"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 
13 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
กางแผนที่จาก “ผังดาว” ในถ้ำสู่สมาร์ทโฟน

 

แผนที่สมัยราชวงศ์ถังที่ใช้ระบบกริดทำให้สร้างแผนที่ได้ละเอียดมาก

 

       แผนที่ถือเป็นเรื่องใหญ่จึงถูกพัฒนาด้วยนักวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แต่แผนที่มักถูกมองข้าม เพราะใครหลายคนมักคิดว่าแผนที่เป็นเรื่องเด็กๆ แต่มักหลงทางต้องพึ่งเจ้า GPSพาไปส่งทุกที่ แล้ววันนี้คุณรู้จัก “แผนที่” ดีพอหรือยัง?
       
       แผนที่ในปัจจุบันถูกพัฒนามาจากการวาดภาพจำมาออกมาเป็นภาพจำลอง เพื่อแสดงตำแหน่ง สถานที่ และทิศทางลงบนวัสดุสารพัด เช่น ผนังห้อง หนังสัตว์ ผ้าไหม กระดาษ จนถึงการแปลงเป็นไฟล์ภาพดิจิตอล แต่การวาดเพื่อสื่อสารในยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีการระบุสัดส่วนและทิศที่ชัดเจน นักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีจึงจัดว่าภาพเหล่านั้นเป็น “แผนผัง (landscape plan)” ยังไม่ใช่ “แผนที่ (map)”
       
       นั่นคือความแตกต่างที่แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิคและผลลัพธ์ของการสร้างแผนที่มากมายขนาดไหน ดังนั้นการเดินทางของแผนที่จึงผ่านพัฒนาการจากอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ สู่ยุคบาบิโลน กรีก โรมัน และยุคล่าอาณานิคมจนมาถึงปัจจุบันที่ทุกคนสามารถถือแผนที่ดิจิทัลไว้ในมือ ค้นหาแหล่งชอปปิงหรือเช็คอินร้านอาหารหรูกันสนุกมือ
       
       หลักฐานการวาดแผนผังแบบโบราณถูกค้นพบบนผนังถ้ำลาสโคซ์ (Lascaux Cave) ในลุ่มแม่น้ำคอร์โดซ ตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีอายุยาวนานกว่า 18,000 ปี เป็นภาพแผนผังดาว 3 ดวงที่เรียงตัวเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งประกอบไปด้วยดาวอัลแทร์หรือดวงตานกอินทรี ดาวเดเน็บ และดาวเวกา ร่วมกับภาพฝูงวัวป่าและวิถีการล่าสัตว์ เช่นเดียวกับภาพแผนผังดาวที่พบในถ้ำเอล คาสติลโย (El Castillo) ในสเปน ซึ่งปรากฏภาพวาดกลุ่มดาวมงกุฎเหนือ (Corona borealis) ที่มีอายุกว่า 14,000 ปี ส่วนแผนที่ในรูปแบบประติมากรรมนูนต่ำถูกค้นพบในแหล่งโบราณคดี Pavlov สาธารณรัฐเชค เป็นการปั้นดินเหนียวเพื่อแสดงแนวเทือกเขาและแม่น้ำซึ่งอาจมีอายุเก่าแก่กว่า 25,000 ปี
       
       ในยุคต่อมาเมื่อคนเริ่มตั้งรกรากสร้างบ้านสร้างเมือง ภาพวาดผังเมืองซึ่งยังเหลือหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน คือ แผนผังหมู่บ้าน ชื่อ Çatalhöyük แห่งเมืองอนาโตเลียหรือประเทศตุรกีในปัจจุบัน ซึ่งแสดงตำแหน่งของบ้านแต่ละหลังในชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมบนผนังดินเหนียว โดยเป็นการวาดจากมุมสูงแทนที่การวาดจากมุมมองเดิม ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในการถอดผังเมืองจากความทรงจำสู่การจับต้องได้ด้วยตา
       
