space
space
space
 
มีนาคม 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
7 มีนาคม 2560
space
space
space

รวมบทความเกี่ยวกับมวยจีนที่เขียนระหว่าง พฤษภาคม 2015 ถึงธันวาคม 2015 (1)



กังฟูไทย ตอนที่ ...
มวยหงฉวน

"หงฉวน และหงเจียฉวน"
.
หงฉวน หมายถึง มวยกบฏของกลุ่มหงเหมิน
หรือพวกเรือแดง
.
หงเจียฉวน หมายถึง มวยตระกูลหงของหว่องเฟย์หง
.
มวยสองสายนี้มีที่มาอย่างเดียวกัน
คือ มาจากวัดเส้าหลินใต้
แต่มีความแตกต่างกันตรงรายละเอียดมากมาย
อาทิ ท่าไหว้แรกเริ่มก่อนที่จะเข้าสู่ท่ามวย
อย่างเช่นมวยหงฉวนสายหมู่บ้านอันโป
ยิปกิ่นหวิงชุนสายมาเลเซีย
.
มวยหงเจียฉวนจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจาก
มวยหงฉวนอยู่มาก เพราะมีการจัดท่ามาแล้ว
ในขณะที่มวยหงฉวน จะเป็นมวย "ดิบๆ "
ท่าร่างจึงไม่ละเอียดเท่าใดนัก
และเหมาะแก่การสอนทหารราบ
เพราะเข้าใจง่าย และตีทั่วสี่ทิศ
.
ความแตกต่างนี้ก็เหมือนกับคำว่า หย่งชุน
กับหย่งชุนฉวน ที่คำว่าหย่งชุนคือรหัส
หย่งชุนฉวนคือมวย
.
ปัญหาต่อมา คือ มวยหงเจียฉวนมีที่มาอย่างเดียวกัน
กับมวยหงฉวน ซึ่งเป็นมวยสายกบฏ
แล้วเหตุใดหว่องเฟย์หงจึงได้เข้าไปสอน
"กองธงดำขอบขาว" ในปี ค.ศ. 1888
ของนายพล หลิว หยงฟู่ (เหลา หวิงฟก, 劉永福)
ทั้งๆ ที่เป็นกองทัพหนึ่งในแปดกองธง
ของราชวงศ์ชิง?
.
คำตอบ คือ "กองทัพนี้เป็นกองทัพของชาวหมิง"
ที่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์แมนจู
ตามนโยบายของแมนจูที่ว่า
"ให้หมิงปกครองกันเอง"
ในขณะที่กองทัพอื่น ใช้ "ครูชาวแมนจู"
สอนทหารแมนจูด้วยกันเอง
.
อีกทั้งหว่องเฟย์หงเป็นหมอ
จึงได้รับแต่งตั้งเป็นหมอประจำกองทัพอีกด้วย
- จบ -    
27 June



"มวยหงฉวนของหมู่บ้านอันโป"
.
มวยจีนในหมู่บ้านอันโปสามารถสืบย้อนไปได้ถึง
ราชวงศ์หมิงไท่จู่ รัชสมัยของจักรพรรดิหงอู่
.
เมื่อราว ค.ศ. 1397 คนในหมู่บ้านชื่อ "เฉินเป่ย์"
สอบไล่ได้เป็นนายทหาร
ต่อมาในปี 1407 รัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเจิ้น
เฉินเปย์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายพล
และถูกส่งไปปกครองอำเภอหุ้ยโจว
ปี ค.ศ. 1417 เขาถูกส่งไปประจำการที่หมู่บ้านเหมยโหลว
เมื่อกังเป่ย อำเภอหวานหนิง เกาะไห่หนาน
(ปัจจุบัน คือ มณฑลไหหลำ หรือไห่หนาน 海南 : Hǎinán)
และได้ถ่ายทอดมวยหงฉวนที่หมู่บ้านแห่งนี้
.
เมื่อเขาตายลง ลูกหลานรุ่นถัดมาได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่
หมู่บ้านอันโป เมืองเจ๊หนาน อำเภอหวานหนิง
และได้สืบทอดสายวิชามาจนถึงทุกวันนี้
ให้กับลูกหลานของเขาที่ได้ติดตาม และย้ายมาอยู่
.
ปัจจุบัน คนในหมู่บ้านอันโปเรียกมวยของตนเองว่า "หงฉวน"
จากมุขปาฐะที่สืบทอดกันมาที่อ้างว่าเป็นมวยที่ใช้ฝึกทหาร
มาตั้งแต่ราชวงศ์หมิงไท่จู่ รัชสมัยของจักรพรรดิหงอู่
.
ในคลิปมวยต่อไปนี้ สาธิตโดยอาจารย์เฉินหย่าเฉียง
และอาจารย์เกาหยวนเซียง


"มวยหงฉวน (มวยสกุลหง) สายโจวเป่ย์"
.
โจวเปย์ตั้งอยู่ในทางตอนใต้ของจังหวัดกวงสี
ชาวโจวเป่ย์ฝึกมวยหงฉวนตั้งแต่รัชสมัยของ
เฉียนหลงฮ่องเต้ (ค.ศ.1735-1796)
.
ตามตำนานกล่าวว่า วันหนึ่งมีหลวงจีนพเนจรมาพำนัก
ที่ประตูทิศเหนือของเมืองโจวเป่ย์
.
หลวงจีนองค์นี้ตัดสินใจที่จะพักแรมและเริ่มทำอาหารเย็น
ระหวางนั้น เด็กชายชาวโจวเป่ย์ย่องไปด้านหลัง
และเอาหินก้อนใหญ่ทุ่มใส่หัวของหลวงจีน
(น่าจะต้องการฆ่าหรือปล้น)
หลวงจีนหันกลับมาและเอาไม้ทำอาหาร
(เข้าใจว่าเป็นตะหลิวไม้ หรือตะเกียบไม้)
มาฟาดก้อนหินนั้นจนแตกเป็นสองเสี่ยง
.
ชาวบ้านเห็นเหตุการณ์เห็นเด็กคนนั้นทำร้ายหลวงจีน
จึงเข้าจับเด็กคนนั้นก่อนที่จะนำส่งบ้านของเด็กคนนั้น
.
ชาวบ้านคนนั้นได้ขอโทษในการกระทำของเด็กคนนั้น
และเชิญหลวงจีนคนนี้ทานอาหารเย็นที่บ้าน
และเชิญท่านพำนักอยู่ที่บ้านตามที่ท่านต้องการ
.
วันต่อมา ชาวบ้านคนนี้ได้มาพบหลวงจีน
และกล่าวว่า หลวงจีนท่านนี้มีวรยุทธ์สูงมาก
ถึงขนาดที่ว่าฟาดก้อนหินเป็นเป็นสองเสี่ยงได้ง่ายดาย
เหมือนก้อนหินก้อนเล็ก
หลวงจีนกล่าวว่าท่านชื่อ "หลิวซู่จาง" (Liu Zuzhang)
และท่านเคยเป็นพระที่อาศัยอยู่ที่วัดเส้าหลินใต้
แห่งมณฑลฟูเจี้ยน
.
หลังจากการพูดคุยระหว่างชาวบ้านและหลวงจีน
ผ่านไปไม่นาน ข่าวลือเกี่ยวกับหลวงจีนรูปนี้ได้แพร่สะพัดไป
ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านได้มาขอร้องให้หลวงจีนสอนมวยให้
เพื่อนำมันมาป้องกันหมู่บ้าน
.
ในช่วงเวลานั้นจังหวัดกวงสีเป็นจังหวัดที่ยากจนและแร้นแค้นที่สุด
เต็มไปด้วยขุนนางฉ้อฉล โจรร้าย และพวกกบฏที่หลบหนี้มาพำนัก
ด้วยเหตุนี้เมืองโจวเป่ย์จึงก่อสร้างกำแพงขนาดใหญ่เพื่อปกป้องเมือง
.
หลวงจีนตอบตกลงที่จะพักอาศัยอยู่ที่หมุ่บ้าน
และรับปากที่จะสอนมวยเส้าหลินใต้สกุลหง (ของหงซีกวน)
และอาวุธแก่ชาวบ้านในโจวเปย์
.
นับแต่เวลานั้น ชาวเมืองทั้งหมด ไม่ว่าชายหรือหญิง
เด็กหรือผู้ใหญ่ล้านแต่เป็นวิชามวยสกุลหงทั้งสิ้น
.
มวยเส้นแรกของสายนี้ คือ "เสี่ยวเหนียนฉวน"
อันเป็นเส้นมวยที่ประกอบด้วยท่าห้าสัตว์อย่างมวยสกุลหงตอนใต้
.
นอจากนี้ ยังมี "เที่ยเซียนฉวน" หรือหมัดเหล็กเส้น
ที่ได้รับถ่ายมากหลวงจีนหลิวซุ่งจางอีกด้วย
.
ปัจจุบัน ประชาชนจำนวนมากยังคงฝึกมวยนี้
อย่างแพร่หลาย และเรียกกันว่า "โจวเป่ย์หวงฉวน"
ซึ่งมีเส้นมวยมาก และเส้นอาวุธแบบโบราณ


"มวยฮุงก่า สายตั่งฟ่ง และหลั่มไซเหว่ง" ตอนที่ 1
"กงจี่ฟุกฝูควิ่น" 工字伏虎拳
pinyin: gōng zì fú hǔ quán;
Yale Cantonese: gung ji fuk fu kuen;
Taming the Tiger Fist
.
หนึ่งในสี่มวยเส้นสำคัญของมวยสกุลหง
สายหว่องเฟยหง
สืบสายมาตั้งแต่หลวงจีนจี้ซิน อั้งฮีกัว
และลุ่กอาฉ่อยตามลำดับ
.
ผู้สาธิต : อาจารย์ ดร. ฉุยชีหลิง
ปรมาจารย์ระดับ 10 ต้วน
(สายดำสิบดั้งระดับสูงสุดของจีน)
.


洪拳中虎鹤双形拳刘家辉、刘家荣、刘家良示范)
youtube.com
"มวยฮุงก่า สายตั่งฟ่ง และหลั่มไซเหว่ง" ตอนที่ 2
"ฟู่ฮอกเซียงหยิงควิ่น" 虎鶴雙形拳
pinyin: hǔ hè shuāng xíng quán;
Yale Cantonese: fu hok seung ying keun;
Tiger Crane Paired Form Fist.
.
ต่อจากตอนก่อน
ถ้าหัดมวยฮุงก่า
เมื่อหัดกงจี่ฟุ๊กฝูควิ่นจนจบเส้น
ซึ่งเหมือนการหัดเขียน"พยัญชนะ"
ต้องฝึกต่อด้วยฟู่ฮอกเสียงหยิงควิ่น
ซึ่งก็คือ การเพิ่ม "การประสมศัพท์"
และ "คำศัพท์" ให้กับผู้ฝึก
.
มวยฮุงก่าสายหว่องเฟยหง
หว่องได้เพิ่มเทคนิค "มือสะพาน"
ที่เรียนมาจาก "ทิตกิ่วส่าม"
(ทิตกิ่วส่ามมีความเชี่ยวชาญหมัดเหล็กเส้น
เพราะเขามีแขนที่ยาวเป็นพิเศษ)
และเทคนิคมือจากมวยฟัตก่า(มวยพระ)
มวยอรหันต์ และมวยลามะ
.
อาจารย์ผู้สาธิต ได้แก่ หลิวเจียฮุย หลิวเจียหรง
และหลิวเจียเหลียง แห่งมวยฮุงก่าตระกูลหลิว


