Image hosting by Photobucket

Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 กรกฏาคม 2548
 
All Blogs
 
คำถามที่พบบ่อย เรื่อง" โคเลสเตอรอล"


Q: โคเลสเตอรอลคืออะไร?

A:โคเลสเตอรอลเป็นสารไขมันคล้ายขี้ผึ้ง ซึ่งมีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกายของคนเรา
โคเลสเตอรอลบางชนิดจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ตับของคนเราสามารถผลิต
โคเลสเตอรอลให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกายอยู่แล้ว อาหารบางประเภทก็ให้ปริมาณโคเลสเตอรอลเช่นกัน ซึ่งกลายเป็นส่วนเกินจากที่ร่างกายต้องการ

แม้ว่าโคเลสเตอรอลจำนวนหนึ่งในกระแสเลือดจำเป็นต่อสุขภาพของคน หากมีมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายได้ ถ้าระดับโคเลสเตอรอลสูงเกินไป มันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ สาเหตุที่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลสูง มีหลายประการ เช่น พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร กรรมพันธุ์ ความอ้วน และโรคบางอย่าง เช่น เบาหวานก็เป็นเหตุให้เกิดโคเลสเตอรอลสูงได้



Q: โคเลสเตอรอลมีหลายชนิดหรือ?

A: ใช่ โคเลสเตอรอล และไขมันแต่ละชนิดมีผลกระทบต่อร่างกายแตกต่างกัน ชนิดที่รู้จักกันดีได้แก่

แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol = LDL) แอล ดี แอลโคเลสเตอรอลรู้จักกันว่าเป็น "โคเลสเตอรอลชนิดเลว" ปริมาณ แอล ดี แอล ที่มากเกินไปจะสะสมที่เส้นเลือดแดงของหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำให้เกิดโรคหัวใจ ระดับของ แอล ดี แอล ยิ่งสูงเท่าใด อัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งสูงเท่านั้น การลดปริมาณสะสมของ แอล ดี แอล นั้นสามารถป้องกันโรคหัวใจ และลดอัตราการเสียชีวิตได้

เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol = HDL) เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล หรือที่เรียกว่า "โคเลสเตอรอลชนิดดี" เพราะว่าเชื่อกันว่ามันสามารถกำจัดโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ การมี เอช ดี แอล ในเลือดสูงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ถ้ามีระดับต่ำก็จะเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็น โรคหัวใจ

ไตรกลีเซอไรด์ (TRG : Triglyceride) ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งในกระแสเลือดของคนเรา ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงอาจมีระดับ แอล ดี แอล สูงเช่นกัน ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงพร้อมกับมีระดับ
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงแล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ



Q: อาหารประเภทใดบ้าง ที่มีไขมัน และโคเลสเตอรอล ?

A: โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์จากสัตว์โดยมากมักจะมีไขมัน และโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยง
ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันที่ผ่านกระบวนการลดกลิ่นหืนไฮโดรจีเนต อาหาร ที่มีไขมันอิ่มตัว ได้แก่ เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์จากนมสด เนย ครีม ไอศกรีม เนยแข็ง และไข่ โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ เช่น ไต (เซี่ยงจี้), ตับ, ตับอ่อน มีโคเลสเตอรอลมาก หอย และสัตว์ทะเลมีเปลือก เช่น กุ้งมังกร ก็มีโคเลสเตอรอลมากเช่นกัน แต่มีไขมันไม่อิ่มตัวน้อยกว่า ไข่แดงมีโคเลสเตอรอลประมาณ 215 มก. (มิลลิกรัม) เมื่อเทียบกับเนื้อไก่ชิ้นบางๆ ขนาด 3-4 ออนซ์ หรือ 90-120 กรัม จะมีโคเลสเตอรอลประมาณ 72 มก.เท่านั้น ควรระวัง อาหารที่ปราศจากโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จ อาจมีไขมันสูงได้ จึงควรอ่านฉลากอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารนั้นไม่มีไขมัน และโคเลสเตอรอล ไขมันไม่อิ่มตัวพบได้ในน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนล่า จึงควรบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวดีกว่าไขมันอิ่มตัว



Q: การออกกำลังกายจะช่วยปรับระดับโคเลสเตอรอลให้ดีขึ้นได้อย่างไร

A: ถ้าออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น ว่ายน้ำ การเดิน วิ่ง ถีบจักรยาน หรือ เล่นเทนนิส
จะช่วยเพิ่มระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และอาจลดระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังอาจช่วยลด น้ำหนักตัว และไขมันได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มแผนการ ออกกำลังกายใดๆ



Q: เมื่อใดจึงจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดระดับโคเลสเตอรอล?

A: ถ้าได้มีการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย และงดสูบบุหรี่ แล้วยังไม่สามารถทำให้ระดับโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ลดลงได้ แพทย์อาจสั่งยาให้เพื่อลดระดับไขมัน แต่ก่อนการสั่งยา แพทย์จะพิจารณาหลายๆ อย่าง เช่น ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนได้ (อาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่) อายุ สภาพร่างกายในขณะนั้น และอาการ ข้างเคียงจากการใช้ยา


Q: ต้องรับประทานยาลดโคเลสเตอรอลไปนานเพียงใด?

A: สำหรับผู้ที่ต้องรับประทานยาโคเลสเตอรอล ต้องปรึกษาแพทย์ และรับประทานยาตาม ที่แพทย์สั่ง ซึ่งจำนวนยา และระยะเวลาในการรับประทานยาลดโคเลสเตอรอลของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับผลการรักษา และความสามารถในการเปลี่ยนพฤติกรรม ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ควบคุมอาหาร และขาดการออกกำลังกาย
แพทย์จะเป็นผู้สั่งยาลดโคเลสเตอรอลประเภทต่างๆ แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วย
แต่ละราย เช่น ผู้ป่วยโรคตับ หรือหญิงมีครรภ์ ฯลฯ



Q: การสูบบุหรี่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอย่างไร ?

A: การสูบบุหรี่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจโดยมีผลร่วมกับปัจจัยเสี่ยงตัวอื่นๆ ซึ่งเพิ่มอัตราเสี่ยงของคุณให้ยิ่งสูงขึ้นไปอีก การสูบบุหรี่ทำให้ระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ลดลง และเพิ่มโอกาสเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดง ประมาณการว่าหนึ่งในห้าของ ผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเกิดจากการสูบบุหรี่


ที่มา:::โครงการรักหัวใจใส่ใจโคเลสเตอรอล


Image hosted by Photobucket.com



วันนี้สรรสาระเรื่องโคเลสเตอรอลมาฝากกันค่ะ

...เมื่อก่อนนี้ เคยบร้าอยู่พักหนึ่ง
ถึงขนาดต้องวัดกะตวงปริมาณอาหารก่อนทานเป็นประจำ แต่เดี๋ยวนี้ ไม่แล้วล่ะค่ะ ^_^

...แค่ว่าตอนนี้ ส่วนมากก่อนซื้อขนมหรืออาหาร จะต้องพลิกดูด้านหลัง เพื่อดูแคลอรี่ประจำ จนเข้าข่ายบร้าไปแล้วขั้นหนึ่ง หุหุ

...เพราะที่ญี่ปุ่น ส่วนมากด้านหลังซองอาหารหรือขนม จะบอกจำนวนแคลอรี่ต่อหน่วย และวิตามินหรือแคลเซียมที่ได้รับจากอาหารด้วย บางทีเห็นขนมปังน่าทาน อยากกินมาก แต่ต้องตัดใจ

...เมื่อก่อนสมัยวัยรุ่น กินมากเท่าไรก็ไร้พุงและไขมัน แต่ตอนนี้หรือคะ มันมาเป็นกองทัพซะอย่างนั้น

... แล้วที่นี่ขนมหวานของว่าง ส่วนมากก็หวานๆ เลี่ยนๆ มีแต่แป้งและน้ำตาล

...อาหารหรือของว่างรสชาติเผ็ดๆ แซ่บๆ ก็หากินยากซะจริึงๆ ที่มีก็แพ๊ง แพง ส้มตำ็ก็จานละพันเยน (ปาไปสามร้อยกว่าบาท)คิดถึงอาหารไทยบ้านเราจริงๆ ค่ะ

...ฉะนั้น เวลากลับไทยทีไร เรื่องแคลอรี่นี่ ไม่คำนึงเลยค่ะ ต้องแบกน้ำหนักกลับมาเพิ่มอีกสองสามโลประจำ ((แต่อันนี้ยอมทนค่ะ อิอิ))

ps. ขออภัยนะก๊ะ จากโคเลสเตอรอล มาบ่นเรื่องแคลอรี่ซะแระ


Create Date : 04 กรกฎาคม 2548
Last Update : 12 กันยายน 2548 20:43:59 น. 2 comments
Counter : 570 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อ
สุขภาพร่างกายค่ะ


โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight ) วันที่: 4 กรกฎาคม 2548 เวลา:23:46:16 น.  

