โบราณสระบุรี : เมืองขีดขิน


ตำนานเมืองขีดขิน(รามปุระนคร-เสนาราชนคร-เมืองปรันตปะ)โดยย่อ ตามพงศาวดารเหนือ
เมืองขีดขิน หรือ รามปุระนคร หรือเสนาราชนคร ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางแห่งมหาอำนาจ มีอาณาเขตการปกครองกว้างใหญ่ไพศาล มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า ๑,๔๒๗ ปีมาแล้ว
มีกษัตริย์ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้หลายพระองค์รวมทั้งพระเจ้ารามราชและพระนางเจ้าจามเทวี
ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปกครองรามปุระนคร(หรือเสนาราชนคร) 
 

เจ้าชายรามราชได้อภิเศกสมรสกับเจ้าหญิงจามเทวีและในปีพุทธศักราช ๑๑๙๘  ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครองรามปุรนคร(ปัจจุบันคือเมืองขีดขินเมืองเก่าแห่งบ้านคูเมือง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี) อาณาประชาราษฏร์ต่างจุดประทีปโคมไฟเฉลิมฉลองทั่งทั้งพระนครอย่าง
สมพระเกียรติและยิ่งใหญ่ ทั้งสองพระองค์ทรงปกครองรามปุรนครด้วยทศพิธราชธรรม บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยพระเมตตาบารมีเสมอมา 
 

กาลเวลาสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชตามพงศาวดารเหนือ (ฉบับพระวิเชียรปรีชา(น้อย) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า“สมเด็จพระเจ้าไกรสรราช พระราชโอรสของพระเจ้าศรีธรรมปิฏกหรือ
พระเจ้าพรหมมหาราชแห่งนครโยนกเชียงแสน พระราชบิดาส่งพระองค์ลงมาครองเมืองละโว้ ภายหลังปี พ.ศ. ๑๕๐๐ อันเป็นเมืองลูกหลวงทางใต้ในสมัยนั้น  พระองค์เสกสมรสกับพระนางสุลเทวี ราชธิดาแห่งกรุงศรีสัชนาลัย ทรงมีพระโอรส ๑ องค์ พระนามว่า “พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช” ซึ่งในเวลาต่อมาถูกส่งไปครองเมืองเสนาราชนครปี พ.ศ. ๑๗๕๕ 
 

ตามหลักฐานกล่าวว่าเมืองเสนาราชนครตั้งอยู่ห่างจากเมืองละโว้ ๑๐๐ เส้นจากการตรวจสอบของคณะโบราณคดีของกรมศิลปากร ได้สัญจรมาสำรวจเส้นทางเสด็จนมัสการพระพุทธบาทและถนนฝรั่งส่องกล้อง ได้ไปชมเมืองโบราณแห่งนี้ และสัญนิษฐานว่าเมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองเสนาราชนคร
ตามพงศาวดารเหนือจริง เพราะเมืองโบราณแห่งนี้ก็อยู่ห่างจากเมืองละโว้ ๑๐๐ เส้น
 
เมืองโบราณดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านหมอไปทางเหนือประมาณ ๖๐๐ เมตร และห่างจากศูนย์พุทธศรัทธาประมาณ ๓๐๐ เมตร   บริเวณนี้ปรากฏเป็นคูเมือง กำแพงเมืองวัดโดยรอบประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร  สภาพคูเมืองฝังลึกมากหลักฐานการก่ออิฐสอปูนยังปรากฏอยู่บ้าง เคยมีคนขุดค้นพบวัตถุโบราณหลายชิ้น เช่นรูปนายทวารบาล รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งทำด้วยศิลาเป็นต้น
ปัจจุบันวัตถุโบราณดังกล่าวได้นำไปประดิษฐานไว้ในวิหารเล็ก หลังมณฑปพระพุทธบาท 
 

พระเจ้าไกรสรราช ได้ครองเมืองละโว้ ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๔๙ และได้สวรรคตในปี พ.ศ. ๑๗๖๒ รวมสิริเสวยราช ๑๓ ปี อย่างไรก็ดีเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว  พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช แห่งเมืองเสนาราชนคร หาได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองละโว้แทนไม่  ทั้งนี้เพราะพระองค์ต้องรับภาระปกครองดูแลเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นมรดกทางฝ่ายมเหสีอีกโสดหนึ่งด้วย
 

อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่า พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช ยังทรงเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า“พระเจ้าสายน้ำผึ้ง” อันพระราชเทวีมเหสีนั้นเล่าก็ทรงเป็นราชธิดาแห่งพระเจ้าหลวงผู้ครองเมืองอโยธยา ตามประวัติศาสตร์ปรากฏว่า พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราชมีบุญญาธิการมาก ชื่อเสียงเกียรติคุณเลื่องลือไปไกล ถึงกับพระเจ้ากรุงจีนได้ยกราชธิดาคือ “พระนางสร้อยดอกหมาก” ให้ แต่ยังไม่ทันได้เศกสมรสกัน พระนางก็ด่วนสิ้นพระชนม์เสียก่อน พระองค์จึงสร้างวัดพนัญเชิงขึ้นเป็นที่ถวายพระเพลิงศพ   วัดนี้สร้างขึ้นก่อนที่พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีถึง ๒๓ ปี 

