space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
9 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม กระทู้ค

ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม


กระทู้คำถาม

ศาสนาพุทธมหาสติปัฏฐาน 4พระไตรปิฎกปฏิบัติธรรมศาสนา

ขอสอบถามลัทธิจิตสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์นักมั่วตำราทั้งหลาย ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม

ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จิตคลายกำหนัดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตตั้งมั่นดำรงอยู่”??? ทำไมจิตหลุดพ้นคลายกำหนัดจากวิญญาณขันธ์???

และยังทรงกล่าวว่า " นิพพานัง ปรมัง สุขัง " นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” แล้วใครเสวยบรมสุขในพระนิพพานครับ???

ขอคำตอบแบบตรงๆไม่ต้องชักแม่น้ำทั้ง 5 ครับ

ผมเห็นจากกการปฏิบัติ ว่า จิตเป็นธาตุ ธาตุหนึ่งไม่ดับสูญ ส่วนพระนิพพาน คือ ความว่างไร้สมมุติบัญญั ไม่มีปราสาท วิมานแก้วใดๆ เป็นความว่างจริงๆ ไม่ใช่ความว่างแบบมืดๆนะครับ จิตเมื่อหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ อวิชชาและขันธ์ 5  เปลี่ยนเป็นนิพพานธาตุผสมผสานไปกับความว่างนั้นไม่ดับสูญหายไปไหน
แก้ไขข้อความเมื่อ 23 มกราคม เวลา 13:55 น.
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 2748147

ความคิดเห็นที่ 1.


ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม
------------- 1.  ถ้าเห็นผิดว่า มีตัวตน  
                 จึงจะ  มีความเห็นผิดสุดโต่ง 2 ด้าน ว่า
                           --- สุดโต่ง เห็นว่าา มีตัวตนตลอดไป
                           --- สุดโต่ง เห็นว่า ตัวตนสูญ ไป

                 2. พระพุทธศาสนา ไม่เข้าไปเห็นตาม ความเห็นผิดสุดโต่ง ทั้ง 2 ด้านนั้น
                     คือ พระพุทธศาสนา  รู้ว่า  
                           เพราะมีเหตุปัจจัย(ตัณหา อวิชชา)    จิตและกาย(นามรูป) จึงมีเกิดขึ้น
                           เมื่อเหตุปัจจัย(ตัณหา อวิชชา)หมดไป   ก็ไม่มีจิตและกาย(นามรูป)ใหม่ เกิดขึ้น ณ มี่ใดอีก

1.
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมี
นามรูป
 
"
*********
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

             [๒๕๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปตามปัจจัย
ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นปุพเพนิวาสา-
*นุสสติญาณอย่างไร ฯ
             ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะ
และสังขารอันเป็นประธาน ฯลฯ ครั้นแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี
สิ่งนี้ก็ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมี
นามรูป
 เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมี
ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้
 ภิกษุนั้นมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
 ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในชาติ
โน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากชาติ
นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ ๆ มีกำหนดอายุ
เพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมอันเป็นไปตามปัจจัย
ด้วยสามารถการแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นปุพเพนิวาสา-
*นุสสติญาณ ฯ

https://84000.org/tipitaka/read/?31/256

**********


2.
"[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-
                          ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
                          เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
 พระมหาสมณะมีปกติ
                          ทรงสั่งสอนอย่างนี้.


[๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า
สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา


**********
      ...

พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
             [๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-
                          ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
                          เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ
                          ทรงสั่งสอนอย่างนี้.

สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม

             [๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่
สารีบุตรปริพาชก
                          ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทง
                          ตลอดบทอันหาความโศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้
                          พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์.


                      https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=4&A=1358&Z=1456

***********
.
              
3. คำถาม "ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม"

    คำตอบ  ความจริง เคยตอบแล้ว   แต่ เวลา นั้น  เจ้าของกระทู้   ยัง ไม่อาจเข้าใจ



        เมื่อ นามและรูป(จิตและกาย) เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย  และไม่มีเกิดขึ้นอีก เมื่อหมดเหตุผัจจัย
       ( และ จิตและกาย เกิดดับตลอดเวลา ไม่คงที่ ไม่คงทน  จะนับ ณ เวลาใดๆ ว่า  คงทนเป็นใคร ก็ไม่ได้ (คือไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา))  )
       จึงไม่อาจนับว่า เป็นใคร หรือ ตัวตนอะไรได้


          ภาษา แบบสมมติชาวโลก เพื่อความเข้าใจ   ก็เรียกว่า เป็น คนนั้น คนนี้
          แต่ ในความจริงแท้(ปรมัตถ์) นั้น
                    มีแต่เหตุปัจจัย และ ผลของเหตุปัจจัย ที่มีขึ้น(ไม่ใช่ใคร)
                    หรือ ไม่มีขึ้น (ไม่ใช่ตัวตนสูญไป  แต่ไม่มี จิตและกาย เกิดขึ้นใหม่ เท่านั้นเอง
                    (เพราะไม่มี จิตและกาย หรือตัวตนที่ถาวรใดๆ  ที่สูญไป))

.

      

สมาชิกหมายเลข 2748147
23 มกราคม 2567 เวลา 13:19:04 น.
ศาสนาพุทธ  มหาสติปัฏฐาน 4  พระไตรปิฎก  ปฏิบัติธรรม  ศาสนา


ขอสอบถามลัทธิจิตสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์นักมั่วตำราทั้งหลาย ถ้าสูญ จิตดับ  จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม
------------------- เจ้าของกระทู้  ไม่รู้ และ ไม่เข้าใจ หลักของพระพุทธศาสนา  จึงเรียก หลักพระพุทธศาสนา ที่ทรงแสดงถึง
                       เหตุปัจจัยและผลของเหตุปัจจัย
                       การหมดไปของเหตุปัจจัย และการไม่มีขึ้นอีกของผล
ว่า ลัทธิจิตสูญ


                        ตามที่อธิบาย ไว้ด้านบนแล้ว



ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จิตคลายกำหนัดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตตั้งมั่นดำรงอยู่”??? ทำไมจิตหลุดพ้นคลายกำหนัดจากวิญญาณขันธ์???
------ ได้เคยอธิบาย ให้เจ้าของกระทู้ ไว้แล้ว
       จะได้ หาลิงก์มาแสดง อีกครั้งหนึ่ง

