space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
1 พฤศจิกายน 2558
space
space
space

"พิฉวน หรือหมัดผ่า" ของมวยสิ่งอี้
"พิฉวน หรือหมัดผ่า" ของมวยสิ่งอี้
ตามที่ข้าพเจ้าได้รู้เรียนมา
โดยเชา หมัดทศพืช
30 ตุลาคม 2558
.
ท่าพิฉวนเป็นท่าแรกของมวยสิ่งอี้ทุกสาย
เป็นหนึ่งในสามแม่ท่าที่สำคัญ
คือ "พิ" "จวน" และ "เปิง"
(อีกสองท่า คือ "เผ้า" กับ "เหิง"
เกิดขึ้นภายหลัง เพื่อให้ครบตามหลักอู่สิง
หรือหลักห้าธาตุ (ไม่ขออธิบาย))
.
พิฉวนสังกัดธาตุทอง
แสดงสัญลักษณ์ขวาน
การเคลื่นไหวขึ้น และตกลง
สัมพันธ์อวัยวะภายใน คือ ปอด
อวัยวะภายนอก คือ สบักซ้ายและขวา
รูปมือแผ่ออกอันเป็นการเผยการคว้าจับ
อย่างกรงเล็บอินทรี อกห่อ ศอกจม
ข้อมือตั้ง แสดงหกประสานภายนอกช่วงบน
คือ เอวส่งไปไหล่ ไหล่ส่งไปศอก ศอกส่งไปมือ
(หกประสานภายในไม่ขออธิบาย
เพราะยังไม่ใช่สาระสำคัญในตอนนี้)
.
การสำแดงท่าพิฉวน ต้องมี "ยิงจวอ"
(鹰捉; Yīng zhuō)
หรือท่าคว้าจับอย่างนกอินทรี
.
ท่ายิงจวอเป็นท่าฝึกที่เน้นในหลักการสี่คำ
คือ "ฉิ(ยก) - จวน (ทะลวงขึ้น)
- ลั่ว (ตก) - ฟาน (พลิกกลับ)
อย่างการโจมตีของนกอินทรี
และการ "หด และยืด"
หรือ สู - จ่าน
โดยสำแดงพลัง (จิ้ง) จากศูนย์กลางลำตัว
.
ฉิ คือการยกจากเส้นกลางลำตัว
ดุจยกแขนผ่านอากาศหนาทึบ
.
จวน คือการยิงแขนท่อนหน้าออกไป
สู่เส้นกลางลำตัวระดับกึ่งกลางอก
ในลักษณะหมัดง่ายขึ้นสู่ระดับหน้า
และห่างจากระดับหน้าหนึ่งช่วงแขน
เวลาตีแขนขึ้นต้อง “ตีจมูก”
กล่าวคือ เมื่อยิงหมัดขึ้นจนสุดและหยุด
หมัดจะรีคอยด์กลับมาเหมือนตีจมูกตัวเอง
อุปมาเหมือนน้ำพุที่มีแรงดันสูงจากพื้น
แล้วถูกแรงโน้มถ่วงโลกดึงกลับมา
.
เมื่อแขนยืดออกไปแล้วก่อให้เกิดการบิดกลับ
ของท่อนแขนบนและล่าง เรียกว่า “ลั่ว” และ “ฟาน”
คือ ตกและพลิกกลับ กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องกันเป็นวงจรสามารถป้องกันการโจมตีใบหน้า
และลำตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการป้องกัน
แบบพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอันนำไปสู่ท่าชั้นสูงอื่นๆ
.
เมื่อถึงกระบวนการนี้
มือล่างจะเคลื่อนขึ้นในลักษณะเดียวกัน
ในลักษณะจ้วน หรือทะลวงขึ้น
แขนเสียดสีแขนจนกระทั่งมือทั้งสองไปพบกัน
กล่าวคือ มือหนึ่งทะลวงขึ้น อีกมือหนึ่งกดลง
มือหน้าจะพลิกกลับ มือหลังจะคว่ำ
(ในลักษณะถูกัน) เมื่อถึงตอนนี้จะเป็นการดึงมือกลับ
และตีมือออก ตรงจุดนี้ ปรมาจารย์ “หยวนเตา”
อธิบายว่า “ออกแรงตีมือเดียวเหมือนฉีกผ้าไหม”
.
กล่าวคือ มือหนึ่งโจมตีออก มือหนึ่งดึงเข้า
กระบวนการนี้จึงจะครบวงจร “ฉี ลั่ว จวน ฟาน”
การตีจะเหมือนการยกขึ้นและตกลงอย่างขวาน
มือล่างจะกลับสู่สะดือในลักษณะเกี่ยวเกาะ
.
การก้าวเท้าต้องสัมพันธ์ต้องสัมพันธ์กับการตี
จึงจะตีได้หนัก เป้าที่ตีคือร่างกายช่วงบน
ผู้ฝึกมวยสิ่งอี้ระดับอาจารย์ในอดีต
สามารถตีดึงและตีคู่ต่อสู้ที่ใบหน้า
และศีรษะจนคอหัก
หรือตบลงที่หน้าอกหัวใจฉีกขาด
หรือตบลงที่ไหปลาร้า หรือแขนจนหัก
ซึ่งกระบวนการนี้จะขาดฉีลั่วจ้วนฟ่านไม่ได้เลย
.
สาระสำคัญอีกประการหนึ่งของมวยสิ่งอี้ในท่าพิ
และทุกท่าคือ “ตีแล้วต้องหยุด” หมายถึง
ตีแล้วต้องไม่ถลำตัว มือต้องรักษาระดับ
เท้า เข่า เอว สะโพก ลำตัว
ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
จึงจะเรียกว่าหยุด
เมื่อพลังเข้าที่จึงทำท่าซ้ำต่อไป
แบบนี้จึงจะเรียกว่ามวยสิ่งอี้อย่างแท้จริง
.
ท่าพิเป็นท่าที่สำคัญ
ปรมาจารย์ยุคก่อนหลายท่าน
ฝึกท่านี้ท่าเดียวเป็นเวลาสามปี
ก่อนที่จะได้รับอนุญาตฝึกท่าอื่น
ปัจจุบันบางสายก็คงเป็นเช่นนั้น
แม้แต่ผู้ฝึกระดับสูงเองก็ตาม
การฝึกประจำวัน หรือการฝึกพลัง (จีเปิ่นกง)
ท่าพิก็เป็นท่าที่ฝึกประจำ
และมันสามารถแสดงได้ว่า “ใครมีฝีมือ หรือไม่ใช่”
.
- จบ
ภาพประกอบ ปรมาจารย์ซุนลู่ถัง
แห่งมวยสิ่งอี้ตระกูลซุน แสดงท่าอู่สิง
หรือหมัดห้าธาตุ ได้แก่ พิ จวน เปิง เผ้า เหิง


Create Date : 01 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2558 12:13:57 น. 0 comments
Counter : 770 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 2731558
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2731558's blog to your web]
space
space
space
space
space