"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
นาซีเยอรมนี


สิริสวัสดิ์ภุมวาร - กมลมานปรีดิ์เขษม ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ค่ะ


นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ จักรวรรดิไรช์ที่สาม (The Third Reich) เป็นชื่อเรียกสามัญของประเทศเยอรมนี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1933-1945 ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคนาซี

นาซีเยอรมนีเป็นรัฐที่ตั้งอยู่บนทวีปยุโรป มีเมืองหลวง คือ กรุงเบอร์ลิน มีการปกครองในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบพรรคการเมืองเดียว และการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีผู้นำเผด็จการสูงสุด คือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ต่อมาในปี ค.ศ. 1943 ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น มหาจักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน: Großdeutsches Reich)

แนวคิดที่สำคัญของพรรคนาซีภายหลังการเข้ารับตำแหน่งมุขมนตรีของฮิตเลอร์ คือ การฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ การฟื้นฟูเกียรติภูมิของชาติ รวมทั้งการต่อต้านชาวยิว

ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 มีผลให้ชาวยิวและยิปซีในนาซีเยอรมนีและดินแดนยึดครองถูกสังหารเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "การล้างชาติโดยนาซี"

ส่วนนโยบายด้านการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี อยู่บนพื้นฐานแนวคิด เลเบนสเราม์ (เยอรมัน: Lebensraum) หรือแนวคิดในการแสวงหาพื้นที่สำหรับการเติบโตของชาวเยอรมัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น กองทัพเยอรมันสามารถรบชนะประเทศเพื่อนบ้านในทวีปยุโรปและแอฟริกาเหนือได้เกือบทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้พื้นที่และจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ทว่าในปี ค.ศ. 1945 แม้ว่าจะมีพันธมิตรกับมหาอำนาจชาติอื่น คือ อิตาลีและญี่ปุ่น ในที่สุดกองทัพอักษะพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพผสมสัมพันธมิตร ทำให้รัฐนาซีเยอรมนีถึงคราวสิ้นสภาพในที่สุด

และถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรกินเวลานานเกือบครึ่งศตวรรษ และกลายมาเป็นสนามสู้รบของฝ่ายประชาธิปไตยและฝ่ายคอมมิวนิสต์บนยุโรปภาคพื้นทวีป ในช่วงสงครามเย็น

ประวัติศาสตร์

สมัยสาธารณรัฐไวมาร์

ระหว่างปี ค.ศ. 1918 ถึงปี ค.ศ. 1933 นาซีเยอรมนีได้ก่อตั้งขึ้นจากความตื่นตัวของการสูญเสียดินแดน การจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล และความสำนึกในการถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งฝ่ายพันธมิตรได้บังคับให้เยอรมนีต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในสนธิสัญญาแวร์ซายส์

ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เหตุการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ ในประเทศ เช่นการก่อจลาจล ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของโลกในปี ค.ศ. 1929 ที่เริ่มต้นจากภาวะตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐอเมริกาพังทลาย

ลัทธิต่อต้านการถือประเพณีในสมัยของสาธารณรัฐไวมาร์ และการถือกำเนิดของคอมมิวนิสต์ในประเทศเยอรมนี ส่งผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนพรรคนาซีให้ขึ้นบริหารประเทศ

พรรคนาซีได้ให้คำสัญญาแก่ประชาชนว่าจะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รัฐบาล ความสงบของปวงชน การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ และสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศชาติอีกครั้งหนึ่ง

พรรคชาติสังคมนิยมแห่งเยอรมันได้ให้คำสัญญาด้วยการเปลี่ยนแปลงประเพณีเสียใหม่ และเรียกร้องให้มีการสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ ในความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นปรปักษ์ กับสนธิสัญญาแวร์ซายส์

พรรคนาซีได้กล่าวถึงสนธิสัญญาแวร์ซาย และระบบประชาธิปไตยเสรี รวมไปถึงแนวคิดการลอบแทงข้างหลัง ที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐไวมาร์ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เยอรมนีต้องเสื่อมเสีย

ซึ่งพรรคนาซีได้จับประเด็นนำมาเป็นจุดเด่นของตนในการโฆษณาชวนเชื่อ ดังที่ได้โฆษณาให้กับพรรคชาตินิยมอื่นในเยอรมนี

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 มาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 รัฐบาลแห่งเยอรมนีได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากแบบประชาธิปไตยไปเป็นระบอบอำนาจนิยม แบบชาตินิยมและแบบอนุรักษ์นิยม ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีพอล ฟอน ฮินเดนบูวร์ก

ผู้ซึ่งเป็นวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และมีแนวคิดต่อต้านการปกครองของสาธารณรัฐไวมาร์ในช่วงแรก ๆ และพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองของเยอรมนีเป็นแบบอำนาจนิยมแทน โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาชาติเยอรมัน (German National People's Party, DNVP) หรือที่รู้จักกันในนาม "พวกชาตินิยม")

แต่ว่าหลังจากปี ค.ศ. 1929 บุคคลที่มีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างรุนแรงและพวกชาตินิยมรุ่นใหม่ ได้รับการดึงดูดจากแนวคิดการพลิกแผ่นดินของพรรคชาติสังคมนิยม ซึ่งต้องการท้าทายการถือกำเนิดของพวกคอมมิวนิสต์ในสภาวะเศรษฐกิจของเยอรมนียังอยู่ในสภาวะตกต่ำ

ในปี ค.ศ. 1932 พรรคนาซีเป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากในสภา ไรช์สทัก ฮินเดนบูวร์กได้มอบอำนาจให้แก่ฮิตเลอร์อย่างไม่เต็มใจ แต่ยังคงร่วมมือกับพรรคนาซีและพรรคประชาชาติเยอรมัน

ซึ่งเปิดโอกาสให้ฮิตเลอร์สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นระบอบอำนาจนิยมได้ ส่วนความปรารถนาของฮิตเลอร์ คือ ต้องการเป็นมุขมนตรีของประเทศ เพื่อให้ฮินเดนบูวร์กได้รับการสนับสนุนจากพรรคนาซีของเขา

พรรคนาซีขึ้นสู่อำนาจ

วันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เข้ารับตำแหน่งมุขมนตรีเยอรมนี หลังจากความพยายามของนายพล คูร์ท ฟอน ชไลเชอร์ ในการล้มล้างรัฐบาล (เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่า มัคเทอร์ไกรฟุง)

ซึ่งเขาคาดว่าเมื่อทำสำเร็จแล้ว เขาจะสามารถควบคุมการกระทำของฮิตเลอร์ด้วยการเป็นรองมุขมนตรีแห่งเยอรมนี และควบคุมพรรคนาซีให้เป็นเสียงข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี

ฮินเดนเบิร์กตกอยู่ใต้แรงกดดันจากฮิตเลอร์ผ่านบุตรของเขา ออสคาร์ ฟอน ฮินเดนเบิร์ก และยังสมรู้ร่วมคิดกับมุขมนตรีแห่งเยอรมนีคนก่อนหน้า คือ ฟรานซ์ ฟอน พาเพน หัวหน้าพรรคศูนย์กลางคาทอลิก

หลังจากที่เขาพยายามที่จะมีส่วนร่วมในความต้องการแบ่งปันผลประโยชน์ทางการเงิน และความมุ่งมั่นของเขาที่จะต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ และแม้ว่าพรรคนาซีจะเป็นพรรคที่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาไรช์ตาร์กทั้งสองสภาจากผลการเลือกตั้งแห่งปี 1932

แต่พรรคนาซีก็ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา ฮิตเลอร์จึงจำเป็นต้องเลี่ยงไปจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรคนาซีกับพรรคประชาชาติเยอรมันแทน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งของประธานาธิบดี ภายใต้มาตราที่ 48 แห่งรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไวมาร์ปี 1919

