บทความ...เนื้อหา...ถ้อยคำ...ตำนาน...ยังไม่สมบูรณ์นัก ค้นหาปัจจัยอันแท้จริง อีกครั้งอ่ะ..... .....เพราะว่า อาย ลัฟ ญู

<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
4 พฤศจิกายน 2552
 

ชวนพิสมัย...ศิลปะหุ่นคน

แว่วเสียงเพลงบรรเลงด้วยกลอง เน้นท่วงทำนอง สอดคล้องสำเนียงเสียพม่าผสม มโนราห์บูชายันต์ เป็นจังหวะของห้องดนตรี ที่ไม่พ้องจองกับความเคยชินในแถบถิ่นดินแดนแคว้นสยามสักเท่าใดนัก อีกทั้งท่าทางขยับเขยื้อนสรีระของเจ้าหุ่นกระบอกร่างเท่ามนุษย์ ภายใต้กำมือของผู้เชิดที่กำลังชักใยกุมบังเหียนอยู่ด้านหลัง ยิ่งพอกวาดสายตาไปเก็บรายละเอียดทุกกระเบียดนิ้วของเสื้อผ้าอาภรณ์ ที่บรรจงปักดิ้นเงินดิ้นทองเรียร้อยลูกปัดสารพัดสี จวนจนสีสันของเมคอัพบนใบหน้า และเรือนกายที่ขาวโพลน เขียนคิ้วเป็นเส้นโก่ง วาดขอบปากเรียวเล็กบ่งบอกความรู้สึกบนใบหน้าด้วยสีสันลวดลายกนกลงบนพื้นตัวละครทั้งหุ่นทั้งคนมาเสกผสมเป็น " หุ่นคน "



..........อาจารญื ณัฐวัฒน์ บำรุงพานิช เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นการแสดงหุ่นคน อาจารย์ได้อธิบายถึงการแสดงหุ่นคน ว่าเป็นการประยุคต์ศิลปะ โดยการผสมผสานศิลปะการแสดงต่างๆ โดยการนำเอาเหตุการต่างๆ ในวรรณกรรม และวรรณคดี ตลอดจนวิถีชีวิตของสังคมไทยมาดัดแปลงแต่งเติมให้เป็นบทแสดง .....การแสดงหุ่นคนจึงเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมของไทยได้เป็นอย่างดี ..... ศิลปะการแสดงหุ่นคนมีต้นกำเนิดจากหุ่นหลวง หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก และระบำรำฟ้อนมาผสมผสานกันระหว่างศิลปะการเชิดหุ่น และหนังใหญ่ต่างๆ ตลอดจนการแสดงแบบสากล ประกอบกับท่าทางลีลาของผู้แสดงให้ออกมาเป็นเรื่องราว โดยนำเอาเหตุการต่างๆในวรรณกรรม และวรรณคดี ตลอดจนวิถีชีวิตของสังคมไทยดัดแปลงแต่งเติมให้เป็นบทแสดงแล้วประยุคต์ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างคนกับหุ่น หรือคนเรียนแบบหุ่น โดยได้นำวิธีการเชิดหุ่น รูปแบบการแสดง การดำเนินเรื่อง ตลอดจนการแต่งกายของหุ่น เพื่อให้เข้ากับปัจจุบัน เป็นการแสดงร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ



อีกทั้งยังเป็นแนวทางการอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะที่กำลังจะถูกลืม นอกจากนี้ยังได้นำการแสดงมาปรับปรุงใหม่ โดยใช้คนแทนหุ่นหลวง และยังคงรักษารูปแบบเดิมของการแสดงหุ่นแต่ละประเภทไว้ เพียงแต่เปลี่ยนจากหุ่นมาเป็นคนเท่านั้น