+++++++ ลิงก์ เพิ่มเติม  ที่แจ้งไว้

https://m.pantip.com/topic/42406626?/comment9



และยังทรงกล่าวว่า " นิพพานัง ปรมัง สุขัง " นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” แล้วใครเสวยบรมสุขในพระนิพพานครับ???
--------- เคยมีท่านอธิบายให้เจ้าของกระทู้แล้ว
            จะได้หาลิงก์มาแสดงอีกครั้งหนึ่ง

+++++++++ ลิงก์ เพิ่มเติม   ที่ได้แจ้งไว้
https://m.pantip.com/topic/42118968?/comment5






ขอคำตอบแบบตรงๆไม่ต้องชักแม่น้ำทั้ง 5 ครับ
--------  คำตอบตรงๆ  เสมอ  แต่เจ้าของกระทู้ มีทิฏฐิผิด สุดโต่ง แบบเห็น ว่า มีจิตที่คงที่ ถาวร

           และไม่รับฟังพระธรรม และไม่คิดพิจารณาตามพระธรรมอย่างแยบคาย

             จึงยัง ไม่อาจเข้าใจ ในเวลาที่ผ่านมา ได้




.
แก้ไขข้อความเมื่อ 24 มกราคม เวลา 10:06 น.
ตอบกลับ
1
 
2
 

วงกลม  
23 มกราคม เวลา 13:29 น.
อนุตโร ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 2๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
             [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก
เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ
ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น.
             ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อม
ท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
             เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง.
             ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง
สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัย
ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
 พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
เว้นจากปัจจัยมิได้มี.
             ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้
ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้
ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่
อื่น ดังนี้.
...
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=12&A=8041

เปลี่ยนศัพท์จากวิญญาณเวียนว่าย เป็นจิตเที่ยงโลกเที่ยงอัตตาเที่ยงสัตตานังตัวอสังขตังเวียนว่าย เพราะรู้อยู่ว่ามีพระสูตรนี้แสดงไว้แล้ว แสดงไว้แก้ลัทธิจิตเที่ยงโลกเที่ยงอัตตาเที่ยงสัตตานังตัวอสังขตังของตนไว้แล้วนั่นแล
ตอบกลับ
0
 
2
 

โอวันติ 
23 มกราคม เวลา 13:36 น.
อนุตโร ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ดู 5 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 3เชย ระเบิด ระเบ้อ

สหทำมิกซ์ ใน ธรรมวินัยของผู้มีพระภาค ใส่ใจแต่  อุบายนำออกจากภพ

หาก อุบายนำออกมี ก็ไม่ต้องไปเสียเวลา ใคร อะไร ไปเกิด ไปตุย อีก

ก็โน้นแหละ  การเห็นจิตเป็นเพียงธาตุ อันอาศัยปัจจัย หมดปัจจัย ภพย่อมไม่มีอีก
ความ"ผ่อง(เอาออก)""แผ้ว(ถางออก)"บริ(รอบ)สุทธิ(ไม่มีเศษเหลือ) คือ
เห็นตามจริง อย่างนี้ๆ

หาก ประสงค์เป็นแค่ เทพหมู่หนึ่ง อาศัยอยู่ใน ที่ๆมีสีฟ้า มีวรรณะ มีความเย็น
มีมหาภูตรูปปรากฏ มี ตั้งแก้วไว้กาง คอยนั่ง รับศิษยานุศิษย์ มาถามว่า

"ที่นี่ที่ไหน ?"

ผู้อยู่มาก่อน  กำ สิ่งเอาไว้ในมือ ไม่เปิดเผย ทำอ้ำอึ่ง แฝงเลห์ ไม่ตอบ

อันหวังได้ว่าผู้ถาม  ย่อมไม่สิ้นอุปาธิ

โอ้ละพ่อ นิพพาน เมือง มัน คง อยู่ คือ จำไร   พระศาสดาตรัสฏีกา นั่นแค่ เมถุนธรรม ธรรมดา


.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ 23 มกราคม เวลา 13:53 น.
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
23 มกราคม เวลา 13:50 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ขำกลิ้ง
ดู 9 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 4เราเป็นผู้หลุดพ้น หลุดพ้นจากขันธ์ ๕
โดยต้องไม่มีเรา เมื่อไหร่ที่ยังมีเรา ก็ยังไม่พ้นจากขันธ์ ๕
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 869744
23 มกราคม เวลา 13:54 น.
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 5๘. เจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา

             [๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี

             “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

             ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย เพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณ
นั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อความบังเกิด
แห่งภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

             ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี
เมื่อความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=34

******************

ถ้าจิตไปเกิดใหม่จริง แล้วจิตไปเกิดยังไง ขี่อสุจิไป?

แบบนี้เราคงต้องไปหัดขี่ปลาโลมาแล้วมั่ง
เพราะดูทรงแล้ว การแข่งขันแต่ละรอบน่าจะโหดหินน่าดู 555
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 1265297 
23 มกราคม เวลา 13:59 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ทึ่ง, อริยสัจ ถูกใจ
ดู 27 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 6[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น
ตอบกลับ
0
 
2
 

สะพานหมุนติ้ว 
23 มกราคม เวลา 13:59 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ, โอวันติ ถูกใจ
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 7" สัตว์(สตฺต) " 👈...คือผู้เวียนว่ายตายเกิด

พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวว่า
    อนมตคฺโค   โข   สํสาโร   ปุพฺพา  โกฏิ  นปฺปญฺญายติ  
    ...อันรู้ไม่ได้แล..ก่อนหน้าของสังสารวัฏฏ์ อันไม่ปรากฏเงื่อนต้น...

    อวิชฺชานีวรณานํ  สตฺตานํ    ตณฺหาสญฺโญชนานํ    สนฺธาวตํ    สํสรตํ
    ...ของเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น..มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ในสังสารวัฏฏ์... ท่องเที่ยวไป



ปล.  จิต..เวียนว่ายตายเกิด👈...เป็นความเห็นผิด
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 5449398 
23 มกราคม เวลา 15:18 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 8" ผมเห็นจากกการปฏิบัติ ว่า จิตเป็นธาตุ ธาตุหนึ่งไม่ดับสูญ "
     ☝
     ☝---นี่คือผลของการ " ไม่ศึกษาให้ท่องแท้  แล้วไปปฏิบัติ "...แถมยังปฏิเสธการศึกษาเสียด้วย..
            ที่เห็นนะ...เห็นจริง  " แต่เข้าใจผิด "...
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 5449398 
23 มกราคม เวลา 15:23 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 9สรุปง่ายๆ  จขกท  " ไม่รู้จักจิต.. ไม่เห็นจิตตามความเป็นจริง "...