Hung Kuen - Ng Ying Kuen
youtube.com
"มวยฮุงก่า สายตั่งฟ่ง และหลั่มไซเหว่ง" ตอนที่ 3
"โหงวหยิงคิ่น" หรือ "โหงวหยิ่งโหงวฮ่างควิ่น"
五形拳/ 五形五行拳
pinyin: wǔ xíng quán; Yale Cantonese: ng ying keun
/pinyin: wǔ xíng wǔ xíng quán;
Yale Cantonese: ng ying ng haang keun.
Five Animal Fist/ Five Animal Five Element Fist.
.
มวยเส้นนี้เป็นมวยเส้นสำคัญหนึ่งในสี่เส้นของมวยฮุงก่า
เป็นมวยเส้นที่รวมเอาพลังภายนอก คือ มวย "ฟู่ฮอกเซียงหยิงควิ่น"
หรือมวยเสือกระเรียน และพลังภายใน คือ มวย "ทิตซิ่นควิ่น"
หรือหมัดเหล็กเส้นเอาไว้ด้วยกัน
.
คำว่า "โหงวหยิ่ง" หมายถึง "ห้าสัตว์" (ห้ารูปแบบ)
ตามแนวคิดของมวยเส้าหลินใต้ ได้แก่
มังกร งู เสือ เสือดาว และ กระเรียน
.
คำว่า "โหงวฮ่าง" หมายถึง "ห้าธาตุ"
ตามแนวคิดของจีนโบราณ ได้แก่ โลหะ
น้ำ ไม้ ไฟ และดิน
.
เดิมที มวยห้าสัตว์นี้ได้รับการถ่ายทอด
ในรูปแบบเดิมมาจนถึงยุคของหว่องเฟยหง
สืบทอดต่อมาโดยหลั่มไซเหว่ง (林世榮)
หลั่มไซเหว่ง พัฒนาต่อจนกลายเป็น
"โหงวหยิ่งโหงวฮ่างควิ่น"
(มวยเส้นนี้ยังเรียก มวยสิบมือ อีกด้วย
หมายถึง ท่าไม้ตายสิบท่าของมวยสกุลหง)
.
อย่างไรก็ดี แม้จะมีการสืบทอดในสายหลั่มไซเหว่ง
แต่ปรากฏว่า ท่ามวยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา
ของหลั่มไซเหว่งยังขาดตกไปหลายท่า
พอยุคหลังหลั่มไซเหว่ง จึงกลับมาใช้ชื่อ
"โหงวหยิงควิ่น" หรือมวยห้าสัตว์ตามเดิม
สายตั่งฟ่ง และสายอื่นก็เช่นเดียวกัน
ไม่ปรากฏว่ามีผู้สืบทอดมวย "โหงวหยิ่งโหงวฮ่างควิ่น"
แต่มีการสืบทอดมวยห้าสัตว์เช่นเดียวกับมวยฮุงก่าสายอื่น
.
อาจารย์ผู้สาธิต ได้แก่ อาจารย์ เบนนี่ หว่อง
ลูกศิษย์ของอาจารย์หลั่มโจ

    chiu chi wai iron wire/fuhok 2
youtube.com
"มวยฮุงก่าสายตั่งฟ่ง และหลั่มไซเหว่ง" ตอนที่ 4
"ทิตซิ่นควิ่น" 鐵線拳
pinyin: tiě xiàn quán;
Yale Cantonese: Tit Sin Kyuhn;
Iron Wire Fist.
.
หมัดเหล็กเส้นเป็นการฝึกพลังภายใน
เอกลักษณ์เฉพาะของมวยฮุงก่่
มวยเส้นนี้เป็นมวยของเหลียงกวั่น
(梁坤; pinyin: Liáng Kūn; 1815–1887)
รู้จักกันดีในฉายา "ทิตกิ่วส่าม"
( 鐵橋三; pinyin: tiěqiáosān)
ซึ่งเป็น "หนึ่งในสิบพยัคฆ์กวางตุ้ง"
เช่นเดียวกับหวงฉีอิง พ่อของหวงเฟยหง
.
หวงเฟยหงเรียนมวยเส้นนี้เมื่อตอนวัยรุ่น
โดยเรียนกับหลั่มฟุ๊กสิง
(Chinese: 林福成; pinyin: Línfúchéng)
ลูกศิษย์ของเหลียงกวั่น
.
หมัดเหล็กเส้นเป็นการฝึกเฮ๋กง
(气功; pinyin: qigong) หรือชี่กง
การฝึกตามจารีตต้องใส่กำไลข้อมือเหล็กด้วย
.
อาจารย์ผู้สาธิต : อาจารย์ ฉุยชี่ไหว้


"มวยฮุงก่าของตั่งฟ่ง และหลั่นไซเหว่ง" ตอนที่ 5
"มวยเลียนแบบสัตว์"
.
มวยเลียนแบบสัตว์ของฮุงก่า
เป็นมวยเลียนแบบเอกลักษณ์
หรือรูปลักษณ์ของสัตว์
แต่ละชนิด ท่าทางจึงมีความแน่นอน
มีลำดับการการแสดงท่า และชื่อท่าเฉพาะ
ของสัตว์นั้นๆ เช่น เสือดุลงเขา กระเรียนหิวหากุ้ง
.
มวยสัตว์ของฮุงก่า มีสัตว์อยู่สิบประเภท
ได้แก่ เสือ งู เสือดาว กระเรียน มังกร สิงโต
ช้าง ม้า ลิง และแมวป่า
เรียกชื่อท่ามวยดังนี้
.
ฮู่สิงฉวน (虎形拳, มวยเสือ)
เช่สิงฉวน (蛇形拳, มวยงู)
เป่าสิงฉวน (豹形拳, มวยเสือดาว)
เฮ่อสิงฉวน (鹤形拳, มวยกระเรียน)
หลงสิงฉวน (龙形拳, มวยมังกร)
หม่าสิงฉวน (马形拳, มวยม้า)
ซี่สิงฉวน (狮形拳, มวยสิงโต)
โฮ่วสิงฉวน (侯形拳, หรือมวยลิง)
เซี่ยงสิงฉวน (象形拳, มวยช้าง)
เป่าสิงฉวน (彪形拳, มวยแมวป่า)
.
นอกจากนี้ ยังมีมวยรวมท่าสัตว์อีกสองเส้น
ได้แก่ อู่สิงฉวน (五形拳, มวยรวมห้าสัตว์)
และซื่อสิงฉวน (十形拳, มวยรวมสิบสัตว์
หรือมวยสิบท่า)
.
-จบ-
"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง" ตอนที่ 6
"เรื่องเล่าของมวยฮุงก่า"
.
เรื่องเล่าที่นิยมมากที่สุดของวัดเส้าหลินใต้ หงซีกวน
และห้าผู้อาวุโสมาจากเรื่องเล่า หรือนิยาย
ชื่อ "ว่าน เหนียน ชิง" (万年青; Wànniánqīng)
ซึ่งได้ถูกนำมาทำเป็นภาพยนต์หลายต่อหลายเรื่อง
.
เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัดเส้าหลิน(ใต้) ที่มณฑลฝูเจี้ยน
เริ่มที่หลวงจีนชื่อ "จื๊อซ่านช่านซือ" (至善禅师; Zhì shàn chánshī)
หรือฉีซินซิมซี ((Chee Sin Sim See) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าผู้อาวุโส
แห่งวัดเส้าหลิน
ผุ้อาวุโสอีกสี่คนได้แก่
1) "แม่ชีอู่เหมย" หรือ "อู่เหมยต้าชือ"
(五枚大师; Wǔ méi dàshī) หรือแม่ชีหง่อหมุ่ย (Ng Mu)
2) "นักพรตไป่เม่ย" หรือ "ไป่เม่ยเต้าเหริน" (白眉道人
; Báiméi dàoren) หรือนักพรตปั๊กเม่ย(Bak Mei)
3) "นักพรตเฟิ่งเต้าเต๋อ" (冯道德; Féng dàodé)
หรือนักพรตฟุงโต่ตั๊ก(Fung To Dak)
และ 4) "เหมียวเซียน" (苗显; Miáo xiǎn)
หรือ หมิวฮิ่น (Miu Hin)
.
ต่อมาฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงได้มีคำสั่งให้กวาดล้าง
กลุ่มกบฏต่อต้านชิงที่ได้หลบหนีการตามล่าของทางการ
มาซ่องสุมกำลังพลอยู่ที่วัดเส้าหลินใต้
ทำให้วัดเส้าหลินใต้ถูกเผาทำลาย ผู้คนถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก
ผู้รอดชีวิตซึ่งได้แก่ บรรดากบฏ และศิษย์วัดเส้าหลิน
ต่างแตกกระสานซ่านเซ็นไปคนละทิศละทาง
บ้างก็ปลอมตัวเป็น "ผู้แสดงงิ้ว"
บ้างก็ปลอมเป็น "นักแสดงเร่"
เดินทางไปทั่วโดยใช้ "เรือแดง"
(ที่มาของงิ้วเรือแดง)
.
เรื่องเล่าเริ่มเข้มข้นขึ้น และกล่าวถึง
"นักพรตไป่เม่ย และนักพรตเฟิ่งเต้าเต๋อ"
(นักพรตในที่นี้หมายถึงนักพรตลัทธิเต๋า)
ซึ่งเรื่องราวได้แต่งขึ้นทำนองว่ามูลเหตุที่วัดเส้าหลินถูกเผา
เป็นเพราะนักพรตไปเม่ยหักหลังพี่น้องวัดเส้าหลิน
และได้ฆ่า "หลวงจีนจื้อซ่าน"
ในตอนนั้น "หวงซีกวน" ได้เป็นศิษย์ของหลวงจีนจื้อซ่าน
และเรียน "มวยเสือ" กับท่านจนสำเร็จแล้ว
.
ท้องเรื่องต่อมาได้กล่าวถึง "ฟางฉือยู่"
(方世玉; Fāngshìyù) หรือ "ฟงไสหยก"
(Fong Saiyuk) ซึ่งเป็นลูกชายของลูกสาวของ"เหมียวเซียน"
(苗显; Miáo xiǎn) หรือ หมิวฮิ่น (Miu Hin) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าผู้อาวุโส
ของวัดเส้าหลิน ซึ่งชำนาญ "มวยกระเรียนขาว"
.
เรื่องของฟงไสหยกถูกนำมาเล่าผสมปนเป
กับเรื่องเล่าอีกเรื่องซึ่งกล่าวถึงหงซีกวนได้แต่งงานกับ "หย่งชุน"
(เหว่งซ๊น (Wing Chun)) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ
"แม่ชีอู่เหมย" หรือ "อู่เหมยต้าชือ"
(五枚大师; Wǔ méi dàshī) หรือแม่ชีหง่อหมุ่ย (Ng Mu)
หย่งชุนเรียนมวยกระเรียนขาวที่คิดค้นโดยแม่ชีอู่เหมย
หงซีกวน และหย่งชุนมีลูกชื่อ "หงเหวิ่นติ้ง"
ต่อมาได้เรียนมวยเสือซึ่งเป็นมวยแข็งจากพ่อ
และมวยกระเรียนขาวซึ่งเป็นมวยอ่อนจากแม่
.
เมื่อโตขึ้น หงเหวิ่นติ้งได้สู้กับนักพรตปั๊กเม่ยผู้ทรยศ
ซึ่งหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่เขาเอ๋อเหมย
ภายหลังเหตุการณ์เผาวัดเส้าหลินเมื่อราว 25 ปีก่อน
หวงเหวิ่นติ้งสามารถเอาชนะ และฆ่าล้างแค้นนักพรตปั๊กเม่ยได้
(ในเรื่องเล่ากล่าวว่า แม้นักพรตปั๊กเม่ยจะชราภาพแล้ว
จนมีผมยาวขาว หนวดขาว และคิ้วขาว แต่ยังมีฝีมือแก่กล้า
ภายหลัง จึงมีชื่อเรียกว่า "นักพรตคิ้วขาว" ซึ่งเป็นที่มาของ
อีกชื่อหนึ่งของมวยปั๊กเม่ยว่า "มวยคิ้วขาว" )
เรื่องเล่านี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังชื่อ
" Executioners from Shaolin" โดยบริษัทชอว์บราเด้อ
.
เรื่องเล่าเรื่องมวยฮุงก่าได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนัง
และซีรีย์มากมาย เรื่องราวของตัวละครต่างๆ และสถานที่จริง
ถูกนำมาผสมปนเปแต่งแต้มให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน
(อาทิเช่นเรื่องราวของฟงไสหยก หงซีกวน และหย่งชุน)
จึงทำให้เราแยกแยะได้ยากว่าอันไหนเป็นตำนาน
อันไหนคือเรื่องแต่งขึ้นใหม่
.
เรื่องเล่าจึงถูกเสริมเติมแต่งมากมายจนกลายเป็น "จินหยงอู่เซีย"
หรือนิยายกำลังภายใน และถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนต์
ต่อมาอีกหลายสิบปี จนทำให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจผิดหลง
เกี่ยวกับเรื่องราวเกี่ยวกับมวยฮุงก่า
แม้แต่ บรรดา "สำนักมวยจีน" เอง ก็ยังนำเรื่องราวเหล่านี้
มาแต่งแต้มเป็นตำนานของสำนักตน หรือบอกเล่าที่มาของมวยฮุงก่า
และวัดเส้าหลินใต้อย่างผิดๆ อาทิเช่น เปลี่ยนสถานที่ตั้งวัด
จากมลฑลฝูเจี้ยนเป็นมณฑลเหอหนาน
บางคนก็นำเรื่องเล่าเหล่านี้มาสร้างเป็นที่มาของมวยใหม่
และอ้างว่าเป็นมวยที่สืบสานมาจากห้าผู้อาวุโสแห่งวัดเส้าหลินใต้
บ้างก็พยายามเชื่อมโยงสายมวยของตน
เข้ากับเรื่อง "งิ้วเรือแดง"
.
ดั่งนี้ แม้เรื่องราวต่างๆ จะผสมปนเปกัน คลุมเครือ
หรือวกวนแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า
"สารัตถะของมวยสกุลหง" ไม่ใช่ของจริง
- จบ –




