วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ( วัดแขก สีลม )
...วัดแขก ของศาสนาฮินดูที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บูชา พระอุมาเทวี ชายาของพระศิวะ
..........วัดแขกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 โดยคณะชาวอินเดียใต้ ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยนานแล้ว เมื่อนายไวตีฯ และญาติมิตรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนถนนสีลม มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมา ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู .....เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี เป็นประธานองค์เทพและเทพี (เทวี) ต่างๆได้นำมาจากประเทศอินเดีย รวมทั้งพระพิฆเนศวรองค์หนึ่ง ซึ่งคตินิยมของพราหมณ์ฮินดูตอนใต้ถือว่าทรงเป็นเทพที่รักษาพรหมจรรย์ตลอดกาล พระพิฆเนศวรองค์นี้มีลักษณะแบบศิลปะอินเดียตอนใต้ตอนปลาย แฝงไว้ซึ่งความหนักแน่น และมีอำนาจ
..........ชื่อของ " วัดพระศรีอุมาเทวี " นั้นบ่งบอกให้เราได้รู้ถึงนิกายผู้ก่อตั้งนับถือว่าเป็น ศักติ คือนับถือเทพสตรีเป็นหลัก .....เทพสตรีอย่างพระศรีอุมาเทวี หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า " เจ้าแม่อุมา " นั้น เป็นพระมเหสีของพระอิศวร ถือได้ว่าเมื่อยามที่พระองค์ทรงเสวยร่างเป็นเจ้าแม่อุมา จะเป็นเจ้าแห่งความเมตตาและงามสง่า ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธาจึงนิยมไปกราบไหว้บูชา และขอพรมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความรัก และเรื่องการขอบุตรนั้น ได้ชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์
..........ในระยะแรกๆนั้นมีการตั้งรูปเคารพ " มารีอามัน " หรืออีกนัยหนึ่งว่า พระศรีอุมาเทวี ซึ่งตอนนั้นมีความเชื่อว่า มารีอามัน คือ เทวีผู้บำบัดปัดเป่า และรักษาไข้ทรพิษ และเป็นเทพที่ชาวทมิฬให้ความเตารพนับถือมาแต่โบราณ ถนนสายหนึ่งที่ชาวบ้านทมิฬเข้ามาตั้งรกรากคือ " วินด์มิลล์ โรด " ( Windmill Road ) ชาวดัชน์ ซึ่งมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือฮอลแลนด์ มาตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ไว้ที่หัวมุมถนน ฉะนั้นภายหลังจึงมีการเรียกถนนสายนี้ว่า " สีลม " ในย่านนั้นสมัยก่อนโน้นเป็นไร่อ้อย ท่ามกลางไร่อ้อยจะมีต้นสะเดาอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งประดิษฐานรูปเคารพของพระมหาเทวี ตรงบริเวณนี้จึงมีความชุ่มเย็น และเป็นธรรมชาติ ด้วยมีลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรด้วย ด้วยเหตุนี้งานประเพณีนวราตรีของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี คนทรงพระแม่ซึ่งทูนหม้อกลาฮัม จึงตกแต่งยอดด้วยใบและดอกสะเดาแขก

..........ต้องยอมรับว่าประเพณีแห่เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีนั้น เป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่า เป็นผลผลิตจากเทวาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่ได้มาจากสายของตำหนักทรงทั้งหลาย แต่กระนั้นตำหนักทรงหลายแห่งหนนิยามมาเข้าเฝ้า และทำหน้าที่เปิดตำหนักสัญจรบนเส้นทางที่พระเทวียาตราผ่าน แต่นั่นเป็นเพียงการจัดฉากเท่านั้นเอง เพราะอย่างไรเสียก็ต้องให้เกียรติกับเจ้าของงาน
..........วัดพระศรีอุมาเทวีได้จดทะเบียนเป็น " มูลนิธิวัดพระศรีอุมาเทวี " เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 งานประเพณีนวราตรีนั้นเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานับร้อยปี อาจหายไปบ้างในช่วงภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 .....มีความเชื่อว่าช่วงเวลาของประเพณี ดูเซร่า หรือ นวราตรี จะเป็นช่วงที่พระแม่ และขบวนเทพเสด็จลงมายังโลกเพื่อประทานพรให้กับมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะวันสุดท้าย เรียกกันว่า " วันวิชัยทัสมิ " ( วันแห่งชัยชนะ ) ซึ่งจะเป็นวันที่ฉลองชัยขององค์พระแม่ที่มีต่ออสูร และหมู่มารร้าย ซึ่งงานดังกล่าวแต่ละท้องถิ่นก็จะมีตำนานแตกต่างกันไป

..........วัดแขกเดิมเป็นสถานที่จำเพาะของผู้นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น ในตอนบ่ายจะมีการปิดโบสถ์ เพื่ออ่านรามเกียรติ์สรรเสริญพระเป็นเจ้า .....เทศกาลที่ชาวเมืองมีโอกาสเข้าร่วมด้วยคือ เทศกาลแห่เจ้าแม่วัดแขก ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี เทศกาลนวราตรี หรือเทศกาลดุชเซร่า มีการจัดขบวนอัญเชิญเจ้าแม่แห่ไปตามถนนรอบชุมชนฮินดู จากถนนสีลมไปยังเดโช แล้วย้อนมาที่ถนนปั้นไปออกถนนสาธรแล้ววกกลัมาที่ถนนสุรศักดิ์ เพื่อมายังหน้าวัดที่ถนนสีลมอีกครั้งหนึ่ง
..........ในปัจจุบันวัดแขกเปิดกว้างเพื่อต้อนรับผู้คนมากขึ้น ทั้งผู้มีจิตศรัทธาองค์พระศรีมหาอุมาเทวี ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆก่อนแล้ว รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และมีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบอินเดียตอนใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคปุระ หรือซุ้มประตูตกแต่งเป็นรูปปั้นเทพเจ้าต่างๆ

Create Date : 28 กันยายน 2552 |
|
3 comments |
Last Update : 28 กันยายน 2552 14:14:53 น. |
Counter : 2665 Pageviews. |
|
 |
|