาโกเนีย

ในช่วงนี้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กจากออสเตรียเข้ามามีอำนาจในราชบัลลังก์สเปนแล้ว (ตามมาด้วยราชวงศ์บูร์บงในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18) ในทวีปยุโรป

สเปนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามและความขัดแย้งทั้งในเรื่องลัทธิศาสนาและการแย่งชิงความเป็นใหญ่กันเองหลายต่อหลายครั้ง คู่สงครามที่สำคัญได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในลักษณะนี้ทำให้สเปนสูญเสียดินแดนในครอบครองที่ในปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และอิตาลีไป

ผลเสียจากสงครามเหล่านั้นก็ทำให้สเปนต้องตกอยู่ในสภาวะล้มละลายอีกด้วย เมื่อเวลาผ่านไป อำนาจและเกียรติภูมิของจักรวรรดิก็เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ

และเมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 การถูกฝรั่งเศสเข้ารุกราน การเรียกร้องเอกราชของดินแดนอาณานิคม

และความพ่ายแพ้ในการทำสงครามกับสหรัฐอเมริกาก็ทำให้สเปนเสียอาณานิคมของตนไปเกือบทั้งหมด

ความไม่มั่นคงทางการเมืองที่เพิ่มความซับซ้อนและความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นำสเปนไปสู่การนองเลือดในสงครามกลางเมืองซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศ สงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายชาตินิยมที่มี

นายพลฟรันซิสโก ฟรังโกเป็นผู้นำ (เผด็จการ) สูงสุด สภาพบ้านเมืองโดยทั่วไปในช่วงนี้จึงค่อนข้างสงบและมีความมั่นคง (ยกเว้นการก่อวินาศกรรมของขบวนการเรียกร้องเอกราชในแคว้นบาสก์)

สเปนประกาศตนเป็นกลางตลอดสงครามโลกครั้งที่สอง

ซึ่งแม้จะมีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 1970 แต่ก็ต้องถูกโดดเดี่ยวทางวัฒนธรรมและการเมืองจากประชาคมโลก

ฟรังโกปกครองประเทศในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1975 การเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มขึ้น

ประเทศสเปนในช่วงเวลาปัจจุบันนี้มีพัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและทันสมัย แม้จะมีความตึงเครียดหลงเหลืออยู่ก็ตาม (เช่น กับผู้อพยพชาวมุสลิมและในแคว้นบาสก์)

โดยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพเติบโตเร็วที่สุดในยุโรป การเข้าเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน

ในช่วงยุคหินเก่าตอนกลาง (3 แสนปี-3 หมื่นปีมาแล้ว) ได้เกิดยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายขึ้นพร้อมกับวัฒนธรรมของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Homo neanderthalensis)

มีการค้นพบกะโหลกมนุษย์กลุ่มนี้อายุประมาณ 6 หมื่นปีมาแล้วที่ยิบรอลตาร์ รวมทั้งมีการค้นภาพเขียนบนผนังในถ้ำลาร์เบรดาซึ่งเขียนขึ้นในยุคนี้ที่แคว้นคาเทโลเนีย

และเมื่อประมาณ 16,000 ปีมาแล้ว (ซึ่งอยู่ในช่วงยุคหินเก่าตอนปลาย) วัฒนธรรมแมกดาเลเนียน (Magdalenian; Magdaleniense) ก็ได้กำเนิดขึ้นในแถบแคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย และแคว้นบาสก์ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณดังกล่าวคือ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงในถ้ำอัลตามีรา ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของศิลปะถ้ำ

มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) รุ่นแรก (เช่น พวกโครมันยอง) ปรากฏขึ้นตั้งแต่ 15,000 ปีมาแล้ว ส่วนมนุษย์สองพวกแรกที่เกิดขึ้นก่อนนั้นก็เริ่มสูญพันธุ์ไป

จนเมื่อ 3,700 ปีมาแล้ว คาบสมุทรไอบีเรียก็เริ่มเข้าสู่ยุคหินกลาง มนุษย์สมัยนี้รู้จักการทำเกษตรกรรมมากขึ้น

ส่วนวิถีชีวิตที่เร่ร่อนของชนเผ่าค่อย ๆ ลดลงเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไปถึงประมาณ 3,000 ปี-2,500 ปีมาแล้ว จึงปรากฏชุมชนที่มีวัฒนธรรมแบบยุคโลหะ

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองที่วัฒนธรรมแก้วทรงระฆัง (Bell-Beaker culture; Cultura del Vaso Campaniforme) ได้เกิดขึ้นและเจริญต่อมาในช่วงปลายยุคทองแดงต่อต้นยุคสำริด


ความก้าวหน้าของมนุษย์ในยุคสำริดตอนกลางที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในวัฒนธรรมอาร์การิก (Argaric culture; Cultura argárica) ในแถบจังหวัดอัลเมรีอาปัจจุบัน มีการฝังศพในหม้อขนาดใหญ่ และฝังศพเป็นกลุ่ม ตามชุมชนอื่น ๆ

ในไอบีเรียก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้สำริดในเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่นกัน เช่น ขวาน ดาบ กำไล

ซึ่งบางครั้งอาจใส่ไปกับศพด้วย ส่วนทางแถบลามันชามีการสร้างเนินเขาเล็ก ๆ ซึ่งบนสุดจะเป็นชุมชนที่มีป้อมปราการล้อมรอบอยู่ ลักษณะนี้เรียกว่าโมตียัส (Motillas)

ชุมชนกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับชุมชนยุคสำริดแถบชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทร (หรือเรียกว่า "ลิแวนต์")

เนื่องจากมีวัฒนธรรมการใช้โลหะเหมือนกัน วัฒนธรรมโมตียัสดำรงอยู่ประมาณ 200-300 ปีจนกระทั่งถูกละทิ้งไปเมื่อ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งร่วมสมัยเดียวกับการสิ้นสุดของวัฒนธรรมอาร์การิก

จากนั้นเมื่อประมาณ 1,000 ปี หรือ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชซึ่งอยู่ในยุคสำริดตอนปลาย อารยธรรมตาร์เตสโซสในหุบเขากวาดัลกีบีร์ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรก็เกิดขึ้น

ในยุคเหล็ก การแบ่งแยกในสังคมเริ่มเห็นได้ชัดขึ้น ปรากฏหลักฐานการมีอยู่ของตำแหน่งผู้นำท้องถิ่นและพวกผู้ดีขี่ม้า เป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นตัวแทนการมาถึงของกระแสวัฒนธรรมจากภายนอก

เนื่องจากชาวเคลต์ (Celts; celtas) จากตอนกลางของทวีปยุโรปได้เริ่มอพยพเข้ามาในยุคนี้ ซึ่งปรากฏว่ามีชาวฟินิเชีย (Phoenicians; fenicios) และชาวกรีกเข้ามาติดต่อค้าขายกับผู้คนในดินแดนตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนแล้วในช่วงนั้น

การมาถึงของชนกลุ่มต่าง ๆ (1,000 ปีก่อน ค.ศ.)

