Image hosting by Photobucket

Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
5 กรกฏาคม 2548
 
All Blogs
 
รักหัวใจใส่ใจโคเลสเตอรอล


ในปัจจุบันพบว่า การป่วยด้วยโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจนมีบางคน กล่าวว่า การเป็นโรคเบาหวาน เป็นเสมือนหนึ่งว่า ได้มีโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยแล้ว

ท่านอาจมีเพื่อน ญาติ คนรู้จักในสังคม ที่จากไปอย่างกะทันหัน เนื่องมาจากโรคหัวใจ หลายๆ คนจากไปในวัยที่ยังทำงาน ทำประโยชน์ ให้ครอบครัวและสังคม

จากสถิติจากกระทรวงสาธารณสุข ล่าสุดระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก ในคนไทย คือ อุบัติเหตุ มะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาหลายปี โรคหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบและตัน เป็นโรคที่เคยพบน้อยในอดีต

กลับกลายเป็นโรคที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่พันธุกรรมในคนไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง นั่นแสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันสูงเป้นปัจจัยสำคัญมากในการส่งเสริมมให้เกิดโรคนี้


หัวใจเป็นอวัยวะที่มีความมหัศจรรย์ เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต นับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญ และแข็งแรงมาก หัวใจจะทำงานได้เป็นปกติต้องอาศัยการทำงานที่เป็นระบบของไฟฟ้าหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้ออื่นๆ ที่ต้องการออกซิเจน และอาหารจากเลือดมาหล่อเลี้ยงเพื่อให้บีบตัวต่อไปได้

หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบด้วยหลอดเลือดแดง 2 เส้น เรียกว่า โคโรนารี่ด้านขวา 1 เส้น และด้านซ้าย 1 เส้น ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็น 2 เส้นใหญ่ นอกจากนั้น แล้วแต่ละเส้น ยังส่งแขนงย่อยๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอีกด้วย

ดังนั้นหากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเหล่านี้เกิดการตีบ หรืออุดตัน ก็จะนำไปสู่ โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ไม่ดี กล้ามเนื้อหัวใจตาย ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเสียชีวิตกะทันหัน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

หลอดเลือดหัวใจก็เป้นอวัยวะหนึ่งที่เกิดการเสื่อมไปตามอายุอย่างไรก็ตาม นอกจากอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้เร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้เรียกว่า ปัจจัยเสี่ยง พบว่ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจขาดเลือดจะยิ่งมากขึ้นหลายเท่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่

- อายุ
- เพศชาย ทั้งนี้เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด แต่เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือน ไม่ว่าโดยธรรมชาติ หรือไม่มีรังไข่ ก็ทำให้โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดสูงขึ้นใกล้เคียงกับเพศชาย
- ประวัติในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ รวมทั้งพันธุกรรม
- การสูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- ไขมันโคเลสเตอรอล ชนิดร้าย (แอล-ดี-แอล) ต่ำ
- โรคอ้วน ซึ่งมักจะทำให้เกิดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งไขมันโคเลสเตอรอลชนิด ดี ต่ำ
- ขาดการออกกำลังกาย


ไขมันโคเลสเตอรอลกับโรคหัวใจขาดเลือด

ในร่างกายของคนเรา มีไขมันหลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่

1. ไขมันโคเลสเตอรอลเป้นไขมันที่มีประโยชน์เป้นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หากมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่ไต ไม่เว้นแม้แต่อวัยวะเพศ เมื่อการตีบตันของหลอดเลือด ก็ทำให้อวัยวะนี้ขาดเลือดไปเลี้ยง

เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ รวมไปถึงการหย่อยสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เรายังอาจแบ่งไขมันโคเลสเตอรอล ได้ย่อยๆ อีก ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ

1.1 โคเลสเตอรอล ชนิดร้าย หรือ แอล-ดี-แอล (Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญในการสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างการสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์

1.2 โคเลสเตอรอล ชนิดดี หรือ เอช-ดี-แอล (High Density Lipoprotein Cholesterol, HDL-C) ไขมันชนิดนี้จะช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลายจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด ดังนั้นหากยิ่งสูงจะยิ่งเป็นผลดี ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจะสูงขึ้นในผู้ที่ออกกำลังแบบแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ


2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่มาจากอาหารร่วมกับร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ

ไตรกลีเซอไรด์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมัน เพื่อเป็นพลังงานสำรอง

ไขมันชนิดนี้ปัจจุบนมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำ


ไขมันสูง สูงเท่าไร จึงเป็นอันตราย

เป็นคำถามที่ได้ยินเสมอว่า สูงขนาดไหน จึงเป็นอันตราย ต้องเข้าใจก่อนว่า ความจริงแล้วตัวไขมันในเลือดที่สูงนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดอาการ อาการต่างๆ เป็นผลมาจากการตีบตันของหลอดเลือดแดง ซึ่งต้องอาศัยเวลาหลายปี การสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดงนี้ เริ่มพบตั้งแต่ในวัยรุ่นแล้ว ผู้ที่เสียชีวิตกะทันหันก็ไม่ได้เกิดจากไขมันลอยไปอุดตันหลอดเลือด

จากข้อมูลการศึกษาต่างๆ พบว่าระดับไขมัน โคเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแน่นอน และหากไขมันโคเลสเตอรอล (รวม) มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อัตราเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นมาก จากข้อมูลต่างๆ จึงกำหนดค่าของไขมันในเลือดไว้ดังนี้


โคเลสเตอรอล (รวม) (Total Cholesterol)

ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 200 มก.ต่อดล.
เริ่มสูง คือ 200-239 มก.ต่อดล.
สูงคือมากกว่า 240 มก.ต่อดล.


แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol)

ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 130 มก.ต่อดล.
เริ่มสูง คือ 130-160 มก.ต่อดล.
สูง คือ มากกว่า 160 มก.ต่อดล.
สูงมาก คือ มากกว่า 190 มก.ต่อดล.



สำหรับ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด หรือเป็นเบาหวาน ควรให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 มก.ต่อดล. จะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้

เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol)

ระดับที่เหมาะสม มากกว่า 40 มก.ต่อดล.
สูง (เป็นผลดี) มากกว่า 60 มก.ต่อดล.

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

ระดับเหมาะสม น้อยกว่า 150 มก.ต่อดล.



เราจะป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างไร


โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อมตามอายุจึงไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ 100%

แต่จากการศึกษาต่างๆ ล้วนยืนยันว่า การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลง สามารถช่วยชะลอการดำเนินโรค และช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้แน่นอน ตัวอย่างเช่น

- เลิกบุหรี่ ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี โอกาสเสี่ยงที่เคยมีจะลดลง จนใกล้เคียงผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ยังช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพองอีกด้วย

- ตรวจเลือดเพื่อหาระดับไขมันในเลือดอย่างละเอียด หากพบว่าไขมันสูงมากกว่าคำที่แนะนำ ให้ควบคุมอาหารโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ ร่วมกับการออกกำลังกาย หากไม่ได้ผลควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการใช้ยา

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเร็วขึ้น จากการศึกษาพบว่า หากลดไขมันโคเลสเตอรอลลง 1% สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดได้ 2%

สำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นแล้ว การลดไขมันโคเลสเตอรอลลงมาต่ำมากๆ เช่น แอล-ดี-แอล ต่ำกว่า 100 มก.ต่อดล. จะช่วยลดโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันซ้ำ รวมทั้งปัญหาแทรกซ้อนจากหลอดเลือดสมองตีบลงได้

- หากมีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ท่านจำเป็นต้องควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด

- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน อย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันและลดน้ำหนักแล้ว ยังทำให้ไขมัน เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจ

- ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด

บทสรุป

ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคหัวใจขาดเลือดแพงมาก การป้องกันโรคเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าการรักษา โรคหัวใจขาดเลือดมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ บางปัจจัยไม่สามาระเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม แต่หลายปัจจัยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ไม่สูบบุหรี่ หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยชะลอ หรือลดปัญหาแทรกซ้อนจากโรคหัวใจลงได้ ดังนั้นหากท่าน รักหัวใจของท่าน หรือของคนข้างเคียง กรุณาใส่ใจโคเลสเตอรอลสักนิด ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

Ref:::นพ. ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
//www.heartandcholesterol.com/new-info011.php





Create Date : 05 กรกฎาคม 2548
Last Update : 12 กันยายน 2548 20:41:30 น. 20 comments
Counter : 388 Pageviews.