ถ้ารู้จักจิต...จะไม่กล่าวอะไร ที่น่าขำอย่างนี้
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 5449398 
23 มกราคม เวลา 15:27 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 10ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑- พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
             ข้อนั้นเพราะเหตุไร
             เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
             ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
             ข้อนั้นเพราะเหตุไร
             เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้
ตอบกลับ
0
 
1
 

สะพานหมุนติ้ว 
23 มกราคม เวลา 15:32 น.
สมาชิกหมายเลข 7420141 ถูกใจ
ดู 1 ความเห็นย่อย
 
ความคิดเห็นที่ 11จากคำถาม...
ขอสอบถามลัทธิจิตสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์นักมั่วตำราทั้งหลาย ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม

  ตอบในฐานะ จิต เกิด-ดับไปตามเหตุปัจจัย ดังนี้
     จิต ก็คือ/เช่นเดียวกับ วิญญาณขันธ์  เมื่อกล่าวตามสัจจะ คำว่าใคร เรา เขา บุคคล สัตว์ ฯลฯ เป็นคำสมมติสัจจะ ที่ใช้เรียกเพื่อความเข้าใจกันของ รูป-นาม หรือ รูป- (จิต เจตสิก) หรือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป - [(เวทนา สัญญา สังขาร) วิญญาณ)] ก็จะได้ว่า  รูป-นาม หรือ ขันธ์ 5 ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย  ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ทำนองว่า...

       เพราะสิ่งนี้มี  สิ่งนี้จึงมี
       เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

      ก็จะได้ว่า จิต เกิด-ดับ ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย  ซึ่ง จิตจะดับไม่กลับมาอีก ก็เมื่อหมดเหตุปัจจัย

       และ จิต จะดับแล้วไม่กลับคืนมากอีกต้องประกอบด้วย 2 กรณีดัวยกัน.
           1.หมดสิ้นแล้วซึ่ง อวิชชา ตัณหา อุปทาน
           2. สิ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดในธรรมชาติฝ่าย สังขตะ  ได้แก่ 1.อายุ 2.อาหาร 3.ไออุ่น 4.อุตุ(สภาพแวดล้อม)
       คือเมื่อพร้อมทั้งองค์ประกอบทั้ง 2 แล้ว จิต หรือ วิญญาณขันธ์ นั้นดับ แล้วไม่กลับคืนมาอีก
      

จากคำถาม...
ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จิตคลายกำหนัดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตตั้งมั่นดำรงอยู่”??? ทำไมจิตหลุดพ้นคลายกำหนัดจากวิญญาณขันธ์???

  ตอบ จากประโยคที่ว่า "จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ"  ก็คือหลุดพ้นจาก อวิชชา ตัณหา อุปทาน นั้นเอง
                   จากประโยคที่ว่า "จิตคลายกำหนัดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ก็คือคลายกำหนดหรือคลายความยึดมั่นถือมั่น-
                   ในขันธ์ 5 ซึงคือในตัวของจิตเองนั้นแหละ
                   จากประโยคที่ว่า "จิตตั้งมั่นดำรงอยู่"  ก็คือในเมื่อยังมี อายุ อาหาร ไออุ่น อุตุ เป็นปัจจัยในธรรมชาติฝ่ายสังขตะ ก็จะยังมีชีวิต-
                   ตั้งมั่นดำรงอยู่แต่หมดสิ้นกิเลสไม่กลับคืนอีกแล้ว จนกว่าหมด อาหาร หรือ อายุ หรือไออุ่น หรือ อุตุ ก็คือดับขันธ์ปรินิพพาน        

จากคำถาม...
และยังทรงกล่าวว่า " นิพพานัง ปรมัง สุขัง " นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” แล้วใครเสวยบรมสุขในพระนิพพานครับ???

   ตอบ ขันธ์ 5 หรือ รูป-นาม(จิต คือ วิญญาณ)  ตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ในธรรมชาติของ สังขตะ
                    ซึ่งทุกขัง ก็คือ ทุกข์ลักษณ์นั้นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสทำนองไว้ว่า  ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้นแล้วดำเนินไป ซึ่งนิพพานคือ-
                    พ้นจากทุกข์ เป็นอสังขตธรรม หรือธรรมชาติฝ่ายอสังขตะ พ้นจาก อนิจจัง ทุกขัง ก็ย่อมเป็นสุขัง อย่างยิ่ง
ตอบกลับ
0
 
0
 

P_vicha  
23 มกราคม เวลา 15:52 น.
ความคิดเห็นที่ 12ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม

คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผลหรือหนอ
โวหารนี้ว่า คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผล เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง

ก็คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผลหรือ
โวหารนี้ว่า คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผลเป็นส่วนสุดที่สอง

ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลางไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา และมรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 5150763 
23 มกราคม เวลา 16:02 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 7420141 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 13สักตู้ ไหม

หรือว่า ยังทำยอดขายตรง ไม่พอ เลยแจก


แก้ไขข้อความเมื่อ 23 มกราคม เวลา 16:12 น.
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
23 มกราคม เวลา 16:08 น.
สมาชิกหมายเลข 7420141 ถูกใจ, อริยสัจ ขำกลิ้ง
ความคิดเห็นที่ 14ใช้เรื่องนี้เทียบ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=11-11-2023&group=88&gblog=103
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 6393385 
23 มกราคม เวลา 16:20 น.
ความคิดเห็นที่ 15จะแปล  " ติณกัฏฐสูตร "....ให้ฟังนะว่า " สิ่งใดไปท่องเที่ยวไปในวัฏฏ์ "...
👇
👇
👇
https://etipitaka.com/read/pali/16/212/
อนมตคฺคสํยุตฺตํ
  [๔๒๑]   เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม  ฯ  
...อย่างนี้ ที่เข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว..ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคทรงประทับ
อยู่ที่เมืองสาวัตถี  ณ.อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี...


ตตฺร  โข  ฯเปฯ  เอตทโวจ
..ลำดับนั้นแล.. (พระผู้มีพระภาค)ทรงกล่าวว่า...

อนมตคฺโคยํ  ภิกฺขเว  สํสาโร  ปุพฺพา  โกฏิ  น ปญฺญายติ
ภิกษุ ท!  อัน(บุคคลใครๆ)รู้ไม่ได้  ซึ่งก่อนหน้า..ของสังสารวัฏฏ์อันไม่ปรากฏจุดกำเนิด(แต่มีจุดกำเนิด)..

อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ สนฺธาวตํ สํสรตํ ฯ
...ของเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น..มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ในสังสารวัฏฏ์... ท่องเที่ยวไป

    
[๔๒๒]   เสยฺยถาปิ   ภิกฺขเว   ปุริโส   ยํ   อิมสฺมึ   ชมฺพูทีเป
...ภิกษุ ท! เปรียบเหมือนกับว่า..  บุรุสผู้ใด.. ซึ่งในชมพูทวีปอันนี้...