 
เราขอแนะนำโปรแกรมลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพสูง
พร้อมทั้งให้คำปรึกษา ปลอดภัย ไม่ใช่ยาลดความอ้วน ใช้หลักสมดุลทางโภชนาการ
จะทำให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น พร้อมทั้งรูปร่างที่ดี
และยังช่วยแก้ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ความดันสูง/ต่ำ เบาหวาน หอบหืด ภูมิแพ้ไมเกรน ท้องผูก
ปวดประจำเดือนหรือมาไม่ปกติ (ราคาโปรแกรมของเรามีให้เลือกตามงบประมาณ ถึงโปรแกรมสูงสุดมื้อละ 140
บาทเท่านั้นซึ่งเป็นโปรแกรมครบเซ็ต เห็นผลเร็ว) พร้อมใบรับประกัน ไม่เห็นผล ยินดีคืนเงิน
เต็มจำนวน !!!!!!!สนใจติดต่อ คุณวรวุฒิ ปรีชาปัญญากุล
01-6865995


โดย: worawut IP: 58.11.98.5 วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:22:08:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jan_tanoshii
Location :
Japan Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







If you never talk to strangers, you'll never meet anyone.


ถ้าจะฝากข้อความถึงกัน รบกวนหลังไมค์นะคะ
เพราะถ้าฝากไว้ในกระทู้เก่าจะไม่ได้เข้าไปดูค่ะ


ตัวตน
ลึกร้าย
สะท้อน
หลายอักษร
เร้นความรู้สึก
ใส
หยาบฤาละเอียด
อยู่ใต้จิตใจ
ใต้สำนึกใคร
ลืมใคร่ครวญ
(จาก...พราย)



counter
counter
:ย้อนรอยบล็อกเก่า:
::ย้อนรอย ใบไม้เปลี่ยนสี@Shinjiku Gyoen::
::ย้อนรอย ท่าเรือ Osanbashi ๒๐ พ.ย. ๕๓ ::
::...กับอีกวันของฤดูใบไม้ร่วง::
::เดินเล่นชิวๆ ชมวิว (ใบไม้เปลี่ยนสี) ใกล้บ้าน (2)::
::เดินเล่นชิวๆ ชมวิวใบไม้เปลี่ยนสีใกล้บ้าน (1)::
::ออนเซนร้อนๆ ในหน้าร้อนของวันฟ้าใส ตอนจบ::
::ออนเซนร้อนๆ ในหน้าร้อนของวันฟ้าใส::
::รวมมิตรอาหารร้านมิโซะระ (2)::
::รวมมิตรอาหารร้านมิโซะระ (1)::
::อิซาคายะร้านใหม่ที่ไปลิ้มลองแถว Kamioooka::
::Yamashita Park & Minatomirai at Yokohama::
::ความรักและความผูกพันที่จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป::
::ด้วยรักและอาลัย ลูกชายตัวเล็กสี่ขาของบ้านเรา::
::Harbor View Park (Minato-no-mieru-oka-koen)::
::Yamate Italian Garden "Diplomat's House"::
::แสร้งว่า::
::ดอกไม้...ในมุมที่(เลือก)มอง::
::อาหารญี่ปุ่นร้าน Kichijo Dining::
::อาหารจีน คอร์สหูฉลาม::
:: Teppanyaki 鉄板焼き::
::เซตอาหารร้าน Misora และคานินะเบะ(หม้อไฟปู)::
::เมื่อตะวันจะลับฟ้า พรุ่งนี้ใกล้จะมาถึง....::
::จิตฟุ้ง...::
::แพล่ม รำพัน รำลึก::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 4::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 3::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 2::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 1::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 3::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 2::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 1::
::ใบไม้เปลี่ยนสีที่ Katsunuma จังหวัดYamanashi::
::บรรยากาศแถว Minatomirai ยามค่ำคืน...ที่เก่า เวลาใหม่กับกล้องใหม่::
::There is a difference between knowing the path and walking the path ::
Friends' blogs
[Add jan_tanoshii's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.