ชาวเคลต์มาถึงคาบสมุทรในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[8] พวกเขาเข้าครอบครองอาณาเขตซึ่งปัจจุบันเป็นแคว้นกาลิเซีย แคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย แคว้นบาสก์ ตอนเหนือของแคว้นคาสตีล-เลออน

และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศโปรตุเกส ภายหลังก็กลายเป็นชนกลุ่มหลักของคาบสมุทรไอบีเรีย

ทางด้านชายฝั่งลิแวนต์ก็เริ่มมีชาวฟินิเชียเข้ามาครั้งแรกเมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเริ่มตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และต่อมาก็ลงไปทางตอนใต้ของคาบสมุทร ตั้งเมือง กาดีร์ มาลากา และอับเดรา (เมืองอาดราในจังหวัดอัลเมรีอาปัจจุบัน) รวมทั้งยังตั้งนิคมการค้าอีกหลายแห่งขึ้นริมฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน

ส่วนชาวกรีกก็เข้ามาในไอบีเรียเช่นกันดังกล่าวแล้ว แต่จะขึ้นไปตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณที่เป็นแคว้นคาเทโลเนียปัจจุบัน เช่นที่โรเดส (เมืองโรซัส) และเอมเพอเรียน (เมืองอัมปูเรียส) พวกเขาได้พบกับชาวไอบีเรียน (Iberians; iberos)

ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองหลักอีกกลุ่มหนึ่งนอกจากชาวเคลต์ โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาวกรีกที่กล่าวถึงชนกลุ่มนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช

อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อารยธรรมของชาวตาร์เตสโซสทางภาคใต้ซึ่งสันนิษฐานว่าเจริญขึ้นมาตั้งแต่ยุคสำริดตอนปลายก็ได้สูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

จากนั้น บริเวณตอนในของคาบสมุทร (ที่ราบสูงเมเซตา) เช่น ที่เมืองนูแมนเชีย (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดโซเรีย แคว้นคาสตีลและเลออน) เป็นที่ที่ชาวเคลต์จากภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และชาวไอบีเรียนจากภาคตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาติดต่อและอยู่ร่วมกัน

และได้เกิดกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมแบบผสมและเป็นลักษณะเฉพาะตัว คือ ชาวเคลติเบเรียน (Celtiberian; celtíberos)

การพิชิตของชาวคาร์เทจและชาวโรม (300 ปีก่อน ค.ศ.)

อาณาเขตของคาร์เทจ (สีม่วง) และโรม (สีชมพู) ในปี 218 ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อนเกิดสงครามพิวนิกครั้งที่ 2)ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวคาร์เทจ (Carthaginians; cartagineses) ได้เริ่มเข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียและตั้งเมืองคาร์ทาโกโนวา (ปัจจุบันคือเมืองการ์ตาเคนา) ขึ้นริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ต่อมาเมืองนี้ได้กลายเป็นฐานที่มั่นทางทะเลที่สำคัญที่สุดของชนกลุ่มนี้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ในที่สุดคาร์เทจและโรมก็เกิดความขัดแย้งและสู้รบกันในสงครามพิวนิก (Punic Wars; Guerras Púnicas) ถึงสามครั้ง

เหตุผลหลักมาจากทั้งสองฝ่ายต่างต้องการมีอำนาจเหนือดินแดนในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากร

หลังจากพ่ายแพ้ในสงครามพิวนิกครั้งที่ 1 ซึ่งกินเวลาถึง 23 ปี ชาวคาร์เทจก็หันมาขยายอำนาจทางคาบสมุทรไอบีเรียนี้ เพื่อทดแทนกับการสูญเสียเกาะซิซิลี เกาะซาร์ดิเนีย และเกาะคอร์ซิกาไป

ฮามิลการ์ บาร์กา, ฮันนิบาล และนายพลของคาร์เทจคนอื่น ๆ เข้ามาครอบครองอาณานิคมเดิมของชาวฟินิเชียที่อยู่ตามชายฝั่งของอันดาลูเซียและลิแวนต์เข้าไว้ในอำนาจ

หลังจากนั้นก็ดำเนินการยึดครองและขยายเขตอิทธิพลเหนือชนพื้นเมืองออกไป เมื่อถึงตอนปลายศตวรรษเดียวกัน เมืองและหมู่บ้านส่วนใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำเอโบร

และแม่น้ำดวยโรลงมา รวมไปถึงหมู่เกาะแบลีแอริกต่างตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคาร์เทจทั้งสิ้น ฮันนิบาลได้เป็นผู้นำคาร์เทจในการต่อต้านโรมโดยใช้คาบสมุทรไอบีเรียเป็นฐานปฏิบัติการ รวมทั้งนำชนพื้นเมืองมาเป็นกำลังในกองทัพของเขา

จนกระทั่งในปี 219 ก่อนคริสต์ศักราช ฮันนิบาลนำทัพคาร์เทจเข้าโจมตีเมืองซากุนโตซึ่งเป็นอาณานิคมการค้าของกรีกและเป็นพันธมิตรกับโรม[16] จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 ที่กินเวลา 17 ปี

ในสงครามครั้งนี้ ทหารคาร์เทจสามารถรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าสู่คาบสมุทรอิตาลีได้สำเร็จ (โดยนำม้าและช้างจำนวนมากเข้าช่วยในการรบ)

แต่สงครามก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้อีกครั้งของคาร์เทจ โดยเหลือเพียงเมืองของตนริมชายฝั่งแอฟริกาเหนือเท่านั้นที่ยังอยู่ในอำนาจ ส่วนคาบสมุทรไอบีเรียถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน เริ่มต้นสมัยของฮิสปาเนีย (Hispania) ในดินแดนแห่งนี้

ฮิสปาเนียภายใต้อำนาจโรมัน (300 ปี ก่อน ค.ศ.-คริสต์ศตวรรษที่ 5)

หลังสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 (218 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 201 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ถือได้ว่าคาบสมุทรไอบีเรียเกือบทั้งหมดตกอยู่ภายใต้อำนาจของโรม หลังจากที่ขับไล่ชาวคาร์เทจออกไปแล้ว

การเข้าครอบครองดินแดนก็ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหลือเพียงแต่เมืองทางตอนใน (นูแมนเชีย) และเมืองแถบอัสตูเรียสและกันตาเบรียบางแห่งเท่านั้นที่ยังคงต้านกำลังของโรมไว้ได้

ในปีที่ 197 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้แบ่งดินแดนไอบีเรียออกเป็น 2 ส่วน คือ ฮิสปาเนียซีเตรีออร์ (Hispania Citerior) และฮิสปาเนียอุลเตรีออร์ (Hispania Ulterior) พัฒนาเมืองที่มีอยู่ก่อนแล้วในบริเวณนี้ เช่น โอลิสซีโปและตาร์ราโก รวมทั้งสร้างเมืองไกซาเรากุสตา เอเมรีตาเอากุสตา และวาเลนเตีย

เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ฮิสปาเนียกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำและเป็นแหล่งโลหะที่สำคัญของโรมัน เมืองท่าต่าง ๆ ในดินแดนนี้ได้ส่งออกทอง ดีบุก เงิน ตะกั่ว ไม้ ข้าวสาลี น้ำมันมะกอก ไวน์ ปลา และการุม (น้ำปลาชนิดหนึ่ง) ไปสู่ตลาดโรมัน

กระบวนการทำให้เป็นโรมันนั้นเริ่มขึ้นในฮิสปาเนียเมื่อประมาณ 110 ปีก่อนคริสต์ศักราช (เรื่อยไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3) มรดกที่โรมันได้ทิ้งไว้ให้เป็นรากฐานของอารยธรรมสเปนได้แก่ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม กฎหมาย