"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง" ตอนที่ 7.1
"เทียนตี้หุ่ย" หรือพรรคฟ้าดิน
.
มวยฮุงก่ามีความสัมพันธ์กับเทียนตี้หุ่ย (天地会: Tiāndì huì)
หรือพรรคฟ้าดินอย่างแน่นแฟ้น
.
พรรคนี้เป็นพรรคที่เกิดขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์ชิง
สมัยจักรพรรดิคังซี (ค.ศ. 1654-1722)
มีคำขวัญว่า "ท้องฟ้า(สวรรค์) คือพ่อ
ดินคือแม่ ก่อกำเนิดเป็น(บุตร) พรรคฟ้าดิน"
ต่อมาได้กลายเป็นพรรค "หงเหมิน" (洪门; Hóng mén)
หรือ หงปัง(Hong Bang) ในที่สุด
.
การก่อตั้งเริ่มต้นจากเขาจางปู้ เมืองจางโจว
มณฑลฟูเจี้ยน โดยหลวงจีน "ว่านตี้ซี"
ชื่อก่อนบวชคือ "อู๋เต๋อเชา" (吴德超) ซึ่งเกิดที่เมืองไต้โจว
มณพลเจ้อเจียง แต่ได้ย้ายมาอยู่เมืองจางโจวตั้งแต่วัยเยาว์
ชาวบ้านในเมืองนี้เรียกท่านว่า "ว่านหยุนหลง
(万云龙; Wàn yúnlóng)
.
หลวงจีนว่านได้ร่วมกับทายาทราชวงศ์หมิง คือ หลี่หมิน
จูติ้งหยวน และเต้าหยวน
.
และได้ร่วมมือกับนักพรต "เฉินจิ้นหนาน"
(陈近南;Chénjìnnán) ชื่อก่อนบวชคือ
"เฉินหย่งหัว" (陈永华; Chényǒnghuá)
นักพรตเฉินเดิมฝึกตนอยู่ที่ "ไป่เหอต่ง"
หรือถ้ำกระเรียนขาว ที่อยู่ในเขาเซินหนงเจี่ย
มณฑลหูเป่ย์
.
นักพรตเฉินจี่หนานมีฉายาว่า "นักพรตกระเรียนขาว"
ซึ่งต่อมาเป็นผู้นำคนสำคัญในการก่อตั้ง
"พรรคบัวขาว" หรือไป๋เหลียนเจี่ยว (白莲教; Báilián jiào)
ซึ่งยึดถือลัทธิเต๋าเป็นแนวทางของพรรค
- มีต่อตอนที่ 7.2 และ 7.3 ครับ
ภาพประกอบ "สัญลักษณ์มือลับ" ของพรรคหงเหมิน




"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง" ตอนที่ 7.2
"คำขวัญ"
.
พรรคฟ้าดินมีคำขวัญอยู่ว่า
"โค่นล้มชิง ฟื้นฟูหมิง" (ฝานชิงฝูหมิง)
.
สมาชิกของพรรค ล้วนแต่เป็นผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง
ส่วนใหญ่เป็น "ชาวฮากกา" หรือชาวจีนแคะ
(เค่อเจียในภาษาจีนกลาง)
.
ราชวงศ์หมิงถูกสถาปนาโดยหมิงไท่จู่ (明太祖; Míngtài zǔ)
หรือ "จูหยวนจาง" (朱元璋; Zhūyuánzhāng)
ผู้สถาปนาราชวงศ์หมิงของจีน
เกิดในครอบครัวชาวนาที่หมู่บ้านกูจวง
ตำบลจงหลี อำเภอเหาโจว มณฑลอันฮุย
เมื่อ ค.ศ. 1328 บิดามีชื่อว่า จูซื่อเจิน มารดามีชื่อว่า เฉินสี
ตำนานเล่าว่าในวันที่เขาเกิดนั้นมีเรื่องเล่าว่าพ่อไปตักน้ำ
ได้พบผ้าแพรแดงผืนหนึ่งซึ่งคนในหมู่บ้านต่างเห็นว่า
เป็นมงคลนิมิต จูซื่อเจินจึงตั้งชื่อบุตรชายคนนี้ว่า
จูหยวนจาง แปลว่า แผ่นหยกชั้นเลิศ
.
จูหยวนจางได้เข้าร่วมกับสาวกลัทธิบัวขาว หรือ "ไป่เหลียนเจี่ยว"
(白莲教; Báilián jiào) และเคยร่วมกับ "กลุ่มกบฏโพกผ้าแดง"
หรือ "หงจินฉิยี่" (红巾起义; Hóng jīn qǐyì)
กลุ่มกบฏต่อต้านราชวงศ์หยวน
.
จูหยวนจางเป็นคนมีความสามารถ และเชี่ยวชาญในการรบ
สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ทรงพระนามว่าหมิงไท่จู่
(明太祖; Míngtài zǔ)ใช้ศักราชประจำพระองค์ว่า "หงอู่"
(洪武; Hóngwǔ) หรือเรียกว่าจักรดิพรรดิ์ "หงอู่"
.
จูหยวนจางเป็นตัวอย่างของลูกชาวนาที่สถาปนาตนขึ้นเป็นฮ่องเต้
ขับไล่ราชวงศ์หยวนของมองโกลออกไปจากแผ่นดิน
ตรงนี้เอง กลุ่มหงเหมินจึง "โพกศรีษะด้วยผ้าแดง"
และมีแนวปฏิบัติเช่นเดียวปฐมจักพรรดิราชวงศ์หมิง
.
พรรรคฟ้าดินได้นำแนวคิดของจูหยวนจางมาเป็นแนวทางของพรรค
ในการขับไล่ราชวงศ์ชิง ฟื้นฟูราชวงศ์หมิง
พรรคฟ้าดินนับถือ "ลัทธิเต๋า" เช่นเดียวกับจูหยวนจาง
การสื่อสารจึงเต็มไปด้วยรหัสลับ และสัญลักษณ์ของลัทธิเต๋ามากมาย
เพื่อซ่อนเร้นการสื่อสาร และซุกซ่อนความเป็นสมาชิกภาพของพรรค
.
เชื่อว่า เริ่มแรกแนวทางของพรรคเป็นแนวทางของพุทธ
ตามผู้ก่อตั้งคือหลวงจีน "ว่านตี้ซี" หรือ "ว่านหยุนหลง "
(万云龙; Wàn yúnlóng) พรรคในช่วงก่อตั้ง
จึงชื่อว่า "ว่านเหมิน" ตามนามสกุลของหลวงจีนว่านตี้ซี
(万; )ก่อนที่จะเปลี่ยนแนวทางมานับถือลัทธิเต๋า
และใช้ชื่อ "หงเหมิน" (洪; Hóng) ตามอย่างศักราชของจักรพรดิไท่จู่
หรือจูหยวนจาง
.
สมาชิกที่มีชื่อเสียงของหงเหมิน อาทิ ว่านหยุนหลง ว่านสุยหง
หงต้าสุย หลวงจีนหง (ไม่ทราบชื่อ) ว่านต้าหง
จูหงเหา จูหงหยิง และคนอื่นๆ
.
"สมาชิกส่วนมากเป็นหลวงจีน หรือนักพรตในลักทธิเต๋า
ชื่อสมาชิกบางคนมีตัวตนอยู่จริง
แต่ชื่อสมาชิกหลายคนถูกสร้างขึ้นใหม่ขึ้นมา
หรืออาจเป็นชื่อเป็นเพียงรหัสลับที่ใช้ในการสื่อสารกันในพรรค
ซึ่งอาจมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ก็ได้
.
ที่เป็นเช่นนี้เพราะพรรคนำแนวคิดการเปลี่ยนชื่อ
มาจากแนวคิดการถือบวชในศาสนาพุทธ(ฉายาพระ)
หรือการถือพรตในลัทธิเต๋า
ซึ่งเมื่อบวช หรือถือพรตแล้ว ถือว่าเป็นคนใหม่
จึงต้องได้รับฉายา หรือชื่อใหม่ทางศาสนาไปด้วย
.
พรรคฟ้าดินจึงรับเอาแนวคิดตรงนี้มาเป็นแนวทางของพรรค"
-จบ-
ภาพประกอบจักรพรรดิหมิงไท่จู่ (明太祖; Míngtài zǔ)
หรือ "จูหยวนจาง" (朱元璋; Zhūyuánzhāng)

.


"มวยหงฉวนของหมู่บ้านอันโป"
.
มวยจีนในหมู่บ้านอันโปสามารถสืบย้อนไปได้ถึง
ราชวงศ์หมิงไท่จู่ รัชสมัยของจักรพรรดิหงอู่
.
เมื่อราว ค.ศ. 1397 คนในหมู่บ้านชื่อ "เฉินเป่ย์"
สอบไล่ได้เป็นนายทหาร
ต่อมาในปี 1407 รัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเจิ้น
เฉินเปย์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายพล
และถูกส่งไปปกครองอำเภอหุ้ยโจว
ปี ค.ศ. 1417 เขาถูกส่งไปประจำการที่หมู่บ้านเหมยโหลว
เมื่อกังเป่ย อำเภอหวานหนิง เกาะไห่หนาน
(ปัจจุบัน คือ มณฑลไหหลำ หรือไห่หนาน 海南 : Hǎinán)
และได้ถ่ายทอดมวยหงฉวนที่หมู่บ้านแห่งนี้
.
เมื่อเขาตายลง ลูกหลานรุ่นถัดมาได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่
หมู่บ้านอันโป เมืองเจ๊หนาน อำเภอหวานหนิง
และได้สืบทอดสายวิชามาจนถึงทุกวันนี้
ให้กับลูกหลานของเขาที่ได้ติดตาม และย้ายมาอยู่
.
ปัจจุบัน คนในหมู่บ้านอันโปเรียกมวยของตนเองว่า "หงฉวน"
จากมุขปาฐะที่สืบทอดกันมาที่อ้างว่าเป็นมวยที่ใช้ฝึกทหาร
มาตั้งแต่ราชวงศ์หมิงไท่จู่ รัชสมัยของจักรพรรดิหงอู่
.
ในคลิปมวยต่อไปนี้ สาธิตโดยอาจารย์เฉินหย่าเฉียง
และอาจารย์เกาหยวนเซียง
.
"เป็นคลิปที่หาดูได้ยากมากครับ"





