ตักบาตรดอกไม้ ๒ ดอกเข้าพรรษาที่วัดพระพุทธบาท




“ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา”

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวพระพุทธบาทที่มีเอกลักษณ์ มีชื่อเสียงในระดับประเทศ และได้รับการโปรโมทว่าเป็น “ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก” จัดขึ้นในวันเข้าพรรษาของทุกปี ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร และมักจะกระทำควบคู่ไปกับประเพณีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน

วิถีปฏิบัติแต่เดิมโดยหลักคือ ชาวพระพุทธบาทจะทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุในตอนเช้าที่ศาลาการเปรียญวัดพระพุทธบาท ช่วงสายหลังจากทำบุญที่วัดแล้ว ชาวบ้านก็จะพากันออกจากบ้านหรือวัดไปเก็บ “ดอกเข้าพรรษา” หรือดอกหงส์เหินที่บานสะพรั่งเฉพาะช่วงเข้าพรรษาตามภูเขาต่างๆ ในพระพุทธบาท เพื่อนำไปทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ โดยเฉพาะที่เขาสุวรรณบรรพต ภูเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และภูเขาอื่นๆ เช่น เขาช้างหรือเขาเซียน เทือกเขาวง เขาถ้ำวิมานจักรี เป็นต้น (ประคอง นิมมานเหมินทร์ 2542 : 2258)

 


ดอกเข้าพรรษาที่อำเภอพระพุทธบาทมีอยู่ 3 สี ได้แก่ สีเหลือง สีขาว สีน้ำเงินหรือสีน้ำเงินปนม่วง ชาวบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับสีของดอกเข้าพรรษาที่นำไปใส่บาตรดังนี้

สีขาว – ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา
                   สีเหลือง – สีแห่งพระสงฆ์
                   สีน้ำเงินหรือสีน้ำเงินปนม่วง – เป็นสีที่หายากที่สุด ชาวพระพุทธบาทเชื่อว่าการใส่บาตรด้วย ดอกเข้าพรรษาสีนี้จะได้บุญกุศลมากที่สุด


ดอกหงส์เหินหรือดอกเข้าพรรษา


ประคอง นิมมานเหมินทร์ (2542 : 2256) ระบุว่าการออกจากบ้านไปหาเก็บดอกเข้าพรรษานั้น ชาวบ้านจะต้องหาฤกษ์ที่เป็นสิริมงคล ระหว่างเดินทางไปก็ร้องรำทำเพลงให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครง มีการหยอกเย้าแหย่กันระหว่างกลุ่มหนุ่มสาว ครั้นเมื่อถึงที่หมายกลุ่มหนุ่มสาวจะพากันแยกออกไปเก็บที่หนึ่ง บรรดาคนเฒ่าคนแก่ก็จะแยกออกไปเก็บอีกที่หนึ่ง


เมื่อเก็บดอกเข้าพรรษามาแล้ว ชาวบ้านก็จะจัดดอกไม้รวมกับธูปเทียน แล้วมารวมตัวกันที่ลานวัดและยืนคอยอยู่ 2 ฟากถนน เปิดช่องว่างไว้สำหรับพระภิกษุสามเณร (ประคอง นิมมานเหมินทร์ 2542 : 2258) ชาวบ้านจะนำดอกเข้าพรรษาถวายพระสงฆ์สามเณรขณะกำลังเดินขึ้นไปทำพิธีเข้าพรรษาที่ “พระอุโบสถ” ภิกษุสามเณรจะนำดอกไม้ไปบูชาพระพุทธรูปภายในพระอุโบสถ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2544 : 172)


ในขณะที่ข้อมูลจากเทศบาลเมืองพระพุทธบาทกล่าวว่าในสมัยก่อน พุทธศาสนิกชนพระพุทธบาทจะมาทำบุญตักบาตรที่วัดในวันอาสาฬหบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 และนิยมทำบุญตักบาตรต่อเนื่องอีก 2 วัน รวมเป็น 3 วัน โดยในวันอาสาฬหบูชา ช่วงเช้าชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวานไปทำบุญตักบาตรที่วัดพระพุทธบาท หลังจากนั้นบรรดาหนุ่มสาวจำนวนมากจะพากันเดินขึ้นไปบนภูเขาโพธิ์ลังกา (เขาสุวรรณบรรพต) และภูเขาพุกร่าง ภูเขาในอำเภอพระพุทธบาท เพื่อหาดอกเข้าพรรษา จากนั้นจะนำมาจัดมัดเป็นกำพร้อมเสียบดอกไม้ธูปเทียนเตรียมใส่บาตรในวันรุ่งขึ้นคือวันเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 เมื่อพระภิกษุรับบิณฑบาตแล้วจะนำดอกไม้ขึ้นไปบูชา “รอยพระพุทธบาท” เมื่อเดินลงกลับมาอีกทางหนึ่ง พุทธศาสนิกชนจะนำน้ำสะอาดใส่ภาชนะไปล้างเท้าพระสงฆ์ ด้วยเชื่อว่าเป็นการชำระล้างบาปของตนที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้น ก่อนที่พระสงฆ์จะเข้าพระอุโบสถ ปวารณาตลอดไตรมาส 3 เดือน






Create Date : 28 กรกฎาคม 2561
Last Update : 28 กรกฎาคม 2561 15:33:48 น.
Counter : 1482 Pageviews.

1 comments
  
น่าไปร่วมประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษามากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:49:13 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ป้าทุยบ้านทุ่ง
Location :
สระบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



บ้านฉันอยู่กลางทุ่งนา มีปู่ มีย่า มีหมา มีควาย เอิงเงย
New Comments
กรกฏาคม 2561

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
All Blog
  •  Bloggang.com