...........เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งมีการแสดงหุ่นคนดังกล่าวในตอนนั้นยังไม่มีแบบฉบับที่แน่ชัด และไม่สวยงามมากนัก หลังจากนั้นจึงได้พัฒนารูปแบบมาเรื่อยๆ กระทั่งเมื่อปี พ.ศ 2543 จึงได้รับนิยมอย่างดีจากกระแสสังคมที่เริ่มยอมรับศิลปะการแสดงหุ่นคน ด้วยเป็นเพราะว่าความแปลกนั่นเอง

...........วิธีการเชิดหุ่นคน ผู้เชิด สำหรับอันดับแรกที่แต่ละคนจะต้องเรียนรู้ก็คือพื้นฐานด้านการรำ ผู้เชิด 4 คน จะต้องรำท่าเดียวกันหมด ในส่วนของคนเชิดก็จะต้องฝึกการเดิน การยกตัวที่เป็นหุ่นให้ได้ แล้วก็มีเรื่องเทคนิคการเป็นหุ่น เพราะว่าจะต้องทำตัวให้เหมือนตัวหุ่นละครเล็ก ( หุ่น ) .....ผู้แสดงเป็นหุ่น จะใช้วิธีการจินตนาการว่าเราเป็นหุ่น คือจะสังเกตุได้ว่าการเป็นหุ่นจะต้องตัวอ่อน เนื่องจากหุ่นไม่มีชีวิต ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ เราจะต้องเป็นอย่างนั้นให้ได้



..........ในการแสดงแต่ละครั้งนั้น ประกอบไปด้วยตัวหุ่นและคนเชิด โดยปกติจะมี 4 คนเชิดต่อหุ่น 1 คน บางตรังใช้คนเชิด 1 คน ต่อหุ่น 1 ตัว หรือคนเชิด 5 คน ต่อหุ่น 1 คน แล้วแต่ชุดการแสดง ซึง่ตัวหุ่นก็จะแบ่งไปตามเรื่องราวของวรรณคดี ทั้งหนุมาน นางเบญจกาย นางกินรี หรือว่าพรานบุญ เป็นต้น .....จุดเด่นของหุ่นคนอยู่ที่ลักษณะของการแต่งกาย และการแต่หน้าผู้ที่แสดงเป็นหุ่นจะต้องทาหน้าขาวให้เหมือนกับว่าเป็นหุ่นจริงๆ และเขียนคิ้ว ตา จมูก ปาก ให้เป็นไปตามลักษณะของตัวละครที่วรรณคดีได้ให้ไว้ .....ส่วนรูปแบบของการแต่งกายของหุ่น จะแต่งการเรียนแบบหุ่นละครเล็กตามแต่เนื้อเรื่องที่จะเล่น ส่วนเครื่องแต่งกายของผู้เชิด เน้นที่ชุดสีดำใส่เสื้อราชประแตนสีดำ นุ่งโจงกระเบนสีดำ ประดับด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง จุดดึงดูดสำคัญที่นำคนมาแสดงเป็นหุ่น คือ คนดูจะตกใจมาก ยิ่งเวลาแสดงจริงจะแต่งหน้าให้ขาว เขียนคิ้ว เขียนปากให้เหมือนหุ่นแล้ว คนที่ดูจะนั่งทายกันว่านี่คน หรือหุ่น

อนาคตความอยู่รอดของศิลปะวัฒนธรรมไทยหากได้รับการสืบทอด และพัฒนาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ประจักในคุณค่า และร่วมดำรงรักษามรดกทางภูมิปัญญาของศิลปินพื้นบ้านไทย

สถานที่ผลิตผลงานศิลปะ มหาวิยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เลขที่ 18/18 ตำบลบางโลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 - 2312 6387





Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2552 16:56:53 น. 0 comments
Counter : 6412 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Kasaem
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ปกติเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ เพราะจะอ่านกระโดดแล้วไม่รู้เรื่องจึงหันมาบังคับตัวเองให้เขียนลงในบลอค
[Add Kasaem's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com