"หงฉวน และหงเจียฉวน"
.
หงฉวน หมายถึง มวยกบฏของกลุ่มหงเหมิน
หรือพวกเรือแดง
.
หงเจียฉวน หมายถึง มวยตระกูลหงของหว่องเฟย์หง
.
มวยสองสายนี้มีที่มาอย่างเดียวกัน
คือ มาจากวัดเส้าหลินใต้
แต่มีความแตกต่างกันตรงรายละเอียดมากมาย
อาทิ ท่าไหว้แรกเริ่มก่อนที่จะเข้าสู่ท่ามวย
อย่างเช่นมวยหงฉวนสายหมู่บ้านอันโป
ยิปกิ่นหวิงชุนสายมาเลเซีย
.
มวยหงเจียฉวนจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจาก
มวยหงฉวนอยู่มาก เพราะมีการจัดท่ามาแล้ว
ในขณะที่มวยหงฉวน จะเป็นมวย "ดิบๆ "
ท่าร่างจึงไม่ละเอียดเท่าใดนัก
และเหมาะแก่การสอนทหารราบ
เพราะเข้าใจง่าย และตีทั่วสี่ทิศ
.
ความแตกต่างนี้ก็เหมือนกับคำว่า หย่งชุน
กับหย่งชุนฉวน ที่คำว่าหย่งชุนคือรหัส
หย่งชุนฉวนคือมวย
.
ปัญหาต่อมา คือ มวยหงเจียฉวนมีที่มาอย่างเดียวกัน
กับมวยหงฉวน ซึ่งเป็นมวยสายกบฏ
แล้วเหตุใดหว่องเฟย์หงจึงได้เข้าไปสอน
"กองธงดำขอบขาว" ในปี ค.ศ. 1888
ของนายพล หลิว หยงฟู่ (เหลา หวิงฟก, 劉永福)
ทั้งๆ ที่เป็นกองทัพหนึ่งในแปดกองธง
ของราชวงศ์ชิง?
.
คำตอบ คือ "กองทัพนี้เป็นกองทัพของชาวหมิง"
ที่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์แมนจู
ตามนโยบายของแมนจูที่ว่า
"ให้หมิงปกครองกันเอง"
ในขณะที่กองทัพอื่น ใช้ "ครูชาวแมนจู"
สอนทหารแมนจูด้วยกันเอง
.
อีกทั้งหว่องเฟย์หงเป็นหมอ
จึงได้รับแต่งตั้งเป็นหมอประจำกองทัพอีกด้วย
- จบ -



"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง"
ตอนพิเศษที่หนึ่ง (มีสามตอน)
"มวยฮุงก่าตระกูลฉุย"
.
มวยฮุงก่าตระกูลฉุยเริ่มต้นที่ อาจารย์ "ฉุยเกา"
ท่านเกิดที่มณฑลกวางตุ้งในครอบครัวของหมอ
เมื่อ ค.ศ. 1895
.
เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ท่านได้ย้ายไปอยู่สิงคโปร์กับลุง
และเข้าทำงานในเหมือง
ท่านเริ่มฝึกมวยฮุงก่ากับอาจารย์ "จูยจุ๊กเหว่ง"
ลูกศิษย์ของอาจารย์ "หว่องฟย์หง"
หลังจากที่ได้เรียน ท่านก็ฝึกแต่มวยเพียงอย่างเดียว
.
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ท่านได้เดินทางไปฮ่องกง
และได้เรียนมวยฮุงก่ากับอาจารย์ "หลั่มไซเหว่ง"
.
ต่อมาอาจารย์ฉุยเกาได้เปิดโรงเรียนสอนมวยฮุงก่า
ที่ฮ่องกง และมีสาขามากมาย
และท่านยังได้เปิดคลินิกแพทย์แผนจีนข้างๆ
โรงเรียนของท่านทุกที่อีกด้วย
.
สถานที่ตั้งของโรงเรียนของท่านตั้งอยู่ในเขตยากจน
ของฮ่องกง บ่อยครั้งที่ท่านรักษาคนยากจนโดยไม่คิดเงิน
.
อาจารย์ฉุยเกามีชื่อเสียงเรื่องปราบปรามอันธพาลในชุมชนแ
และเป็นที่เคารพยำเกรงของอาชญากรแถบนนั้นยิ่งนัก
.
เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สอง อาจารย์ฉุยได้กลับไป
อาศัยอยู่ที่กวางตุ้งเพื่อกลับไปฝึกคนหนุ่มที่นั่น
เพื่อต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่น
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านได้ย้ายกลับมาที่ฮ่องกง
และเริ่มสอนมวยฮุงก่าอีกครั้ง
.
ช่วงทศวรรษที่ 1950 ท่านไปประเทศจีนเพื่อแข่งขันมวยจีน
บ่อยครั้งมาก และได้รับรางวัลกลับมาเสมอ
เมื่อปี ค.ศ. 1956 ท่านได้รับเชิญไปแข่งขันที่กวางตุ้ง
ในงานของสมาคมกังฟูจีน และได้รับรางวัลชนะเลิศ
ประเภทท่ามือเปล่า และอาวุธ (ดาบ)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 ท่านได้รับเชิญไปแข่งที่ปักกิ่ง
ซึ่งคราวนี้ท่านได้ที่สองในการแข่งขันการสาธิตมวยเสือกระเรียน
ซึ่งตอนนั้นท่านมีอายุถึงหกปีแล้ว!!
.
อาจารย์ฉูยเกามีบุตรสี่คนได้แก่ "ฉุยกิมชิง" "ฉุยกิมฟ่ง"
"ฉุยเว่" และ "ฉุยชีหลิง"
ท่านได้สอนมวยฮุงก่าไปจนกระทั่งทศวรรษที่ 1970
ซึ่งตอนนั้นท่านมีอายุได้ 80 ปีแล้ว หลังจากนั้น
ท่านได้มอบหมายให้บุตรของท่านเป็นผู้สอน
แม้ท่านจะไม่สอนอีก แต่ท่านยังคงฝึก "ทิตซิ่นควิ่น"
หรือหมัดเหล็กเส้นทุกวัน ซึ่งเป็นเส้นมวยพลังภายใน
ของฮุงก่า
.
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมพาพันธ์ ค.ศ. 1995
หลังจากที่ท่านทานอาหารเที่ยง ท่านกลับเข้าไปนอนพักผ่อน
และท่านไม่ได้ตื่นอีกเลย
ศิริอายุรวม 100 ปี
.
ปัจจุบันมวยฮุงก่าตระกูลฉุย
สอนโดยอาจารย์ฉุยเว่ และอาจารย์ฉุยชีหลิง
- จบ -


"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง"
ตอนพิเศษที่สอง (มีสามตอน)
"มวยฮุงก่าตระกูลฉุย"
.
อาจารย์ฉุยไหว้เป็นลูกของอาจารย์ฉุยเกา
เกิดที่ฮ่องกงเมื่อ ค.ศ. 1931
ท่านเรียนมวยฮุงก่าและวิชาแพทย์จากบิดาของท่าน
.
ท่านชนะการแข่งขันนัดสำคัญในประเทศจีนหลายนัด อาทิ
เมื่อปี ค.ศ. 1958 ขณะที่ท่านมีอายุได้ 27 ปี ท่านชนะเลิศ
การรำมวยฮุงก่าที่ปักกิ่ง นอกจากนี้ท่านยังได้รับรางวัลชนะเลิศ
หลายรางวัลในการแข่งขันมวยจีนใต้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 ถึง 80
จนถึงปี ค.ศ. 1985
.
จากที่ครองตำแหน่งชนะเลิศเป็นเวลาหลายสิบปี
ในปี ค.ศ. 1986 ท่านเพิ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศ
จากการแข่งท่ารำ ตอนนั้นท่านมีอายุได้ 55 ปีแล้ว
แต่ท่านก็ได้รางวัลชนะเลิศประเภทสาธิตการเข้าคู่
กับลูกชายของท่าน คือ เดนนิส ฉุย
.
ลูกศิษย์ของอาจารย์ฉุยมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
ในการแข่งขันประเภทฟูลคอนแท็คที่ฮ่องกง
อาท เดนนิส ลูกชายของท่าน
ส่วนลูกชายคนอื่นมีชื่อในเรื่องการสอนมวยฮุงก่า
และเป็นหมอแผนโบราณที่มีชื่อเสียง
.
ทุกวันนี้ท่านยังคงฝึก และสอนมวยฮุกก่าในโรงยิม
หรือคลินิกของท่านเองในฮ่องกง ท่านมีลูกศิษย์มากมาย
และเป็นนักแสดงในภาพยนต์ของฮ่องกงเป็นจำนวนมาก
.
เมื่อครั้งวัยเยาว์ ท่านได้ติดตามบิดาไปยังมณฑลกวางตุ้ง
และได้ช่วยบิดาสอน จึงทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
ทั้งในแผ่นดินจีน และฮ่องกง จนได้รับการขนานนามว่า
"ราชามวยฮุงก่า"
.
อาจารย์ฉุยไหว้ยังคิดยึดถือขนบการสอนแบบจีนโบราณ
กล่าวคือ "รับสอนแต่เฉพาะคนจีนด้วยกันเท่านั้น"
ลูกศิษย์จะต้องผ่านการทดสอบอย่างหนักทั้งรายกายและมีจิตใจ
เมื่ออาจารย์ฉุยยอมรับเข้าเป็นศิษย์แล้ว ลูกศิษย์จะตั้งใจฝึกฝน
และไม่ลาออกกลางคัน
อย่างไรก็ดี แม้การเข้าเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ฉุยไหว้จะยากลำบาก
แต่ก็ยังมีคนขอเข้าสมัครเป็นลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก
.
อาจารย์ฉุยไหว้เคยให้สัมภาษณ์ซึ่งแสดงให้เห็นทัศนคติ
เกี่ยวกับโลกของศิลปะการต่อสู้เอาไว้ว่า
" ทุกวันนี้มีผู้ฝึกสอน(มวยจีน) ที่เก่งมากมาย
และสอนได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้ศิลปะการต่อสู้ทุกวันนี้กลายเป็นกีฬา
แต่ในขณะที่มวยจีนที่แท้จริงจะค่อยๆ
พัฒนาอย่างเชื่องช้า แต่เข้มแข็ง
กว่าจะปรากฏผลอาจใช้เวลาทั้งชีวิต
งานของผู้ฝึกสอนมีหน้าที่เพียงสร้างนักกีฬาที่เก่งกาจ
ในขณะที่อาจารย์ (ซีฝู) ต้องให้ความรู้ที่ดีแก่ศิษย์
ครูต้องสร้างนักสู้ที่มีทักษะยุทธ์ และมีความรับผิดชอบสูง
นักสู้ที่แท้จริงจะต้องมีจิตวิญาณของมวย
ไม่ใช่มีเพียงทักษะกีฬาเท่านั้น"
- จบ -




