space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
2 พฤศจิกายน 2558
space
space
space

"จารีตชาวยุทธ์" ตอนพิเศษ "มารยาท และธรรมเนียมการแสดงตัวของชาวยุทธ์"
"จารีตชาวยุทธ์" ตอนพิเศษ
"มารยาท และธรรมเนียมการแสดงตัวของชาวยุทธ์"
โดย เชา หมัดทศพืช
22 พฤษภาคม 2558
.
"จารีต" หมายถึง แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ
ที่กระทำสืบต่อกันมาช้านาน
มักถือเป็นกฎ หรือระเบียบของสังคมที่เกี่ยวกับศีลธรรม
ใครไม่ทำตามจารีตจะถือว่าเป็นคนชั่ว
.
"มารยาท" หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย
ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน
อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
.
"ธรรมเนียม" หมายถึง ประเพณี แบบแผน แบบอย่าง
.
ชาวยุทธ์โดยเฉพาะมวยจีน
มีจารีต มารยาท และธรรมเนียมสืบต่อกันมาอยู่ข้อหนี่ง
นั้นคือ "การแสดงตัว" ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์
หรือศิษย์ร่วมสำนักหรือไม่ก็ตาม
.
การแสดงตัวนี้ คือ การประกาศตัวว่าเป็นใคร
เรียนมวยจากใครมา และสืบสายจากใคร
เป็นผู้สืบทอด หรือผู้ถ่ายทอด
เมื่อมีการสาธิตวิชาในที่สาธารณะ
ผู้สาธิตต้องประกาศชื่อตัว ชื่ออาจารย์
ชื่อสำนัก เป็นต้น
.
หากไม่ประกาศตัวเอง ก็จะให้โฆษกเป็นผู้ประกาศ
หรือแม้แต่การได้เจอเพื่อชาวยุทธ์ด้วยกัน
ก็ควรจะประกาศตัวได้เมื่อมีการสอบถามว่า
เรียนมวยนี้มาจากใคร สืบสายมาจากอาจารย์ท่านใด
ยิ่งถ้าเป็นสายเดียวกันยิ่งต้องทำ
.
"ยิ่งมีฐานะเป็นอาจารย์ผู้สอน ต้องยิ่งประกาศ"
.
ทำไมต้องแสดงตัว?
.
เพราะเป็นการตรวจสอบในเบื้องต้นว่า
ได้ร่ำเรียนมาจริงหรือไม่ เป็นศิษย์ใน หรือศิษย์นอก
หากเป็นศิษย์ในจะต้องเขียนเทียบได้ เพราะมีสิทธิ
ไล่สายว่าตนเองได้ร่ำเรียน และเป็นศิษย์ในที่ถูกต้อง
ได้รับการถ่ายทอดวิชาที่เกิดจากการเขียนเทียบ
ยกน้ำชา ตั้งสาย
แต่หากเป็นศิษย์นอก
ด้วยมารยาทก็ต้องประกาศตัวเช่นเดียวกัน
.
การเขียนเทียบ คือ การจัดลำดับการสืบสาย
การยกย้ำชา คือ การยอมรับเข้าเป็นศิษย์ใน
การตั้งสาย คือ การยอมรับว่านับแต่นี้ต่อไป
คนนี้มีสิทธิเป็นผู้สืบทอด หรือเป็นผู้ถ่ายทอด
ในอนาคต
.
ตัวอย่างสองรูปข้างล่างนี้
"รูปแรก" เป็นสายของอาจารย์ Dennis Rovere
ซึ่งเขียนหนังสือชื่อ "The Xingyi Quan of the Chinese Army
: Huang Bo Nien's Xingyi Fist and Weapon Instruction"
"รูปที่สอง" คือ สายของอาจารย์ "Allen Pittman"
ผู้เขียน "Chinese Internal Boxing: Techniques
of Hsing-I & Pa-Kua"

.

จะเห็นได้ว่า การเขียนลำดับการสืบสายเช่นนี้
เป็นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในหนังสือทั้งสองเล่มมีการพูดถึงว่าได้เรียนมวยนี้มาจากใคร
มีการประกาศชื่ออาจารย์ที่สอนอย่างชัดเจน
ซึ่งหากผู้ใดสงสัยก็สามารถตรวจสอบไปยังต้นสังกัด
หรือสายตรงในวิชาดังกล่าวได้
.
"ไม่มีการเขียนกำกวม
หรือเขียนอุปมาให้เดากันเองว่าเป็นใคร"
.
ในหนังสือมวยสิ่งอี้ภาคภาษาอังกฤษที่เก่ากว่านั้น
และถือว่าเป็นหนังสืมวยสิ่งอี้เล่มแรกที่เผยแพร่ไปสู่ตะวันตก
คือ "Hsing-I: Chinese Mind-Body Boxing" (รูปที่สาม)
ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ "Robert W. Smith" (รูปที่สาม)
แม้จะไม่มีการไล่สายแต่ก็ได้เขียนถึงว่าอาจารย์ "หยวนเต้า"
(Yuan Tao) (คนเดียวกับที่แสดงท่าเปิงฉวนที่หน้าปก)
ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนมวยสิ่งอี้ให้กับอาจารย์ "Robert W. Smith"
อีกด้วย

.
เหตุที่ประกาศ ส่วนหนึ่งก็เพื่อการตรวจสอบ
อีกส่วนหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญกว่าส่วนแรก
นั่นคือ "การให้เกียรติ" ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอน
เพราะยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยของความรู้
ที่ "เปิดเผย ยกย่อง และให้เกียรติองค์ความรู้"
ของครูบาอาจารย์ได้กรุณาถ่ายทอดให้
และยุคนี้ไม่ใช่ยุคกบฏนักมวยที่ต้องปกปิดชื่อแซ่
เพื่อหลบหนีการตามล่าของทางการ
.
ปัจจุบัน แม้แต่มวยสายกบฏเอง
ก็เปิดเผยชื่อครูบาอาจารย์
และให้เกียรติยกย่องบรมครูผู้สั่งสอนมา
.
ว่าแต่คุณเรียนมวยมาจากใคร?
.
-จบ-



Create Date : 02 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2558 11:05:41 น. 0 comments
Counter : 517 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 2731558
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2731558's blog to your web]
space
space
space
space
space