รวมทั้งสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน ท่อส่งน้ำ โรงละคร ระบบชลประทาน เป็นต้น

ชาวฮิสปาเนียและผู้สืบเชื้อสายจากทหารโรมันหรือผู้ตั้งถิ่นฐานชาวโรมันในฮิสปาเนียเกือบทั้งหมดได้รับสถานะเป็นพลเมืองโรมันเมื่อถึงปีที่ 73 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งจักรพรรดิทราจัน จักรพรรดิเฮเดรียน และจักรพรรดิเทโอโดซีอุสที่ 1 ต่างก็ประสูติในฮิสปาเนีย รวมทั้งจักรพรรดิมาร์กุส ออเรลีอุสก็ทรงมีเชื้อสายฮิสปาเนียเช่นกัน


เขตการปกครองในฮิสปาเนียสมัยแรกเริ่มของจักรวรรดิโรมัน (หลังสงครามกันตาเบรีย)เมื่อสิ้นสุดสงครามกันตาเบรีย (Cantabrian Wars; Guerras Cántabras) ในปีที่ 19 ก่อนคริสต์ศักราช

จักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิออกุสตุสเป็นผู้นำก็สามารถเอาชนะชนพื้นเมืองและครอบครองดินแดนไอบีเรียทั้งหมดได้สำเร็จ หลังจากพยายามอยู่นานถึง 200 ปี จากนั้นได้แบ่งเขตการปกครองใหม่ออกเป็น 3 มณฑล ได้แก่

ฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิส (Hispania Tarraconensis) ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของคาบสมุทร เมืองหลวงคือตาร์ราโก

ฮิสปาเนียไบตีกา (Hispania Baetica) ครอบคลุมภาคใต้ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณแคว้นอันดาลูเซีย (ยกเว้นจังหวัดอัลเมรีอา จังหวัดกรานาดา และจังหวัดคาเอน) เมืองหลวงคือกอร์ดูบา

ลูซีตาเนีย (Lusitania) ครอบคลุมภาคตะวันตกซึ่งปัจจุบันคือบริเวณแคว้นเอกซ์เตรมาดูราและประเทศโปรตุเกส เมืองหลวงคือเอเมรีตาเอากุสตา

โรมันมีอำนาจครอบครองฮิสปาเนียมาจนถึงช่วงที่จักรวรรดิฝั่งตะวันตกล่มสลายลงในคริสต์ศตวรรษที่ 5 เมื่อทางศูนย์กลางของจักรวรรดิไม่สามารถแบ่งสรรกำลังทหารมาปกป้องดินแดนของตนได้อีกต่อไป

ชาวฮิสปาเนียก็ต้องอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครองใหม่นั่นคือ อนารยชนเผ่าเยอรมันกลุ่มต่าง ๆ ที่มาจากยุโรปกลาง

ฮิสปาเนียภายใต้อำนาจวิซิกอท (คริสต์ศตวรรษที่ 5-8)

ราชอาณาจักรวิซิกอทในปี ค.ศ. 500ในคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 ชาวฮั่น (Huns; hunos) ซึ่งมาจากเอเชียกลางได้เข้าโจมตีและผลักดันชนเผ่าเยอรมันให้เข้ามาในเขตแดนของจักรวรรดิโรมัน

ชนเผ่าเหล่านี้ได้สร้างความวุ่นวายและก่อสงครามกับโรมันตามภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้จักรวรรดิค่อย ๆ อ่อนแอลง

แต่ในช่วงเดียวกันก็เกิดกระบวนการทำทุกอย่างให้เป็นโรมันขึ้นในหมู่ชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าฮั่นตามแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นพรมแดน เผ่าเยอรมันพวกวิซิกอท (Visigoths; visigodos) ได้หันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายแอเรียนเมื่อประมาณปี ค.ศ. 360

ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 406 ชาวแวนดัล (Vandals; vándalos) ชาวซูเอบี (Suebis; suevos) และชาวอาลัน (Alans; alanos) ได้ใช้โอกาสขณะที่น้ำในแม่น้ำไรน์มีสภาพเป็นน้ำแข็งเข้ารุกรานจักรวรรดิโดยใช้กำลังจำนวนมาก และอีก 3 ปีถัดมา (ค.ศ. 409)

อนารยชนกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ได้ข้ามเทือกเขาพิเรนีสเข้าสู่ดินแดนคาบสมุทรไอบีเรีย และตกลงกันเพื่อแบ่งพื้นที่ปกครองทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของคาบสมุทร

ส่วนพวกวิซิกอทนั้นสามารถพิชิตโรมได้ในปี ค.ศ. 410 ได้อพยพเข้ามาในกอล (ประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน) และได้กลับไปช่วยเหลือกองทัพของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในการขับไล่พวกอาลัน และพวกแวนดัลให้เคลื่อนย้ายไปอยู่ทางตอนเหนือของแอฟริกา (โดยไม่ได้ทิ้งมรดกอะไรไว้ในวัฒนธรรมของสเปนมากนัก)

จักรพรรดิโฮโนรีอุสจึงทรงยกมณฑลกัลเลียอากวีตาเนีย (ปัจจุบันคือภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส) ให้พวกวิซิกอทจัดตั้งอาณาจักรของตนขึ้นที่ตูลูส จนกระทั่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 476 ราชอาณาจักรวิซิกอทจึงมีอิสระอย่างเต็มที่

ต่อมาในปี ค.ศ. 507 วิซิกอทต้องสูญเสียอำนาจในกอลตอนใต้ให้กับชาวแฟรงก์ (Franks; francos) ซึ่งเป็นเผ่าเยอรมันอีกพวกหนึ่ง เหลือเพียงดินแดนเล็ก ๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่บาร์เซโลนา และย้ายไปที่โตเลโดทางภาคกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย

พร้อม ๆ กับเริ่มขยายอำนาจของตนออกไป พระเจ้าลีอูวีกิลด์ทรงเป็นกษัตริย์ชาววิซิกอทที่สำคัญที่สุด ในสมัยของพระองค์ ชาววิซิกอทสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือ (กันตาเบรียและบาสก์) ได้ในปี ค.ศ. 574

และพิชิตอาณาจักรของชาวซูเอบีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (กาลิเซีย) ได้เมื่อปี ค.ศ. 584 นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้าซูอินตีลา วิซิกอทยังได้ดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเคยเสียให้กับจักรวรรดิไบแซนไทน์กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 624

พวกวิซิกอทมักจะรักษาสถาบันและกฎหมายต่าง ๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมันไว้ ความใกล้ชิดของราชอาณาจักรวิซิกอทกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและความต่อเนื่องของการค้าในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกนั้นเป็นตัวสนับสนุนวัฒนธรรมของวิซิกอทเอง

แต่ในระยะแรกชาววิซิกอทจะไม่ข้องเกี่ยวกับชนพื้นเมือง (ซึ่งอยู่มาก่อนและมีจำนวนมากกว่า) โดยแยกตัวออกไปอยู่ในเขตชนบทและนำระบบฟิวดัลรูปแบบหนึ่งเข้าไปใช้

ส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนั่นคือการลดลงของจำนวนประชากรในเขตเมือง รวมทั้งทำให้ภาษาของพวกวิซิกอทส่งอิทธิพลต่อภาษาของคาบสมุทรไอบีเรียในปัจจุบันน้อยมาก