"มวยฮุงก่าตระกูลฉุย" ตอนจบ
.
อาจารย์ฉุยชีหลิง เกิดในปี ค.ศ. 1943
เป็นทั้งอาจารย์ และนักแสดงที่ปรากฎตัวในภาพยนต์กังฟู
มากที่สุดในฮ่องกง
.
ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของอาจารย์ฉุยเกา
ปัจจุบันสอนมวยอยู่ที่สมาคมฉุยชีงหลิงมวยฮุงกา
ที่เมืองซานฟรานซิสโก และในสำนักของตระกูลชื่อ
"ฉุยก่ากวู่น" ในฮ่องกง
.
ท่านยังมีลูกศิษย์ทั่วโลก
ทุกปีท่านจะเดินทางไปสอนลูกศิษย์ของท่าน
ที่อยู่ในประเทศต่างๆ ซึ่งลูกศิษย์ของท่านก็ได้เปิดสำนัก
หรือสมาคมออกไปอีกมากมาย ทำให้มวยฮุงก่าตระกูลฉุย
เป็นที่แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
.
ท่านเริ่มเรียนมวยฮุงก่าเมื่ออายุหกขวบ
กับบิดาของท่าน คือ ฉุยเกา และมารดา คือ ซุยหลิง
เส้นมวยที่มีชื่อเสียงของฉุยชีหลิง คือ มวยเสือกระเรียน
.
นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชาแพทย์จากบิดาควบคู่ไปกับวิชามวยฮุงก่า
จึงทำให้ท่านเชี่ยวชาญวิชาจัดกระดูกอย่างหาตัวจับยากอีกด้วย
.
- จบ -
"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟง" ตอนที่ 9
"พรรคฟ้าดิน" ตอนจบ
.
พี่น้องพรรคฟ้าดินล้วนเหมือนพี่น้องร่วมสายเลือด
ถ้าพี่น้องคนใดมีปัญหาเกี่ยวความเป็นอยู่ การเงิน
หรือปัญหาใดๆ ก็ตาม ทุกคนจะให้ความช่วยเหลือ
.
พรคฟ้าดินมีเพลงปลุกใจชื่อ "ปาไป๋เก้อ"
หรือเพลงแปดคำนับ (เคารพ) เพื่อสอนให้พี่น้อง
เคารพต่อสิ่งควรเคารพ 8 ประการ ได้แก่
เทียน (สวรรค์, 天), ตี้ (ดิน, 地), หยาง
(พระอาทิตย์, 日),หยิน (ดวงจันทร์,月),
ซู้ (บรรพบุรุษ, 祖), หวาน (หวังหยุนหลง,
万云龙), เฉิน (เฉินจินหนาน, 陈近南)
และ เหอ (ภราดรภาพ合)
.
แม้ว่าในพรรคจะมีลำดับชั้นปกครอง แต่สมาชิกทุกคนล้วนสาบาน
เป็นพี่น้อง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทุกคนล้วนรักษาคำมั่นตลอดไปเรื่องหมางใจใดๆ จะทิ้งเอาไว้เบื้องหลังปัญหาใด ๆ หรือปัญหาที่ผ่านมาจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ในบรรดาพี่น้องจะเรียกกันเองว่า "หงเจียนเซียงตี่" หรือ ทุกคนล้านเป็นพี่น้องตระกูลหง ( 洪家兄弟)
.
ต่อมาในศวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1800) พรรคฟ้าดินได้มีการบัญญัติให้มี
"36 คำมั่นสัญญาของหงเหมิน" ซึ่งเป็นหลักการที่พี่น้องพรรคฟ้า
ดินยึดถือร่วมกัน ขอกล่าวแต่เพียงบางส่วนดังนี้
บางส่วนของเหล่านี้ในช่วงสั้น ๆ รวมถึงต่อไปนี้:
.
"ไร้ซึ่งความเกลียดชัง และการแย่งชิงระหว่างพี่น้อง เพราะเรามีศัตรูที่เราศัตรูร่วมกันคือพวกราชวงศ์ชิง"
"ความลับของพรรคจะไม่ถูกเปิดเผยต่อใคร
แม้แต่คนในครอบครัวของตัวเอง
รวมถึงคู่สมรส บุตร หรือญาติ
"หากถูกทางการจับได้จะไม่ทรยศต่อพรรค
โดยเด็ดขาดแม้ถูกทำทรมาน หรือกระทำทารุณ เพราะเป้าหมายของพวกเราคือต่อต้านกับราชวงศ์ชิง
จงยินดีที่จะเสียสละตัวเอง หรือแม้แต่ชีวิตของตัวเอง
"พี่น้องต้องเชื่อใจกัน และภักดีต่อกัน"
.
การสื่อสารของสมาชิกของพรรคจะมีชุดของรหัสลับ
ที่ใช้สนทนา การแสดงท่าทาง การแสดงสัญญาณมือ
การใช้ชื่อ หรือคำบางคำที่มีความหมายแผงนัยยะ
รวมทั้งการแต่งกาย การจัดวาง เช่น ตะเกียบ ชาม
การเทน้ำชา การจัดวางถ้วยชา และกา
.
การสื่อสารโดยใช้รหัสลับแบบนี้
มาจากพิธีกรรมของลัทธิเต๋า
ทุกอย่างล้วนมีความหมาย
รูปแบบการสื่อสารนี้พัฒนามาจาก
กลุ่ม "ซานเตียนฮุย"
กลุ่ม "ซานเหอฮุย" (เหอในที่นี้ หมายถึงประสาน)
กลุ่ม "ซานเหอฮุย" (เหอในที่นี้ หมายถึงแม่น้ำ)
กลุ่ม "จีเหลาฮุย" กลุ่ม "ฉวนซีฮุย"
และกลุ่มอื่นอีกราวห้าสิบกลุ่ม
.
พรรคฟ้าดินยังคงดำเนินการ
และยังคงสืบทอดความลับแบบนี้เรื่อยมา
เป็นเวลา 300 ปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1911
สมาชิกของพรรได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับ
การปฏิวัติซินไห่ของ ดร. ซุนยัตเซน
เพื่อก่อตั้งสาธารณะประชาชนจีน
เพราะเป็นเรื่องที่สอดคล้องเจตนารมณ์ของพรรค
.
จริงๆ แล้ว ดร.ซุนยัตเซ็นก็เป็นสมาชิกคนหนึ่ง
ของหงเหมิน เขาเริ่มประสานงานเพื่อรวบรวม
สมาชิกของพรรคมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1893 และได้ใช้ความสามัคคีของพี่น้องในพรรค
ทำการเคลื่อนไหวจนกระทั่งปฏิวัติสำเร็จ
.
อย่างไรก็ดีภายหลังที่มีการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง
เป็นที่สำเร็จ สมาชิกจำนวนมากยังคงสืบสาน
ปณิธานของพรรคต่อไป บางก็ได้แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มใหม่
เช่น กลุ่มไตรแอด หรือ "เหยซีฮุย" ซึ่งเป็นกลุ่มอาชญากรซึ่งดำเนินการ
ผิดไปจากเจตนารมณ์เดิมของพรรคฟ้าดิน
บางส่วนก็ย้ายไปอยู่ไต้หวัน และยังคงเป็น
สมาชิกของพรรคการเมืองที่ปกครองไต้หวัน
อยู่จนทุกวันนี้
- จบ -
ภาพประกอบ ดร. ซุนยัตเซน ช่วงวัยรุ่น ในปี ค.ศ.1883




“มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง” ตอนที่ 10
“ความสัมพันธ์ของหงเหมิน และวัดเส้าหลินใต้”
.
สมาชิกของหงเหมินฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ของตนเอง
ตามสายวิชาของตน และหลีกเร้นจากการสอดส่อง
จากเจ้าหน้าที่ราชสำนักชิง และมักเรียกวิชาของตนเองว่า
“มวยเส้าหลิน” เพราะฝึกกันที่วัดเส้าหลินใต้
จึงทำให้หลายปีนับแต่สมาชิกหงเหมินเข้ามาหลบซ่อน
ที่วัดเส้าหลินใต้ วัดจึงเต็มไปด้วยยอดฝีมือแขนงต่างๆ
และสมาชิกของพรรคก็เรียกฐานที่มั่นนั้นว่า “เส้าหลินหยวน”
หรือวัดเส้าหลิน โดยฝึกศิลปะการต่อสู้ภายใต้ชื่อของวัดเส้าหลิน
จึงได้เรียกว่า “มวยเส้าหลิน” เพื่อไม่ให้ทางการ
จับความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่วัดได้
.
เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดความสับสนว่า
มวยเส้าหลินใต้ที่แท้จริงคืออะไร
ต้องเข้าใจก่อนว่า มวยเส้าหลินใต้ที่แท้จริง
แตกต่างจากมวยเส้าหลินที่สมาชิกของหงเหมินใช้เรียก
เพื่อหลบซ่อนจากทางการ
.
และต้องเข้าใจด้วยว่า สมาชิกของหงเหมินมีหลากหลาย
ทั้งบัณฑิต ยอดฝีมือ นักรบ พ่อค้า ชาวนา ขุนพล
และอื่นๆ ปะปนกัน และไม่ใช่ทุกคนที่เป็นยอดฝีมือ
ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน
จึงเกิด “ชุดมวยพื้นฐาน” อันเป็นการตกผลึกของ
ยอมฝีมือ เพื่อนำมาใช้สอนสมาชิกของพรรค
สมาชิกของพรรคจึงต้องฝึกเส้นมวยนี้
เมื่อเวลาผ่านไปเส้นมวยนี้ได้รับการพัฒนา
จากตัวผู้ฝึกแต่ละคนตามความรู้และประสบการณ์
จึงทำให้เกิดการแตกแขนงของสายมวยออกไป
และก่อให้เกิดความสับสนขึ้นไปอีกเพราะมวยแต่ละชุด
ที่กำเนิดจากกลุ่มหงเหมินหรือเทียนตี้หุ่ย
จะมีคำซึ่งแสดงถึงเส้นมวยที่คิดค้นจาก “มวยพระ”
หรือมวยของวัดเส้าหลินใต้ เพราะต้นกำเนิดของหงเหมิน
หรือเทียนตี้หุ่ยรุ่นแรกเป็นพระ จึงทำให้เราไม่สามารถแยกได้ว่า
มวยของหงเหมินเส้นใดเป็นมวยเส้าหลินใต้จริงๆ
หรือเป็นมวยของสมาชิกหงเหมิน
.
ยกตัวอย่างในกรณีของเส้นมวยและเส้นอาวุธ
ของ “วัดจิวโซ่ว” หรือรู้จักกันในนาม “ไท่ผิงหยวน” ( 太平院)
ที่ตั้งอยู่ในตำบลเซี๋ยนหยู ซึ่งถูกเผาเมื่อราวต้นราชวงศ์ชิง
เหตุเพราะทางการชิงได้เข้าไปปราบกบฏหงเหมิน
หรือเทียนตี้หุ่ย ที่นั่ยเป็นที่มั่นของเทียนตี้หุ่ย
และยังเรียกที่นั่นว่า “วัดเส้าหลิน” อีกด้วย
จึงทำให้เส้นและเส้นอาวุธที่นั่น เรียกว่า “มวยเส้าหลิน”
ไปโดยปริยาย
.
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ “วัดจางโจวตงซาน” และ
“วัดปู่เทียนกวงหัว” ซึ่งเป็นวัดในเครือหงเหมินเช่นเดียวกับ
“วันจิวโซ่ว” ก็เรียกมวยของหงเหมินว่ามวยเส้าหลินเช่นเดียวกัน
.
บางวัดที่อยู่ในพื้นที่ของเมืองฉางโจว ก็ได้มีลูกศิษย์รุ่นสอง
ของหงเหมินที่ได้เข้ามาอยู่ในวัดดังกล่าวข้างต้น
เช่น “เซียงหัว” ที่ได้เข้าไปถ่ายทอดวิชาในวัดอื่นๆ
ทำให้ชื่อของมวยเส้าหลินที่สมาชิกหงเหมิน หรือเทียนตี้หุ่ยเรียก
ได้แพร่หลายออกไป
.
ชุดมวยเส้าหลินชุดนี้จึงแพร่หลายไปในเขตมณฑลฟูเจี้ยน
ด้วยเหตุนี้ ภายหลังจึงได้มีการเรียกมวยชุดนี้ว่า “มวยฟูเจี้ยน”
และมักนำคำว่าฟูเจี้ยนนำหน้าชุดมวยเสมอ เช่น “ฟูเจี้ยนหล่อฮั่นฉวน”
“ฟุเจี้ยนฮื้อฉวน”
.
ชุดมวยฟูเจี้ยนที่มีชื่อเสียง และแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันได้แก่
“อู่โซวฉวน” หรือมวยเลียนแบบสัตว์ห้าประเภท (五售拳)
“หล่อฮั่นฉวน” “ไท่จู่ฉวน"
.
มวยสองเส้นหลังนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับการถ่ายทอดมาจาก
นายทหารนอกราชการของจักรพรรดิ “ซ่งไท่จู่” ชื่อเจ้ากวงหยิน
หรือมิเช่นนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูฝึกทหารนอกราชการ
ของ จักพรรดิ “หมิงไท่จู่” ชื่อ “จูหยวนจาง”
อย่างไรก็ดี มวยสองเส้นหลังนี้ มีผู้สันนิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า
มวยสองเส้นนี้อาจถือกำเนิดก่อนช่วงราชวงศ์ถัง หรือ
ราชวงศ์หมิงเสียอีก
(ปัจจุบัน ข้อสันนิษฐานยังไม่เป็นที่ยุติ)
.
- จบ -
"มวยจีนสายหงเหมิน"
.
อาจารย์ Chiwin Taifudo
ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า
"มวยเป็นเพียงเครื่องขับเคลื่อน เพื่อหาผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน
และชักจูงให้ไปถึงอุดมการณ์นั้น
หาได้ง่ายกว่าอาชีพอื่น"
.
"หงเหมิน" เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้น
จากปรัชญาเพียงข้อเดียว
คือ "ฝานชิง ฟูหมิง"
หรือโค่นล้มชิง ฟื้นฟูหมิง
.
ปรัชญาก่อให้เกิดอุดมการณ์
อุดมการณ์ก่อให้เกิดหน้าที่
หน้าที่ก่อให้เกิดการดำเนินการ
กนรดำเนินการก่อให้เกิดผล
.
อุดมการณ์ที่มั่นคงย่อมก่อให้เกิดผลสำเร็จ
แม้จะช้าเพียงใด ก็ย่อมเกิดผล
อย่างเช่นที่ "ดร. ซุนยัตเซน"
ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของหงเหมิน
และเป็นผู้นำการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง
ก่อตั้งสาธารณรัฐได้สำเร็จ
.
การที่สำเร็จได้นี้ ก็ด้วยความสามัคคี
ของพี่น้องร่วมอุดมการณ์ของกลุ่มหงเหมิน
.
มวยจีนสายหงเหมินคืออะไร?
.
เราไม่อาจบอกได้ว่ามวยจีนสายหงเหมิน
หรือมวยจีนสายเรือแดงเป็น "มวยกบฏ"
คือมวยอะไร หรือยกย่องเพียงใดมวยหนึ่ง
เป็น "มวยจีนสายเรือแดง"
อย่างที่ใครเขาชอบหาประโยชน์
และแอบอ้างเอาแต่เพียงผู้เดียว
.
เพราะมวยจีนสายหงเหมินเป็น
"มวยของพี่น้องร่วมอุดมการณ์"
ดังนั้น มวยจีนสายนี้มีเป็นจำนวนมาก
เช่น มวยจีนใต้สายเส้าหลิน
สกุลหง ไช่ หลี่ โม่ โจ ไป่เม่ย หลงสิง
หล่อฮั่น ปาคว่า สิงอี้ ไท่จี๋ ซุ่ยเจียว เหมยฮัว
หย่งชุน และมวยสายอื่นๆ ที่ยังไม่ปรากฏ
ชื่ออีกในปัจจุบัน
.
พี่น้องรวมอุดมการณ์มีตั้งแต่พระ นักพรต
มหาเศรษฐี ข้าราชการ พ่อค้า ชาวนา กรรมกร คนลากรถ รวมไปถึง "ยาจก"
ทุกคนล้วนแต่เป็นผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง
.
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามวยจีนใด
เป็นสายหงเหมินหรือมิใช่?
.
คำตอบคือต้องประกอบด้วยสามสิ่ง
คือ "สัญลักษณ์ รหัส และรูปมวย"
.
หนึ่ง "สัญลักษณ์" หมายถึง "ดอกเหมย"
ซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ผลิ
หรือ "หย่งชุน"
และ "มีดผีเสื้อคู่"
ในทางสัญลักษณ์หมายถึง
การรวมใจเป็นหนึ่งเดียวภายใต้สัญลักษณ์เดียว
และเป็นพวกเดียวกัน
.
สอง "รหัส" ถ้ามีสัญลักษณ์แต่เพียงอย่างเดียว
ก็อาจารมีคนนำไปแอบอ้างได้ว่าเป็นมวยจีน
สายเรือแดง มวยจีนสายเรืองแดงจึงสร้างรหัส
เพื่อสือสารกันในพวกพ้อง เช่น รหัสมือ การวาง
ถ้วยชา ตะเกียบ การแต่งกาย แท่นบูชา
รหัสนี้ ก็คือ "พิธีกรรม"
สัญลักษณ์คือ พิธีกรรม ... พิธีกรรมหลอกกันไม่ได้
.
และสาม "มวย" มวยที่ว่านี้ไม่ใช่รูปมวย
แต่เป็นการแสดงท่าเคารพก่อนเริ่มมวย
และจบมวย มันเป็นการแสดงว่า "มาจากกลุ่มไหน"
.
ปัจจุบัน "ศิษย์ใน" สายหงเหมิน หรือสายเรือแดง จะได้รับถ่ายทอดสามสิ่งนี้
.
เมื่อสัญลักษณ์ดอกเหมยปรากฏที่ไหน
นั่นแสดงว่า "พวกเดียวกันอยู่ที่นี่"
แล้วค่อยมาดูรหัส และมวยในภายหลัง
.
ผู้เขียนเคยพบมวยจีนสำนักหนึ่งในต่างประเทศ
ใช้สัญลักษณ์ "ดอกเหมย"
ประกอบ "มังกรห้าเล็บ" ของราชสำนักชิง
เมื่อเห็นก็เข้าใจได้ทันทีว่า "ไม่ใช่"
แม้เขาจะอ้างว่าเป็นมวยสายเรือแดงก็ตาม
เพราะมังกรห้าเล็บเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้ชิง
เมื่อใช้ร่วมกับกับดอกเหมย
มันแปลได้สองอย่าง "สยบต่อฮ่องเต้ชิง"
หรือ "หักหลังพวกพ้อง"
.
สรุป มวยจีนสายเรือแดง คือ "ระบบ"
ไม่ใช่เพียงรูปมวย
ระบบแสดงถึงอุดมการณ์ รากฐาน
และความสามัคคีของกลุ่ม
.
"กลุ่มใดมีอุดมการณ์ กลุ่มนั้นย่อมเจริญรุ่ง
กลุ่มใดไร้อุดมการณ์ ไม่นานย่อมซ่านเซ็น"
.
- จบ-