 
หวา กินมากจนลืมคอเรลเตอรอลไปแล้วอ้ะดิคับ


โดย: หมื่นทิพ TRAVOLTA (เทพบุตรตบะแตก!! ) วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:0:17:32 น.  

 
ต้องระวังแล้วร่ะค่ะ
กลัวจะเป็นโรคหัวใจเหมือนกัน


โดย: นางมารร้าย วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:0:27:31 น.  

 
ขอบคุณค๊าพี่แจน

กลัวเป็นโรคหัวใจค่ะ กลัวมากๆๆ


โดย: yadegari วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:0:36:54 น.  

 
กลัวว่าตอนแก่จะลำบากเหมือนกัน แต่มันห้ามใจไม่อยู่ทุกทีเวลาเห็นของกินน่าอร่อย



ไม่รู้จะทำยังไงดี อ่านแล้วก็แอบกลัวๆ อ่ะค่ะ


Goodnight นะคะ


โดย: pinkypuppypopularpoopuu วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:0:55:29 น.  

 
เรื่องกินก็กลัวอด แต่ว่าก็กลัวเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนกัน ทำไงดีน้ออออออ


โดย: JewNid วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:1:19:03 น.  

 
อ่านไปคิดไป..

กินไป อิๆ

กลัวไป

แต่บอกตัวเองต้องออกกำลังมั่งแล้วแหล่ะ..ไม่อยากเป็นโรคหัวใจเหมือนกัน..
แต่เบาหวานก็น่ากลัวเหมือนกันนา


โดย: zaesun วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:3:31:07 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลยค่ะ

ที่บ้านคุณพ่อเป็นโรคนี้อยู่เหมือนกัน ต้องระวังกันเยอะเลย

ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปัน


โดย: นุทศรี!! วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:7:11:09 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณแจน

โบว์ก็เป็นโรคหัวใจค่ะ

หัวใจง่าย แหะๆ ^^



...


โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:7:11:49 น.  

 
สงสัยต้องออกกำลังกายจริงจังซะทีแล้วสิเรา อิอิ....


โดย: เชอเบทส้ม วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:8:35:29 น.  

 
ต้องลดความอ้วนจริงๆซะแล้วสิ
สบายดีนะคะ


โดย: yuki san วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:13:22:07 น.  

 
หัวใจไม่รักดี เป็นมาแต่กำเนิดเลยเจ้าค่ะ คริ คริ คริ


ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ น่ะเจ้าค่ะ


โดย: peppy_ant วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:15:37:28 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ....
ตอนนี้ทานอะไรระวังมากเลยกลัวจัง โรคหัวใจ ...
แล้วจะทำยังไงกับช็อกโกแล็ตกล่องนี้ดีค่ะเนี่ย.... เพิ่งซื้อมา แห่ะๆ


โดย: ตะกร้าหวายสีขาว วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:19:04:30 น.  

 
คิดถึงจึงมาหาจ้าพี่แจน

วันอาทิตย์ที่ผ่านมานัดกะพี่นิ ไปงานน้องหมาที่เมืองทองธานีค่ะ นัดบ่ายแต่อุ๋ยดันไปเช้า พอขากลับได้เจอกะพี่นิ อุ๋ยรู้สึกผิดมาก ๆ เลยคะ เพราะว่าไม่ได้ไปเดินเป็นเพื่อนพี่นิเลยอ่ะคะ หนูอุ๋ยเนี่ยแย่จริงๆ เลย


หนูลัคกี้ของพี่นิน่ารักมากเลยค่ะพี่แจน น่ารักและเรียบร้อย ชอบอ่ะ คราวหน้าว่าจะชวนพี่นิไปศูนย์ประชุมค่ะ งานน้องหมาอีกนั่นล่ะคะ คราวนี้ถ้าพี่นิไปนะคะ น้องอุ๋ยจะไม่ผิดนัดอีกแล้ว คิคิ

พี่แจนสบายดีนะคะ คิดถึงเสมอค่ะ


โดย: แม่โกลเด้นฯ วันที่: 5 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:38:09 น.  

 
แวะมา goodnight ค่ะ


โดย: pinkypuppypopularpoopuu วันที่: 6 กรกฎาคม 2548 เวลา:3:07:09 น.  

 
ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ


โดย: นู๋โนริ วันที่: 6 กรกฎาคม 2548 เวลา:7:26:35 น.  