ติณกฏฺฐสาขาปลาสํ   ตจฺเฉตฺวา   เอกชฺฌํ   สํหเรยฺย  
เอกชฺฌํ  สํหริตฺวา จตุรงฺคุลํ   จตุรงฺคุลํ   ฆฏิกํ  กริตฺวา  
..ได้ถอนแนวหญ้า-ตัดกิ่งไม้แล้ว - แล้วรวบรวมไว้..  แล้วตัดให้สั้นเป็น 4 นิ้วแล้วมัดรวม..

นิกฺขิเปยฺย   อยํ   เม  มาตา  ตสฺสา   เม   มาตุ  อยํ  มาตาติ  ฯ  
...แล้วกำหนดว่า  " นี่คือแม่ทั้งหลายของเรา.. ทั้งหมดนี้คือแม่ของแม่ของเรา..ดังนี้ "...

อปริยาทินฺนา  จ  ภิกฺขเว  ตสฺส  ปุริสสฺส  มาตุ  มาตโร  อสฺสุ  
...ภิกษุ ท! ไม่หมดไม่สิ้น..ด้วย  ซึ่งมารดา-มารดาของมารดาของบุรุส...

อถ  อิมสฺมึ  ชมฺพูทีเป  ติณกฏฺฐสาขาปลาสํ  ปริกฺขยํ  ปริยาทานํ  คจฺเฉยฺย      
..ครั้นนั้น.. ซึ่งในชมพูทวีปอันนี้..แนวหญ้า-ตัดกิ่งไม้..ก็หมดไป..มาถึงความหมดไป

ตํ   กิสฺส    เหตุ
...นั่นเป็นเพราะเหตุใด...

อนมตคฺโคยํ    ภิกฺขเว    สํสาโร    ปุพฺพา    โกฏิ    น   ปญฺญายติ
(นั่นเพราะว่า)  ภิกษุ ท!  อัน(บุคคลใครๆ)รู้ไม่ได้  ซึ่งก่อนหน้า..ของสังสารวัฏฏ์อันไม่ปรากฏจุดกำเนิด(แต่มีจุดกำเนิด)..

อวิชฺชานีวรณานํ   สตฺตานํ   ตณฺหาสญฺโญชนานํ   สนฺธาวตํ   สํสรตํ  
...ของเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น..มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ในสังสารวัฏฏ์... ท่องเที่ยวไป

เอวํ  ทีฆรตฺตํ   โข   ภิกฺขเว  ทุกฺขํ  ปจฺจนุภูตํ  ติปฺปํ  ปจฺจนุภูตํ  พฺยสนํ  ปจฺจนุภูตํ  กฏสี  วฑฺฒิตา  ฯ
...ภิกษุ ท!  ยาวนานอย่างนี้แล.. การเกิดที่เป็นทุกข์-การเกิดที่เป็นหนามแหลม-การเกิดที่หยาบ..อันเพิ่มพูล..    

ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว อลเมว สพฺพสงฺขาเรสุ  นิพฺพินฺทิตํ อลํ วิรชฺชิตํ อลํ วิมุจฺจิตุนฺติ ฯ
...ภิกษุ ท!  นี้ก็เพียงพอแล้ว.... ที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย - ที่จะคลายกำหนัด - ที่จะหลุดพ้น..    

ปฐมํ ฯ--อันแรก





จากที่พระผู้มีพระภาคท่านทรงกล่าว " รู้หรือยังว่า...อะไรไปเกิด-ตาย..เวียนว่ายในวัฏฏ์ ??? "...
แก้ไขข้อความเมื่อ 23 มกราคม เวลา 16:36 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 5449398 
23 มกราคม เวลา 16:29 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 16ตัวปลอมทำเหตุแห่งการเกิด  ตัวปลอมก็ย่อมเสวยผลการเกิดไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด

ตัวจริงทำเหตุแห่งการดับ  ก็ย่อมเสวยผล การไม่เกิด

ตัวปลอม คือ จิตส่งนอก
ตัวจริง คือ จิตส่งใน

จิตส่งนอก เคือ สมุทัย  ผลของจิตส่งนอกคือ ทุกข์
จิตส่งใน คือ มรรค  ผลของจิตส่งใน คือ นิโรธ
คำสอนหลวงพ่อเทียน เรียบง่ายตรงประเด็น

อยากให้จิตไม่มี ก็ให้เป็นฝ่ายพวกจิตส่งออก รับรองว่าหาจิตไม่เจอแน่นอนบ้านเปอร์เซนต์
แต่ใครอยากหาจิตให้พบ หาจิตเจอ  ก็ให้เป็นฝ่ายพวกจิตส่งใน   เจอแน่นอน ล้านเปอร์เซนต์
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7019226
23 มกราคม เวลา 16:54 น.
ความคิดเห็นที่ 17สงสัยนักท่องตำรา ลืมท่องบทนี้ เสียชื่อนักมั่วตำราหมด


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
             [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิต
พึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า
เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพ
ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่น
อันเราควรทำมีอยู่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้
โดยศีลหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา
เนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ บรรพชิตพึง
พิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใด
ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา
เนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา
เนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ
ว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คือ อุตริมนุสธรรม
อันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว
จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ
นี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ฯ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
23 มกราคม เวลา 17:08 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 18บรรพชิตพึง
พิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใด
ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
23 มกราคม เวลา 17:11 น.
ความคิดเห็นที่ 19จิตหลุดพ้นแล้ว นิจจัง สุขขัง อมตะ สิคะจะอะไรซะอีก
เพี้ยนกินกล้วย
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 6513655
23 มกราคม เวลา 17:20 น.
สมาชิกหมายเลข 5479922 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2748147 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 20ผมเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวที่สร้างและควบคุมทุกอย่าง
ตายแล้วถ้าได้ขึ้นสวรรค์ก็อยู่ถาวรเลย (ก่อนขึ้นถ้ามีบาปและพระเจ้าไม่อภัยก็ลงนรกก่อน)

คำถามคือถ้าสมมติว่ามีเวียนว่ายตายเกิด แล้วใครควบคุมอะ ใครสร้างระบบนี้อะ
ยังไงระบบต้องมีผู้สร้างอยู่แล้ว ตัวความดี ความชั่ว มันไม่มีจิตหรือความคิดนะ จะกำหนดว่าใครเกิดเป็นอะไรได้ยังไง
ความดี/ชั่วเหมือนใบเกรดอะ ไม่สามารถอยู่เฉยๆแล้วได้งานทำ ต้องมีคนในบริษัทเลือกเข้าไปทำงาน


และมีวันสิ้นโลก ถ้ามีวันสิ้นโลก แล้วจะเวียนว่ายตายเกิดยังไงต่ออะ หรือทุกคนจะนิพพานก่อนโลกดับหรอครับ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 4934999
23 มกราคม เวลา 17:59 น.
ดู 10 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 21สมมติเชื่อตามที่คุณว่า

ใครคนที่เวียนว่ายตายเกิดนั้นคือใคร?

