มองทุกอย่างในด้านที่แตกต่าง ทุกอย่างในโลกย่อมมีเรื่องดีๆ เสมอ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 

กีฬาสู่ความเป็นเลิศ หรือที่จริงแล้ว ! คือ กีฬาสู่ความเป็นโรค

กีฬาสู่ความเป็นเลิศ หรือที่จริงแล้ว ! คือ กีฬาสู่ความเป็นโรค

ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากการทำงานในปี 2552 ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเอเชียนอินดอร์เกมส์ ซีเกมส์ พาราลิมปิกเกมส์ และเอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ โดยนักกีฬาได้ประกาศศักยภาพและมาตรฐานระดับนานาชาติได้หลายรายการ ซึ่งตรงกับแผนยุทธศาสตร์สร้างกีฬาไทยสู่ความเป็นเลิศ (พ.ศ. 2553-2559) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เริ่มจัดทำโครงการขึ้น

อ่านข้อมูลแบบนี้ก็ดูดีนะครับสำหรับโครงการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ ว่านักกีฬา การกีฬาบ้านเรากำลังก้าวเข้าไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นของการแข่งขันกีฬาหลายประเภท ซึ่งถ้าหากมองดูตามข้อมูลข่าวสารที่เราๆ ท่านๆ ได้รับข้อมูลมาก็ดูเหมือนจะมีแต่การพัฒนาการแบบก้าวไปข้างหน้าของวงการกีฬาไทย ที่ทระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาพยายามพลักดันให้นักกีฬาของเรามีศักยภาพสูงๆ เพื่อที่จะเอาไว้ไปแข่งขัน กับประเทศต่างๆ จนดูเหมือนว่ามีใครหลายคน ผู้สื่อข่าว ผู้นำประเทศ รวมถึงตัวผมเอง ชอบเปรียบเทียบว่าประเทศไหนเป็นมหาอำนาจก็ให้ดูจากจำนวนเหรียญกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิค แต่ถ้าในกลุ่มทวีปเดียวกัน ก็ดูอย่างเอเชียนเกมส์ เจ้าเหรียญทองเป็นประเทศจีน เอาให้ แคบลงก็ไปดูกันที่ซีเกมส์ เจ้าเหรียญทองปีนี้เป็นประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นเจ้าภาพ แต่ทางบ้านเราก็พยายามบอกซะเหลือเกินว่าถ้าจะให้นับเฉพาะกีฬาแบบสากลยอมรับกันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ประเทศไทย เป็นที่หนึ่ง แต่จะให้มองในมุมกว้างทุกวันนี้เจ้าแห่งเหรียญรางวัลในอันดับโลกกีฬาโอลิมปิก ก็คงไม่พ้น จีน อเมริกา สองประเทศนี้ที่ขับเคี่ยวแข่งกันอยู่ เพื่อประกาศศักดิ์ดาความยิ่งใหญ่ว่าคนในประเทศของเขาเหล่านั้นมีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ(เรื่องจิตใจเอาจริงๆ แตกประเด็นได้นะเนี้ย) เพื่อคว้าชัยนำเหรียญกลับบ้าน อวดอ้างความเป็นผู้นำแห่งโลกทั้งโลกว่าคนในประเทศของตนมีนักกีฬาคุณภาพมากมาย คนในประเทศนิยมเล่นกีฬานำพาสุขภาพอันดีแก่คนเหล่านั้น แต่การที่จะไปแข่งขันในระดับต่างๆ จนถูกเรียกว่านักกีฬาทีมชาติ (จะชาติไหนก็คงเรียกนักกีฬาที่เป็นตัวแทนของประเทศ และแต่ละชนิดกีฬาว่าทีมชาติแน่ๆ)