 
พี่แจนจ๋าคิดถึงคะ ไปเที่ยวไหนหรือเปล่า

จุ๊บๆๆ


โดย: yadegari วันที่: 6 กรกฎาคม 2548 เวลา:19:51:57 น.  

 
ช่วงนี้ทานอะไรก็ต้องควบคุมเหมือนกันค่ะ ไม่งั้นก็แย่ ง่ายๆ เลยก็ความอ้วนนี่ล่ะค่ะถามหาเอา

ขอบคุณที่แวะเอาข้อมูลมาแบ่งปันนะค่ะ


โดย: JewNid วันที่: 6 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:13:53 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ




โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight ) วันที่: 6 กรกฎาคม 2548 เวลา:21:03:07 น.  

 
พี่แจนคะ หนูเม้นต์ไป 2 รอบแล้วไม่ผ่าน แงๆๆๆ บล๊อกวันนี้เป็นไรน๊า

คิดถึงๆๆ

ฝันดีนะคะ


โดย: yadegari วันที่: 6 กรกฎาคม 2548 เวลา:21:56:23 น.  

 
อึ๋ย น่ากลัวจัง
แล้วเราจาเป็นมั๊ยเนี่ย
ต้องออกกำลังกายทุกวันแล้ว อิ อิ
ขอบคุณนะคะ


โดย: แม่ยูริค่ะ วันที่: 7 กรกฎาคม 2548 เวลา:8:44:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jan_tanoshii
Location :
Japan Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







If you never talk to strangers, you'll never meet anyone.


ถ้าจะฝากข้อความถึงกัน รบกวนหลังไมค์นะคะ
เพราะถ้าฝากไว้ในกระทู้เก่าจะไม่ได้เข้าไปดูค่ะ


ตัวตน
ลึกร้าย
สะท้อน
หลายอักษร
เร้นความรู้สึก
ใส
หยาบฤาละเอียด
อยู่ใต้จิตใจ
ใต้สำนึกใคร
ลืมใคร่ครวญ
(จาก...พราย)



counter
counter
:ย้อนรอยบล็อกเก่า:
::ย้อนรอย ใบไม้เปลี่ยนสี@Shinjiku Gyoen::
::ย้อนรอย ท่าเรือ Osanbashi ๒๐ พ.ย. ๕๓ ::
::...กับอีกวันของฤดูใบไม้ร่วง::
::เดินเล่นชิวๆ ชมวิว (ใบไม้เปลี่ยนสี) ใกล้บ้าน (2)::
::เดินเล่นชิวๆ ชมวิวใบไม้เปลี่ยนสีใกล้บ้าน (1)::
::ออนเซนร้อนๆ ในหน้าร้อนของวันฟ้าใส ตอนจบ::
::ออนเซนร้อนๆ ในหน้าร้อนของวันฟ้าใส::
::รวมมิตรอาหารร้านมิโซะระ (2)::
::รวมมิตรอาหารร้านมิโซะระ (1)::
::อิซาคายะร้านใหม่ที่ไปลิ้มลองแถว Kamioooka::
::Yamashita Park & Minatomirai at Yokohama::
::ความรักและความผูกพันที่จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป::
::ด้วยรักและอาลัย ลูกชายตัวเล็กสี่ขาของบ้านเรา::
::Harbor View Park (Minato-no-mieru-oka-koen)::
::Yamate Italian Garden "Diplomat's House"::
::แสร้งว่า::
::ดอกไม้...ในมุมที่(เลือก)มอง::
::อาหารญี่ปุ่นร้าน Kichijo Dining::
::อาหารจีน คอร์สหูฉลาม::
:: Teppanyaki 鉄板焼き::
::เซตอาหารร้าน Misora และคานินะเบะ(หม้อไฟปู)::
::เมื่อตะวันจะลับฟ้า พรุ่งนี้ใกล้จะมาถึง....::
::จิตฟุ้ง...::
::แพล่ม รำพัน รำลึก::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 4::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 3::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 2::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 1::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 3::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 2::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 1::
::ใบไม้เปลี่ยนสีที่ Katsunuma จังหวัดYamanashi::
::บรรยากาศแถว Minatomirai ยามค่ำคืน...ที่เก่า เวลาใหม่กับกล้องใหม่::
::There is a difference between knowing the path and walking the path ::
Friends' blogs
[Add jan_tanoshii's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.