มีรูปอย่างไร? มีสัญญาอย่างไร?

สมมติชาติที่แล้วผมเกิดเป็นหนอน  ชาตินี้เกิดเป็นคน

ควรจะกล่าวว่าใครคนนั้น คือหนอน หรือคน?
ตอบกลับ
0
 
0
 

จางซานฟง  
23 มกราคม เวลา 18:21 น.
ดู 12 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 22เห็นยกข้อความนี้มา..

ก็เลยจะยกพุทธวจน..ของพระศาสดาเกี่ยวกับข้อความนี้มาให้ดู..
👇
[๕๘๑] กมฺมสฺสกา  มาณว  สตฺตา(สัตว์ทั้งหลาย)  
(...มาณพ ! สัตว์ทั้งหลาย..มีกรรมของผู้นั้นเอง ..)

กมฺมทายาทา --(เป็นทายาท..แห่งกรรม)
กมฺมโยนี ---(กำเนิดจาก..กรรม(เพราะกรรมจึงเกิด)..)
กมฺมพนฺธู ---(เพราะกรรม..จึงเกิดเลื่อยๆ(เหมือนเผ่าพันธุ์)..)
กมฺมปฏิสรณา --- (เพราะกรรม..จึงได้มาอยู่อาศัยประกอบขึ้น)

กมฺมํ  สตฺเต(ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย) วิภชติ  
(...กรรม..ได้จำแนกซึ่งสัตว์ทั้งหลาย..)

ยทิทํ หีนปฺปณีตตายาติ ฯ
(..อันได้แก่.. ให้มีความเลว-ปราญีต..)
แก้ไขข้อความเมื่อ 23 มกราคม เวลา 21:28 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 5449398 
23 มกราคม เวลา 20:07 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 23ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม

                                         ⬆️
                               คำถามธรรมะนี้   
                              น่าจะมาจากเหตุ
                                         ⬇️
           ยังไม่ สดับ  เข้าใจ พุทโธวาท  กรรม  ตามภาพ


และเมื่อ บรรลุมรรคผล  
สิ้นกรรมทั้งปวง
จิตดำรงอยู่   ตามภาพ

ตอบกลับ
0
 
0
 

เซนเถรวาทปฐมสังคายนานิยม  
23 มกราคม เวลา 20:10 น.
ความคิดเห็นที่ 24จุตูปปาตะ คืออะไร
ตอบกลับ
0
 
1
 

อริยสัจ 
23 มกราคม เวลา 20:18 น.
สมาชิกหมายเลข 5150763 ถูกใจ
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 25ผมเห็นจากกการปฏิบัติ ว่า จิตเป็นธาตุ ธาตุหนึ่งไม่ดับสูญ ส่วนพระนิพพาน คือ ความว่างไร้สมมุติบัญญั ไม่มีปราสาท วิมานแก้วใดๆ เป็นความว่างจริงๆ

เพี้ยนหืม......ประกาศคุณวิเศษเช่นนี้....เลย

เห็นนิพพานนี้ ใครยืนยัน ใครรับรอง
ใครบอกว่า "หวังพุทธภูมิ"........

พวกฤๅษีก็คล้ายๆ กัน หลงในความว่าง หลงในฌาน คงคิดว่า ความว่างในฌานเป็นนิพพาน

สงสัยเรียนธรรมมาจากปรมาจารย์ตั๊กม้อ
เอาหนังไปดูเพลินๆ ทำใจร่มๆ แล้วไปเรียนปริยัติให้ดีก่อนดีกว่า

อ้อ อย่าลืมไปขอขมาพระธรรมรัตนะก่อนนะครับ
กล่าวปรามาสพระธรรมมาโดยตลอด เดี๋ยวจะเรียนไม่รู้เรื่อง


มีคนไม่สะบายใจที่ได้ดูหนัง เอาออกก็ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ 24 มกราคม เวลา 20:35 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

ทำหมู 
23 มกราคม เวลา 20:52 น.
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 26สัมมาทิฏฐิ = ทางสายกลาง ไม่ดับสูญ ไม่เที่ยงแท้
จิตเที่ยงแท้ = สัสสตทิฐิ
จิตดับสูญ = อุจเฉททิฐิ

ปริมัติธรรม มีการแสดงธรรมโดยละเอียด หลายคนเรียน 5 ปี หลายคนเรียน 10 ปี เรียนจนกว่าจะเข้าใจ
ระหว่างที่เรียน ก็ใช้ชีวิต และปฏิบัติสมถ ปฏิบัติวิปัสสนาไปตามโอกาศ คนที่เรียนอย่างเดียว มีแต่คนที่เรียนเพื่อจะได้เปรียญธรรม
คนที่เรียนเพื่อรู้ เรียนเพื่อปฏิบัติ ยังมีอยู่จริง

ผมคิดว่า เพื่อนสมาชิกในพันทิปหลายท่าน มีภูมิรู้พอ และเป็นผู้มีพร้อมทั้งปริยัติและปฏิบัติ
หากผู้ถามพร้อมที่จะศึกษา และพัฒนาตนเอง

ปล.... ในสมัยพุทธกาล ก่อนที่คนนอกศาสนาจะบวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ ท่านให้เข้าปริวาส 4 เดือน เพื่อปรับทิฏฐิ ก็คงเพราะเหตุนี้
สมัยนี้ ใครนึกจะบวชก็บวช แม้มีทิฏฐินอกศาสนา ก็ยังบวชได้
ตอบกลับ
0
 