เรื่องนี้นี่เองทำให้ผมคิดถึงการเป็นตัวแทนระดับประเทศ หรือทีมชาติเข้าร่วมแข่งขันกีฬาในรายการต่างๆ ที่ประเทศ ทวีป และโลกได้จัดขึ้น การเป็นตัวแทนทีมชาติไทย (เอาเฉพาะชาติเราก่อน ส่วนชาติอื่นๆ คงจะมีวิธีการคัดสรรค์ทีมชาติคล้ายกัน) คงไม่ได้มาด้วยความง่ายดายอย่างที่หลายๆคนคิด เพราะกว่าที่นักกีฬาจะได้มีสิทธิ์สวมชุดที่มีตราสัญญลักษณ์ธงชาติไทยอยู่บนหน้าอกด้านซ้าย อาร์มที่แขน และลายปักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งในด้านกีฬาของตนที่ถูกคัดเลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนของคนทั้งประเทศ ก็ต้องทำการแข่งขันกับมวลหมู่เพื่อนนักกีฬาในกลุ่มของสายกีฬาเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่จะได้เป็นตัวแทนของกลุ่มกีฬานั้นๆ ต้องแลกมาด้วยอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเวลา กำลังใจ และร่างกาย ที่ต้องพลักดันตัวเองไปให้ถึงขีดสุด ต้องเอาชนะเหล่าเพื่อนนักกีฬาในสายเดียวกันเหยียบย่างขึ้นไปให้สูงยิ่งขึ้น ประหนึ่งกับว่าเป็นบันไดปีรามิดนำพาตัวเองไปให้ถึงจุดหมายคือยอดอันสูงสุด การป่ายปีนขึ้นไปจนเป็นที่สุดแห่งยอดปีรามิดนั้นเมื่อย้อนกลับมาดูเราต้องเอาชนะนักกีฬาเหล่านี้ไปกี่คน กี่ทีม เพื่อที่จะถูกเลือกให้เป็นตัวแทนนักกีฬาไทยเป็นตัวแทนนักกีฬา เป็นความหวังของคนทั้งชาติ ที่เรียกว่านักกีฬาทีมชาติ แข่งขันให้ได้เหรียญในการแข่งขันต่างๆ เราต่างมองว่าเขาเหล่านั้น ที่เป็นทีมชาติ และพยายามแข่งขันเพื่อที่จะให้ได้เป็นทีมชาติ เป็นคนที่มีความสามารถ สมกับความรู้สึกในภาพลักษณ์ที่รัฐได้สร้างขึ้นตามคำที่กล่าวว่า “กีฬาสู่ความเป็นเลิศ”

เมื่อมาถึงจุดนี้เราได้มองเห็นในแง่ดีของความพยายามในการพลักดันศักยภาพทางกีฬา ให้ไปถึงจุดสูงสุด แต่ ! ไม่ค่อยจะมีใครมองว่ากว่านักกีฬาทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งที่ประสบความสำเร็จ และยังไม่ประสบความสำเร็จ เค้าต้องเสียอะไร “กีฬาสู่ความเป็นเลิศ” ทำให้เกิด “โรค” ได้อย่างไร เคยได้ยินไหมครับว่ามีนักกีฬาบาดเจ็บ ตัวอย่างที่เห็นได้และนำเป็นข้อมูลในการค้นขว้า และตรวจสอบนะครับ
1. "ซูเปอร์บอล" ภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักหวดมือ 9 ของโลก บาดเจ็บที่ข้อมือขวา
2. น้องสอง บุตรี เผือดผ่อง บาดเจ็บ เข่าสองข้าง
3. "เติ้ล" มนัส บุญจำนงค์ บาดเจ็บกล้ามเนื้อ

ที่จริงแล้วยังมีนักกีฬาอีกมากที่มีอาการบาดเจ็บจากการแข่งขัน หรือการฝึกซ้อมแต่ผมหยิบยกเอาแค่กลุ่มตัวอย่าง แค่นักกีฬาในประเทศครับ เพราะถ้าเป็นต่างประเทศคงจะต้องร่ายยาว ถ้าจะให้เจาะลึกไปอีกหน่อย หากเราดูแต่เฉพาะเหล่านักกีฬาที่เป็นทีมชาติอาจจะรู้สึกว่าก็มีไม่มากเท่าไหร่ แต่ผมอยากจะให้คิดในมุมกว้างกว่านี้อีกสักนิดครับว่ากว่าจะได้ทีมชาติซักหนึ่งคน ยกตัวอย่างว่าเป็นนักกีฬาเทควันโด แล้วกันนะครับเพราะมีการถูกจัดเป็นลำดับสายการแข่งขันเป็นน้ำหนักในแต่ละรุ่น การที่จะถูกเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติได้นั้น จะต้องมีการแข่งขันเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเริ่ม สายการแข่งขันจะมีผู้แข่งขันเป็นแบบปิรามิต สู้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดสูงสุด อย่างน้อยต้องสู้กับนักกีฬารุ่นเดียวกัน เป็นพันๆคน เพื่อที่จะกลายเป็นนักกีฬาทีมชาติได้ เมื่อเราไปถึงจุดสูงสุดนั้นเราถึงจะถูกเลือกไปฝึกซ้อม กับโค้ชทีมชาติอีกครั้ง

