"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 
5 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
เตรียมพร้อมถ่ายภาพ "ดาวหางแพนสตาร์ส"

โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

ภาพถ่ายดาวหางแพนสตาร์ส วันที่ 1 มีนาคม 2556 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศออสเตรเลีย (ภาพโดย : Colin Legg ช่างภาพประเทศออสเตรเลีย)

 

       ในช่วงนี้กระแสดาวเคราะห์น้อยชนโลกคงมาแรงมากๆ และในขณะเดียวกันในปี 2556 นี้ ก็ยังมีกระแสเรื่องดาวหางสว่างไม่น้อยเช่นกันครับ ใช่แล้วครับคอลัมน์นี้เราอแนะนำ “ดาวหางสว่าง ในปี 2556” โดยจะขอเลือกเอาเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยเท่านั้น
       
        ปีนี้เรามีโอกาสจะได้เห็นดาวหางสว่างกันถึง 2 ดวงด้วยกัน โดยนักดาราศาสตร์คาดว่าอาจสว่างจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงแรกมีชื่อว่า ดาวหางแพนสตาร์ส (C/2011 L4 PANSTARRS) จะสังเกตเห็นได้ในเดือนมีนาคม อีกดวงหนึ่งมีชื่อว่า ดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON) และจะสังเกตเห็นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงต้นเดือนมกราคม 2557 ซึ่งหากดาวหางไม่เกิดการแตกสลายไปเสียก่อน คาดว่าจะมีความสว่างเกือบเท่าดวงจันทร์วันเพ็ญ และจะเป็นดาวหางที่สุกสว่างที่สุดในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา
       
       ในคอลัมน์นี้ผมอยากนำการสังเกต ดาวหางแพนสตาร์ส ซึ่งเราจะสามารถสังเกตเห็นได้ในเดือนมีนาคมนี้กันครับ


ดาวหาง Hartley 2 และกระจุกดาวคู่ NGC 884 กับ NGC 869 ในคืนวันที่ 8 ตุลาคม 2553 (ภาพโดย : ศรัณย์ โปษยะจินดา, ศุภฤกษ์ คฤหานนท์, สิทธิพร เดือนตะคุ : Canon EOS 500D / Takahashi FSQ 106 ED 530 มม. / F5 / ISO 1600 / 30 วินาที)

       

ดาวหาง คืออะไร
        คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร
       
       แท้จริงแล้ว ดาวหาง ก็คือ ก้อนน้ำแข็งสกปรก ที่ประกอบด้วยน้ำแข็งและก๊าชแข็งหลายชนิดรวมทั้งฝุ่นที่ปะปนอยู่ ก้อนน้ำแข็งเหล่านี้มีถิ่นกำเนิดไกลออกไปนอกวงโคจรของดาวพลูโต เรียกว่า หมู่เมฆออร์ต (Oort Cloud) นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นถิ่นที่มีก้อนน้ำแข็งอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปไกลจนพลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงน้อย ทำให้สภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำพอที่ก๊าชซึ่งระเหิดได้ง่ายสามารถแข็งตัวรวมกันเป็นก้อนได้
       
        เมื่อดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ลมสุริยะที่เข้ามาปะทะก็รุนแรงมากขึ้น ทำให้สสารในหัวของดาวหางระเหิดออกมาเป็นทางยาว เห็นเป็นหางของดาวหางได้ด้วยตาเปล่าได้ในระยะที่ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ หางของดาวหางมักจะปรากฏเป็นทางยาวหลายร้อยล้านกิโลเมตร และจะชี้ออกจากดวงอาทิตย์เสมอ เพราะถูกพัดออกโดยลมสุริยะ
       
        หางของดาวหางที่สวยมากๆ มักปรากฏให้เห็นเป็น 2 หาง ชัดเจน คือ หางฝุ่นและหางไออน ซึ่งบางครั้งจะเรียกกันว่า หางก๊าช (ข้อมูลจาก : เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล /วิภู รุโจปการ)
       
       การสังเกตดาวหางแพนสตาร์ส - C/2011 L4 (PANSTARRS)

 