0
 

ทำหมู 
23 มกราคม เวลา 21:09 น.
ความคิดเห็นที่ 27ใครเป็นผู้รับกรรม??????.................เคยบอกหลายครั้งเเล้ว     กรรมมันไม่ใช่เป็นอะไรอยู่นอกตัวเราเลย    มันคือตัวเราที่เสวยอยู่ในปัจจุบันขณะนี้เเหละ.......สอนว่ามีคนมารับกรรมนั้นมันผิด   เวลาพิจารณาเเล้วมันจะงง    งงว่ามีเราเเล้วมีกรรมเเยกออกมา    .....เวลากรรมมันมันจะฟิตเจอริ่งกับเรา   มันก็วิ่งมาชนโครม   อะไรทำนองนี้............ปฎิจสมุปบาทนั้นคือหัวใจเเห่งพุทธศาสนา   ให้พิจารณาเนืองๆ   หากมีสติเเละสมาธิดีๆ  จะเข้าใจได้......จะเห็นว่าโลกทั้งใบเสมอกัน   ทุกอย่างเป็นเหตุปัจจัยกันไปหมด  ไม่เว้นเเม้ความดี   ความเลว   .......คุณจะเห็นคนเลวก็เป็นอย่างนั้นๆของมันเอง  คนดีก็อย่างนั้นๆของมันเอง......กุหลาบก็กลิ่นอย่างนี้   อุตพิตก็อย่างนี้   ไม่มีใครดีเลวกว่าใคร......ตถตามัน จะเกิด   อุเบกขามันจะเกิด .......ปฎิบัติเเล้วชอบเป็น  ผู้ชนะสิบทิศ  มันน่าจะไม่ใช่นะครับ .........
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7420141
23 มกราคม เวลา 21:35 น.
ดู 8 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 28ถ้าจะคุยกันแบบสั้นๆ เมื่อพูดถึงจิต ต้องเข้าใจก่อนครับว่าคืออะไร

1. จิตคืออะไร?
2. ขณะนี้มีจิตหรือไม่?
3. มีลักษณะอย่างไร?
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 6675570  
23 มกราคม เวลา 22:07 น.
ดู 8 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 29ต้องแยกแยะครับ

ระหว่าง

ยึดเอา"สิ่งนั้น"เป็นเรา
กับ
เรา

ไม่เหมือนกันครับ

"แค่เรา"ที่ไม่มี แต่ อื่นนอกจากเรา มีอยู่ครับ

เรา ไม่มี แต่ มหาภูติ มีอยู่ ครับ
ตอบกลับ
0
 
0
 

a235  
23 มกราคม เวลา 22:23 น.
ความคิดเห็นที่ 30จากหัวข้อกระทู้:
“ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม”
.... แล้วใครเสวยบรมสุขในพระนิพพาน ?

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า “บุคคล ย่อมเสวยเวทนา” ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า “บุคคล ย่อมเสวยเวทนาหรือรู้สึกต่ออารมณ์” ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า “ก็ใครเล่า ย่อมเสวยเวทนา พระเจ้าข้า ?” ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น
เช่นนี้ว่า “เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาหรือมีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว
นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
.....
เช่นว่า “เพราะมีอะไรเป็นเหตุ ? ”ภพจึงมีแก่เรา("โพธิสัตว์")เป็นต้น.🥭

เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป

.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3459975 
23 มกราคม เวลา 22:55 น.
ความคิดเห็นที่ 31คำถามแบบนี้  มีมากมาย ในพระไตรปิฏก ในอภิธรรม และ มิลินทปัญหา หรือ ในคัมภีร์อื่นๆ
        
เป็นคำถามที่ออกมาจากทิฏฐิที่ผิด ของความมีอัตตานุปาทาน(ความหลงผิดว่ามีตัวมีตน)
                  
ถ้าไม่มีความเข้าใจผิดว่า มีตัวมีตน ก็จะไม่มีคำถามแบบนี้
...คำตอบ คือ ตัวตนไม่มี  ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท ดังนั้น จึงไม่ต้องถามว่า ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้รับผลของวิบากกรรมต่างๆ
ตอบกลับ
0
 
1
 

ผีเสื้อพเนจร 
23 มกราคม เวลา 23:04 น.
วงกลม ซึ้ง
ความคิดเห็นที่ 32มีคนถามอรหันต์ตายเเล้วไปไหน?????...............มีคนตอบ   เพราะสิ่งนี้มี   สิ่งนี้จึงมี    เพราะความเกิดขึ้นเเห่งสิ่งนี้  สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  เพราะสิ่งนี้ไม่มี   สิ่งนี้จึงไม่มี  เพราะความดับไปเเห่งสิ่งนี้    สิ่งนี้จึงดับลง............       เห็นความยิ่งใหญ่ของปฎิจสมุปบาทที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาไม๊ครับ.............
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7420141
23 มกราคม เวลา 23:14 น.
ความคิดเห็นที่ 33คนทำสมาธิ อยู่กับสมาธิ  อยู่กับการรวม แต่ไม่ได้พิจารณาก็ ไปอวิชชานู้น คือ บนลงมาล่าง

แต่จริงๆการมอง  มองตรงที่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส  จะเกิดการเข้าใจ  สาวขึ้นมา จนสุดอวิชชา
แก้ไขข้อความเมื่อ 23 มกราคม เวลา 23:17 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
23 มกราคม เวลา 23:16 น.
ความคิดเห็นที่ 34การมองจาก อาการ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

ขึ้นไปบน  จะเป็นการเข้าใจมากกว่า

จึงเกิดลักษณะ ควรแก่การงาน
รู้โดยชอบ  ความรู้ในทุกข์
แก้ไขข้อความเมื่อ 24 มกราคม เวลา 00:00 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
23 มกราคม เวลา 23:59 น.
ความคิดเห็นที่ 35

ภาพปลากรอบ : นักปะติดบัฟ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
24 มกราคม เวลา 07:00 น.
ความคิดเห็นที่ 36คนไม่เรียนปริยัติก็ประมาณนี้....มัวแต่จะยึดสมาธิ ปัญญาจึงดิ่งสู่ความมืด
ตอบกลับ
0
 
0
 

ทำหมู 
24 มกราคม เวลา 07:09 น.
ความคิดเห็นที่ 37วิบากขันธ์
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7881572 
24 มกราคม เวลา 07:11 น.
ความคิดเห็นที่ 38พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