มุมมองด้านนี้เป็นเพียงแค่อาการบาดเจ็บของนักกีฬาทีมชาติ หรือนักกีฬาชื่อดังทั้งหลาย เราอาจจะมองแค่ว่าแค่อาการบาดเจ็บธรรมดารักษาก็หาย หรือไม่ก็เลิกเล่นไปเมื่อสภาพร่างกายมาถึงขีดสุดของความทนทานที่จะรับแรงกดต่อโรคต่างๆ ที่เข้ามารุมเร่าจนทำให้ชีวิตของนักกีฬาจบลง ผมอยากให้มองย้อนไปอีกนิดว่า ผู้ที่เล่นกีฬา เป็นนักกีฬา พยายามต่อสู้เพื่อความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของตนหากเขาเหล่านั้นเป็นผู้ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเมื่อมีอาการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน สมาคมกีฬาจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลให้แก่นักกีฬา นักกีฬาเล่านั้นก็แค่เพียงหยุดฝึกซ้อมเข้าไปโรงพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาอาการของโรคที่เป็นโดยไม่ต้องสนใจในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากนักกีฬาที่ยังไม่ได้เป็นทีมชาติละครับที่พยายามยกระดับตัวเองให้อยู่ในคลาสอันดับสูงๆต้องทำการแข่งขันให้ไปยังจุดสูงสุด เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาระหว่างการฝึกซ้อม หรือแข่งขัน หากนักกีฬาบาดเจ็บเช่นเกิดอาการเอ็ดหัวเข่าฉีกค่ารักษาพยาบาลเริ่มต้นที่ 7,000 บาท หากมีอาการหนักๆ ถึงขั้นต้องผ่าตัด ค่ารักษาอาจจะพุ่งไปเป็น 50,000 ถึง 150,000 บาท คำถามต่อไปคือใครจะรับผิดชอบค่ารักษาจากอาการบาดเจ็บนี้นอกจากตัวเองหรือผู้ปกครองของนักกีฬาเอง เพราะถือว่าเราทำตัวเองบาดเจ็บ ผิดจากเหล่านักกีฬาที่มีสมาคมยอมรับที่มีค่ารักษาดูแลยามเจ็บป่วย แต่กว่าพวกเขาเหล่านี้กว่าจะได้มาเป็นตัวแทนก็ต้องเจอกับอาการบาดเจ็บมาแล้วทั้งนั้น คิดดูแบบง่ายๆ สั้นๆ ว่าถ้ามีกลุ่มนักกีฬาที่เล่นฟุตบอลที่ต้องอดทนซ้อมเพื่อให้ได้เป็น ทีมชาติฟุตบอลไทย มีนักกีฬาที่เล่นบอลอยู่ หนึ่งแสนคนจากจำนวน หกสิบล้านคนแล้วกันนะครับ เกิดนักกีฬาจำนวนนี้เกิดอาการบาดเจ็บเอ็นหัวเข่าฉีกต้องรับการรักษา ซักสิบเปอร์เซ็น จากหนึ่งแสนคน โดยเราจะใช้ค่ารักกษาที่ต่ำที่สุดคือ เจ็ดพันบาท คิดเป็นจำนวนหนึ่งหมื่นคนที่มีอาการบาดเจ็บ ก็แค่เอา 10,000 x 7,000 = 70,000,000 เจ็ดสิบล้านบาทครับ แต่บางคนอาจจะเจ็บป่วยด้วยอาการอื่นๆไม่เหมือนกันเพียงแค่ยกตัวอย่างให้พอคำนวนพอสังเขปเพื่อทำความเข้าใจ