       ส่วนแผนที่ที่ถูกสร้างขึ้นจากการสำรวจและจำลองสัดส่วนจริง เชื่อว่าถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในยุคบาบิโลเนียน ซึ่งถือเป็นยุคเริ่มต้นของการบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบนสื่อที่จัดเก็บได้สะดวก นั่นก็คือการบันทึกด้วยแผ่นดินเหนียวที่ถูกเขียนและกดลวดลายด้วยแท่งไม้ปลายแหลม หรือระบบ clay tablet & reed stylus แผนที่ในสมัยนั้นคาดว่าเป็นการแสดงกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินเพื่อเชื่อมโยงกับกับระบบภาษี โดยมีการพัฒนาเทคนิคอย่างต่อเนื่องจนทำให้ยุคต่อมาแผนที่ถูกลดทอนรายละเอียดกลายเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เมืองแทนด้วยวงกลม และแม่น้ำแทนด้วยการลากเส้น อีกทั้งยังเริ่มระบุทิศเพื่ออ้างอิงด้วย นอกจากนั้นชาวบาบิโลเนียนยังเคยสร้างแผนที่โลกโดยคาดว่าเกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับชาวอิยิปต์และเปอร์เซีย แต่ก็เป็นเพียงการบันทึกสัญลักษณ์คร่าวๆ ประกอบคำอธิบายสั้นๆ ลงบนแผ่นดินเหนียวเท่านั้น
       
       ชาวอียิปต์ถือเป็นชนชาติแรกที่เริ่มต้นวาดแผนที่ลงบนกระดาษปาปิรัส แต่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แผนที่ในยุคนี้หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันไม่มากเพราะกระดาษเปื่อยยุ่ยไปตามเวลา แผนที่ชื่อดังของอียิปต์ คือ แผนที่ของตูริน (Turin Papyrus Map) ซึ่งสร้างถวายฟาร์โร ราโมเสตที่ 4 เผื่อจำลองตำแหน่งของหมู่บ้าน เขตเกษตรกรรม และเหมืองทองตามลำน้ำไนล์ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร
       
       สาเหตุที่ทำให้แผนที่ของตูรินมีชื่อเสียงเพราะสามารถแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ (topographic map) และธรณีสัณฐาน (geological map) ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากสามารถจำลองสัดส่วนของภูเขา และแม่น้ำ รวมไปถึงการระบุชนิดของหินมีค่า เช่น หินทราย หินสีชมพู แหล่งกรวดอัญมณี และเหมืองแร่ทองคำ จึงถูกยกย่องว่าเป็นหลักฐานการสร้าง “ระบบภูมิสารสนเทศ หรือ Geographic Information System: GIS” ที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งของโลก
       
       ต่อมาในยุคกรีกแผนที่โลกถูกสร้างขึ้นจากมหากาพย์เรื่องอีเลียดและโอดิสซีย์ ที่ถูกเล่าขานโดยปราชญ์ชื่อโฮเมอร์ แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องเพราะเป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นด้วยความรู้อันจำกัด ต่อมานักดาราศาสตร์ชื่ออานักซีมันเดร์ (Anaximander) ผู้ซึ่งเชื่อว่าโลกเป็นทรงกระบอกก็สร้างแผนที่โลกขึ้นมาด้วยข้อมูลการสำรวจและการคำนวนทางคณิตศาสตร์ แต่แผนที่ก็ยังไม่สมบูรณ์นัก จนเฮราคลิตุส (Hecataeus ) นักปราชญ์ผู้มีชื่อเทียบชั้นกับพลาโตได้ปรับปรุงแผนที่จนเป็นที่ยอมรับ แต่ก็แสดงพื้นที่เพียงบางส่วนของเอชีย ยุโรป และแผ่นดิน Libya หรือแอฟริกาเท่านั้น
       
       อย่างไรก็ดีแม้จะมีนักปราญช์อีกหลายคนพยายามสร้างแผนที่ขึ้นมาใหม่ แต่แผนที่ของเฮราคลิตุสก็ยังถือว่าเป็นแผนที่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในยุคนั้น เพราะเขาสามารถแสดงต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ เทือกเขา แม่น้ำ ทะเลสาป และกระแสน้ำในมหาสมุทรได้ชัดเจนอีกด้วย

แผนที่ของตูริน ในสมัยอียิปต์ ถือเป็นหลักฐานการสร้าง “ระบบภูมิสารสนเทศ หรือ Geographic Information System: GIS” ที่เก่าแก่ที่สุด

 