หลังจากพรรคนาซีได้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว ฮิตเลอร์ได้ออกนโยบายกีดกันชาวยิวให้ออกจากเยอรมนี และปฏิบัติต่อชาวยิวดังพลเมืองชั้นสอง และขับไล่ชาวยิวออกจากหน่วยงานทุกแห่งในเยอรมนี ซึ่งแผนการดังกล่าวนับได้ว่าเป็นศูนย์กลางของ "การปฏิวัติวัฒนธรรม" ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การรวมอำนาจ
รัฐบาลใหม่ได้ปกครองประเทศในรูปแบบของเผด็จการเบ็ดเสร็จและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ฮิตเลอร์ได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้ตนเองมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


ค่ำของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก และสภาคอมมิวนิสต์ของดัตช์ มารินัส แวน เดอ ลูเบ ถูกพบเห็นในอาคารรัฐสภาในตอนนั้นด้วย ทำให้เขาถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาลอบวางเพลิง

เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อพวกที่ต้องการล้มรัฐบาล พวกสังคมนิยมและพวกคอมมิวนิสต์จำนวนหลายพันคนทั่วประเทศ พวกคนเหล่านี้ได้รับโทษถึงตายหรืออาจถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันดาเชา

มวลชนซึ่งตื่นตระหนกกับเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนั้นทวีความวิตกกังวลขึ้น ด้วยเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะทำการปฏิวัติประเทศ พรรคนาซีจึงได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากเหตุการณ์นี้

เพื่อกำจัดผู้ที่น่าสงสัยว่าจะก่อการกบฏ เหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนั้นทำให้เกิดกฤษฎีกาว่าด้วยเพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ซึ่งเป็นการจำกัดการเรียกตัวผู้กระทำผิดมายังศาล และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเยอรมันทั่วไป

รัฐบัญญัติมอบอำนาจได้ถูกร่างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 1933 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วยกว่า 444 เสียง และอีก 94 เสียงจากพรรคสังคมประชาธิปไตยที่คัดค้าน บัญญัตินี้ได้ทำให้รัฐบาลสามารถออกกฎหมายควบคุมประชาชนได้โดยไม่ต้องผ่านการสนับสนุนจากรัฐสภาไรช์สทักและประธานาธิบดีอีกต่อไป

พรรคสังคมประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีท่าทีเอาใจฮิตเลอร์แต่ก็ยังถูกสั่งยุบพรรคในเดือนมิถุนายน ระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกรกฎาคม พรรคประชาชาติเยอรมัน พรรคแห่งประชาชน (DVP) พรรครัฐ (DStP) ก็ถูกสั่งยุบพรรคเช่นกัน

พรรคศูนย์กลางคาทอลิกซึ่งยังคงเหลืออยู่นั้น ได้ยุบพรรคของตนเองลง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากให้การรับรองการศึกษาของคาทอลิกและกลุ่มเยาวชน ในวันที่ 14 กรกฎาคม เยอรมนีประกาศตนว่าเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวอย่างเป็นทางการ

สัญลักษณ์แห่งสาธารณรัฐไวมาร์ รวมไปถึงธงสีดำ-แดง-ทอง (ซึ่งเป็น ธงชาติเยอรมนี ในปัจจุบัน) ถูกยกเลิกโดยการปกครองรูปแบบใหม่ ซึ่งได้รับเอาการแสดงนัยทางศิลปะทางสมัยจักรวรรดิสมัยเก่าและสมัยใหม่เข้าด้วยกันจนกลายมาเป็นธรรมชาติของการปกครองของพรรคนาซี

ผู้ซึ่งนิยมการปกครองแบบจักรวรรดินิยม จักรวรรดิเก่า สีดำ-ขาว-แดง เกือบจะสูญสิ้นไปในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในฐานะเป็นหนึ่งในสองของธงชาติเยอรมนีอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเป็นทางการ

ส่วนธงชาติอย่างเป็นทางการอีกแบบหนึ่ง คือ ธงสวัสดิกะ ประจำพรรคนาซี แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ได้กลายมาเป็นธงชาติเดี่ยวเพียงผืนเดียวของเยอรมนี ส่วนเพลงชาติเยอรมันยังคงเป็นเพลง "ดอยท์ชลันด์ลีด"

แต่ก็เป็นเพียงเฉพาะท่อนแรกของเพลงเท่านั้น ส่วนเนื้อหาที่เหลือจะเป็นเพลง "ฮอร์สท์เวสเซลลีด" รวมไปถึง การสดุดีฮิตเลอร์

ต่อมา ฮิตเลอร์ได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้ออกบัญญัติ เกเซทสอือแบร์เดนนอยเอาฟโบเดสไรช์ (เยอรมัน: Gesetz über den Neuaufbau des Reichs) ซึ่งแปลว่า "บัญญัติแห่งการสร้างจักรวรรดิใหม่" ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1934

ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบกระจายอำนาจ ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ มาเป็นแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง บัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกระบบรัฐสภาในเยอรมนี ถ่ายโอนอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นมายังรัฐบาลกลางของประเทศ

และให้รวมรัฐทุกรัฐเข้าเป็นรัฐเดี่ยวภายใต้การปกครองของพรรคนาซี ขั้นตอนเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากบัญญัติถูกนำมาใช้ไม่นาน โดยคณะผู้ปกครองดั้งเดิมของแต่ละรัฐถูกปลดและแทนที่ด้วยคณะรัฐบาลนาซี (เยอรมัน: Reichsstatthalter)

แต่ละรัฐหมดอำนาจในการปกครองตัวเอง โดยให้นครและเมืองที่มีพลเมืองน้อยกว่า 100,000 คน อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ว่าราชการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งนายกเทศมนตรีไปประจำยังนครที่มีพลเมืองมากกว่า 100,000 คน ซึ่งฮิตเลอร์ได้รับอำนาจในการแต่งตั้งโดยใช้วิจารณญาณของตนเอง

จนกระทั่งถึงฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1934 เหลือเพียงแต่กองทัพบกเยอรมันเท่านั้นที่ยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของพรรคนาซี กองทัพบกเยอรมันนั้นมีความเป็นเอกภาพมาแต่ดั้งเดิม และแยกออกจากรัฐบาลกลางโดยเด็ดขาด

กองทัพเข้าตีซตุร์มับไทลัง (หน่วยเอสเอ) คาดว่าจะได้รับตำแหน่งสูงในการจัดสรรโครงสร้างของอำนาจแบบใหม่ และต้องการการปกครองเพื่อที่จะเป็นการออกกฎหมายให้แก่เชื้อชาติอารยันเยอรมัน

ฮิตเลอร์ยังมีความต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์กับกองทัพบกและอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งเป็นกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้เกิดขึ้นจากหน่วยเอสเอ

ในคืนของวันที่ 30 มิถุนายน 1934 ฮิตเลอร์ได้เริ่มต้น คืนแห่งมีดเล่มยาว (Night of the Long Knives) ซึ่งฮิตเลอร์ได้มีการปรับปรุงระบบอำนาจขนานใหญ่ และกำจัดศัตรูทางการเมืองจนหมดสิ้น รวมไปถึงการก่อตั้งองค์กรของพรรคนาซี คือ หน่วยเอสเอส

ในวันที่ 2 สิงหาคม 1934 ประธานาธิบดีฮินเดนเบิร์กถึงแก่อสัญกรรม นาซีซึ่งครองเสียงข้างมากในรัฐสภาไรช์ตาร์ก ได้ยุบรวมเอา ไรช์เพรสิเดนต์ (เยอรมัน: Reichspräsident) และ ไรช์คานสแลร์ (เยอรมัน: Reichskanzler) และแต่งตั้งฮิตเลอร์ในฐานะของ ฟือแรร์อุนด์ไรช์คานสแลร์ (เยอรมัน: Führer und Reichskanzler)