    "การชำนาญอาวุธเพียงอย่างเดียว
แย่พอๆ กับการไม่รู้จักมันดีพอ"
.
เนื้อหาในพิชัยสงคราม
นอกจากจะกล่าวถึงการรบพุ่ง
การวางทัพ และกลยุทธ์แล้ว
ยังกล่าวถึงการฝึกตนอีกด้วย
.
คำว่า "การชำนาญอาวุธเพียงอย่างเดียว
แย่พอๆ กับการไม่รู้จักมันดีพอ" นีี้หมายถึง
ผู้ฝึกฝนจะต้องเชี่ยวชาญสรรพศาสตร์
ซึ่งไม่ใช่เรื่องการต่อสู้เพียงอย่างเดียว
.
สรรพศาสตร์ หมายถึง
วิชาต่างๆ นอกจากการต่อสู้
เช่น การเขียนตัวอักษร หมากกระดาน
การรักษา การบำรุงสุขภาพ
การสร้างจิตวิทยากองทัพ
โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์
.
หากแม่ทัพชำนาญในสรรพศาสตร์
ก็สามารถพึ่งพาความรู้ของตนเอง
มากกว่าพึ่งพาคนอื่น
เมื่อวางกลยุทธ์ ก็ย่อมได้เปรียบว่าคนไม่รู้
และลดการสูญเสีย
.
หากมองในแง่การฝึกฝีมือ
หากผู้ฝึกชำนาญแต่มือเปล่า
ย่อมเสียเปรียบคนชำนาญอาวุธเพียงหนึ่งอย่าง
คนชำนาญอาวุธเพียงหนึ่งอย่าง
ย่อมเสียเปรียบคนชำนาญอาวุธหลายอย่าง
.
เพราะอาวุธแต่ละอย่างออกแบบมาเพื่อ
"ทำลายกันเอง" เรียกว่า ท่ามันฆ่ากัน
ท่าแต่ละท่าก็ออกแบบมาเพื่อพิชิตอีกท่าหนึ่ง
เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา
.
ดังนี้ ในการฝึกตนจึงมีหลักว่า
"ชำนาญหลายอย่าง
แต่ละอย่างส่งเสริมกันเอง"
.
ประโยคข้างบน หากมองในแง่การฝึกตน
หมายถึง นอกจากเรื่องที่ตนเองชำนาญ
ก็ควรที่จะเรียนรู้ให้รอบด้าน
เรียนรู้ในสิ่งที่ควรรู้
และไขว่คว้าหาในสิ่งที่ตนเองไม่รู้
เราเรียกว่าความรู้แนวข้าง
.
ผมขอยกตัวอย่างที่นักกีฬาบราซิลเลี่ยนยูยิตสึ
ที่ชำนาญโยคะ เช่นพี่น้องตระกูลเกรซี่
การฝึกโยคะเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพ
ของยูยิตสึได้เป็นอย่างดี
.
มีคนเคยถามผมว่า
ในมวยสิ่งอี้จำเป็นต้องฝึกท่าซานถิซื่อหรือไม่
(มันเป็นท่าฝึกกำลังขา และชี่กงแบบยืนนิ่งๆ)
ผมบอกว่า ถ้าอยากได้กำลังขา ฝึกสคอว์ท
แบบลุกนั่งดีกว่าครับ
.
ความรู้ทั้งหลาย ถ้าเข้าใจเพียงอย่างเดียว
ก็ใช้ได้เพียงอย่างเดียว
นักดาบชำนาญแต่เพียงดาบ
ดาบโดนขโมย เขาจะใช้อะไร?
.
นักมวยไทยที่ชกมวยเก่ง
ยึดแต่อาชีพชกมวย ไม่ได้เรียนรู้อย่างอื่น
เมื่อเลิกชกมวย เขาจะประกอบอาชีพอะไร
มวยก็ชกไม่ได้ ประกอบอาชีพอย่างอื่นก็ยาก
อยู่ด้วยความยากลำบาก เพราะไม่มีความรู้อื่น
ตัวอย่างก็มีให้เห็นกันอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ
.
ตรงนี้ต่างกับนักมวยที่ตระหนักถึงจุดจบของอาชีพ
เขาก็ขวนขวายเรียน และประสบความสำเร็จ
ก็มีให้เห็น
.
เรียนรู้อย่างเดียวจนเชี่ยวชาญมันก็ดี
แต่เรียนรู้หลายอย่างสำคัญกว่า
เหมือนหมากรุกกับหมากล้อม
หมากรุกคือสงครามสนามเดียว
หมากล้อมคือสงครามหลายสนาม
เชี่ยวชาญหมากรุกกับเชี่ยวชาญหมากล้อม
อันไหนดีกว่ากัน
และมันจะดีกว่านั้นมาก
ถ้าคนๆ นั้นเรียนรู้จนเชี่ยวชาญทั้งสองหมาก
แต่นั่นก็ไม่ดี เพราะชีวิตไม่ได้มีแต่เพียง
หมากล้อมหรือหมากรุก
.
ในการวางกลยุทธ์
แม่ทัพเรียนรู้สรรพศาสตร์
ย่อมเชี่ยวชาญอาวุธมากกว่าหนึ่ง
สามารถฝึกฝนทหารได้ทั้งกองทัพ
และรู้จักใช้คน
เมื่อพบปัญหา เช่น กองทัพม้าของข้าศึก
ก็ประดิษฐ์ดาบตัดขาม้ามาพิชิตศัตรู
.
ตรงกันข้ามกับนักรบ
นักรบรู้เพียงอาวุธที่ตนใช้
เชี่ยวชาญอาวุธที่ตนใช้
มันย่อมเสียเปรียบ หากเจอการแก้ทางอาวุธ
และพ่ายแพ้แก่คนที่ชำนาญกว่า
.
จุดต่างของแม่ทัพกับนักรบอยู่ที่ตรงนี้
.
ชีวิตคนเราต้องเรียนรู้อย่างแม่ทัพ
มิใช่พอใจแค่เพียงเป็นนักรบ
.
- จบ -