       แผนที่ถูกพัฒนาแบบก้าวกระโดดอีกครั้งในยุคของอริสโตเติล ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เชื่อว่า “โลกกลม” และ ช่วยดึงนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่อๆ มาให้สนใจเรื่องโลก รูปทรง และการสร้างแผนที่โดยอาศัยหลักการทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ จนอีราโทธีเนส (Eratosthenes) พิสูจน์ได้ว่าโลกกลม และพยายามคำนวนเส้นรอบโลกโดยสร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียนขึ้น บุคคลที่มีความสำคัญกับระบบแผนที่อีกคนหนึ่ง คือ ปโตเลมี (ptolamy) ซึ่งได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และสร้างแผนที่ไว้ในหนังสือชุด geographia มีจำนวน 8 เล่ม หนึ่งในนั้นแสดงที่ตั้งของประเทศไทยโดยถูกเรียกว่า Aurea Khersonesus ชึ่งแปลว่า แหลมทอง (Golden Peninsular) นอกจากนั้นปโตเลมียังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดฉาก หรือ coordinate system เพื่อระบุพิกัดของสิ่งต่างๆ บนโลกโดยอ้างอิงระบบเส้นรุ้งเส้นแวง จนถือเป็นแม่แบบระบบการอ้างอิงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์สารสนเทศหรือ GIS ในปัจจุบัน
       
       สงคราม การสำรวจโลก และการจัดการทรัพยากรเพื่อเลี้ยงปากท้องของประชาชนเป็นแรงผลักดันให้แผนที่ในยุคต่อมาพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในยุโรปแต่ครอบคลุมไปทั่วทุกกลุ่มอารยธรรม เนื่องด้วยแผนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างมากในการครองครอบอาณานิคม วางแผนยุทธศาสตร์ การปักปันเขตแดน และบอกทิศทางการเดินทาง ดังนั้นชาติมหาอำนาจต่างๆ จึงถือว่าการมีแผนที่ในมือเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้เทคนิคการสำรวจ การทำรางวัด และการวาดแผนที่พร้อมแสดงสัดส่วนและทิศทางมี่ถูกต้องชัดเจนจึงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
       
       มหาอำนาจแห่งเอเชียอย่างชนชาติจีน เริ่มพัฒนาแผนที่อย่างจริงจังในสมัยราชวงศ์ฉิน โดยค้นพบแท่นพิมพ์ไม้สลักแผนที่ พร้อมหมึกดำและผ้าไหมสำหรับพิมพ์ในสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ โดนแท่นพิมพ์ปรากฏสัญลักษณ์ของถนน แม่น้ำ และหมู่บ้านรวมทั้งระยะห่างจากปางไม้เศรษฐกิจ ถือว่าเป็นแผนที่ทางเศษฐกิจ (economic map) แบบโบราณ หลังจากนั้นแผนที่ของจีนก็ถูกขับเคลื่อนด้วยสงคราม และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงราชวงศ์ฮั่น โดยมีความแตกต่างที่น่าสังเกตคือ แผนที่ในสมัยราชวงศ์ฉิน จะอ้างอิงทิศด้วยการเขียนทิศเหนือลงบนหัวของแผนที่ แต่แผนที่สมัยฮั่นมักใช้ทิศใต้อ้างอิงแทน
       
       นั่นแปลว่าความทันสมัpจากการที่จีนประดิษฐ์เข็มทิศได้เอง ก็มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาแผนที่ของจีน ทำให้แผนที่ในสมัยฮั่นมีพัฒนาการไปไกล คือ สามารถระบุระยะทางระหว่างจุดอ้างอิง มีความซับซ้อนของข้อมูล ครอบคลุมขนาดพื้นที่ใหญ่ขึ้น และสามารถระบุขนาดประชากรของแต่ละเมืองไว้ด้วย จนถึงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ก็เริ่มมีการใช้ระบบกริดหรือระบบพิกัดฉากคล้ายกับแนวคิดของปโตเลมี จนต่อมาในสมัยราชวงศ์จิ้นก็เริ่มใช้อัตราส่วนเพื่อย่อขนาดแผนที่จากของจริงลดอย่างถูกต้องและพัฒนาการระบุพิกัดของสถานที่ด้วยระบบกริดโดยหุยสิว (Pei Xiu) ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “ปโตเลมีแห่งเมืองจีน”
       
       ระบบกริดแบบจีนถูกต่อยอดอีกครั้งในสมัยราชวงศ์ถังจนสามารถจำลองขนาดของสถานที่และภูมิประเทศขนาด 30x30 ฟุตลงบนแผนที่ขนาด 1 นิ้ว หรือ ในปัจจุบัน คือ สามารถสร้างแผนที่ซึ่งละเอียดมากในอัตราส่วน 1: 360 ได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องมหรรศจรรย์หากเทียบกับวิทยาการในสมัยนั้น จนเป็นเรื่องน่าคิดว่าหากอาณาจักรจีนไม่ล่มสลายจากการบุกรุกของชาติตะวันตกไปเสียก่อน ระบบอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันนั้นเราจะใช้ระบบเส้นรุ้งแวงแบบปโตเลมี หรือระบบแผนที่แบบกริดของจีนกันแน่?
       