ก่อนการอสัญกรรมของฮินเดนเบิร์ก กองทัพบกเยอรมันมิได้เข้าร่วมกับพรรคนาซี เนื่องจากหน่วยเอสเอมีขนาดใหญ่กว่ากองทัพบกเยอรมันมาก

เนื่องจากขนาดของกองทัพบกเยอรมันถูกจำกัดไว้ที่ 100,000 นาย จากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย และเนื่องจากผู้นำหน่วยเอสเอได้ยุบรวมเอากองทัพบกเข้ากับหน่วยเอสเอและได้ก่อ "การปฏิวัติครั้งที่สอง"

ซึ่งมีแนวคิดไปทางสังคมนิยม เพื่อที่จะล้มล้างการปฏิวัติของพวกชาตินิยมที่ได้เกิดขึ้นเมื่อฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจ เนื่องจากสาเหตุหลายประการจากการฆาตกรรมของ เออร์เนส โรห์ม ผู้นำหน่วยเอสเอในคืนแห่งมีดเล่มยาว

การถึงแก่อสัญกรรมของฮินเดนเบิร์ก การรวมกองทัพบกให้เข้ากับหน่วยเอสเอ รวมไปถึงคำมั่นสัญญาที่จะขยายขอบเขตของกองทัพบกออกไป ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพบกเยอรมันกับฮิตเลอร์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น

ทหารเยอรมันได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมเชื่อฟังคำสั่งของฮิตเลอร์ ต่อมา พรรคนาซีได้ยกเลิกความเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพวกชาตินิยมหัวอนุรักษ์อย่างเป็นทางการ และเริ่มต้นปลูกฝังแนวคิดและสัญลักษณ์ของพรรคนาซี

หนังสือเรียนในสถานศึกษาได้รับการเปลี่ยนใหม่หรือได้รับการเขียนขึ้นมาใหม่ และครูบาอาจารย์ที่ไม่ยอมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาให้เป็นแบบนาซีจะถูกไล่ออกจากสถานศึกษา

ได้มีการจัดตั้ง เกสตาโป (Gestapo) ซึ่งมีการกระทำที่อยู่เหนืออภิสิทธิ์ของประชาชน ได้แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของพรรคนาซี ในการใช้กำลังในการจำกัดขอบเขตโดยตรงต่อสังคมเยอรมัน

กองทัพบกเยอรมันซึ่งถูกจำกัดจำนวนไว้ที่ 100,000 นาย รวมทั้งจารชนและผู้บอกข่าวได้อยู่ทั่วประเทศ คอยแจ้งข่าวแก่รัฐบาลเกี่ยวกับการคัดค้านและการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล

ประชาชนทั่วไปยอมอ่อนน้อมเชื่อฟังและปิดปากเงียบ เพราะรู้สึกยินดีกับสภาพเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้น แต่รัฐบาลยังคงมีศัตรูทางการเมืองจำนวนมาก โดยเฉพาะพวกคอมมิวนิสต์และมาร์กซิสต์หรือพวกสังคมนิยมอื่นๆ นอกประเทศ

ถูกรายงานโดยเหล่าจารชนและส่งเข้าค่ายกักกัน หลายคนต้องโดนทรมานและสังหารทิ้ง มีการประมาณว่าศัตรูทางการเมืองที่เสียชีวิตหรือหายตัวไปมีจำนวนนับหมื่น ๆ คนในช่วงเวลาเพียงสองสามปีแรกของการปกครองของพรรคนาซี

ซึ่งได้มีการบันทึกเกี่ยวกับผลกระทบต่อประชาชนที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลนาซี อย่างเช่น
"ระหว่างปี ค.ศ. 1933 ถึงปี ค.ศ. 1945 มีชาวเยอรมันมากกว่า 3 ล้านคนถูกส่งไปยังค่ายกักกัน หรือเรือนจำทั่วไปจากเหตุผลทางการเมือง"

"ชาวเยอรมันกว่าหนึ่งหมื่นคนถูกสังหารจากการต่อต้านรัฐบาล ระหว่างปี 1933 ถึงปี 1945 ศาลพิเศษได้สั่งประหารชีวิตชาวเยอรมันไปกว่า 12,000 คน ศาลสงครามได้สั่งประหารชีวิตทหารเยอรมันไปกว่า 25,000 นาย และถูกสังหารด้วยความยุติธรรมแบบธรรมดาไปกว่า 40,000 คน

ซึ่งชาวเยอรมันที่ถูกสั่งประหารส่วนใหญ่นี้มีหน้าที่รับราชการพลเรือนหรือทหาร เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นนี้ทำให้พวกที่เป็นเหยื่อรวมตัวกันเพื่อต่อต้านนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล"

กองทัพสหรัฐอเมริการะเบิดสัญลักษณ์สวัสดิกะเหนือลานชุมนุมของนาซี ในเมืองเนือร์นแบร์ก "วิกฤตการณ์ดานซิก" ตึงเครียดถึงขีดสุดเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อโปแลนด์ปฏิเสธข้อเสนอของนาซีเยอรมนีเกี่ยวกับนครเสรีดานซิกและฉนวนโปแลนด์

หลังจากความตึงเครียดอันยาวนาน เยอรมนีได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับโปแลนด์ และโจมตีโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 สงครามคราวนั้นลุกลามจนกลายมาเป็นสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป

เมื่อสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามตอบในวันที่ 3 กันยายน 1939 หลังจากเสร็จสิ้นการรบในโปแลนด์ ก็เกิดสงครามลวงตามมา วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 เยอรมนีโจมตีเดนมาร์กและนอร์เวย์ (การทัพนอร์เวย์)

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ฮิตเลอร์ได้ลองส่งกองกำลังทหารเข้าไปยังฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศต่ำในยุทธการฝรั่งเศส ซึ่งฝ่ายเยอรมนีได้รับชัยชนะ และตามด้วยยุทธการแห่งบริเตน ซึ่งเป็นการทิ้งระเบิดใส่พลเรือนระหว่างสหราชอาณาจักรและนาซีเยอรมนี

อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการของเยอรมนีคราวนี้กลับประสบความล้มเหลว ฮิตเลอร์ได้เลื่อนแผนการบุกเกาะบริเตนในปฏิบัติการสิงโตทะเล แล้วหันไปเตรียมการโจมตีสหภาพโซเวียตแทน

แผนการการโจมตีของสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซานับได้ว่าเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากฮิตเลอร์จะต้องทำศึกหลายด้าน และประมาทการเตรียมการของฝ่ายสัมพันธมิตร

แต่ทว่าฝ่ายอักษะกลับรุกหนักเข้าไปจนถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกา และรุกเข้ายูโกสลาเวีย กรีซและเกาะครีตในแถบคาบสมุทรบอลข่าน และที่เลวร้ายลงไปกว่านั้น

ฮิตเลอร์มิได้ยกเลิกแผนการโจมตีสหภาพโซเวียตแต่อย่างใด หลังจากที่เยอรมนีต้องแบ่งสรรทหารเข้าไปรบในทวีปแอฟริกาและคาบสมุทรบอลข่านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 เช่นนี้

ในช่วงเวลาเดียวกัน กองทัพเรือเยอรมันได้ทำการปล้นเรือเดินสมุทรที่แล่นผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล และเรืออูของเยอรมันนับได้ว่าเป็นภัยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

และเป็นเวลาที่เยอรมนีได้ปฏิบัติตามแนวคิดของตนในการกวาดล้างชาวยิวและชาวโซเวียต ซึ่งได้มีการสร้างค่ายกักกันขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียต เมื่อถึงปลายปี 1941 เยอรมนีสามารถยึดครองเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป ส่วนทางแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันอยู่ที่หน้าประตูของกรุงมอสโก และเผชิญหน้ากับกองทัพแดง ในการรบอันโหดร้ายภายใต้สภาพอากาศหนาวจัดของฤดูหนาวแห่งสหภาพโซเวียต ทำให้การรบต้องหยุดชะงักไป

นาซีเยอรมนีประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 ธันวาคม 1941 เป็นเวลาสี่วันหลังจากที่ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ซึ่งเยอรมนีได้ต่อสู้เคียงข้างกับญี่ปุ่น

และเปิดโอกาสให้กองทัพเรือเยอรมันทำการโจมตีเรือเดินสมุทรของสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ก่อนหน้านั้น เยอรมนีพยายามอย่างเต็มที่ที่จะยื้อไม่ให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1942 เป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับเยอรมนีและฝ่ายอักษะ ทางด้านตะวันตก เยอรมนีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ และต้องพบกับระเบิดจากกองทัพอากาศอังกฤษอยู่ตลอดเวลา

และได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านทรัพย์สินและชีวิตของพลเรือน ในแนวรบทะเลทราย กองทัพอักษะต้องล่าถอยออกมาจากอียิปต์ และสามารถผลักดันกองทัพอักษะให้หนีไปยังอิตาลี ซึ่งได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า กองทัพเยอรมันจำเป็นต้องแบ่งออกเพื่อรับศึกทั้งสองด้าน

ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะได้รับผลกระทบจากการยึดครองของเยอรมนีทางทิศตะวันตก แต่ก็ยังสร้างเสริมกำลังได้มากพอ จนถึงปี ค.ศ. 1943 สหภาพโซเวียตก็ได้รับชัยชนะที่สตาลินกราด และผลักดันกองทัพเยอรมันไปทางตะวันตก และเอาชนะได้ที่เคิร์สก์

ต่อมา ในปี ค.ศ. 1944 กองทัพโซเวียตรุกเข้าสู่โปแลนด์ต่อ หลังจากความสำเร็จของปฏิบัติการบากราติออน ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้ยกพลขึ้นบกในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด เมื่อถึงขั้นนี้ หายนะก็ค่อยๆ คืบคลานเข้าสู่เยอรมนีทีละน้อย

จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1945 เบอร์ลินอยู่ใต้วงล้อมของกองทัพโซเวียต ฮิตเลอร์และคณะรัฐมนตรีแห่งพรรคนาซีได้ลงไปหลบภัยอยู่ในบังเกอร์ใต้ดิน รวมไปถึงกองทัพอเมริกันได้บรรจบกับกองทัพโซเวียตที่แม่น้ำเอลเบ เมื่อวันที่ 26 เมษายน

ซึ่งได้ทำให้ฮิตเลอร์ต้องเจ็บป่วยอย่างหนัก เมื่อตกอยู่ในสภาวะวิกฤติ เฮอร์มันน์ เกอริงได้ยื่นคำขาดแก่ฮิตเลอร์ให้ยกประเทศให้แก่เขา ต่อมา ฮิมม์เลอร์ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเยอรมนี ได้พยายามติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเพื่อหาทางสงบศึก ฮิตเลอร์ได้สั่งให้ประหารทั้งสองคน

ในวันที่ 30 เมษายน กองทัพเยอรมันที่เหลืออยู่พยายามต้านทานกองทัพโซเวียตจนตัวตาย ในวันนี้เองที่ฮิตเลอร์ยิงตัวตาย ในวันที่ 2 พฤษภาคม นายพลเฮอมุท ไวด์ลิง ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันในกรุงเบอร์ลินได้ยอมจำนนต่อนายพลโซเวียต วาซิลี่ ชุยคอฟ

ในวาระสุดท้ายของฮิตเลอร์ เขาได้ส่งมอบอำนาจต่อให้แก่พลเรือเอกคาร์ล เดอนิตช์ให้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งอาณาจักรเยอรมันอันยิ่งใหญ่ และโจเซฟ เกอเบิลให้เป็นมุขมนตรี โดยที่ไม่มีผู้ใดจะสามารถเป็นฟือเรอร์แทนตัวฮิตเลอร์ได้

แต่ว่าเพียงหนึ่งวัน โจเซฟ เกอเบิลได้ฆ่าตัวตายในหลุมหลบภัยแห่งนั้นเอง พลเรือเอกคาร์ล เดอนิตช์ได้ก่อตั้งคณะรัฐบาลใหม่ใกล้กับแนวชายแดนเดนมาร์ก ซึ่งได้พยายามที่จะติดต่อขอยอมจำนนกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก

จนกระทั่งถึงวันที่ 8 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันทั้งหมดได้ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข (แม้ว่าทหารโซเวียตจะเผชิญกับการต้านทานจนกระทั่งถึงวันที่ 11 พฤษภาคม)


การล่มสลาย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง จากที่เยอรมนียอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรเดินทางมาร่วมการประชุมที่พอตสดัม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เพื่อสร้างข้อตกลงและแนวทางสำหรับอนาคตของเยอรมนี

รวมไปถึงการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามและการโยกย้ายถิ่นชาวเยอรมันจำนวนมากในทวีปยุโรป ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนดให้ดินแดนที่ผนวกเข้าสู่เยอรมนีหลังจากปี 1937 อย่างเช่น ซูเดนเตแลนด์ ต้องคืนให้แก่เจ้าของเดิม

และมีการเปลี่ยนแปลงแนวชายแดนทางทิศตะวันออกให้เป็นไปตาม แนวโอเดอร์-นิซเซ่ ทำให้พื้นที่ของเยอรมนีลดลงจากเมื่อปี 1937 กว่า 25% โดยต้องยกให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านไป

หลังจากสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้นำตัวคณะผู้นำและนายทหารระดับสูงของนาซีเยอรมนีมาขึ้นศาลชำระความที่เนือร์นแบร์ก ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งบางส่วนได้ถูกลงโทษถึงตาย (ส่วนใหญ่ด้วยการแขวนคอ)

แต่บางส่วนถูกจับจำคุกและได้ปล่อยตัวออกมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงและชราภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้นำนาซีบางส่วนที่ยังคงถูกจำคุกมาอยู่จนถึงปัจจุบัน และบางส่วนยังคงมีชีวิตรอดอยู่ได้มาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990

แต่ที่สำคัญที่สุด ฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งสี่ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียต ได้ฉีกดินแดนของเยอรมนีออกเป็นดินแดนยึดครองของตนเอง

โดยแบ่งการปกครองเยอรมนีออกเป็นสี่ส่วน เยอรมนีส่วนที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ดูแลอยู่นั้นได้รวมตัวกันเป็นเยอรมนีตะวันตก ส่วนที่สหภาพโซเวียตปกครองกลายเป็นเยอรมนีตะวันออก

เยอรมนีต้องเป็นสนามสู้รบสำหรับสงครามเย็นอีกเป็นเวลากว่า 45 ปี จนกระทั่งสามารถรวมตัวกันเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไปนานจนเกือบจะย่างเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 21


ภูมิประเทศ

นาซีเยอรมนีมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบตอนกลางของทวีปยุโรป ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบประกอบกับเทือกเขาและภูเขา อันเป็นปราการธรรมชาติชั้นดีที่สามารถยับยั้งการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้

นาซีเยอรมนีมีอาณาเขตทางเหนือติดกับเดนมาร์ก รวมทั้งมีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลเหนือ และทะเลบอลติก ทางทิศตะวันตกติดต่อกับฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์

ทางทิศตะวันออกมีโปแลนด์ และสโลวาเกีย ส่วนทางทิศใต้มีออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำดานูบ และแม่น้ำเอลเบ

ในดินแดนนี้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แร่เหล็ก ถ่านหิน ไม้ ทองแดง และนิกเกิล