"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง" ตอนที่ 11
"สายวิชามวยของหงเหมิน"
.
เนื่องจากหงเหมินมีการสื่อสารโดยใช้รหัสลับ
ท่ามวยจึงเต็มไปด้วยท่าแสดงรหัสลับของรูปมือ
เส้นมวยต่างๆ มักถือเอามวยของ "หงซีกวน"
เป็นมวยหลัก จึงเรียกกันว่า "มวยสกุลหง"
หรือ หงเจียฉวน หรือ ฮุงก่าควิ่น
เพราะเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างกว่าสายอื่น
.
แต่มวยสายหงเหมิน หรือ "หงฉวน"
ไม่ได้มีมวยสกุลหงแต่เพียงสายเดียว
ยังมีมวยสายอื่น อย่างที่เคยได้กล่าวเอาไว้แล้ว
จึงทำให้เป็นการยากที่จะแยกว่า
มวยสายใดที่มาจากหงเหมิน
หรือมิใช่ เราจึงดูในเบื้องต้น
คือ "ท่าเปิดมวย"
.
ท่าเปิดมวย หมายถึง ท่าเคารพเริ่มแรก
ก่อนเริ่มรำเส้นมวย
.
มวยหงฉวนมีหลายสาย แต่ละสายย่อมแตกต่างกันไป
ตามความรู้และประสบการณ์ของผู้ฝึก
ความแตกต่างตรงนี้ก่อให้เกิดความคลุมเคลือ
ว่ามวยใดเป็นมวยหงเหมินหรือมิใช่
.
เชื่อกันว่า มวยสายที่ให้เคียงกับมวยหงฉวนมากที่สุด
คือ มวยหงฉวนสาย "กวางตุ้ง" ได้แต่
มวยตระกูล "ไช่ โม่ หลิว หลี่"
เพราะมวยตระกูลเหล่านี้ สืบสายไปได้ถึงต้นตระกูล
ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในก่อตั้งหงเหมิน
.
นอกจากนี้ ในมวยสายกวางตุ้ง เราพบหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ว่า มีที่มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน
คือมวยใน "มณฑลฟูเจี้ยน" แต่แต่ละสายมาพัฒนา
รูปแบบของตนงเองโดยใช้มวยสายฟูเจี้ยนเป็นพื้นฐาน
จึงทำให้มีลักษณะที่จะจัดกลุ่มร่วมกันได้ร่วมกัน
เช่น "ท่ายืน"
.
ตัวอย่างเช่น มวยสายหงเหมินทุกสายเดิมจะมีม้าสูง (ท่ายืน)
คือ "เอ้อซีหม่า" และการเคลื่อนไหวช่วงสั้น
ต่อมาได้มีการพัฒนาสายวิชา โดยได้นำท่าม้าต่ำ
หรือ "ซีผิงหม่า" และการเคลื่อนไหวช่วงยาว
เข้ามาเสริม
ดังนั้น การพิจารณาาในเบื้องต้น เราจึงดูรูปแบบของม้า
เป็นหลัก เพื่อนำมาจัดกลุ่มว่าสายนี้ใช่มวยหงเหมินหรือไม่
.
มวยหงฉวน (洪拳)รู้จักกันกันดีในชื่อ หงควิ่น
หรือฮุงก่า หรือ หงเจียฉวน (洪家拳)จัดเป็นกลุ่มสายมวย
ที่เกิดขึ้นในเขต "หลิงหนาน"
ทุกวันนี้ มวยหงฉวนมีชื่อเสียงในการหยั่งรากของท่าม้า
ที่มั่นคง มือสะพานที่แข็งแร่ง
หมัดเหล็กเส้น หมัดเลียนแบบสัตว์ห้าชนิด
และมวยเสือกระเรียน
มวยหงเหมินเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก
และมีสำนักที่มีชื่อเสียงมากมาน
โดยเฉพาะมวยหงฉวนสาย "หว่องเฟย์หง"
และ "หลั่มไซเหว่ง"
.
อย่างไรก็ดี ถิ่นกำเนิดของมวยสกุลหง คือ มณฑล “กวางตุ้ง”
ก็ยังคงมีมวยหงฉวนหลายสายที่ยังคงฝึกฝนกันอยู่ที่นั่น
และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากมวยใต้สายอื่น
.
มวยหงฉวนในกวางตุ้งเป็นที่แพร่หลายใน
เมืองจานเจียง ฮั่วตู่เสียน กวางโจว ฝอซาน
หนานไห่ และซานเต๋อ แต่ละเมืองก็มีมวยหงฉวน
ที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงจนมีเอกลักษณะเป็นของตนเอง
.
มวยหงฉวนในกวางตุ้งที่ยังคงมีการสืบสายอยู่ทุกวันนี้ได้แก่
1. ฮั่วตู่หงฉวน (花都洪拳)
2. เหย่ซีหงฉวน (粤西洪拳)
3. ฝอซานหงฉวน (佛山洪拳)
4. หลินเจียหงฉวน (林家洪拳)
5. จงซานหงฉวน (中山洪拳)
.
ตามหลักฐานพบว่า หงซีกวน (洪熙官, ค.ศ. 1743-1806)
ได้เดินทางมาที่เมืองฮั่วตู่ เมื่อราว ค.ศ. 1782 ซึ่งเป็นช่วงแรกๆ
ที่เขาเข้ามาเป็นสามชิกของหงเหมิน และลูกศิษย์ในยุคแรกของเขา
มาจากภูมิภาคอื่นๆ ของกวางตุ้ง ซึ่งส่วนมาจากมาจากเมื่อฮั่วตู่
ในตอนนั้นมวยของหงซีกวนยัง “เรียบง่าย” และคง “หลักการดั้งเดิม”
จึงทำให้ถือกันว่ามวยสายนี้เป็นมวยสายที่สืบทอด
มาจากหงซีกวนแบบเดิมๆ แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง
จึงทำให้เกิดคำพูดที่ว่า “ถ้าจะดูมวยของหงซีกวน ให้ดูมวยหงฉวนของฮั่วตู่”
.
ส่วนลูกศิษย์ของหงซีกวนที่มาจากภูมิภาคอื่นในกวางตุ้ง
ภายหลังฝึกสำเร็จ ก็กลับไปยังบ้านเกิดของตน
และนำมวยดั้งเดิมที่ตนเคยฝึกมาก่อนผนวกเข้ากับมวยหงฉวน
หรือปรับปรุงมวยจากมวยอื่นที่ตนฝึกมาในภายหลังมวยของหงซีกวน
จึงทำให้มวยหงฉวนแต่ละสายมีความแตกต่างกันไปตามประสบการณ์
และครูผู้สอนแต่ละคน
- จบ –
คลิปประกอบ มวย “ฮั่วตูหงฉวน”
ชื่อเส้นมวย “ฟู่ฮูฉวน” (伏虎拳) หรือมวยเสือ
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นมวยเส้นแรกที่หงซีกวนได้ฝึกฝน

"มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง" ตอนที่ 12
"สิบพยัคฆ์กวางตุ้ง"
(廣東十虎 ; 广东十虎)
.
ช่วงต้นปี ค.ศ. 1800 ช่วงนั้นมีอาจารย์มวยจีน
ที่มีชื่อเสียงมากมายในมณฑลกวางตุ้ง
แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้นคือ
"สิบพยัคฆ์กวางตุ้ง" ได้แก่
.
1. เหลียงคุน (梁坤) จากปั้นหยู
2. หวงฉีอิง (黄麒英) จากฝอซาน
3. ซูฉ่าน (苏乞儿) จากหนานไห่
4. เหลียงเหรินเชา (黎仁超) จากซานโตว
5. เฉิน เที่ยซี (陈铁志) จากไท่ซาน
6. หวังยินหลิน (王隐林) จากเจ้าฉิง
7. หวงเจิงเก๋อ (黄澄可) จากซานชุ่ย
8. ซูเฮยหู่ (苏黑虎) จากซันเต๋อ
9. ตันจี่หยุน (潭济筠) จากซุยซี
และ 10. โจวไท่ ( 周泰)จากจานเหลียง
.
8 ใน 10 ของสิบพยัคฆ์กวางตุ้ง
ได้แก่ เหลียงคุน ตันจี่หยุน หวงฉีอิง หวงเจิงเก๋อ
โจวไท่ เฉินเที่ยจี่ ซูฉ่าน และซูเฮยหู่
เป็นลูกศิษย์ของ "หงเหมินฉวน" หรือ
มวยสายหงเหมิน
แต่ละคนมีฝีมือ และความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน
อาทิ เหลียงคุนเชี่ยวชาญหมักเหล็กเส้น
หวงฉีอิงเชี่ยวชาญท่าเตะไร้เงา
ซุฉ่านชำนาญหมัดเมา และฝ่ามือทรายเหล็ก
ซูเหยหู่ และเฉินเทียนซีชำนาญฉินหน่า
.
ส่วนอีกสิบพยัคฆ์ฯ อีกสองคนไม่ใช่ศิษย์ของหงเหมิน
คือ เหลียงเหรินเชา เรียนมวยจากซานโตว
และหวังยินหลิน เรียน “เซียเจียฉวน”
หรือมวยตระกูลเซี่ย
.
ซูเฮยหู่เป็นผู้ก่อตั้ง “เฮยหู่เหมิน” หรือ “ฮักฝู่หมุน”
( Hak Fu Mun, 黑虎门)
.
หวังยินหลินเป็นอาจารย์ผู้สอน “เซี่ยเจียฉวน”
หรือ “ฮัพกาควิ่น” ( Hap Gar Kuen,侠家拳)
ที่ถ่ายทอดวิชากับ “เติ้งหลง” และ “เติ้งจินเตา”
ซึ่งสองคนนี้ต่อมาได้สอน “เติ้งเจินเจียง” “โจวไป่หง”
“หวังเชายี่” “ปั่นฟู่” “ซูเสี่ยวหวัง” และ “เหลียงยี่กัง”
.
หวงฉีอิง กล่าวกันว่า เรียนมวยมาจากบิดา คือ “หวงไท่”
บ้างก็กล่าวกันว่า เรียนมวยมาจาก “ลู่อาไฉ่”
หรือ “ลุกอ่าฉ่อย” ซึ่งเป็นสมาชิกของหงเหมิน
และได้เรียน “เซียเจียฉวน” จาก “หลี่หู่ซี” จากเสฉวน
.



“หมัดเหล็กเส้นสกุลหง”
Tie Xian Quan (铁线拳, Iron Wire Fist)
.
เหลียงกวั่น หรือเหลียงคุน ( 梁坤; Liáng Kūn
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1815 ตายเมื่อ ค.ศ.1887)
รู้จักกันดีในนาม “สะพานเหล็กสาม”
หรือ “ทิตกิ่วซาม” (Tit Kiu Sam)
และเป็นที่รู้จักกันในนาม
“อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมวยสกุลหง”
เขาเป็นหนึ่งในสิบพยัคฆ์กวางตุ้ง
ซึ่งเป็นกลุ่มของสิบนักสู้ชั้นยอดแห่งมณฑลกวางตุ้ง
.
เหลียงคุนเรียนมวยมาจากอาจารย์วัดเส้าหลินชื่อ
“หลี่ฮู่ซี” (Li Huzi) ฉายา “เครายาวแซ่หลี่”
เชี่ยวชาญในอาวุธตะขอ หรือเกา
จนได้รับฉายาว่า “ตะขอทองคำ”
.
และเขามีอาจารย์เป็นหลวงจีนทิเบตชื่อ
“สิงหลุง” จึงทำให้เขามีวิชา “สีจี่โฮ่ว”
หรือพลังสิงโตคำรามอีกด้วย
(เป็นวิชาพลังภายในอย่างหนึ่ง)
.
เขาชอบเรียนศิลปะการต่อสู้
และท่องเที่ยวไปทั่วเพื่อหามิตรสหาย
และอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่
บ่อยครั้งที่เขามักจะพบกับหลวงจีนวัดเส้าหลิน
จึงทำให้เขาได้ฝึกมวยเส้าหลินจนเชี่ยวชาญ
และมีพื้นฐานที่มั่นคง
.
ต่อมาเขาได้เดินทางมาสอนมวยที่
“โรงย้อมผ้าก่วงซี”
ที่ตั้งอยู่ที่สะพานสายรุ้งในกวงโจว
ที่นั่นเองที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมาก
.
เหลียงคุนเกิดในรัชสมัยของจักรพรรดิเจียชิง
(ค.ศ. 1796–1821) และตายในปีที่ 12-13
ของรัชสมัยพระเจ้ากวงซู (ค.ศ. 1887 ถึง 1888)
เขาถึงแก่ความตายเพราะ “การฝึกหนักเกินไป”
ในวิชา ”พลอง(แทง)ห่วงทองแดง 36 จุด”
(36 จุด น่าจะหมายถึง 36 จุดบนร่างกายมนุษย์)
ภายใต้การสอนของหลวงจีน “หยวนกวง”
แห่งอารามไห่ตง
.
เหตุที่เหลียงคุนตาย
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาสูบฝิ่นมานานปี
หลวงจีนหยวนกวงแนะนำให้เขา
หยุดพฤติกรรมสูบฝิ่นในทันที
(หมายถึงหักดิบ) และให้ฝึกพลองดังกล่าว
แต่การฝึกหนักมากเกินไป
ประกอบกับอายุที่มากแล้ว
เขาจึงป่วย และตายเมื่ออายุ 70 ปี
.
เหลียงคุนมีชื่อเสียงในหมัดเหล็กเส้น
และมวยเส้นนี้จัดเป็นมวยชั้นสูงในสำนักมวยฮุงก่า
.
หมัดเหล็กเส้นของเหลียงคุนขึ้นชื่อว่า
“กร้าวแกร่ง” น้อยคนนักที่จะฝึกสำเร็จ
หนึ่งในนั้นได้แก่ “ชอยจ่าน” “เกี้ยวหยู”
“โหงวเฮกุน” “หม่าจีติม” และ “หลั่มฟุกซิง”
ซึ่งเป็นอาจารย์ของหว่องเฟย์หง
.
สรุปลำดับสายวิชาหมัดเหล็กเส้นคือ
เหลียงคุน --> หลั่มฟุงซิง --> หว่องเฟย์หง
- จบ
รูปประกอบ รูปนี้เชื่อว่าเป็นรูปวาดของเหลียงคุน