ยิ่งถ้าเกิดมีการแข่งขัน และสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์กีฬาสู่ความเป็นเลิศ โดยที่มองแต่ผลลับที่จะได้จากตัวแทนนักกีฬาของประเทศ ว่าจะนำเหรียญมาเชิดชูให้แก่ประเทศ แต่ไม่ยอมกลับมาดูว่ากว่าพวกเขาเหล่านั้นจะก้าวเข้ามาเป็นตัวแทนยังมีนักกีฬาที่เล่นกีฬาประเภทเดียวกับเค้าอีกกี่หมื่นกี่แสนคนที่ต้องบาดเจ็บไม่สบายจากการฝึกซ้อม และยิ่งเป็นจุดสำคัญของประเด็นของแผนการทำกีฬาสู่ความเป็นเลิศว่าด้วยเงินรางวัลที่นักกีฬาทีมชาติจะได้รับ จากการแข่งขันกีฬาต่างๆ จนเป็นที่ตื่นอกตื่นใจของนักกีฬา เอาง่ายๆว่าถ้าได้เหรียญทองโอลิมปิคคงได้มีต่ำกว่า สิบล้าน ทั้งที่ได้จากรัฐบาล สปอนเซอร์ที่ให้การสนับสนุน พอนักกีฬาเห็นแบบนี้เข้าก็ตาโตมีจิตใจหึกเหิมอยากเป็นทีมชาติ อยากจะได้เงินรางวัลที่ตนจะได้รับหากประสบความสำเร็จ บางคนถึงขนาดมีความหวังส่งลูกส่งหลานไปเรียนเสียแต่เด็กๆ จะได้เป็นการปลูกฝังพื้นฐานกีฬาแบบเอาชนะเพื่อจะได้เป็นทีมชาติ ส่งไปซ้อมคลาสนักกีฬาเอาให้หนักรุนแรงเข้มข้น เพื่อหวังว่าจะให้ตัวเอง บุตรหลาน จะได้เป็นตัวแทนจะได้มีโอกาสหาเงินหาทองจากการเป็นตัวแทนทีมชาติจากการแข่งขันกัน ถ้าไปถึงฝั่งฝันได้ก็ดีครับ แต่หากไปไม่ถึง หรือยังไปไม่ถึงเพราะอาการบาดเจ็บ พวกคุณจะต้องดูแลตัวเองไปก่อนแล้วกันทั้งเรื่องรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการซ้อมต่างๆ

ยิ่งถ้าหากการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศยังรุนแรงอย่างนี้ คนที่เล่นกีฬา ผู้ปกครองยังส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันฝึกซ้อมกันแบบสุดโต่งเพื่อความเป็นเลิศ การซ้อมหนักย่อมนำพาความเจ็บป่วยมาหาแน่นอนการบาดเจ็บเล็กๆน้อยนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าหากฝึกซ้อมหนักหน่วงซะจนกล้ามเนื้อฉีก เอ็นฉีก กระดูกแตกหัก ถึงแม้จะสามารถรักษาได้แต่อาการบาดเจ็บบางประเภทมันก็ไม่สามารถทำให้สุขภาพร่างกายของเรากลับคืนมาได้ดังเดิม การสูญเสียระยะยาวของร่างกายนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เป็นโรคนั้นๆ ต้องยอมรับในสภาพของตนและค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งผมมองว่าเพราะการกระตุ้นให้เกิดการเป็นเลิศแห่งกีฬาเป็นเรื่องดี แต่จากการที่เป็นคนมองการแข่งขันกีฬาต่างๆ ไม่ว่าใครก็ตามความหวังสูงสุดคือการเป็นตัวแทนทีมชาติและต้องการเป็นเลิศในสายอาชีพกีฬาของเขาเหล่านั้น เพื่อไปให้ถึงจุดหมายเขาเหล่านั้นต้องอดทนฝึกซ้อมยอมเจ็บยอมเหนื่อย บางคนได้รับผลรางวัลอันแสนหอมหวานอย่างใจหวัง แต่บางคนกลับได้รับผลรางวัลอันแสนเจ็บปวดขื่นขม ไม่อยากให้นักกีฬาทั้งหลายบาดเจ็บ เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการฝึกซ้อม จนต้องหยุดจากการเล่นกีฬาที่เรารักไปตลอดกาล แต่อยากจะให้หันมาเล่นกีฬาด้วยความสุขของตัวเอง เล่นเพื่อนสุขภาพ ถนอมร่างกายให้อยู่กับเราไปได้นานๆ ไม่ใช่จะใช้ร่างกายจนหมดสภาพอย่าลืมนะครับเราต้องอยู่กับร่างกายของเราไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ

หากการเล่นกีฬาทำให้พวกคุณต้องบาดเจ็บคุณเองก็ต้องทนทุกข์ทรมาณจากความเจ็บป่วยที่ตัวคุณเป็นคนทำให้แก่ร่างกายของคุณเอง เพราะบางคนที่เล่นกีฬาจนประสบความสำเร็จเมื่อบาดเจ็บต้องเลิกเล่นคุณภาพชีวิตของเขาก็ไม่ได้ดีขึ้น เพราะต้องหยุดเล่นกีฬาที่ตนรักไปเลยก็มี การเดินเหิน เคลื่อนไหวก็เปลี่ยนไป บางคนสมัยรุ่งโรจน์แข็งแกร่งไร้เทียมทาน พอมาถึงจุดที่ต้องเลิกกลายเป็นอัมพาตจากการกระทบกระเทือนของสมอง เจ็บปวดหัวเข่าเอ็นกล้ามเนื้อจากการฝึกซ้อมที่ผิดวิธีตอกย้ำรุนแรง ที่เป็นคนดูดีหล่อสวยสมัยเป็นนักกีฬา กลับกลายต้องกลายมาเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขา แขนขาลีบบางหดเล็กจากคนที่เคยมีมัดกล้าม ผมเลยเอาความคิดในอุดมคติตัวเองมองลงไปว่า ความเป็นเลิศด้านกีฬา อาจ ทำให้เป็น โรคเพราะกีฬา ได้ไม่ยากเย็นเลย

ในความเป็นจริงแล้วผมอยากให้ภาครัฐส่งเสริมการเล่นกีฬาสำหรับบุคคลทั่วไปมากกว่า การชี้ให้เห็นถึงความเป็นเลิศ เพราะเพียงคำว่า “เลิศ” การที่รัฐล่อหลอกกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันตบรางวับมากมาย จนเกิดเป็นความอยากได้อยากมี ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองตัวนักกีฬาเองต้องพลักดันตัวเองให้ไปถึงจุดเสี่ยงที่ไม่คุ้มกับคุณภาพชีวิตที่จะได้รับต่อไปในอนาคต มองย้อนสักนิดว่ากีฬาเป็นการเล่นเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่การแข่งขัน หากการแข่งขันทำให้คนบาดเจ็บ ผมยอมไม่เก่งแต่เลือกกีฬาเพื่อสุขภาพดีกว่าเพราะจะได้เล่นกีฬาที่ตนรักไปนานๆ

ปล. ผู้เขียน ได้เขียนจากความรู้สึกของตัวเองอาจถูกหรือผิดนั้น ก็อยู่ในมุมมองของผู้เขียน ดังนั้นขอแนะนำให้ผู้อ่านที่อยากจะเจาะลึกลงในขัอมูล ศึกษาเพิ่มเติมเจาะลึกอีกนะครับ

ขอขอบคุณ คุณครูผู้ชี้แนวคิดเรื่องนี้ไว้ด้วยนะครับ
กนกศักดิ์ ใจกล้า




 

Create Date : 03 ธันวาคม 2554
0 comments
Last Update : 3 ธันวาคม 2554 11:22:51 น.
Counter : 1084 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


eronthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ยินดีที่ได้รู้จักชาวบล็อคทุกท่านนะคร้าบ อยากเขียนอะไรผมก็จะเขียนจามความรู้สึกส่วนตัวค่อยเขียนค่อยทำคิดอะไรก็เขียนๆ พิมพ์ไป
Friends' blogs
[Add eronthai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.