ดินแดนที่ผนวกเข้ามาใหม่

จากแนวคิดของนาซีเยอรมนีที่ต้องการขยายดินแดนของตัวเองออกไป ทั้งก่อนหน้าและหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้อุบัติขึ้น กองทัพเยอรมันอันเกรียงไกรก็สามารถรบจนได้รับชัยชนะหลายครั้ง และได้ดินแดนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

โดยมีดินแดนที่มีการปกครองแบบพิเศษได้แก่ แคว้นโบฮีเมียและโบราเวีย ซึ่งเป็นรัฐในอารักขา เยอรมนีมีอำนาจควบคุมและบริหารประเทศ แต่ยังอนุญาตให้มีสกุลเงินตราเป็นของตัวเอง

ในหลายพื้นที่หลังจากที่เยอรมนียึดครองแล้ว ได้มีการก่อตั้ง ไรช์โคมมิสซาริอาท (เยอรมัน: Reichskommissariat) เพื่อเป็นการดูแลการปกครองดินแดนที่ถูกยึดครองของตน

ดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี (แม้ว่าจะมีบางส่วนได้ถูกแบ่งปันระหว่างนาซีเยอรมนีและพันธมิตร) มีดังนี้

ชื่อประเทศ การยึดครอง 1
ปลดปล่อย
เชโกสโลวาเกีย 16 มีนาคม 1938 (ร่วมกับฮังการี) 9 พฤษภาคม 1945
ออสเตรีย 12 มีนาคม 1939 - 27 เมษายน 1945
โปแลนด์ 6 ตุลาคม 1939 (ร่วมกับสหภาพโซเวียต) มีนาคม-เมษายน 1945
เดนมาร์ก 9 เมษายน 1940 5 พฤษภาคม 1945
นอร์เวย์ 9 เมษายน 1940 8 พฤษภาคม 1945
เบลเยี่ยม 28 พฤษภาคม 1940 - 25 มกราคม 1945
ลักเซมเบิร์ก พฤษภาคม 1940 - มีนาคม 1945
ยูโกสลาเวีย 17 เมษายน 1940 - 20 ตุลาคม 1944
เนเธอร์แลนด์ 15 พฤษภาคม 1940 มีนาคม 1945
ฝรั่งเศส 25 มิถุนายน 1940 (บางส่วนกลายเป็นวิชีฝรั่งเศส) 23 ตุลาคม 1944
หมู่เกาะแชนแนล 30 มิถุนายน 1940 - 9 พฤษภาคม 1945
กรีซ 27 เมษายน 1941 (ร่วมกับอิตาลีและบัลแกเรีย) มีนาคม 1945

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย 2-- 10 กรกฎาคม 1941 - 9 พฤษภาคม 1945

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย 2 - 25 มิถุนายน 1941 - 8 พฤษภาคม 1945

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน 2 - 17 กรกฎาคม 1941 ไม่ทราบวันที่แน่ชัด
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย 2 - 28 กรกฎาคม 1941 (ร่วมกับภราดรชาวป่า) 3 - 23 พฤศจิกายน 1944
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุส 2 สิงหาคม 1941 สิงหาคม 1944
โมนาโก 1943 ไม่ทราบวันที่แน่ชัด
อิตาลีและอาร์เอสไอ 4 - 23 กันยายน 1943 - 25 เมษายน 1945
อัลเบเนีย กันยายน 1943 - 29 พฤษภาคม 1944
ฮังการี 19 มีนาคม 1944 - 4 เมษายน 1945

1. เป็นวันที่ได้มีการลงนามยอมจำนนอย่างเป็นทางการ หรือกองทัพนาซีเยอรมันสามารถยึดครองได้ทั้งประเทศ
2. รัฐเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต มิใช่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นประเทศเดียว
3. ภราดรชาวป่า (Forest Brothers) เป็นกองทัพอิสระของเอสโตเนียที่ทำการต่อต้านสหภาพโซเวียต
4. สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีเป็นประเทศที่นาซีเยอรมนีทำการจัดตั้งให้ และได้ส่งกองทหารเข้าไปดูแลประเทศ ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนดินแดนยึดครองของนาซีเยอรมนีไปโดยปริยาย

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ขนาดของเยอรมนีได้มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่เยอรมนีเป็นฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเดือนพฤษภาคม 1945 ชาวเยอรมันจำนวนมากอพยพหนีภัยจากกองทัพแดงมาทางทิศตะวันตกและหนีภัยกองทัพสัมพันธมิตรมาทางทิศตะวันออก

หลังจากสงคราม เยอรมนีสูญเสียแคว้นโบฮีเมียและโมวาเรีย และให้เปลียนแนวชายแดนทางทิศตะวันออกให้เป็นไปตามแนวโอเดอร์-นิซเซ่ ซึ่งดินแดนเกือบ 25% ที่สูญเสียไปนั้นให้อยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์และสหภาพโซเวียต

และยังมีการโยกย้ายชาวเยอรมันหลายล้านคนจากดินแดนดั้งเดิม ผลจาการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีผลมาจนถึงปัจจุบัน


การปกครอง

หลังจากวันที่ 14 กรกฎาคม 1933 นาซีเยอรมนีกลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบบพรรคการเมืองเดียวและเผด็จการเบ็ดเสร็จ ภายใต้พรรคนาซี การปกครองของนาซีเยอรมนีได้แบ่งเขตการปกครองของประเทศออกเป็นมณฑลย่อย เรียกว่า "เกา"

ซึ่งเริ่มแรกนั้น เยอรมนีแบ่งออกเป็น 32 เกา แต่ว่าภายหลัง ในปี 1938 พรรคนาซีได้ออกนโยบายไกลช์ชอัลทุง ซึ่งให้ยุบการปกครองในระดับท้องถิ่นและในระดับรัฐ แล้วให้ขึ้นตรงต่อพรรคนาซี ซึ่งเป็นรัฐบาลกลางของประเทศ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมนีสามารถยึดครองดินแดนอื่นได้จึงได้สร้างการปกครองขึ้นมาใหม่ เรียกว่า "ไรช์เกา" (เยอรมัน: Reichsgau) ขึ้น จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1945 นาซีเยอรมนีมีเขตการปกครองรวมทั้งสิ้น 42 เกา


สัญลักษณ์แห่งหน่วยเอสเอ

โปสเตอร์เกณฑ์หน่วยยุวชนฮิตเลอร์ คำบรรยายโปสเตอร์อ่านได้ว่า: "เยาวชนรับใช้ท่านผู้นำ เด็กสิบขวบทุกคนจงเป็นยุวชนฮิตเลอร์" การปกครองในนาซีเยอรมนีมีส่วนคล้ายกันมากกับการปกครองตามลัทธิฟาสซิสต์ ซึ่งได้ถือกำเนิดในอิตาลี ภายใต้การปกครองของเบนิโต มุสโสลินี

ทว่าอย่างไรก็ตาม พรรคนาซีไม่เคยประกาศตนเองว่ายึดถือลัทธิฟาสซิสต์เลย ทั้งลัทธินาซีและลัทธิฟาสซิสต์ต่างก็เป็นแนวคิดทางการเมืองแบบนิยมทหาร ชาตินิยมและต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และการสร้างเสริมกำลังทหารของตัวเอง

รวมไปถึงทั้งสองแนวคิดตั้งใจที่จะสร้างรัฐเผด็จการ แต่ว่าสิ่งที่ทำให้ลัทธินาซีแตกต่างจากลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี สเปนและโปรตุเกส นั่นคือ การกีดกันทางเชื้อชาติ แนวคิดนาซียังได้พยายามสร้างรัฐที่รวมอำนาจเข้าสู่บุคคลคนเดียวอย่างเบ็ดเสร็จ

