รถไฟฟ้าสายสีส้ม : ความใส่ใจจะ find the way
ตามที่ทราบกันดีว่า รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี ซึ่งนับเป็นสายที่ 2 ที่จะสร้างใต้ดินนั่นเอง เรื่องผลประโยชน์ไม่ต้องพูดถึง เพราะใต้ดินแม้สร้างยากแต่ย่อม generate income ได้มากกว่าลอยฟ้าอยู่แล้ว เพราะทรัพยากรมีมากกว่า แต่ไม่ดราม่านะ ให้คู่กรณีทำความเข้าใจพูดคุยกันเอง

เอาเป็นว่าผู้ที่เข้าร่วมประมูลย่อมมีแรงจูงใจที่ไม่ต่างกันมากในการลงสนามแข่ง คือถ้าไม่สู้คงไม่มาซื้อซองตั้งแต่ต้นประมาณนั่้น เสียเวลาตื่นเช้าทำไม 

ประเด็น แม้ว่ารฟม. จะเปลี่ยนเกณฑ์หรือไม่เปลี่ยน แต่เราต้องถามตัวเองว่าเราต้องการอะไรจริงๆ จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินอีกสาย คงไม่ใช่เพื่อเอาไว้นั่งลอดใต้แม่น้ำเล่นแน่นอน ไปนั่งเรื่อไม่ดีกว่าหรือถ้างั้น

คือถ้านับย้อนไปตั้งแต่มีรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก สีน้ำเงิน เจ้า blue metallic ประชาชนตื่นเต้นกันมากทีเดียว ไม่รวมนับส่วนต่อขยายที่เปิดมาได้ 1 ปี ลอดใต้แม่น้ำ บางคนก็น่ารัก กะมาดูอะควอเรี่ยมใต้น้ำกันเลยทีเดียว นับเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ที่พระเจ้าประทานให้อย่างหนึ่งในการเดินทางใต้ดินเลย

แต่ก็ตามที่รู้กันก็เคยมีอุบัติเหตุรุนแรงเมื่อเดือนมกราคม ปี 2548 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม แบบไม่ต้องดราม่า มันเป็นเรื่องเหนือความคาดคิดว่า แค่การปลดเบรกจะทำให้รถไหลอย่างรวดเร็ว 80 km/h พุ่งไปชนรถอีกขบวนที่เตรียมออกจากสถานี ความเร็วจากการกระแทกทำให้ผู้โดยสารบาดเจ็บเกือบ 300 คน โอเคมันไม่ตกรางและอีกขบวนที่มาชนเป็นรถเปล่า แต่คิดว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมที่ติดอยู่ในรถกับผู้โดยสารที่บาดเจ็บ จนถึงปัจจุบัน บางส่วนอาจยังมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังหลงเหลืออยู่บ้าง มันคือผลพวงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุยานพาหนะ เกิดการกระแทก 

บางคนอาจคิดว่าแค่บาดเจ็บไม่น่ามีอะไร แต่สำหรับบางคนเค้าเจ็บปวดเรื้อรังจนทำให้การเคลื่อนไหวไม่สะดวก ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพได้นะ ไม่สนุกกับความเจ็บปวดตลอดเวลา อันนี้ถึงแม้มีตังค์ก็ไม่เท่าสุขภาพที่ดี

ไม่ใช่การฟื้นฝอยหาตะเข็บหรือรูรั่ว แต่อุบัติเหตุแบบนี้ครั้งเดียวก็เกินพอ ทุกคนคงพอมองภาพออกว่ารถไฟวิ่งใต้ดินและในอุโมงค์ เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา นอกจากต้องวางใจในระบบ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานต้องทำตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัดเท่านั้น

โอกาสดีมาบรรจบกำลังจะก่อสร้างอีกสาย ควรจะต้องเซฟความปลอดภัยในทุกด้านหรือไม่ ประเด็นมันอยู่ที่ความเชี่ยวชาญของการก่อสร้างจริงหรือ คือจริงๆ ถ้าเป็นไปได้ 2 B ก็รวมกันไปเลยสิ อีก B ชำนาญเรื่องก่อสร้างและเดินรถ อีก B ชำนาญเรื่องบริหารสินทรัพย์และลงทุน จับมือกันไปทำสายประวัติศาสตร์เลย หลายคนอุทาน อิหยังวะ แต่ช่างมันเถอะ 

นี่คือตัวอย่าง ถ้าเราใส่ใจในทุกมิติ ยกระดับความปลอดภัยและเห็นแก่สวัสดิภาพของผู้โดยสารจริง ก็ต้องทำการบ้านหนักหน่อย ทั้งเรื่องก่อสร้าง บริหารระบบ ฝึกอบรมพนักงาน ลงทุนระบบความปลอดภัยทุกด้าน ดูแลผู้โดยสารให้มีความมั่นใจ หรือบางทีอาจต้องทำวีดีโอสาธิตในรถไฟฟ้าถึงวิธีการโดยสารอย่างปลอดภัย รวมถึงในกรณีฉุกเฉิน ที่ไม่ใช่กดปุ่มแจ้งพนักงาน แต่มันคือการเตรียมตัวเตรียมท่านั่งอย่างไร กรณีรถไฟฟ้า 2 ขบวนวิ่งเข้าใกล้กันมากเกินไปแบบผิดปกติ อาจต้องมีวิธีการแจ้งเตือนให้รู้ แบบบนเครื่องบินยังมีท่ากอดคองอเข่าใช่ไหม รถไฟฟ้าก็ไม่ต่างกัน จากคำบอกเล่าของผู้ประสบเหตุจากเหตุการณ์ครั้งนั้น อยู่ๆ ก็มีเสียงดังแล้วทุกคนก็ลอยและล้มไปในทิศทางเดียวกัน มันคืออุบัติเหตุจากการกระแทกนั่นเอง สิ่งเหล่านี้ผู้โดยสารจำเป็นต้องรู้เพื่อเซฟตัวเอง 

ผู้ท้าชิงต้องคิดอะไรได้มากกว่านี้อยู่แล้ว อย่าเอาเวลามาตบตีกัน ถ้าใส่ใจกันจริงๆ และไม่มองผลประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก มันต้องทำการบ้านและลงมือทำ ใส่ใจในเรื่องที่ต้องใส่ใจ คนที่จะได้รับงานคือคนที่คู่ควรจริงๆ



Create Date : 01 ตุลาคม 2563
Last Update : 1 ตุลาคม 2563 17:50:43 น.
Counter : 850 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 1140693
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2563

 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
30
31
 
All Blog