"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 
22 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 

ระวังให้ดี “จ่าเฉย” มีเครื่องมือตรวจจับรถแซงตรงคอสะพาน

 

 

ภาพจากเทคโนโลยีตรวจจับการแซงจรงคอสะพาน โดยกล้องที่ติดตั้งบนจ่าเฉย

 

       ในขณะที่รถหลายคันต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอขึ้นสะพานอย่างมีวินัยจราจร คนขับมักง่ายบางคนก็เบียดไปแทรกตรงคอสะพาน ซึ่งนอกจากจะสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้แก่ผู้ขับรถที่เคารพกฎแล้ว ยังซ้ำเติมปัญหาจราจรให้ “ติดหนึบ” เข้าไปอีก มิหนำซ้ำอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วย
       
       ปัญหาดังกล่าว พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการแซงและขับรถทับเส้นทึบตรงคอสะพาน คือปัญหาที่ผู้ขับรถยนต์หงุดหงิดใจและคาใจมากที่สุด หากแต่ทางสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย (ITS Thailand) ได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยแก้ปัญหานี้
       
       ผศ.ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์ จากสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาแมคคาโทรนิคส์ ไมโครอิเล็กนิคส์และระบบสมองกลฝั่งตัว สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้ร่วมกับสมาคม ITS Thailand พัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจจับการแทรกตรงคอสะพานด้วยเทคโนโลยีอิเมจโปรเซสซิ่ง (Image Processing) โดยติดตั้งกล้องบันทึกภาพ 2 ตัวที่ “จ่าเฉย” แล้วนำไปตั้งตรงคอสะพานเพื่อบันทึกภาพรถที่ทำผิดกฎจราจร
       
       เมื่อมีการขับรถทับเส้นทึบกล้องจะบันทึกทั้งภาพความละเอียดสูงและคลิปวิดีโอความยาว 5 วินาทีแล้วส่งไปให้ตำรวจจราจร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการส่งจดหมายแจ้งใบสั่งต่อไป คล้ายกับการตรวจจับการฝ่าไฟแดง โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจะคำนวณและเลือกบันทึกภาพเฉพาะกรณีที่มีการฝ่ากฎ
       
       

       
คลิปสาธิตการทำงานของเทคโนโลยีตรวจจับการแซงตรงคอสะพาน
       
       
       
       

       
       ทีมวิจัยใช้เวลาพัฒนาเทคโนโลยีประมาณ 1 ปี และได้ทดสอบที่สะพานข้ามแยกรัชโยธินเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าความแม่นยำของเทคโนโลยีอยู่ที่ 95% แต่การทดสอบทำได้เฉพาะช่วงกลางวัน เนื่องจากเวลากลางคืนยังไม่มีผู้ทำหน้าที่เฝ้าดูแลกล้องบันทึกภาพ ซึ่งกำลังขอทุนวิจัยเพื่อดำเนินการต่อ ส่วนการทดสอบช่วงกลางวันนั้นมีความยากในเรื่องแสงเงาที่บังเส้นทึบ ซึ่งต้องออกแบบให้โปรแกรมเข้าใจว่าเงานั้นไม่ใช่รถ และคาดว่าอีก 2-3 อาทิตย์จะได้ติดตั้งเทคโนโลยีนี้เพื่อใช้งานจริงที่แยกรัชโยธิน

ผศ.ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์
       ล่าสุดเทคโนโลยีการตรวจจับการขับรถทับเส้นทึบ และแซงตรงคอสะพานนี้ถูกผนวกเข้าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระบบจราจรขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transport System: ITS) ภายใต้โครงการ “สมาร์ทไทยแลนด์” (Smart Thailand) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการและบริหารจัดการระบบดังกล่าว
       
       นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการะรทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ระบุว่า การพัฒนาระบบจราจรขนส่งอัจฉริยะนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงคมนาคมในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานการจราจรและขนส่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ กระทรวงอุตสหกรรมในการออกมาตรฐาน สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย เป็นต้น
       
       

       
ผศ.ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์ อธิบายการทำงานของระบบตรวจจับการแซงตรงคอสะพาน
       
       
       

       
       ด้าน ดร.ภาสกร ประถมบุตร นายกสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย เผยว่าเทคโนโลยี ITS เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วทั่วโลก แต่การนำใช้ในเมืองไทยต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสม เช่น เทคโนโลยีบางอย่างใช้ในประเทศที่ขับรถเลนขวา เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยจึงต้องปรับเพื่อใช้กับการขับรถเลนซ้าย หรือต่างประเทศไม่มีการขับจัรกยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างง่ายๆ ของเทคโนโลยีนี้คือบัตรอีซีพาส (Easy Pass) ที่ใช้บนทางด่วน เป็นต้น
       
       “เทคโนโลยี ITS เป็นการผนวกเทคโนโลยีการสื่อสารเข้าเทคโนโลยีการขนส่งจราจร เช่น การใช้คลื่นวิทยุอาร์เฟไอดี (RFID) ในบัตรอีซีพาส การใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งจีพีเอส (GPS) เพื่อช่วยระบุตำแหน่งรถยนต์บนท้องถนน การใช้เซนเซอร์หรือเรดาร์เพื่อการตรวจจับความเร็ว เป็นต้น” ดร.ภาสกรยกตัวอย่าง

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2556
0 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2556 11:47:04 น.
Counter : 1192 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.