ซึ่งไม่เหมือนกับลัทธิฟาสซิสต์ที่ได้ส่งเสริมการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่บุคคลคนเดียว แต่ยังคงอนุญาตให้ประชาชนมีเสรีภาพบางส่วนได้ ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้น คือ อิตาลียังคงเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตยอยู่เช่นเดิม และพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีก็ยังคงหลงเหลืออำนาจที่มีอย่างเป็นทางการอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ลัทธินาซีไม่ค่อยมีอะไรเป็นของตัวเอง ฮิตเลอร์ได้ลอกแบบสัญลักษณ์ตามอย่างฟาสซิสต์อิตาลี (ส่วนเครื่องหมายสวัสดิกะลอกแบบมาจากอินเดีย) ทั้งยังรวมไปถึง การทำความเคารพแบบโรมันมาใช้เป็นการทำความเคารพฮิตเลอร์

และมีการใช้พวกที่แต่งตัวเหมือนกับทหารมาเป็นส่วนหนึ่งของพรรค (ในนาซีเยอรมนี คือ เอสเอ ส่วนในฟาสซิสต์อิตาลี คือ พวกเชิ้ตดำ) ฮิตเลอร์ยังได้ลอกการเรียก "ผู้นำของประเทศ" มาจากอิตาลีด้วย ("ฟือเรอร์" มีความหมายถึง ท่านผู้นำ ในนาซีเยอรมนี ส่วนในฟาสซิสต์อิตาลีใช้คำว่า "ดูเช่" (Duce))

ทั้งสองเป็นแนวคิดที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ มีแนวคิดที่จะทำสงคราม และยังสนับสนุนระบบเศรษฐกิจสายกลางระหว่างลัทธิทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ (เรียกว่า corporatism) พรรคนาซีปฏิเสธสัญลักษณ์แห่งลัทธิฟาสซิสต์ และยืนยันว่าตนยึดหลักตามแนวชาติสังคมนิยม แต่ว่า นักวิเคราะห์หลายท่านก็ยังจัดให้แนวคิดชาติสังคมนิยมให้เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิฟาสซิสต์อยู่ดี

แนวคิดเผด็จการของพรรคนาซีนั้นเป็นไปตามหลักคำสอนของลัทธินาซี พรรคนาซีได้บอกแก่ชาวเยอรมันว่าความสำเร็จของชาติเยอรมนีในอดีตและประชากรชาวเยอรมันนั้นมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดตามแบบชาติสังคมนิยม

แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะยังไม่มีแนวคิดดังกล่าวก็ตาม การโฆษณาชวนเชื่อได้เพิ่มความน่าเชื่อถือและความแข็งแกร่งของแนวคิดของนาซี และสร้างความมีชื่อเสียงให้แก่ฟือเรอร์ ซึ่งก็คือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้ถูกวาดภาพให้เป็นอัจฉริยะที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพรรคนาซีและผู้ที่นำประเทศเยอรมนีให้พ้นภัย

เพื่อที่จะรักษาความสามารถที่จะสร้างรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ พรรคนาซีได้สร้างองค์กรของตัวเอง เป็นพวกที่แต่งตัวเหมือนกับทหาร คือ หน่วยเอสเอ หรือ "หน่วยวายุ" ซึ่งมีหน้าที่จัดการกับพวกหัวซ้ายจัด พวกประชาธิปไตย ชาวยิว และคู่แข่งอื่นๆ หรือกลุ่มทางการเมืองขนาดเล็ก

ความป่าเถื่อนของหน่วยเอสเอได้สร้างความกลัวให้แก่พลเมืองของประเทศ ทำให้ชาวเยอรมันหวาดกลัวต่อการถูกลงโทษ ซึ่งบางครั้งถึงตาย ถ้าหากพวกเขาออกนอกลู่นอกทางที่พรรคนาซีได้วางเอาไว้ นอกจากนั้น หน่วยเอสเอยังได้มีส่วนช่วยในการดึงดูดเยาวชนที่แปลกแยกจากสังคมหรือว่างงานเข้าสู่พรรคนาซีอีกด้วย

"ปัญหาของชาวเยอรมัน" ตามที่มักถูกกล่าวถึงในการศึกษาของอังกฤษ ได้พุ่งเป้าไปยังการปกครองของเยอรมนีทางภาคเหนือและภาคกลางของทวีปยุโรป และเป็นแก่นสำคัญตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เยอรมนี

ตามหลัก "ตรรกวิทยา" ของการรักษาให้ชาวเยอรมันทำงานเบาๆ เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และได้ถูกส่งไปปั่นป่วนการสร้างรัฐโปแลนด์ขึ้นมาใหม่หลังจากนั้น โดยมีเป้าหมาย คือ ถ่วงน้ำหนักจำนวนมากในความพยายามที่จะสร้าง "ความลงตัวของเยอรมนี"

พรรคนาซียังได้มีความคิดของการสร้าง Großdeutschland หรือ เยอรมนีอันยิ่งใหญ่ และเชื่อว่าการรวมชาวเยอรมันเข้าด้วยกันเป็นประเทศเดียวจะเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำพาประเทศให้ประสบความสำเร็จ

แรงสนับสนุนอย่างจริงจังของนาซีต่อแนวคิดเรื่องประชาชนซึ่งอยู่ในหลักการเยอรมนีอันยิ่งใหญ่นำไปสู่การขยายตัวของเยอรมนี ให้ความชอบธรรมและการสนับสนุนสำหรับจักรวรรดิไรช์ที่สามที่จะเดินหน้าใช้กำลังเข้าควบคุมดินแดนของเยอรมนีที่เคยสูญเสียไปในอดีต ที่มีประชากรที่ไม่ใช่เยอรมันอาศัยอยู่มาก

หรืออาจเข้ายึดครองในดินแดนที่ชาวเยอรมันอาศัยเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว พรรคนาซีมักอ้างถึงแนวคิดของเยอรมนีที่เรียกว่า Lebensraum (พื้นที่อาศัย) ซึ่งกล่าวถึงความจำเป็นในการเพิ่มประชากรเยอรมัน เพื่อเป็นข้ออ้างในการขยายดินแดน

เป้าหมายที่สำคัญสำหรับพรรคนาซีได้แก่การยุบรวมเอาฉนวนโปแลนด์และนครเสรีดานซิกเข้าสู่จักรวรรดิไรช์ที่สาม ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของนโยบายการแบ่งแยกเชื้อชาติของนาซี แผนการ Lebensraum มีส่วนที่เกี่ยวข้องกันหลายประการ

กล่าวคือ พรรคนาซีเชื่อว่ายุโรปตะวันออกควรจะเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมัน และประชาชนชาวสลาฟที่อยู่ในแผ่นดินของนาซีเยอรมนี พวกเขาเหล่านั้นจะถูกใช้เป็นแรงงานราคาถูกหรือถูกเนรเทศไปทางทิศตะวันออกต่อไป

การเหยียดผิวและเผ่าพันธุ์นิยม ถือได้ว่าเป็นลักษณะสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนาซีเยอรมนี พรรคนาซีได้รวมเอาแนวคิดต่อต้านเซมไมท์และต่อต้านคอมมิวนิสต์ และรวมไปถึงขบวนการหัวเอียงซ้ายข้ามชาติ และทุนนิยมตลาดสากลเช่นกัน

ดังที่เป็นผลงานของ "พวกยิวที่สมรู้ร่วมคิด" ซึ่งยังได้หมายความรวมไปถึงขบวนการ อย่างเช่น "การปฏิวัติพวกต่ำกว่ามนุษย์ ยิว-บอลเชวิค" ผลที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิดการโยกย้าย กักตัวและการสังหารชาวยิวและชาวโซเวียตอย่างเป็นระบบขนานใหญ่ตามแนวรบด้านตะวันออก

ทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปอย่างน้อย 11 ถึง 12 ล้านคน ในช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "การล้างชาติพันธุ์โดยนาซี"

คณะรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี (1933-1945)
การเมืองของนาซีเยอรมนีมีรูปแบบของการแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ด้วยการพยายามสร้างความประทับใจให้แก่ฟือเรอร์ คือ ฮิตเลอร์ กฎหมายหลายข้อได้ถูกละเลยและแทนที่ด้วยการตีความกฎหมายในแบบที่ฮิตเลอร์ต้องการ

ดังนั้น คำสั่งของฮิตเลอร์จึงมีลักษณะคล้ายกับกฎหมายของประเทศ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น "การทำงานกับฟือเรอร์" (Working with Führer) ดังนั้น รัฐบาลของนาซีเยอรมนีจึงไม่ได้ทำงานประสานกันอย่างแน่นแฟ้น และเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา หรือตัวใครตัวมัน

ความพยายามของแต่ละส่วนที่แสวงหาอำนาจและอิทธิพลเหนือตัวฟือเรอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายของฮิตเลอร์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้จำนวนมาก ซึ่งได้ทำให้สมาชิกพรรคนาซีที่ไร้คุณธรรมและมีความมักใหญ่ใฝ่สูง แสวงหาบุคคลผู้ให้ความสนับสนุนและประกอบกับธรรมชาติอันรุนแรงของแนวคิดของฮิตเลอร์

จึงทำให้เกิดการกระทำเพื่อต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองขึ้น เกอเบิลได้โฆษณาชวนเชื่อรูปแบบของรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนีอย่างประสบผล ว่ารัฐบาลเป็นสิ่งที่ควรอุทิศ ยกย่องและลงตัวอย่างมีประสิทธิภาพ การแข่งขันในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและการออกกฎหมายอันไร้ระเบียบ ได้เพิ่มให้รัฐบาลอยู่นอกการควบคุมมากขึ้น

นักประวัติศาสตร์ได้ลงความเห็นระหว่าง "ลัทธินิยมสากล" (Internationalists) ซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์ได้วางแผนโครงสร้างรัฐบาลให้มีลักษณะเช่นนี้ เพื่อต้องการสร้างความจงรักภักดีและความอุทิศตัวให้แก่ผู้สนับสนุนของเขา และป้องกันการเกิดการสมรู้ร่วมคิดขึ้น

หรือไม่ก็เป็นแบบ "ลัทธิโครงสร้างนิยม" (Structuralists) ซึ่งเชื่อว่าโครงสร้างของรัฐบาลได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง และให้การสนับสนุนอำนาจเผด็จการของฮิตเลอร์เพียงน้อยนิด

คณะรัฐบาลดังกล่าวมีอายุ 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 1933 ถึงวันที่ 30 เมษายน 1945 หลังจากที่ฮิตเลอร์ยิงตัวตายในหลุมหลบภัยใต้ดินในกรุงเบอร์ลินแล้ว เขาได้สืบทอดอำนาจต่อให้แก่คาร์ล เดอนิตช์ ด้วยความปรารถนาที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาต่อไปอีก

โครงสร้างและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี ประกอบด้วย

สำนักงานแห่งชาติ

ฟือเรอร์ (หัวหน้าพรรค): อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ทำเนียบรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี: ฮันส์ แลมเมอรส์
สำนักงานที่ทำการพรรคนาซี: มาร์ติน บอร์แมนน์
สำนักประธานาธิบดี: ออตโต ไมส์ซเนอร์
สภาคณะรัฐมนตรีลับ: คอนสแตนติน วอน นูร์เรธ
สำนักฟือเรอร์: ฟิลิป โบลเลอร์

คณะรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทย: วิลเฮล์ม ฟริคส์ เฮนริช ฮิมม์เลอร์
สำนักงานควบคุมแผนการสี่ปี: แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงการคลัง: ลุทส์ กรัฟ ชเวริน ฟอน โครซิกค์
กระทรวงเศรษฐกิจ: วัลเทอร์ ฟังค์
กระทรวงการอบรมมวลชนและการโฆษณา: โจเซฟ เกบเบิลส์
กระทรวงการบิน: แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงป่าไม้: แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงแรงงาน: ฟรานซ์ เชลดท์เออ
กระทรวงการผลิตอาหารและการเกษตร: ริชาร์ด วัลเทอร์ ดาร์เร่
กระทรวงเยาวชน
กระทรวงยุติธรรม: ออตโต ไทเอียร์อัค
กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศึกษาธิการและการให้ความรู้แก่มวลชน: เบอร์นนาร์ด รุสท์
กระทรวงกิจการของสงฆ์: ฮันส์ เคอรรล์
กระทรวงการคมนาคม: ยูไลอุส ดอร์พมึลเลอร์
กระทรวงไปรษณีย์: วิลเฮล์ม โอเนสออร์จ
กระทรวงการสงครามและการผลิตอาวุธ: ฟริสซ์ ทอดท์ อัลเบิร์ต สเพียร์
กระทรวงการต่างประเทศ: โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอบ
สำนักงานผู้ตรวจการทางหลวงแผ่นดิน
สำนักงานประธานาธิบดีแห่งธนาคารไรช์
ผู้ตรวจการทั่วไปแห่งกรุงเบอร์ลิน (General Inspector of the Reich Capital)

สมาชิกสภาแห่งกรุงเบอร์ลินว่าด้วยการเคลื่อนไหว (Office of the Councillor for the Capital of the Movement) ตั้งอยู่ที่มิวนิกและบาวาเรีย
รัฐมนตรีนอกตำแหน่งคณะรัฐมนตรี: คอนแสตนติน ฟอน เนรัธ ฮันส์ แฟรงค์ ฮจาลมาร์ ชัคท์ อาเธอร์ ไซเยซซ-อินควารท์

คณะรัฐบาลเฟลนซเบิร์ก (1945)
คณะรัฐบาลเฟลนซเบิร์กเป็นรัฐบาลชั่วคราวของนาซีเยอรมนีหลังจากวันที่ 30 เมษายน 1945 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งพลเรือเอกคาร์ล เดอนิตช์ให้เป็นประธานาธิบดีแห่งนาซีเยอรมนี เดอนิตช์ได้ย้ายที่ทำการรัฐบาลจากเบอร์ลินไปยังเฟลนซเบิร์ก ใกล้กับชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก

เป้าหมายของเขาก็คือ การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกองทัพสัมพันธมิตรที่รุกมาทางตะวันตก มิใช่กับกองทัพโซเวียตผู้รุกรานมาทางทิศตะวันออก คณะรัฐบาลเฟลนซ์เบิร์กสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดถูกจับกุมตัวโดยกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1945

คณะรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลเฟลนซเบิร์ก ประกอบด้วย

ประธานาธิบดี: พลเรือเอก คาร์ล เดอนิตช์ (และเป็นผู้บัญชาการทหารบก)
ลุทส์ กรัฟ ชเวริน วอน โครซิกค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นประธานคณะรัฐมนตรี
เฮนริช ฮิมม์เลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถูกไล่ออกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)
อัลเฟรด โรเซนเบิร์ก (ถูกไล่ออกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)
ดร. วิลเฮล์ม สทุคอาร์ท รัฐมนตรีว่าการกระทวงวัฒนธรรม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทนนายฮิมม์เลอร์
อัลเบิร์ต สเพียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการผลิต
ดร. เฮอร์เบิร์ต บัคเคอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหาร กระทรวงการเกษตรและกระทรวงป่าไม้
ดร. ฟรานซ์ เชลตท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกิจการสังคม
ดร. จูไลอัส ดอร์พมึลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และกระทรวงการคมนาคม

เศรษฐกิจ

สกุลเงินไรช์มาร์ก ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้กันในนาซีเยอรมนีเมื่อพรรคนาซีมีอำนาจปกครองเยอรมนีใหม่ๆ นั้น เยอรมนีมีอัตราว่างงานสูงถึง 30%นโยบายด้านเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีถือกำเนิดมาจากแนวคิดของ ฮยัลมาร์ ชอัคท์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานแห่งธนาคารเยอรมนีในช่วงที่พรรคนาซีขึ้นมามีอำนาจ