 

เมืองเสนาราชนคร ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช ทรงมีราชโอรส ๑ องค์ พระนามว่า พระเจ้าธรรมมิกราช สมัยนั้นเมืองละโว้กับเมืองเสนาราชสองเมืองนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก  เป็นแหล่งการค้าและการศึกษาศิลปวิทยาที่มีชื่อเสียง ตามพงศาวดารโยนกยังกล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนเม็งราย และพญาคำเมือง สมัยที่เป็นพระยุพราชฝ่ายเหนือเคยเสด็จลงมาศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองละโว้  
 

พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราชขึ้นครองเมืองเสนาราชนครเมื่อ พ.ศ. ๑๗๕๔
สวรรคต พ.ศ. ๑๗๙๕ พระโอรสพระนามว่า “พระเจ้าธรรมมิกราช” ได้ขึ้นครองเมืองเสนาราชนครสืบต่อมา

เรื่องราวจากพงศาวดารต่างๆ นี้ล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกับสถานที่ตั้งของศูนย์พุทธศรัทธาในปัจจุบัน
สถานที่ตั้ง บ้านคูเมือง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี 
 
 
ประวัติความเป็นมา
 

บ้านคูเมืองมีอีกชื่อว่าเมืองขีดขิน และตำนานพระพุทธบาทเรียกเมืองนี้ว่าปรันตปราชธานี
พงศาวดารเหนือ (ฉบับพระวิเชียรปรีชา (น้อย)) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "สมเด็จพระเจ้าไกรสรราช จึงสั่งให้เสนาในให้สร้างเมืองใกล้เมืองละโว้ ทาง ๑๐๐ เส้น จึงแต่งพระราชวังและคูหอรบ เสาใต้เชิงเรียงบริบูรณ์แล้ว จึงให้อำมาตย์รับเอาพระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราชกับราชเทวี ไปราชาภิเษกร่วมกัน เมืองนั้นจึงชื่อว่าเสนาราชนคร แต่นั้นมา..."
 

พระเจ้าไกรสรราช ที่กล่าวนี้ คือ พระราชโอรสของพระเจ้าศรีธรรมปิฎก หรือพระเจ้าพรหมมหาราชแห่งนครโยนกเชียงแสน พระราชบิดาส่งพระองค์มาครองเมืองละโว้ ภายหลังปี พ.ศ. ๑๕๐๐ อันเป็นเมืองลูกหลวงทางใต้สมัยนั้น พระองค์เสกสมรสกับพระนางสุลเทวี ราชธิดาแห่งกรุงศรีสัชนาลัย ทรงมีพระโอรสพระนามว่า "พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช" ซึ่งต่อมาถูกส่งไปครองเมืองเสนาราชนครปี พ.ศ. ๑๗๕๔ มีหลักฐานยืนว่าพระเจ้าไกรสรราชครองเมืองละโว้จริง จะเห็นได้จากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) ได้มาสร้างลพบุรีเป็นราชธานีที่ ๒ พระองค์ทรงขนานนามพระที่นั่งองค์หนึ่งว่า "พระที่นั่งไกรสรสีหราช" ที่ว่าเมืองเสนาราชนครอยู่ห่างจากเมืองละโว้ ๑๐๐ เส้นนั้น พอเชื่อถือได้ เมื่อครั้งคณะโบราณคดีสัญจรของกรมศิลปากรมาสำรวจเส้นทางเสด็จนมัสการพระพุทธบาทและถนนฝรั่งส่องกล้อง ได้ไปชม
 

เมืองโบราณแห่งนี้และสันนิษฐานว่าเมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองเสนาราชนครตามปรากฏในพงศาวดารเหนือจริง เพราะเมืองโบราณแห่งนี้ก็อยู่ห่างจากเมืองละโว้ ๑๐๐ เส้น
 

ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองเสนาราชนครเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้ และเป็นเมืองท่าเรือในสมัยนั้นด้วย สมัยนั้นสองเมืองนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นแหล่งการค้าและการศึกษาศิลปวิทยาที่มีชื่อเสียง ตามพงศาวดารโยนกยังกล่าวว่าพ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนเม็งราย พญาคำเมือง สมัยที่เป็นพระยุพราชเจ้าฝ่ายเหนือ เคยเสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองละโว้
 

พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราชครองเมืองเสนาราชนครเมื่อ พ.ศ. ๑๗๕๔ สวรรคต พ.ศ. ๑๗๙๔ ทรงมีพระโอรสพระนามว่า "พระเจ้าธรรมิกราช" ได้ขึ้นครองเมืองเสนาราชนครสืบต่อมา แต่การบูรณะสร้างสรรค์มักไปปรากฏที่เมืองอโยธยาเป็นส่วนมาก
 
 

ตำนานพระพุทธบาทและคำให้การขุนโขลน (ในชุมนุมพงศาวดาร ภาค ๗) กล่าวว่า "ภายหลังรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมทรงค้นพบรอยพระพุทธบาทแล้ว พระองค์ได้ทรงอุทิศที่ดินหนึ่งโยชน์ถวายเป็นพุทธกัลปนาผล บริเวณโดยรอบหนึ่งโยชน์กินเนื้อที่ถึงอำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดนสมัยนี้ด้วย แล้วทรงขนานนามเป็นเมืองว่า "ปรันตปะ" หรือ "เมืองขีดขิน" ดังปรากฏใน "คำให้การขุนโขลน" ตอนหนึ่งว่า "เมืองนครขีดขิน ในพระบาลีเรียกว่า ปรันตปนครราชธานี" เหตุที่เรียกว่าเมืองขีดขินคงเป็นเพราะอิทธิพลเรื่องรามเกียรติ์ที่เล่ากันสมัยนั้นว่า เมื่อเสร็จศึกลงกาแล้วพระรามพระราชทานเมืองละโว้แก่หนุมาน พระราชทานเมืองเสนานครแก่สุครีพ ชาวบ้านจึงเข้าใจว่าเมืองเสนานครคือเมืองขีดขินในเรื่องรามเกียรติ์
 

ตำนานพระพุทธบาทกล่าวเท้าความถึงกรุงศรีอยุธยาตอนหนึ่งว่า "...ถึงสมเด็จพระบิดาพระนเรศ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่หงสาวดีลิ้นดำ ครั้งนั้นคนศีรษะใหญ่เท่าบาตร ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแล้ว พระเจ้าหงสาวดีจึงให้กวาดเอาไพร่บ้านพลเมืองกับพระนเรศวรและสมเด็จพระพี่นางนั้นไป บ้านสัจพันธคามและเมืองสุนาปรันตปะก็สูญไปแต่ครั้งนั้น" ข้อความนี้ส่องว่าเมืองปรันตปะหรือเมืองเสนาราชนคร หรือเมืองขีดขิน ต้องร้างไปในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งแรก
 
 
ลักษณะทั่วไป
 

เป็นที่ราบที่มีคลองชลประทานหรือคลองอนุสาสนานันท์เลียบไปแนวเหนือใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านคูเมือง บ้านคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมน กว้างประมาณ ๓๖๐ เมตร ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร พื้นที่โดยประมาณ ๐.๒๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๐-๘๐ ไร่ ความเจริญของบ้านคูเมืองจัดอยู่ในสมัยลพบุรี(พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘)
 
หลักฐานที่พบ
 

ศิลารูปพระโพธิสัตว์กับรูปทวารบาลหรือเทวบาล (ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระพุทธบาท) อันเป็นศิลปะขอมสมัยเดียวกับพระปรางค์สามยอดลพบุรี หลักฐานอีกประการหนึ่งคือกำแพงเมืองและช่องประตูเมืองด้านทิศตะวันออก
 
เส้นทางเข้าสู่บ้านคูเมือง
 

เริ่มจากตัวเมืองสระบุรีตามทางหลวงหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ไปทางเหนือประมาณ ๗ กิโลเมตรถึงทางแยกบ้านห้วยบง เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวง ๒๐๔๘ (ถนนสายบ้านห้วยบง-ท่าลาน) ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตรถึงบริษัทปูนซีเมนต์ไทยท่าหลวง เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคันคลองชลประทาน ๗ กิโลเมตร ถึงบริเวณที่จะเข้าที่ว่าการอำเภอบ้านหมอ เลี้ยวขวาข้ามสะพานชลประทานสู่ทางหลวง ๓๐๒๒ (ถนนพระพุทธบาท-ท่าเรือ)ประมาณ ๒ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายประมาณ ๑๕๐๐ เมตร ถึงบริเวณบ้านคูเมือง
 
 

ที่มา
https://board.palungjit.com
https://www.prapayneethai.com/



Create Date : 03 ตุลาคม 2559
Last Update : 10 เมษายน 2561 19:04:56 น.
Counter : 1631 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ป้าทุยบ้านทุ่ง
Location :
สระบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



บ้านฉันอยู่กลางทุ่งนา มีปู่ มีย่า มีหมา มีควาย เอิงเงย
New Comments
ตุลาคม 2559

 
 
 
 
 
 
1
2
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
  •  Bloggang.com