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สังคมในอาณาจักรวิซิกอทไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันหนึ่งเดียวกันคือ ชาวฮิสปาเนียนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในขณะที่ชาววิซิกอทยังคงนับถือศาสนาคริสต์นิกายแอเรียน

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 587 พระเจ้าเรกคาเรดที่ 1 ซึ่งทรงเป็นโอรสพระองค์รองของพระเจ้าลีอูวีกิลด์ รวมทั้งชาววิซิกอทส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนไปนับถือคาทอลิก

และเริ่มปรับตัวให้เข้ากับชาวฮิสปาเนีย ทำให้พระคาทอลิกมีอำนาจมากขึ้นและหลังจากการประชุมสภาแห่งโตเลโดครั้งที่ 4 เมื่อปี ค.ศ. 633 สภาสงฆ์ได้ประกาศว่า ชาวยิวทุกคนต้องเข้าพิธีล้างบาป

เนื่องจากตำแหน่งกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรนั้นส่วนใหญ่มาจากการคัดเลือกจากชนชั้นสูงไม่ใช่การสืบราชสันตติวงศ์ ปัญหาการแย่งชิงราชบัลลังก์จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ความอ่อนแอของราชอาณาจักร หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าวิตตีซาในปี ค.ศ. 709

ชนชั้นสูงได้เลือกโรเดอริก ดุ๊กแห่งไบตีกาขึ้นเป็นกษัตริย์ โรเดอริกมีชัยชนะในการทำสงครามกับโอรสของพระเจ้าวิตตีซา (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใคร แต่สันนิษฐานว่าคืออากีลา) ซึ่งอ้างสิทธิ์ในการปกครองอาณาจักรเช่นกัน

โอรสของพระเจ้าวิตตีซาพร้อมพรรคพวกจึงหนีไปที่เมืองเซวตา ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของแอฟริกา

และได้รวมกลุ่มกับชาวยิวและชาวคริสต์นิกายแอเรียน (ซึ่งอพยพมาหลังจากถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา) ไปขอความช่วยเหลือจากอาณาจักรของชาวมุสลิมซึ่งมีศูนย์อำนาจอยู่ที่ตะวันออกกลางเพื่อต่อต้านกำลังของพระเจ้าโรเดอริก ด้วยเหตุนี้ฮิสปาเนียจึงต้องเผชิญกับการรุกรานระลอกใหม่อีกครั้ง

เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ชาวอาหรับและชาวเบอร์เบอร์ซึ่งปกครองตอนเหนือของแอฟริกาอยู่ในขณะนั้น (เรียกว่าชาวมัวร์) ได้นับถือศาสนาอิสลามอยู่ก่อนแล้ว และได้ส่งตอริก อิบน์-ซิยาด นายพลชาวเบอร์เบอร์เข้ามาแทรกแซงสงครามกลางเมืองในฮิสปาเนีย

โดยบุกเข้ามาทางภาคใต้ จนกระทั่งเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 711 ก็ได้เผชิญหน้ากับกองทัพของพระเจ้าโรเดอริกในยุทธการที่แม่น้ำกวาดาเลเต ซึ่งแม้ตอริกจะมีกำลังทหารน้อยกว่าก็ตามแต่ก็ได้รับชัยชนะ ณ ที่นั้น (เชื่อกันว่าพระเจ้าโรเดอริกสิ้นพระชนม์ในที่รบ)

จากนั้น มูซา บิน นุซอยร์ ผู้บังคับบัญชาของตอริกพร้อมกำลังสนับสนุนได้ข้ามจากแอฟริกาเข้ารุกรานฮิสปาเนียอย่างรวดเร็ว ในที่สุดเมื่อ ค.ศ. 718 ชาวมุสลิมก็มีอำนาจครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทร [เรียกชื่อดินแดนฮิสปาเนียส่วนที่ชาวมุสลิมครอบครองว่า "อัลอันดะลุส" (Al-Andalus)]

เหลือเพียงอาณาจักรคริสต์ที่อัสตูเรียส กันตาเบรีย และบาสก์ซึ่งต้านกำลังมุสลิมไว้ได้และเริ่มการพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) หลังมีชัยในยุทธการที่หมู่บ้านโกบาดองกาเมื่อปี ค.ศ. 722

นอกจากนี้ การรุกคืบในยุโรปก็ถูกชาวแฟรงก์ภายใต้การนำทัพของชาร์ล มาร์แตลสกัดกั้นไว้ได้ในยุทธการที่เมืองปัวตีเย เดือนตุลาคม ค.ศ. 732

ผู้ปกครองของอัลอันดะลุสมีตำแหน่งอยู่ระดับเอมีร์ โดยขึ้นกับกาหลิบอัลวะลิดที่ 1 แห่งราชวงศ์อุไมยัดที่กรุงดามัสกัส พระองค์ทรงให้ความสนใจกับการขยายกำลังทางทหารอย่างมาก

ทรงสร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่งที่สุดในสมัยของราชวงศ์นี้ ซึ่งเป็นกลวิธีที่สนับสนุนการขยายอิทธิพลในฮิสปาเนียนั่นเอง

ขุนนางท้องถิ่นได้รับอนุญาตให้ครอบครองทรัพย์สินและสถานะทางสังคมของตนไว้ตราบเท่าที่ยังยอมรับศาสนาอิสลาม และการเปลี่ยนผู้ปกครองไม่ได้รบกวนกิจประจำวันของพวกเขามากนัก เขตการปกครองย่อยตามพื้นที่ต่าง ๆ ยังเป็นเช่นเดิม

แต่ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นจะตกเป็นของชาวมุสลิมอาหรับ ผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิมถูกบังคับให้ยอมรับกฎหมายไม่เป็นธรรมซึ่งส่งเสริมสถานะของศาสนาอิสลามให้อยู่เหนือศาสนาคริสต์และศาสนายิวในสังคม

จึงมีชาวคริสต์จำนวนหนึ่งในอัลอันดะลุสเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามโดยหวังจะได้รับสิทธิในสังคมเท่าเทียมกับชาวมุสลิม เช่น จ่ายภาษีน้อยลง หรือไม่ต้องเป็นทาสหรือข้าติดที่ดินอีกต่อไป ซึ่งเรียกพวกนี้ว่า "มูลาดีเอส"

หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 750 ราชวงศ์อุไมยัดก็ถูกราชวงศ์อับบาซิดจากกรุงแบกแดดขับลงจากอำนาจ กลุ่มผู้นำที่หลงเหลืออยู่ซึ่งมีเจ้าชายอับดะร์เราะห์มานเป็นผู้นำได้หลบหนีมาที่ไอบีเรียและท้าทายอำนาจของราชวงศ์อับบาซิดด้วยการประกาศให้กอร์โดบาเป็นอิสระ

ด้วยเหตุนี้ อัลอันดะลุสจึงประสบความขัดแย้งทั้งภายในหมู่ชาวอาหรับด้วยกันเองและกับชาววิซิกอท-โรมัน (ชาวคริสต์) ที่ยังอาศัยอยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย กองทัพเรือกองแรกของอัลอันดะลุสได้รับการจัดตั้งขึ้นหลังจากที่พวกไวกิงล่องเข้ามาถึงแม่น้ำกวาดัลกีบีร์และปล้นเมืองเซบียาเมื่อปี ค.ศ. 844

ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 เจ้าชายอับดะร์เราะห์มานที่ 3 ก็ได้จัดตั้งอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา (Caliphate of Córdoba; Califato de Córdoba) ขึ้น ซึ่งถือเป็นการตัดสัมพันธ์กับกาหลิบแห่งแบกแดดอย่างสิ้นเชิง กอร์โดบาพยายามรักษาฐานกำลังในแอฟริกาเหนือไว้

แต่ในที่สุดก็เหลือเพียงดินแดนบริเวณรอบ ๆ เซวตาเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ชาวคริสต์ก็เริ่มอพยพเข้าไปสู่ภาคเหนือของคาบสมุทรอย่างช้า ๆ นับเป็นการเพิ่มกำลังให้กับบรรดาอาณาจักรคริสต์ [เช่น เคาน์ตีคาสตีล ราชอาณาจักรเลออน (อัสตูเรียสเดิม) และราชอาณาจักรนาวาร์ (บาสก์เดิม)] ยิ่งขึ้นด้วย

อัลอันดะลุสก็ยังคงมีฐานะเหนือกว่าอาณาจักรคริสต์เหล่านั้นอยู่มากทั้งในด้านประชากร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกำลังทหาร รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรคริสต์เองก็ทำให้อัลอันดะลุสยังปลอดภัยอยู่บ้าง

อาณาจักรมุสลิมในไอบีเรียกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งประมาณปี ค.ศ. 1000 เมื่ออัลมันซูร์พิชิตบาร์เซโลนาได้เมื่อปี ค.ศ. 985 และต่อมาเมืองคริสต์อื่น ๆ ก็ถูกชาวมุสลิมเข้าจู่โจมอีกหลายครั้ง แต่หลังจากสมัยของโอรสของอัลมันซูร์ไป ก็เกิดสงครามกลางเมือง

จนทำให้ในปี ค.ศ. 1031 อาณาจักรกาหลิบแห่งนี้ต้องแตกออกเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ กว่า 40 แห่ง รวมเรียกว่า กลุ่มอาณาจักรไตฟา (Taifas) ผู้ปกครองของแต่ละอาณาจักรนี้ก็แข่งขันกันเองไม่เพียงแต่ในการสงครามเท่านั้น

แต่ยังรวมถึงการปกป้องคุ้มครองศิลปะอีกด้วย ทำให้วัฒนธรรมมุสลิมรุ่งเรืองขึ้นอีกในช่วงสั้น ๆ

ไตฟาแต่ละแห่งค่อย ๆ สูญเสียดินแดนให้กับราชอาณาจักรคริสต์ทางเหนือ เอมีร์หรือผู้ปกครองชาวมุสลิมของไตฟาจึงไปขอความช่วยเหลือจากดินแดนภายนอกถึง 2 ครั้ง คือ จากราชวงศ์อัลโมราวิด หลังจากที่เสียโตเลโดไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1085

และจากราชวงศ์อัลโมฮัด (ซึ่งมีอำนาจขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์อัลโมราวิด) หลังจากเสียลิสบอนไปเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1147 ซึ่งอันที่จริงนักรบเหล่านั้นไม่ได้เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเพราะต้องการช่วยเหลือบรรดาเอมีร์ แต่ต้องการผนวกอาณาจักรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิของตนในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ

เมื่อกลุ่มของราชวงศ์อัลโมฮัดได้ครอบครองชายฝั่งแอฟริกาเหนือและอัลอันดะลุสซึ่งเคยเป็นของราชวงศ์อัลโมราวิดแล้ว ได้ย้ายศูนย์กลางของอัลอันดะลุสจากกอร์โดบาไปอยู่ที่เซบียาในปี ค.ศ. 1170 และจัดการกับผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามในดินแดนของตนอย่างรุนแรง เมื่อต้องเลือกว่าจะตายหรือจะยอมเปลี่ยนศาสนา

ชาวยิวและชาวคริสต์จำนวนมากจึงตัดสินใจอพยพออกไปจากอัลอันดะลุส บางส่วนหนีขึ้นเหนือเพื่อไปตั้งหลักในอาณาจักรคริสต์ซึ่งก็เริ่มมีชัยชนะในดินแดนทางใต้มากขึ้นในขณะที่จักรวรรดิอัลโมฮัดไม่ได้ต่อต้านอย่างสม่ำเสมอ ในการรบครั้งสำคัญที่หมู่บ้านลัสนาบัสเดโตโลซา

ค.ศ. 1212 กองทัพอัลโมฮัดได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพชาวคริสต์ซึ่งเป็นพันธมิตรระหว่างราชอาณาจักรคาสตีล นาวาร์ อารากอน เลออง และโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13

ชาวมุสลิมก็เสียกอร์โดบาและเซบียาไป เหลือกรานาดาซึ่งปกครองโดยราชวงศ์นาสริดเป็นที่มั่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ยังเหลืออยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย

ราชอาณาจักรสเปน

ในขณะที่การยึดดินแดนคืนกำลังดำเนินอยู่นั้น ราชรัฐและราชอาณาจักรคริสต์ทางตอนเหนือก็พัฒนาขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 อาณาจักรที่มีความสำคัญที่สุดในบรรดาอาณาจักรคริสต์เหล่านี้ได้แก่ ราชอาณาจักรคาสตีล (ครอบครองตอนกลางและตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย) และราชอาณาจักรอารากอน (ครอบครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทร)

กษัตริย์ผู้ปกครองของอาณาจักรทั้งสองนี้เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ในโปรตุเกส (ซึ่งประกาศแยกตัวจากอาณาจักรคาสตีลและเลออนไปเป็นอิสระตั้งแต่ปี ค.ศ. 1129) ฝรั่งเศส และอาณาจักรใกล้เคียงอื่น ๆ บ่อยครั้งจะมีการอภิเษกสมรสระหว่างพระโอรสกับพระธิดาจากราชวงศ์ของอาณาจักรเหล่านี้

ทำให้ดินแดนที่ราชวงศ์เหล่านั้นปกครองได้เข้ามารวมกันอยู่เป็นอาณาจักรเดียว แต่ก็อาจจะแยกออกจากกันภายหลังได้เช่นกัน หากผู้ปกครองอาณาจักรนั้นสิ้นพระชนม์ลงและมีการแบ่งดินแดนให้พระโอรสและพระธิดาพระองค์ต่าง ๆ ปกครอง

แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนกลุ่มน้อยทางศาสนา (ชาวยิวและชาวมุสลิม) จะได้รับการยอมรับให้อยู่ร่วมกันกับชาวคริสต์ในคาสตีลและอารากอน (ซึ่งเป็นอาณาจักรคริสต์เพียงสองแห่งที่ชาวยิวไม่ถูกจำกัดการประกอบอาชีพ) ก็ตาม แต่สถานการณ์ของชาวยิวก็เริ่มแย่ลงในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และถึงจุดร้ายแรงเมื่อปี ค.ศ. 1391

ซึ่งมีการสังหารหมู่ชาวยิวเกิดขึ้นแทบทุกเมืองใหญ่ เช่น เซบียา โตเลโด บาเลนเซีย บาร์เซโลนา และโลโกรโญ[48] เมื่อถึงศตวรรษต่อมา ครึ่งหนึ่งจากจำนวนชาวยิวในสเปนประมาณ 200,000 คนได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์แล้ว เรียกว่าพวก "กอนเบร์โซส"

การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ในปี ค.ศ. 1474 ทำให้ราชบัลลังก์คาสตีลว่างลงเนื่องจากไม่มีรัชทายาท เกิดความขัดแย้งในการการอ้างสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ระหว่างฝ่ายของเจ้าหญิงคัวนา ลาเบลตราเนคาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโปรตุเกสและฝรั่งเศส กับฝ่ายของเจ้าหญิงอิซาเบลลาที่ได้รับการสนับสนุนจากอารากอนและชนชั้นสูงของคาสตีล

จนกระทั่งหลังจากสงครามการสืบราชบัลลังก์คาสตีลสิ้นสุดลง อิซาเบลลาก็ได้ขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนาม "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล" (Isabella I of Castile; Isabel I de Castilla) และทรงปกครองอาณาจักรร่วมกับพระราชสวามี (ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1469 ที่เมืองบายาโดลิด) คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งคาสตีล

ต่อมาในปี ค.ศ. 1479 พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 ได้ทรงขึ้นครองอาณาจักรอารากอนต่อจากพระเจ้าจอห์นที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาด้วย และเฉลิมพระนาม "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน" (Ferdinand II of Aragon; Fernando II de Aragón)

การอภิเษกสมรสและครองราชย์ร่วมกันครั้งนี้ได้ทำให้ราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนเข้ามารวมกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อมา

หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาและพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 ทรงยึดเมืองกรานาดาคืนจากชาวมุสลิมได้สำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 1492 (ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการพิชิตดินแดนคืน) ก็ทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม "กษัตริย์คาทอลิก" (Catholic Monarchs; Reyes Católicos) ซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์ที่ทรงได้รับจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6

คาสตีลและอารากอนยังได้รับกรรมสิทธิ์ในการครอบครองหมู่เกาะคะเนรีในมหาสมุทรแอตแลนติกอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทั้งสองทรงอนุมัติและสนับสนุนการสำรวจดินแดนของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ไปถึงโลกใหม่ (หากไม่นับเลฟ เอริกสัน) ซึ่งจะนำความมั่งคั่งเข้ามาสู่สเปนและเป็นทุนให้รัฐใหม่แห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรปในอีกสองศตวรรษถัดมา

ในปี ค.ศ. 1492 กษัตริย์คาทอลิกทั้งสองพระองค์ได้ทรงดำเนินการขั้นสุดท้ายกับคนต่างศาสนา คือ ทรงออกพระราชกฤษฎีกาอาลัมบรา (Alhambra Decree; Decreto de la Alhambra) ให้ชาวยิวที่เหลือเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์

มิฉะนั้นก็ต้องอพยพออกไปจากสเปน ซึ่งพอประมาณได้ว่าจำนวนชาวยิวที่ถูกขับไล่ออกไปนั้นอยู่ที่ 150,000-200,000 คน

และอีกไม่กี่ทศวรรษถัดมา ชาวมุสลิมก็ประสบชะตากรรมเดียวกันคือถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา (เรียกว่าพวก "โมริสโกส") หรือไม่ก็ถูกขับไล่ออกไป แต่ชาวยิวและชาวมุสลิมก็ไม่ใช่ประชากรเพียงสองกลุ่มในสเปนที่ถูกไล่ล่าในช่วงนี้

ชาวยิปซีก็ถูกรวมอยู่ในบัญชีกลุ่มคนที่จะต้องถูกกลืนเชื้อชาติศาสนาหรือถูกเนรเทศเช่นกัน

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลายังทรงสร้างความมั่นคงทางการเมืองของสเปนในระยะยาวด้วยวิธีจัดการอภิเษกสมรสระหว่างพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์กับพระราชวงศ์ของอาณาจักรอื่น ๆ ในยุโรป

พระราชธิดาพระองค์แรกคือเจ้าหญิงอิซาเบลลา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลฟอนโซแห่งโปรตุเกส

เจ้าหญิงโจแอนนาพระราชธิดาพระองค์ที่สองทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิปรูปหล่อ พระราชโอรสของจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย (ออสเตรีย) และทรงมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางและมีอำนาจมากด้วย

เจ้าชายจอห์นพระราชโอรสพระองค์แรกและพระองค์เดียว ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งออสเตรีย (พระขนิษฐาของเจ้าชายฟิลิปรูปหล่อ) พระราชธิดาพระองค์ที่สี่ เจ้าหญิงมาเรีย ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส

และพระราชธิดาพระองค์ที่ห้า เจ้าหญิงแคเทอรีน ทรงสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กษัตริย์แห่งอังกฤษ และต่อมากลายเป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีหลายภาษาที่ใช้พูดกันในเขตที่มีชาวคริสต์อาศัยอยู่ของดินแดนที่เป็นประเทศสเปนปัจจุบัน ได้แก่ ภาษาคาสตีล ภาษาคาตาลัน ภาษาบาสก์ ภาษากาลิเซีย ภาษาอารัน และภาษาอัสตูเรียส-เลออน เป็นต้น

ตลอดทั้งศตวรรษนี้ มีเฉพาะภาษาคาสตีล (ซึ่งจะพัฒนามาเป็นภาษาสเปนทุกวันนี้) ที่จะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆในอาณาจักรคาสตีลในฐานะภาษาแห่งวัฒนธรรมและการสื่อสาร ตัวอย่างหนึ่งคือ บทสดุดีวีรกรรมของเอลซิด กัมเปอาดอร์

ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3 นักบุญ ก็เริ่มมีการใช้ภาษาคาสตีลบ้างในเอกสารต่าง ๆ แต่มากลายเป็นภาษาราชการก็ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 ผู้ชาญฉลาด

และนับจากนั้นเป็นต้นมา เอกสารต่าง ๆ ของทางการก็จะถูกเขียนขึ้นเป็นภาษาคาสตีล รวมทั้งตำราจากภาษาอื่นก็ได้รับการแปลเป็นภาษาคาสตีลแทนภาษาละติน

ในศตวรรษนี้ มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นหลายแห่งในอาณาจักรคาสตีล บางแห่ง (เช่น มหาวิทยาลัยซาลามังกา) เป็นหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป

และในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การปกครองของกษัตริย์คาทอลิก ตำราไวยากรณ์ภาษาคาสตีลฉบับแรกก็ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้นโดยอันโตเนียว เด เนบรีคา

จักรวรรดิสเปน

โคลัมบัสเริ่มเข้าจับจองดินแดนบนโลกใหม่จักรวรรดิสเปนเป็นหนึ่งในบรรดาจักรวรรดิสากล (Global Empire) สมัยใหม่และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำของยุโรปในการสำรวจโลก

การขยายอาณานิคม รวมทั้งการเปิดเส้นทางการค้าข้ามมหาสมุทร การค้าได้เจริญเฟื่องฟูขึ้นข้ามน่านน้ำมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างสเปนกับอเมริกา และข้ามน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเอเชียตะวันออกกับเม็กซิโก (ผ่านทางฟิลิปปินส์)