และได้กลายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปีเดียวกัน เขาเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีด้านการเงินเพียงไม่กี่คนที่ใช้ประโยชน์จากการสิ้นสุดของมาตรฐานทองคำ เพื่อคงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำและอัตราขาดดุลของรัฐบาลให้สูง และให้กิจการงานสาธารณะขนาดใหญ่ได้รับการอัดฉีดจากรัฐบาลกลาง

ซึ่งได้ส่งผลให้อัตราการว่างงานของชาวเยอรมันลดลงอย่างรวดเร็ว และนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ในที่สุดแล้ว นโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์นี้ก็ได้รับการส่งเสริมจากการสร้างกองกำลังทหารขึ้นมาใหม่และการเพิ่มงบประมาณทางด้านการทหารนั่นเอง

ในปี 1937 ฮยัลมาร์ ชอัคท์ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนคือ ร้อยเอก เฮอร์แมน เกอริง ผู้ซึ่งได้เสนอแผนการเศรษฐกิจสี่ปีซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำให้เยอรมนีสามารถทำสงครามได้ภายในเวลาสี่ปี

แผนการดังกล่าวได้กำหนดให้ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (หรืออาจถึงขั้นยกเลิกการนำเข้าไปเลย) อัตราค่าจ้างและราคาสินค้าทั่วประเทศอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน เงินปันผลถูกกำหนดเอาไว้ไม่เกิน 6% ของวงเงินในบัญชี

และตั้งเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อันได้แก่ การเพิ่มจำนวนของเครื่องจักรการผลิตยาง โรงงานผลิตเหล็กและโรงงานผลิตสิ่งทออัตโนมัติ ซึ่งคล้ายกันมากกับนโยบายทางเศรษฐกิจในช่วงแรกของสหภาพโซเวียต

จากการที่พรรคนาซีได้แทรกแซงเศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่ และดำเนินนโยบายการสร้างกำลังทหารขึ้นอีกอย่างมโหฬาร ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 จึงแทบไม่มีอัตราการว่างงานในเยอรมนีเลย (สถิตินี้ไม่รวมชาวต่างประเทศและสตรี) อัตราค่าจ้างภายในเยอรมนีลดลงกว่า 25%

ระหว่างปี 1933 ถึงปี 1938 สหภาพการค้าถูกยกเลิก รวมไปถึงไม่อนุญาตให้มีสัญญาซื้อขายระหว่างกันและสิทธิในการหยุดงานประท้วง รัฐบาลยังห้ามมิให้ประชาชนลาออกจากงานของตน โดยรัฐบาลได้ออกบัญชีแรงงานในปี 1935 ถ้าหากแรงงานต้องการที่จะลาออกเพื่อไปทำงานใหม่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างคนก่อนหน้าเสียก่อน

นอกจากนั้น ยังมีการออกกฎบังคับเพื่อกำหนดแนวทางการลงทุนให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐ แทนที่การลงทุนเพื่อหากำไรตามปกติ ในที่สุดการออกเงินทุนโดยรัฐบาลก็เข้าครอบงำขั้นตอนการลงทุน โดยสัดส่วนของหลักทรัพย์ที่ออกโดยภาคเอกชนนั้นลดลงอย่างมาก

จากมากกว่า 50% ในปี 1933 และ 1934 เหลือเพียงประมาณ 10% ในปี 1935 ถึงปี 1938 บริษัทที่ออกเงินทุนเองก็ถูกจำกัดด้วยอัตราภาษีกำไรที่สูงมาก แม้บริษัทใหญ่ ๆ ได้รับการยกเว้นจากภาษีกำไร แต่ทว่ารัฐก็ควบคุมบริษัทเหล่านี้อย่างเข้มงวดจนทำให้"เหลือเพียงแต่เปลือกของความเป็นบริษัทเอกชนเท่านั้น"

ขณะที่นโยบายเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีอีกด้านหนึ่งพุ่งเป้าหมายไปยังการสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และเพิ่มจำนวนทหารบกของเยอรมนีจาก 100,000 นาย ให้กลายเป็นหลายล้านนาย แผนการสี่ปีดังกล่าวได้รับการพิจารณาในที่ประชุมฮอสซบัค เมโมรันดุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาให้ผ่านแผนการดังกล่าว

แต่ถึงกระนั้น แผนการสี่ปีของเกอริงจะหมดอายุในปี ค.ศ. 1940 แต่สงครามได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว เกอริงได้จัดตั้ง "ที่ทำการแผนการสี่ปี" ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อควบคุมสภาพเศรษฐกิจของเยอรมนีและวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลานั้น

ในปี 1942 การที่สงครามโลกขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้เศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีต้องกลายมาเป็นเศรษฐกิจสงคราม ภายใต้การนำของอัลเบิร์ต สเพียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาวุธยุทธภัณฑ์และอุตสาหกรรมสงคราม

เศรษฐกิจสงครามของนาซีเยอรมนีไม่สามารถสรุปได้อย่างเจาะจงว่าเป็น "ตลาดเสรี" หรือ "ตลาดควบคุม" ริชาร์ด โอเวอร์รี่ กล่าวว่า: "เศรษฐกิจของเยอรมนีอยู่ระหว่างม้านั่งสองตัว มันทั้งไม่ใช่ระบบเผด็จการอย่างระบบของโซเวียต หรือทุนนิยมอย่างระบบของอเมริกัน ในการหาวิสาหกิจเอกชน"

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ในฉบับพ็อกเกตบุ๊คโครงสร้างทางกฎหมายของนาซีเยอรมนีนั้นได้รับสืบทอดมาจากสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของตัวกฎหมายเกิดขึ้น รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของศาลไปพอสมควร

พรรคนาซีถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคการเมืองเดียวในเยอรมนี พรรคการเมืองอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศจะถูกยุบพรรค กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส่วนมากได้ถูกตัดออกจากกฎหมายไรช์เกสเซทเท (กฎหมายแห่งจักรวรรดิไรช์)

คนกลุ่มน้อยบางพวก เช่น ชาวยิว นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเชลยสงครามริดรอนสิทธิและหน้าที่ที่พึงมี และร่างกฎหมายวอล์คซ์ซตราฟเกสเซทซบุค ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1933 แต่ยังไม่ได้นำออกมาใช้จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

นอกจากนั้น พรรคนาซียังได้จัดตั้งศาลใหม่ขึ้นมา คือ วอล์คส์เกอร์ริชท์ชอฟ หรือ ศาลประชาชน ในปี 1934 แต่มีหน้าที่จัดการเฉพาะเกี่ยวกับคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเท่านั้น

โดยตั้งแต่ปี 1943 จนถึงเดือนกันยายน 1944 ศาลประชาชนได้มีคำสั่งประหารชีวิตไปกว่า 5,375 คน และตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 1944 จนถึงเดือนเมษายน 1945 ศาลมีคำสั่งประหารชีวิตอีกไม่ต่ำกว่า 2,000 คน ผู้พิพากษาของศาลประชาชนเป็นนักกฎหมายชื่อดัง โรแลนด์ ไฟรซ์เลอร์ ตั้งแต่ปี 1942 จนถึงปี 1945

ร่างกฎหมายที่สำคัญในสมัยของนาซีเยอรมนีส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความเห็นชอบของฮิตเลอร์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น กฎหมายของนาซีเยอรมนีจึงเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ และส่วนใหญ่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยตัวอย่างกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในนาซีเยอรมนี ได้แก่

มีต่อตอนที่ 2 ค่ะ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ภุมวาร - กมลมานเปรมปราโมทย์ค่ะ


Create Date : 07 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2552 10:04:39 น. 0 comments
Counter : 1303 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.