       ส่วนแผนที่ของชาวมองโกล อาหรับ อินเดีย และยุโรปก็มีพัฒนาการขึ้นมาในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่แผนที่ซึ่งทรงอิทธิพลที่สุดน่าจะเป็นแผนที่ในมือของนักสำรวจจากชาติตะวันตกที่ใช้ในการล่าอาณานิคม เพราะสามารถชี้เป็นชี้ตายในการบุกยึดทรัพยากรและลากเส้นแบ่งปันเขตแดนได้แบบเบ็ดเสร็จ โดยชาติมหาอำนาจในขณะนั้น ทั้งอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และโปรตุเกสล้วนแต่มีนักวิทยาศาสตร์ นักสำรวจ และนักสร้างแผนที่ฝีมือดีประจำราชสำนักเพื่อสร้างและอัพเดทแผนที่ใหม่ๆ ที่ตนของตนเองออกไปค้นพบอย่างต่อเนื่อง
       
       แผนที่โลกที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแผนที่ยุคใหม่พึ่งเริ่มต้นในช่วงคริตศวรรษที่ 17 นี้เอง โดยนักสร้างแผนที่ชาวเยอรมันชื่อ Georg Matthäus Seutter เป็นคนแรกที่สร้างแผนที่โลกโดยการจำลองออกมาในลักษณะภาพวงกลม 2 วงเชื่อมต่อกันคล้ายมุมมองแผนที่โลกที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน และเขายังสามารถแสดงแผนที่โลกครอบคลุมความยาว 12,750 กิโลเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับเส้นรอบวงของโลกได้อย่างชัดเจน แผนที่โลกที่คนมักกล่าวถึงอีกฉบับหนึ่งคือ แผนที่ของ Samuel Dunn นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตรต์ชาวอังกฤษที่แสดงแผนที่แบบ “จัดเต็ม” ทั้งการแสดงทิศอย่างละเอียด กระแสน้ำ แผนที่ดวงดาว การโคจรของดวงอาทิคย์ และดวงจันทร์ทั้งหมดในแผนที่แผ่นเดียว

แผนที่โลกบนแผ่นดินเหนียวของชาวบาบิโลเนียน

 

       ส่วนประวัติการทำแผนที่โดยคนไทยในสมัยโบราณไม่มีปรากฏชัดเจน มีเพียงหลักฐานเกี่ยวกับแผนที่ยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ที่น่าจะเก่าแก่ที่สุด จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลไทยจึงเริ่มจริงจังกับการทำแผนที่ โดยร.5 ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์เมื่อ พ.ศ.2418 ต่อมาในปี พ.ศ.2424 จึงจ้างชาวอังกฤษ ชื่อ เจมส์ แมคคาร์ธี เจมส์ (พระวิภาคภูวดล) เป็นเจ้ากรมแผนที่โดยใช้ระบบ “Triangular coordination” วางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อหาจุดตัดบนสิ่งอ้างอิงทางราบจากสถาบันแผนที่ของอินเดีย ผ่านพม่าเข้าสู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี จนถึงกรุงเทพฯ โดยมีจุดกึ่งกลางเพื่ออ้างอิงแผนที่ของไทยอยู่ที่ภูเขาทอง และพระปฐมเจดีย์
       
       จากนั้นมีการลากเส้นอ้างอิงไปบรรจบกับฐานข้อมูลจากอินเดียที่ปากอ่าวไทย และลากเส้นโยงต่อไปยังประเทศลาว และเขมร โดยใช้ระบบนี้ในการปักปันเขตแดนและสร้างแผนที่ใช้เองในประเทศขนาด 1:50,000 เพื่อประโยชน์ในการทำถนน ขุดคลอง วางรางรถไฟ ทำโฉนดที่ดิน แบ่งเขตปกครอง และส่งเสริมการค้าขายระหว่างประเทศ โดยใช้เวลาถึง 40 ปี (พ.ศ. 2453-2493) แต่ก็ทำสำเร็จไปเพียง 50% ระหว่างนั้นฝรั่งเศสก็เริ่มเข้ามาทำแผนที่เขตแดนของลาวและเขมรในปี พ.ศ. 2447 มาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาช่วยสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ทุกๆ 10-12 ปี มาจนถึงปัจจุบัน
       