เหล่ากองกิสตาดอร์ (conquistador - ผู้พิชิต) ได้เข้าไปล้มล้างอารยธรรมอัซเตก อินคา และมายา และอ้างกรรมสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อันกว้างขวาง ในช่วงหนึ่งจักรวรรดิสเปนมีอำนาจเหนือมหาสมุทรต่าง ๆ

ด้วยกองทัพเรือที่มีประสบการณ์และมีชัยชนะในสนามรบในทวีปยุโรปด้วยกองทัพที่มีชื่อว่าเตร์เซียว (tercio) ซึ่งเป็นทหารราบที่น่าเกรงขามและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี นอกจากนี้ สเปนยังเข้าสู่ยุคทองทางวัฒนธรรมของตนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 อีกด้วย


แผนที่จักรวรรดิสเปนและโปรตุเกสในยุคของสหภาพไอบีเรียภายใต้สถานะรัฐร่วมประมุข (personal union) แห่งกษัตริย์สเปน (ค.ศ. 1580-1640)ที่จริงในช่วงแรก ๆ นั้น ชาวสเปนค่อนข้างผิดหวังกับดินแดนในทวีปอเมริกาที่ตนได้ยึดครองไว้

เนื่องจากชนพื้นเมืองไม่มีอะไรที่จะทำการค้าด้วยมากนัก แม้ว่าผู้ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานที่นั่นจะพยายามผลักดันการค้าขายก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นโรคภัยที่ติดตัวนักล่าอาณานิคมไปก็ได้คร่าชีวิตชนพื้นเมืองเป็นจำนวนมาก

โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นของเขตอารยธรรมอัซเตก มายา และอินคา นี่เองที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ศักยภาพทางเศรษฐกิจของดินแดนอาณานิคมสเปนลดลง

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1520 การสกัดแร่เงินขนานใหญ่จากแหล่งสะสมอันอุดมสมบูรณ์ในแคว้นกวานาวาโตของเม็กซิโกได้เริ่มต้นขึ้น และเพิ่มปริมาณขึ้นอีกจากเหมืองแร่เงินอีกสองแห่งในแคว้นซากาเตกัสของเม็กซิโกและแคว้นโปโตซีของเปรูตั้งแต่ปี ค.ศ. 1546

การขนส่งแร่เงินเหล่านี้เป็นตัวปรับทิศทางเศรษฐกิจสเปน ทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เมล็ดพืช และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ สินค้าเหล่านี้ยังกลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งต่อการบำรุงแสนยานุภาพของสเปนภายใต้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการรบอันยืดเยื้อระหว่างชาวยุโรปกับชาวแอฟริกาเหนือ

แม้ว่าตัวของสเปนเองโดยเฉพาะแคว้นคาสตีลจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญมากที่สุดอยู่แล้วก็ตาม (ยกเว้นในช่วงไม่กี่ปีของคริสต์ศตวรรษที่ 17) จากจุดเริ่มต้นที่ได้รวมจักรวรรดิโปรตุเกสเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 1580 จนถึงการเสียอาณานิคมของตนในอเมริกาไปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น

สเปนได้ดำรงฐานะจักรวรรดิที่ใหญ่สุดในโลกที่ถึงแม้จะประสบกับความผันผวนทั้งทางเศรษฐกิจและการทหารตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1640 เป็นต้นมา และเมื่อได้พบกับประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมทั้งความยากลำบากและความทุกข์ทรมานอันเกิดจากการก่อร่างสร้างตัวเป็นจักรวรรดินั้น

บรรดานักคิดของสเปนจึงเริ่มตั้งทฤษฎีแนวคิดสมัยใหม่ว่าด้วยกฎธรรมชาติ เทววิทยา อำนาจอธิปไตย กฎหมายระหว่างประเทศ สงคราม และเศรษฐศาสตร์ แม้กระทั่งการตั้งคำถามเกี่ยวกับความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม

สำนักความคิดที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกโดยรวมว่า สำนักซาลามังกา (School of Salamanca; Escuela de Salamanca)

จักรวรรดิที่ทรงอำนาจของสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดและเสื่อมลงภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (House of Habsburg; Casa de Habsburgo) โดยแผ่ขยายอำนาจอย่างกว้างขวางในรัชสมัยของพระเจ้าชาลส์ที่ 1

ซึ่งพระองค์ยังทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire; Sacro Imperio Romano Germánico) ในดินแดนเยอรมันและออสเตรียอีกด้วย โดยเฉลิมพระนาม "จักรพรรดิชาลส์ที่ 5"


พระเจ้าชาลส์ที่ 1 หนึ่งในกษัตริย์ยุโรปที่ทรงอำนาจมากที่สุดระหว่างรัชสมัยของพระองค์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (จักรพรรดิชาลส์ที่ 5) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งสเปน (เจ้าชายฟิลิปรูปหล่อ พระราชโอรสในจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) และสมเด็จพระราชินีนาถโจแอนนาแห่งคาสตีล (เจ้าหญิงโจแอนนา พระราชธิดาพระองค์ที่สองในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีลแห่งราชวงศ์ตรัสตามารา)

ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสเปนในปี ค.ศ. 1516 นับแต่นั้นมาสเปนก็เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งในหมู่กษัตริย์ของยุโรปมากยิ่งขึ้น พระองค์ไม่ได้ประทับในสเปนบ่อยนัก ในปลายรัชสมัย พระองค์ได้ทรงเตรียมการแบ่งมรดกของราชวงศ์ฮับส์บูร์กออกเป็นสองส่วน

คือ ส่วนหนึ่งคือ จักรวรรดิสเปน ซึ่งรวมทั้งเนเปิลส์ มิลาน เนเธอร์แลนด์ และอาณานิคมในทวีปอเมริกาด้วย และอีกส่วนคือตัวจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เองรวมทั้งออสเตรีย

ผู้สืบทอดตำแหน่งกษัตริย์สเปนหลังการสละราชสมบัติของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1556 คือพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง สเปนรอดพ้นจากความขัดแย้งทางศาสนาซึ่งกำลังลุกลามไปทั่วทุกดินแดนส่วนอื่น ๆ ของยุโรปในขณะนั้นและสามารถธำรงศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกไว้ได้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ทรงอุทิศพระองค์ให้กับคาทอลิก

โดยทรงต่อต้านทั้งพวกเติร์กออตโตมันและพวกนับถือลัทธินอกรีต ในคริสต์ทศวรรษ 1560 แผนการที่จะควบคุมเนเธอร์แลนด์ให้มั่นคง (ความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง) ได้นำไปสู่ความไม่สงบ ซึ่งภายหลังเกิดกลุ่มผู้นำการลุกขึ้นต่อต้านซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ลัทธิกาลแวง (นิกายโปรเตสแตนต์สาขาหนึ่ง)

และเกิดสงครามแปดสิบปี (ค.ศ. 1568-1648) ขึ้น ความขัดแย้งนี้ทำให้สเปนสูญเสียค่าใช้จ่ายในการทำสงครามเป็นจำนวนมากจึงพยายามที่จะไปยึดครองอังกฤษ (ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนชาวดัตช์ให้ลุกฮือขึ้น) แต่กองทัพเรืออาร์มาดาของสเปนกลับประสบความพ่ายแพ้ในสงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1585-1604 เป็นส่วนหนึ่งของสงครามแปดสิบปี) และสงครามระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส (ค.ศ. 1590-1598)