- จบ –




มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และต่งฟ่ง ตอนที่..
“ฮั่วตู่หงฉวน” หรือ ฟาโต่วหงฉวน (花都洪拳)
ตอนที่ ๑ (มีสามตอน)
.
รูปแบบมวยหงฉวนแบบดั้งเดิมต้องดู
มวยหงฉวนแห่งหมู่บ้านฮั่วตู่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ “หงซีกวน”
ที่นั่นยังคงยึดถือรูปแบบมวยหงฉวนแบบ “ดั้งเดิม”
.
การฝึกฝนที่หมู่บ้านนี้ฝึกผนจนเป็นชีวิตประจำวัน
และถือว่าเป็น “การละเล่นอย่างหนึ่ง”
.
รูปแบบการฝึกที่นี่แตกต่างจากการฝึกมวยหงฉวนสายอื่น
คือ “ระบบหนึ่งลูกศิษย์หลายอาจารย์”
ตามแบบของการฝึกมวยหงฉวนแบบดั้งเดิม
กล่าวคือ ลูกศิษย์จะได้เรียนกับอาจารย์หลายคน
ซึ่งอาจารย์แต่ละคนจะมีความรู้แต่เฉพาะวิชามวยของตนตน
เช่น ถ้าจะเรียนฟูฮู่ฉวน จะต้องไปเรียนกับอาจารย์เอ
มวยกระเรียนต้องไปเรียนกับอาจารย์บี
ส่วนมวยเหล็กเส้นต้องไปเรียนกับอาจารย์ซี
.
หลักการฝึกแบบนี้ “เรียบง่าย” และ “เป็นไปในทิศทางเดียว”
เส้นมวยประกอบด้วย ”ฟูฮู่ฉวน” หรือมมวยเสือ
(มวยหลักของหงซีกวน) “ซ่านจานฉวน”
และจะฝึกมวยเพิ่มขึ้นไปอีก ๖-๗ เส้น
เรียกได้ว่า “ได้พื้นฐานต่างๆ ของทุกคนจะเหมือนกัน
แต่มวยที่ตนชำนาญมีเพียงหนึ่ง”
.
ตรงกับสำนวนที่ว่า “เรียนรู้ให้มาก ชำนาญเพียงหนึ่ง”
.
- จบ ตอนที่ ๑
รูปประกอบ การฝึกมวยหงฉวนในหมู่บ้านฮั่วตู่

    "เส้นมวย"
.
เส้นมวย หมายถึงลำดับของท่ามวย
ที่ทำต่อเนื่องกันดีแล้ว
.
เส้นมวยมีอยู่สามประเภท
คือ "เส้นมวยสืบทอด" "เส้นมวยประยุกต์"
และ "เส้นมวยเฉพาะตัว"
.
"เส้นมวยสืบทอด" หมายถึง เส้นมวยที่สืบทอดมา
จากอาจารย์ หรือเส้นมวยตระกูล
เช่น มวยไท่จี๋สกุลเฉิน
.
เส้นมวยสืบทอดเป็นเส้นมวยที่เหมือนกัน
ทั้งหลักการ รูปของมวย ท่าทาง พลังที่ใช้
ซึ่งสามารถอธิบายเพราะมีหลักการร่วมกัน
เช่น เมื่อพูดถึงฉันซือจิ้ง จะเข้าใจได้ทันที
เป็นหลักการสำคัญของมวยไท่จี๋ตระกูลเฉิน
.
"เส้นมวยประยุกต์" เป็นเส้นมวยที่เกิดขึ้น
จากเส้นมวยสืบทอด แต่ได้ตัดท่าบางท่าออก
เพื่อวัตถุประสงค์บางประการ เช่น
เพื่อการสอนทหารในระยะสั้น
และเพิ่มหลักการบางการ เช่น การประยุกต์ใช้
เข้าไปทดแทนทนจุดบอดเรื่องการถ่ายทอดหลักการ
ที่ไม่ครบ เช่น หลักการหนึ่งคนสามอาวุธ
ของมวยสิ่งอี้ของฮวงโป่เหนียน
ที่ใช้สอนทหารในกองทัพจีนช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่น
ครั้งที่สอง ฮวงโป่เหนียนได้พัฒนาท่าดาบปลายปืน
ขึ้นมาเป็นการเฉพาะโดยนำหลักการของทวนสิ่งอี้
มาประยุกต์
.
เส้นมวยประยุกต์นี้ มักเป็นมวยที่ถ่ายทอดได้ไม่ครบ
หรือมีการตัดทอนท่าบางท่าออก แต่ได้เพิ่มท่าอื่นๆ
เข้าไปที่เห็นว่าเหมาะสม
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ถ่ายทอดเป็นสำคัญ
ซึ่งมักเป็นผู้สอนที่มีประสบการณ์มากอยู่แล้ว
.
"เส้นมวยเฉพาะตัว" หมายถึง เส้นมวยที่มีลักษณะ
ผสมผสานระหว่างเส้นมวยสืบทอดกับเส้นมวยประยุกต์
โดยผู้คิดค้นมักเป็นผู้เชี่ยวชาญในมวยต่างๆ
แต่เมื่อฝึกไปนานวันกับพบว่าเส้นมวยนั้น
มีลักษณะที่ไม่เหมาะกับตน เช่น อุปนิสัย สรีระ
จึงได้รวบรวมเอาท่ามวยที่ตนได้ร่ำเรียนมา
แล้วทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์
จากภูมิความรู้ที่ตนชำนาญอยู่แล้ว
จนกลายเป็นเส้นมวยใหม่ขึ้นมาอีกเส้น
หรือกลายเป็นเส้นมวยย่อยออกมาจากเส้นมวยหลัก
.
ส่วนใหญ่อาจารย์ผู้ชำนาญจะสามารถจำแนกเส้นมวยนี้
ออกมาเป็นเส้นมวยเฉพาะตัว เช่น เส้นมวยท่าเท้าของ
มวยใต้ ซึ่งสาธิตโดยอาจารย์ Chiwin Taifudo ซึ่งได้
สังเคราะห์ท่าเท้าของมวยฮุงก่า และมวยใต้อื่นๆ
ออกมาเป็นเส้นมวยของตนเอง เพื่อวัตถุประสงค์
ในการถ่ายทอดวิชา และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษา
นั้นเท่านั้น ส่วนเส้นมวยสืบทอดของมวยฮุงก่าหลักๆ
ท่านก็ยังสอนอยู่เช่นเดิม เช่น ฟู่ฮกเสียงยิ่งควิ่น
กงจี่ฟุ๊กฟูควิ่น
.
เส้นมวยเฉพาะตนนี้ ต้องเกิดจากความรู้
และประสบการณ์ระดับอาจารย์ หรือมีความเชี่ยวชาญ
ในมวยนั้นอย่างหาตัวจับยาก มิฉะนั้น เส้นมวยนั้น
จะเป็นมวยที่เกิดขึ้นจากจินตนาการเพียงอย่างเดียว
โดยขาดความรู้รองรับ ซึ่งกลายเป็นเรื่อง
"มโน" เอาแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
.
อย่างไรก็ดี เส้นมวยประเภทสุดท้ายนี้
ผู้คิดค้นจะต้องอธิบายได้ว่านำมาจากมวยไหน
ตระกูลอะไร ใครเป็นผู้สอน ความรู้ที่เกิดขึ้น
จึงจะเป็นที่ยอมรับในวงการมวย
.
"...เรียนรูปแบบเพื่อทราบรูปแบบ
ทราบรูปแบบเพื่อวิเคราะห์ปัญหา
วิเคราะห์ปัญหาเพื่อสังเคราะห์รูปแบบ
สังเคราะห์รูปแบบเพื่อสร้างรูปแบบ..."
.
-จบ-


มวยฮุงก่าสายหลั่มไซเหว่ง และตั่งฟ่ง ตอนพิเศษ
"มวยฮุงก่า韓開 ฮอน ฮ้อยหรือหาน ไค"
.
มวยฮุงก่าสายนี้ สืบสายมาจากหว่องเฟย์หง
(รุ่นหนึ่ง) หลั่มไซเหว่ง(รุ่นสอง) ฮอนฮ้อย(รุ่นสาม)
(รูปแรก) และโหงวปิงควิ่น (รุ่นปัจจุบัน) (ภาพที่สอง)
((Ng Ping Kuen Sifu(吳炳權師傅))
.
มวยฮุงก่าสายนี้ โดดเด่นที่ทิตซิ่นควิ่น
หรือหมัดเหล็กเส้น และหงอหลงปัตกว๋ากวั่น
หรือพลองยาวแปดเหลี่ยม
.
คำว่า แปดเหลี่ยม นั้นไม่ได้ความว่า
พลองนั้นมีแปดเหลี่ยม แต่คือการอธิบายหลักการใช้
ตามกลอนของพลองยาวแปดเหลี่ยมดังนี้
.
"มหาสุดยอด" (หรือไท่กิก (ไท่จี๋))
ก่อให้เกิด "สองเสา" (เหลียงยี่)
สองเสาทำเกิด "สี่ภาพ" (เซ่เจี่ยง)
สี่ภาพแปลงเป็น "แปดเหลี่ยม" (ปัตกว่า)
แปดเหลี่ยมกลายเป็น "หยัมเหยียง (หรือหยินหยาง)"
.
"มหาสุดยอด" หมายถึง ภาวะก่อนกำเนิด
คือ เส้นวงกลมแนวระนาบซึ่งกำหนด
รัศมี (ระยะ) การใช้พลองยาว
.
"เสาสอง" หมายถึง การเคลื่อนไหวตามเข็มนาฬิกา
และการเคลื่อนไหวทวนเข็มนาฬิกา
.
"สี่ภาพ" หมายถึง เทคนิคการป้องกันขั้นพื้นฐาน
สี่ทิศทาง ได้แก่ ล่างซ้ายและขวา
บนซ้าย และขวา และการโจมตีพื้นฐาน
จาก 4 ทิศทางหลัก
.
"แปดเหลี่ยม" หมายถึง เทคนิคการโจมตี
แบบดุดัน 8 ประการ
.
เมื่อสี่หลักรวมเป็นหนึ่งย่อมก่อให้เกิดหยินหยาง
.
- จบ





 

Create Date : 07 มีนาคม 2560
1 comments
Last Update : 7 มีนาคม 2560 4:47:28 น.
Counter : 2992 Pageviews.

 

สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: peepoobakub 7 มีนาคม 2560 17:20:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 2731558
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2731558's blog to your web]
space
space
space
space
space