             [๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
             จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3
             อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3&mode=bracket
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=112&items=3
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=112&items=3
             ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=112
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    อนึ่ง การดับของขันธ์ ๕ ท่าน (พระอรหันต์)   ไม่เรียกว่าสูญ ในเมื่อขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ดับไปก็เพราะสิ้นเหตุปัจจัย ท่านจึงเรียกการไม่ได้เกิดอีกของขันธ์ ๕ ว่า เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิด ขันธ์ ๕ ก็ไม่เกิด
          อีกอย่างหนึ่ง จุติของพระอรหันต์ ท่านเรียกว่าจริมะจิต คือเป็นจิตดวงสุดท้ายในสังสารวัฏ สำหรับบุคคลที่ตายแล้วยังต้องเกิดอีก จิตดวงสุดท้ายในแต่ละชาติที่ตายนั้น เรียกว่าจุติจิต เพราะจุติจิตดับแล้วมีปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในภพใหม่ชาติใหม่อีก ทั้งนี้บุคคลที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ว่าจะเกิดมากี่ร้อย กี่พัน กี่แสน กี่โกฏิชาติ จิตก็เกิดดับติดต่อกันมาตลอดร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ โกฏิชาติ คือจุติจิตดับแล้วปฏิสนธิจิตก็เกิดสืบต่อไปอีกทุกๆ ชาติ
          ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นแหละ จุติของท่านจึงชื่อว่าจริมะจิต คือเป็นจิตดวงสุดท้ายของการเกิดมาในสังสารวัฏอันยาวนานนั้น เพราะไม่ปฏิสนธิจิตสืบต่ออีก เหมือนในชาติที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ นี่คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในเรื่องนี้และในนิกายเถรวาทนี้




อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://pantip.com/topic/38517496/comment9
   [ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]
               อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี, เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา.
               จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จิตวิสุทธิ , วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
https://pantip.com/topic/33381826/comment3

วิสุทธิ ๗
https://abhidhamonline.org/visudhi.htm
แก้ไขข้อความเมื่อ 24 มกราคม เวลา 09:24 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
24 มกราคม เวลา 09:16 น.
ความคิดเห็นที่ 39พ่อเทพสามตา LED ใน หลัก ปริยัติที่ สมช. นำมาจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ก็ไม่มีจุดไหนชี้ว่า จิตสูญ น่ะครับ  ผมว่า พ่อเทพสามตาสับสนอะไรบางอย่างแล้วครัช

ส่วนที่พ่อเทพ ฯ เข้าใจว่า จิตเที่ยง ธาตุรู้เป็นอมตะ มหานิรันดร์กาล แบบลิเกอ่ะ เป็นความเข้าใจผิดไปเอง ครัช

นักท่องตำรา อ่านตำรา บอกว่าจิตไม่เที่ยง ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ อ่านตำราเล่มเดียวกัน บอกว่าจิตเที่ยง
https://pantip.com/topic/42129919

ทำไมถึงตีความตำราไม่ตรงกัน เพราะเหตุใดครับ???

พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์ (ลัทธิธรรมกลาย)
https://www.winnews.tv/news/225

เพราะมี ผู้หลงผิดบางพวก พยายามสร้างเรื่อง นิพพานเป็นอัตตา หาพวกพ้อง เลยต้องจับแพะชนแกะ เพื่อสนอง ตัณหาของหมู่คณะ ครับ

ทำไมถึงเลิกอ่านตำรา พระไตรปิฏก
https://pantip.com/topic/41514820

ตาที่สาม หรือ ต่อมไพเนียล ฮินดู เรียกว่า จักระที่ 6 อะชะ

คำสอนของพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับหลักฟิสิกส์ควอนตัม   ว่าซั่น

ไม่กลัวบาปกรรมเลย พ่อเทพสามตา ที่กล้าไปกล่าวตู่ พระพุทธเจ้า

ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติตอนบวชที่วัดถ้ำสหายปี 59 ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่จันทร์เรียน

คงจะไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าด้วย แต่กล้าไปกล่าวอ้างว่าเป็น หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คงต้องตั้ง นิกายใหม่ หรือ ลัทธิใหม่กันแล้ว งานนี้

พวกหลงสมาธิ คงยากที่จะเข้าใจพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า
แก้ไขข้อความเมื่อ 24 มกราคม เวลา 09:20 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
24 มกราคม เวลา 09:16 น.
ความคิดเห็นที่ 40ช่างใหญ่ก็ดูยังงี้สิ  เรารู้ทุกข์หรือสุขด้วยเวทนาขันธ์​ใช่ไม๊  ดังนั้น การจะรู้ว่านิพพานนั้นสุขแบบไหน ก็ต้องให้เวทนาขันธ์​เขาเป็นคนเสพ คนที่ยังไม่ตายเท่านั้นถึงจะทราบได้ ว่านิพพานนั้นสุขอย่างไร

พระนิพพานที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสนั้น มีสองอย่าง คือสอุปาทิเสสนิพพพานหรือนิพพานคนเป็น กับอนุปาทิเสสนิพพานหรือนิพพานคนตาย  คราวนี้นิพพานคนตานเนี่ยเวทนาขันธ์​ก็ดับหมดด้วย จึงรู้ไม่ได้แล้วน่ะสิ

คนเรียนสาบวิทย์มาเยอะต้องรู้นะว่า เซ็นเซ่อร์​อะไรตรวจจับอะไร?

ดีแล้วที่ถาม แต่เวลาที่ผมจะฝอยนั้นยังไม่มี เอาไว้ว่างสักหน่อยจะฝอยเยอะๆ  คุณขบปัญหานิพพานคนเป็นกับนิพพานคนตายให้ทิฏฐิมันแตกกระจายซะก่อน แล้วค่อยว่ากัน เรื่องราวอื่นๆ  จะเข้าใจง่ายแล้ว.
ตอบกลับ
0
 
2
 

มะม่วงหิมพานต์ 
24 มกราคม เวลา 10:21 น.
ทำหมู ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3402001 ซึ้ง
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 41อ่านความเห็น ก็อดขำไม่ได้
เพี้ยนหัวเราะ

พวกสัตตานัง ก็ว่าสัตว์เป็นอสังขตะ เข้ามายึดอวิชา เวียนอยู่ในวัฏสงสาร
พวกจิตเดิมแท้ ก็ว่า จิตเดิมแท้ใสสว่างไร้มลทิน แต่มีกิเลสภายหลัง

สัตตานังก็ว่างั้น จิตเดิมแท้ก็ว่างี้..
....คงเหมือนกับพวกมุสลิมที่บอกว่าพระเจ้าสั่ง พวกคริสต์ก็ว่าเป็นแผนของพระเจ้า

อันเดียวกันเลย เถียงกันทั้งที่มันก็คือสิ่งเดียวกัน ผิดที่เดียวกัน ความเห็นว่ามีสิ่งเที่ยงเหมือนกัน
เป็นฤๅษีแบบเดียวกัน แต่พอพูดไม่เหมือนกัน อ้าวเป็นคนละพวกซะแล้ว
ตอบกลับ
0
 
2
 

ทำหมู 
24 มกราคม เวลา 12:38 น.
มะม่วงหิมพานต์ ขำกลิ้ง, สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 42คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า “เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ”  ดังนี้; เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ -  ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
(แก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว คือขันธ์ 5).
เพราะความยึดถือเป็นต้นเหตุ... สมัยนั้น  ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น  แล(ในที่นี้ ชาติศาสนานี้เป็นต้น).