ตำแหน่งดาวหางเมื่อสังเกตจากประเทศไทยในช่วงวันที่ 3-24 มีนาคม 2556 บริเวณขอบฟ้าทิศตะวันตก ในเวลา 18.30 น. (หางอาจจางกว่า และความยาวของหางอาจสั้นกว่าที่แสดงในภาพ) คาดว่าดาวหางน่าจะสว่างที่สุดในช่วงวันที่ 8-12 มีนาคม ที่แมกนิจูด 2 (ใกล้เคียงความสว่างของดาวเหนือ) โดยดาวหางจะเคลื่อนต่ำลงเรื่อย ๆ และตกลับขอบฟ้าไปในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เนื่องจากดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปประมาณ 15 องศา

 

       ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม เป็นต้นไป หลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า หากวันไหนฟ้าไม่มีเมฆมาก ให้ลองสังเกตหาดาวหางบริเวณใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตก ซึ่งดาวหางดวงนี้จะใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2556 โดยโอกาสที่จะเห็นได้ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย จะอยู่ในช่วงวันที่ 8 – 12 มีนาคม ซึ่งดาวหางจะอยู่สูงจากขอบฟ้ามากที่สุด และยังเป็นช่วงที่ดาวหางจะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์มีสุกสว่างมากที่สุดในวันที่ 10 มีนาคม 2556 ที่จะถึงนี้
       
       โดยสังเกตได้หลังดวงอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอยู่ใกล้ขอบฟ้าในกลุ่มดาวปลาคู่ และควรอยู่บริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทปราศจากแสงรบกวน ในสถานที่ไม่มีสิ่งใดบดบัง เช่น บนยอดดอย บริเวณสถานที่โล่งกว้าง บนยอดตึกสูง เป็นต้น ทั้งนี้อาจจะสังเกตได้ยากและอาจจะเห็นในส่วนของหางเท่านั้น เนื่องจากดาวหางอยู่ใกล้กับขอบฟ้า และควรใช้กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
       
        อุปสรรคสำคัญในการสังเกตดาวหางดวงนี้ในช่วงดังกล่าว คือดาวหางอยู่ห่างดวงอาทิตย์ 15° จึงมีเวลาสังเกตได้ไม่นานก่อนตกลับขอบฟ้า และดาวหางจะอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก จึงต้องสังเกตจากสถานที่ที่ขอบฟ้าทิศตะวันตกเปิดโล่ง ไม่มีสิ่งใดบดบัง หรือสังเกตจากอาคารสูง และอาจต้องใช้กล้องสองตาช่วยกวาดหาบริเวณขอบฟ้า ตาเปล่ามีโอกาสเห็นได้ หากดาวหางสว่างมาก มีหางยาว และท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆหมอกและฝุ่นควันบดบัง



ตำแหน่งดาวหางกับดวงจันทร์ ข้างขึ้น 1 ค่ำ ในวันที่ 13 มีนาคม 2556 ขณะอยู่ใกล้กันที่ระยะห่าง 5 องศา ซึ่งหากดาวหางมีความสว่างตามที่คาดการณ์ไว้ ส่วนตัวผมคิดว่าวันที่ 13 มีนาคม หากสามารถถ่ายภาพดาวหางเคียงดวงจันทร์ได้ก็น่าจะเป็นภาพที่สวยมากๆ ครับ
       

ภาพถ่ายดาวหางแพนสตาร์ส วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ประเทศนิวซีแลนด์ (ภาพโดย : Steven Graham : Canon EOS 5D Mark lll / F2.8 / ISO 3200 / 2 วินาที)

 

       เทคนิคและวิธีการ
        สำหรับการถ่ายภาพถ่ายดาวหางแพนสตาร์ส ในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งเราทราบอยู่แล้วว่าดาวหางนั้นจะสามารถสังเกตเห็นได้ทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก นั้นหมายถึง ดาวหางจะอยู่ในแสงสนธยา ท้องฟ้าที่ไม่มืดสนิท และตำแหน่งดาวหางที่อยู่ใกล้ขอบฟ้า ทำให้การถ่ายภาพดาวหางนั้นค่อนข้างยากสักหน่อย แต่ก็พอที่จะแนะนำวิธีการได้บ้างพอสังเขปครับ
       