ภาพวาดเรือรบสเปนถูกกองทัพเรือดัตช์ทำลายระหว่างยุทธการที่อ่าวยิบรอลตาร์ ค.ศ. 1607 โดยเฮนดริค คอร์เนลิส วโรม (ผู้พ่อ)
ภาพวาดเรือรบสเปนกำลังต่อสู้กับโจรสลัด ค.ศ. 1615 โดยคอร์เนลิส เฮนดริคส์ วโรม (ผู้ลูก)แม้จะเกิดปัญหาเหล่านั้นขึ้น

แต่การหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องของแร่เงิน จากอเมริกาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 รวมทั้งกิตติศัพท์ของทหารราบและการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของกองทัพเรือ หลังจากได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการรบกับอังกฤษ ทำให้สเปนกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรป

สหภาพไอบีเรียซึ่งรวมโปรตุเกสไว้ด้วยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1580 ไม่เพียงแต่ทำให้ดินแดนทั้งหมดบนคาบสมุทรไอบีเรียกลายเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่ยังเพิ่มแหล่งทรัพยากรทั่วโลกให้กับสเปนอีกด้วย (เช่นที่บราซิลและอินเดีย) อย่างไรก็ตาม

ปัญหาทางเศรษฐกิจและการบริหารก็เพิ่มขึ้นในแคว้นคาสตีล ส่งผลให้ในศตวรรษถัดมาเกิดปัญหาเงินเฟ้อ การขับไล่ชาวยิวและชาวมัวร์ และภาวะพึ่งพิงการนำเข้าเงินและทองคำ ทั้งหมดรวมกันก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศ โดยเฉพาะในแคว้นที่ต้องรับภาระหนักอย่างคาสตีล

หมู่บ้านชายฝั่งต่าง ๆ ของสเปนและหมู่เกาะแบลีแอริกมักถูกโจรสลัดบาร์บารีจากแอฟริกาเหนือเข้าปล้นสะดมและโจมตีเสมอ ๆ เกาะฟอร์เมนเตรารวมทั้งชายฝั่งซึ่งเป็นแนวยาวของสเปนและอิตาลี (ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากรังของโจรสลัดบนชายฝั่งแอฟริกาเหนือเป็นระยะทางไม่มากนัก)

เกือบทั้งหมดแทบไม่มีผู้คนหลงเหลืออยู่ โจรสลัดที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ บาร์บารอสซา ("เคราแดง") ซึ่งเป็นชาวเติร์ก ชาวยุโรปจำนวนมากถูกจับและขายเป็นทาสในแอฟริกาเหนือและจักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปัญหานี้ค่อย ๆ คลายความรุนแรงลง

เมื่อสเปนและมหาอำนาจชาวคริสต์อื่น ๆ เริ่มตรวจสอบอำนาจของกองทัพเรือมุสลิมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหลังได้รับชัยชนะที่อ่าวลีพานโตเมื่อปี ค.ศ. 1571

ในปี ค.ศ. 1596-1602 เกิดกาฬโรคระบาดอย่างหนักในแคว้นคาสตีล คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 600,000 ถึง 700,000 ราย หรือประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด พระเจ้าฟิลิปที่ 2 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1598 และพระเจ้าฟิลิปที่ 3 พระราชโอรสก็ทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา

ในรัชสมัยของพระองค์ ข้อตกลงสงบศึกกับชาวดัตช์ (ในสงครามแปดสิบปี) ที่ดำเนินมาเป็นเวลา 10 ปีได้สิ้นสุดลง และสเปนก็เข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618-1648 เกิดขึ้นในช่วง 30 ปีสุดท้ายของสงครามแปดสิบปี)

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ทรงสืบทอดราชสมบัติสเปนต่อจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1621 นโยบายการบริหารส่วนใหญ่ดำเนินการโดยอัครมหาเสนาบดีกัสปาร์ เด กุซมัน อี ปีเมนตัล เคานต์-ดุ๊กแห่งโอลีบาเรส ในปี ค.ศ. 1640 ในขณะที่การรบ (สงครามสามสิบปี) ในยุโรปกลางยังไม่มีผู้ชนะโดยเด็ดขาดยกเว้นฝรั่งเศส

ทั้งโปรตุเกสและคาเทโลเนียได้ก่อการจลาจลขึ้น สเปนต้องเสียโปรตุเกสไปอย่างถาวร ส่วนในอิตาลีและคาเทโลเนียนั้น กองกำลังของฝรั่งเศสถูกขับไล่ออกไปและความพยายามแยกตัวเป็นเอกราชของคาเทโลเนียก็ถูกปราบปราม

นอกจากนี้ ก็เกิดการแพร่ระบาดอีกระลอกของกาฬโรคทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของคาบสมุทรในช่วงปี ค.ศ. 1647-1652 หลังจากนี้ก็เกิดการระบาดขึ้นอีกเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งศตวรรษ ปรากฏว่าในสเปนรวมแล้วมีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 1,250,000 คนจากกาฬโรคที่แพร่ระบาดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นี้

ในรัชสมัยของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ซึ่งทรงมีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้านั้น[58] สเปนสูญเสียความเป็นผู้นำในยุโรปและค่อย ๆ ลดฐานะลงเป็นชาติมหาอำนาจชั้นรอง ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตโดยยังไม่ทรงมีรัชทายาท

เจ้าชายฟิลิป ดุ๊กแห่งอองชู ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon; Casa de Borbón) จากฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในผู้มีกรรมสิทธิ์ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์สเปนและเฉลิมพระนาม "พระเจ้าฟิลิปที่ 5" แต่ก็ถูกต่อต้านจากมหาอำนาจอื่น ๆ ในยุโรป เช่น อังกฤษ ปรัสเซีย ซาวอย และเดนมาร์ก-นอร์เวย์

โดยเฉพาะจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทรงอ้างกรรมสิทธิ์ในการปกครองสเปนเช่นกัน ความขัดแย้งดังกล่าวนี้จึงทำให้เกิดสงครามการสืบราชบัลลังก์สเปน (ค.ศ. 1701-1714) ขึ้น สงครามสิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งให้พระเจ้าฟิลิปที่ 5 นั้นทรงปกครองสเปนต่อไป

จึงถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรง "ชนะ" สงครามนี้ในที่สุด และในการนี้จึงก่อให้เกิดราชวงศ์บูร์บงสายสเปนขึ้น ในขณะที่ราชวงศ์ฮับส์บูร์กสายสเปนได้ยุติบทบาทลงหลังจากปกครองประเทศมาร่วม 200 ปี

สเปนก็ต้องเสียเนเธอร์แลนด์ มิลาน เนเปิลส์ และเกาะซาร์ดิเนียให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เสียเกาะซิซิลีให้ซาวอย และเสียยิบรอลตาร์และเกาะเมนอร์กาให้อังกฤษตามสนธิสัญญาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ชาติมหาอำนาจใดในยุโรปมีอำนาจมากเกินไป จักรวรรดิสเปนจึงมีพื้นที่และอาณาเขตในทวีปยุโรปน้อยลงมาก


มีต่อตอนที่ 2 ค่ะ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภุมวารสิริสวัสดิ์ - มานมนัสรมณีย์ ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 26 ตุลาคม 2552
Last Update : 27 ตุลาคม 2552 17:47:39 น. 0 comments
Counter : 1415 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.