       ในด้านของเทคนิคการสร้างแผนที่ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อความถูกต้องของข้อมูลในยุคเริ่มแรก การวาดแผนที่มักอาศัยการจำมากกว่าพึ่งพาอุปกรณ์อื่นๆ ต่อมา “เข็มทิศ” จึงถูกนำมาใช้เพื่อคำนวนทิศทางและระยะทาง ต่อมานักวิทยาศาสตร์จึงสร้างอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อคำนวนระยะและทิศทางบนแผนที่ เช่น เครื่องมือวัดมุมแนวตั้ง (Quadrant และ sextant) เครื่องมือวัดระยะอย่างละเอียด หรือเวอร์เนียร์ (Vernier) ร่วมกับการตั้งหอสูงเพื่อสังเกตภูมิประเทศด้วยกล้องส่องทางไกลร่วมกับการลากพิกัดแบบโครงร่างสามเหลี่ยม และเริ่มใช้ระบบเส้นรุ้งเส้นแวงเป็นระบบสากลโดยอ้างอิง 0 องศาที่จุดกรีนิชเมื่อปี พ.ศ.2427
       
       เมื่อถึงคริสตศตวรรษที่ 19 การสร้างแผนที่จึงก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลพร้อมกับพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ พร้อมๆ กับเทคโนโลยีภาพถ่ายก็ถูกใช้เพื่อพัฒนาแผนที่ให้มีมุมมองกว้างและถูกต้องมากกว่าเดิม จนถึงคริสตศวรรษที่ 20 เทคโนโลยีดาวเทียมก็ถูกนำใช้ในการสร้างแผนที่ร่วมกับคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย และเข้าถึงโดยคนทั่วไปได้ง่าย จนปัจจุบันคนธรรมดาเดินดินก็สามารถครอบครองเครื่องรับสัญญาณพิกัดดาวเทียม (GPS) สำหรับดึงข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อนำทางและปักหมุดสถานที่สำคัญ ไม่ต้องเป็นกัปตันเรือล่าอาณานิคมก็มีแผนที่โลกแบบละเอียดอยู่ในมือ
       
       พัฒนาการของแผนที่ล้วนแต่ต้องอาศัยรากฐานการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ หน่วยงานต่างๆ ล้วนต้องมีนักพัฒนาและวิเคราะห์แผนที่นั่งทำงานอยู่ เช่น กรมแผนที่ทหารซึ่งทำหน้าที่พัฒนาแผนที่มาตั้งแต่สมัย ร.5 ก็ยังมีหน้าที่เดิมแต่ก้าวไกลด้วยระบบภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง เพื่อให้บริการข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการและการป้องกันประเทศ ส่วนสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ให้บริการข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจากดาวเทียมของไทยและการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคใหม่ๆ ให้กับภาครัฐและเอกชน

ถือเป็นความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลที่สำคัญของประเทศ โดยเมื่อถึงเวลาวิกฤติ ทั้ง 2 หน่วยงานก็สามารถให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อสังคมได้ เช่น การให้บริการประชาชนเมื่อเกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ซึ่งทั้งกรมแผนที่ทหารและ GISTDA ก็ได้เปิดให้ดาวน์โหลดฐานข้อมูลแผนที่ปริมาณน้ำของแต่ละจังหวัดและเขตการปกครองกันชนิดวันต่อวันเลยทีเดียว

แผนที่ของ Samuel Dunn ประกอบด้วยแผนที่โลก ทิศอย่างละเอียด กระแสน้ำ แผนที่ดวงดาว การโคจรของดวงอาทิคย์ และดวงจันทร์ในแผนที่แผ่นเดียว

 