       1. “สิ่งแรกสำหรับการถ่ายภาพ” ก็คือการสังเกตท้องฟ้าในช่วงเย็นว่า ท้องฟ้าปลอดโปร่งหรือไม่มีเมฆมากหรือไม่ หากท้องฟ้าไม่เป็นใจก็ยากที่จะถ่ายภาพได้ ดังนั้นหากวันไหนที่ท้องฟ้าใสเคลียร์ก็ไม่ควรพลาดโอกาสวันดีๆ ที่จะสังเกตดาวหางทางทิศตะวันตก ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
       
       2. “หาตัวช่วย” ตัวช่วยที่ว่านี้ก็คือ กล้องสองตานั้นเองหลังจากดวงอาทิตย์ตกแล้วอาจใช้กล้องสองตาในการช่วยกวาดหาบริเวณขอบฟ้า เนื่องจากกล้องจะมีกำลังการรวมแสงได้มากกว่าตาเปล่าของเรา
       
       3. “ลองผิด ลองถูก” หากเริ่มสังเกตเห็นดาวหางด้วยตาเปล่าแล้วอาจ เริ่มต้นถ่ายภาพด้วยค่าความไวแสงสูงๆ ไว้ก่อน เพื่อทดลองว่าภาพที่ถ่ายได้สว่างมากเกินไปหรือน้อยเกิน แล้วจึงปรับค่าชดเชยอีกครั้ง ซึ่งการถ่ายภาพในสภาพที่ท้องฟ้าแตกต่างกันค่าความไวแสงที่ใช้ก็อาจจะต่างกันด้วย จึงไม่มีค่าตายตัวในการถ่ายภาพครับ
       
       4. “ความไวชัตเตอร์” อาจปรับค่าความไวชัตเตอร์ไปที่ 10 วินาที ก่อนก็ได้หากภาพสว่างเกินเกินไปก็เพิ่มเวลาในการถ่ายแต่ไม่ควรเกิน 30 วินาที เพราะอาจทำให้ดาวหางเบลอหรือยืดได้ ทั้งนี้ที่ผมแนะนำไปอาจไม่ถูกเสมอไปครับ ควรทดลองถ่ายหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด
       
       5. “รูรับแสงกว้างไว้ก่อน” แน่นนอนครับคงไม่ต้องบอกก็คงทราบกันดีอยู่แล้ว การถ่ายภาพในที่สภาพแสงน้อยๆ ก็ควรเปิดค่ารูรับแสงให้กว้างที่สุดเพื่อให้กล้องมีความไวแสงในการสร้างภาพครับ
       
       6. “ถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง” เพราะการถ่ายภาพดาวหางเราอาจต้องถ่ายภาพด้วยการเปิดหน้ากล้องค้างไว้หลายวินาที ดังนั้นเพื่อป้องการการสั่นไหวของภาพก็ควรถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องเสมอ
       
       7. “เปิดระบบลดสัญญาณรบกวน” เนื่องจากช่วงเวลาในการถ่ายภาพของเราเป็นช่วงเย็ยสภาพแสงค่อนข้างน้อย ซ้ำการถ่ายภาพยังต้องเปิดหน้ากล้องนานๆ และใช้ความไวแสงสูง ย่อมเกิดสัญญาณรบกวน ดังนั้นเพื่อให้คุณภาพของภาพที่ดี ควรเปิดระบบลดสัญญาณรบกวน (Noise Reduction) ของกล้องไว้ด้วย
       
       8. “สุดท้ายคือ ไฟล์ RAW” เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพในภายหลัง
       
        จากที่ได้แนะนำข้างต้น ก็น่าจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน เตรียมการในการถ่ายภาพดาวหางแพนสตาร์ส ซึ่งเราจะมีโอกาสได้เห็นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในช่วงชีวิตของเรา เนื่องจากดาวหางมีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา ซึ่งหมายความว่ามันจะไม่กลับมาให้เราได้เห็นอีกแล้ว หรืออาจเรียกสนุกๆว่า “ดาวหางแดดเดียว” เพราะมันจะโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นครับ


ภาพแสดงการเคลื่อนที่ในวงโคจรของดาวหางในรูปแบบต่างๆ

ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
คุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์

ภุมวารสิริสวัสดิ์ค่ะ




Create Date : 05 มีนาคม 2556
Last Update : 5 มีนาคม 2556 11:30:36 น. 0 comments
Counter : 1046 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.