       ส่วนผู้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างกรมอุทยานแห่งชาติ ก็ใช้แผนที่ในการสำรวจและลาดตระเวน โดยพัฒนาระบบ GIS เข้ากับการพบร่องรอยสัตว์และการรบกวนของคน เรียกว่าระบบ “SMART PATROL” นอกจากนั้นยังมีการใช้การสะท้อนแสงของผิวโลกของคลื่นแสงที่ต่างกัน นำมาวิเคราะห์พื้นที่ป่าเพื่อการจัดการทรัพยากร ซึ่งล่าสุดสามารถนำฐานข้อมูลไปวิเคราะห์ร่วมกับปริมาณการดูดซับคาร์บอนของป่าแต่ละพื้นที่ได้อีกด้วย ส่วนแผนที่แสดงธรณีสัณฐาน แหล่งชลประทาน และปริมาณน้ำฝนที่เชื่อมโยงพื้นที่เกษตรกรรมของกรรมพัฒนาที่ดิน ก็สามารถให้คำปรึกษากับเกษตรกรและทำนายการขยายตัวของกำลังการผลิตภายในประเทศได้เช่นกัน
       
       กรมอุตุนิยมวิทยาก็ใช้แผนที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้กับประเทศ ทั้งการพยากรณ์อากาศเพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือซึ่งเวลานี้สามารถทำได้แม่นยำ เพราะมีการติดตามแผนที่การเคลื่อนตัวของพายุและมวลเมฆแบบเรียลไทม์ด้วยระบบดาวเทียม รวบไปถึงการใช้ฐานข้อมูลธรณีสัญฐานและปริมาณน้ำฝน มาคำนวนคู่กับเครื่องส่งสัญญาณอัตโนมัติและการแจ้งข่าวภาคพื้นดินเพื่อทำนายและแจ้งเตือนภัยพิบัติอื่นๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม และซึนามิได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
       
       แผนที่ใกล้มืออย่าง Google Map อาจทำให้เห็นภาพพัฒนาการของแผนที่กับชีวิตประจำวันในได้ชัดเจน โดยกูเกิลได้ซื้อระบบแผนที่ดาวเทียมออนไลน์มาจากบริษัท where2 และ keyhole เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ แล้วเริ่มให้บริการแผนที่ในช่วงต้นปี 2548 บนอินเทออร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือในช่วงปลายปี ในปีถัดมากูเกิลเริ่มให้บริการภาพถ่ายดาวเทียมแบบเดียวกับโปรแกรม Google earth ที่เปิดตัวไปก่อน และเริ่มใส่ประติมากรรม 3 มิติบนแผนที่ ในปี 2550 ก็เริ่มใช้ “สตรีทวิว” (street view) จากการใช้รถตระเวนถ่ายภาพแบบ 360 องศา จำลองภาพเหมือนเราอยู่ในสถานที่จริง
       
       ปัจจุบันกูเกิลให้บริการอีกหลากหลายที่แทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น การออกแบบการเดินทางบนระบบขนส่งสาธารณะ และเครื่องมือที่ให้ผู้ใช้สร้างแผนที่ของตนเองได้สะดวก และดูเหมือนว่าแอปพลิเคชันเหล่านี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนระบบแอนดรอยด์ เพื่อยึดหัวหาดด้านการบริการข้อมูล จนเราแทบไม่ต้องพึ่งพาการค้นหาด้วยโปรแกรมอื่นๆ เลย แถมในปีนี้ยังมีคนนึกสนุกเปิดฐานข้อมูล “แผนที่เก่า” ให้ลองนำมาซ้อนทับกับแผนที่ของกูเกิ้ลอีกต่างหาก เป็นที่ถูกอกถูกใจของนักสำรวจยุคดิจิตอลที่ชอบค้นหาอดีตกาลผ่านแผนที่
       
       เทคโนโลยีและฐานข้อมูลขนาดมหึมาในปัจจุบันทำให้เรื่องแผนที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่เด็กๆ นั่งเรียนในคาบสังคมและลูกเสือเนตรนารีอีกต่อไป เพราะในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักบริหาร วิศวกร เกษตรกร หรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่เท่าทันการพัฒนาของระบบแผนที่ก็เหมือนมี “ลายแทงสมบัติ” ในกำมือ...แล้วตกลงคุณรู้จักแผนที่ดีแล้วหรือยัง?

แผนที่แบบสตรีทวิวของกูเกิ้ลแมพ ที่สามารถแสดงภาพ 360 องศาเหมือนอยู่ในสถานที่จริง

ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
นายปรี๊ด

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ




Create Date : 13 พฤษภาคม 2556
Last Update : 13 พฤษภาคม 2556 9:13:30 น. 0 comments
Counter : 1271 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.