ดูก่อนผัคคุนะ !  เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสายตนะ (แดนเกิดแห่งสัมผัส) ทั้ง ๖ นั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะ มีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมี ความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้, ดังนี้ แล.


ป.ล. แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัตว์ทั้งหลาย เพื่อความดำรงอยู่ได้ของสัตว์ทั้งหลาย ?

"I AM WHO I AM"

.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3459975 
24 มกราคม เวลา 14:08 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 43อมยิ้ม37
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 4251005
24 มกราคม เวลา 14:45 น.
ความคิดเห็นที่ 44.







---------  มหาจัตตารีสกสูตร




**********
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=14&A=3724&Z=3923


     ...


[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์
 อย่าง ๑
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่
โลกนี้มี
โลกหน้ามี
มารดามี
บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

             [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
 เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ
 องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

**********


ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
==========

คำว่า ปญฺญาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญาว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=542
==========



.



แก้ไขข้อความเมื่อ 24 มกราคม เวลา 19:43 น.
ตอบกลับ
0
 
2
 

วงกลม  
24 มกราคม เวลา 19:30 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ, มะม่วงหิมพานต์ ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 45.


---------- ผู้ที่ มีความเห็น สุดโต่ง  นอกหลักพระธรรม
                  --   ด้าน หนึ่ง  ว่า มีตัวตนที่คงที่ถาวร  

                              -  ว่า เป็น  จิต ที่คงทนถาวร บ้าง (ซึ่ง ขัดแย้งกับพระธรรม)
                                
                              -  ว่า เป็น สัตว์ เป็นเรา เป็นสัตตานัง นอกเหนือขันธ์5 ที่คงทนถาวร บ้าง (ซึ่ง ขัดแย้งกับหลักพระธรรม)




ความคิดเห็นที่ 4

.


---------- เรียน ท่านอนุตโร

            สมาชิก 9398 เขาเชื่อว่า ขันธ์5 ไม่เที่ยง(จิตไม่เที่ยง)
            แต่เขาเชื่อว่า "มีสัตว์ หรือ เรา (สัตตานัง) ที่เป็นสิ่งคงทน" เที่ยงมาสิงขันธ์5  และ เป็นสิ่งคงทน ไปเกิด แล้วให้ขันธ์5 เกิดดับ ไม่เที่ยงในแต่ละชาติ
               และ เขาเชื่อว่า " สัตว์ หรือ เรา นี้" คือ อสังขตธรรมแบบไม่ดับเย็น
  (เขาเชื่อว่า อสังขตธรรม มี 2 แบบ คือ
-- แบบไม่ดับเย็น (คือ สัตว์ เรา  สัตตานัง )
กับ -- แบบดับเย็น (นิพพาน)

          เขาจึงยอกว่าจิตไม่เที่ยง (แต่ยังไม่ได้บอกว่า เขาเชื่อว่า มี "สัตว์ เรา สัตตานัง" ที่อยู่นอกเหนือขันธ์5 ที่ เที่ยง ที่คงทน

อมยิ้ม09


ลองดู กระทู้ ที่เขาตั้ง ครับ



----------


.
ตอบกลับ
0
 
1
 

วงกลม  
24 มกราคม เวลา 20:01 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 46เธอ ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้วก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ.

เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า  นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,  นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ;  และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ,  นี้เหตุให้เกิดอาสวะ,  นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,  นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ.  

เมื่อรู้อยู่อย่างนี้  เห็นอยู่อย่างนี้  จิตก็หลุดพ้นทั้งจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ;  
ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่า หลุดพ้นแล้ว.  
เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีกแล้ว” ดังนี้.


[ปญฺจนฺนํ   ขนฺธานํ   นิโรโธ ปรมํ  สุญฺญํ    นิพฺพานนฺติ]
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน สูญอย่างยิ่ง(สูญจากอาสวะทั้งหลาย)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้กระทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้ว แลอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นสมณะที่ 4.(พระอรหันตสาวกเป็นต้น)

ป.ล.ถ้าปัจจัยเหลือ ก็เกิด, หมดปัจจัย ก็ไม่เกิด,
พวกเราที่มีชีวิตอยู่นี้เอง ,🐕👨‍👩‍👧‍👦 ดังนี้ เป็นต้น.

นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ(นิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง)
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7769583
25 มกราคม เวลา 11:31 น.
สมาชิกหมายเลข 5479922 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 47ความเชื่อแบบสุดโต่ง ๒ สาย
๑. ความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเที่ยงเป็นนิรันดร์ เรียกว่า สัสสตทิฐิ
๒. ความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างดับสูญ เรียกว่า อุจเฉททิฐิ
ทั้งสองอย่างนี้เป็นมิจฉาทิฐิเหมือนกัน
--------------------------------------------
จิตมีลักษณะไม่เที่ยงและไม่ใช่สภาพธรรมที่ดับสูญ จิตเกิดดับสืบต่อทุกขณะ จนกว่าจะหมดเหตุปัจจัย

จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง??
จิตหรือวิญญาณขันธ์ ก็คือสิ่งเดียวกัน มีลักษณะเหมือนกัน

ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด? ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม?
ไม่มีใคร ไม่ใช่ตัวตนของใคร แต่เป็นธรรมแต่ละหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่

ทำไมจิตหลุดพ้นคลายกำหนัดจากวิญญาณขันธ์?
ไปทำความเข้าใจเสียใหม่ จะเรียกว่าจิตหรือวิญญาณขันธ์ ก็คือสิ่งเดียวกัน
เข้าใจผิดแล้วที่ว่า จิตหลุดพ้นคลายกำหนัดจากวิญญาณขันธ์ ถ้ายังไม่เข้าใจในแต่ละคำที่พูด
ยิ่งพูดก็ยิ่งผิด เพราะพูดแต่คำที่ไม่เข้าใจ

ใครเสวยบรมสุขในพระนิพพานครับ?
ไม่มีใคร มีแต่สภาพธรรมที่ดับสนิทเพราะหมดแล้วซึ่งเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ที่ว่าสุขเพราะไม่เกิด เมื่อไม่เกิดย่อมไม่มีอะไรที่เป็นสภาพทุกข์

ค่อยๆ ศึกษาให้เข้าใจทีละคำ อย่างเพิ่งคิดว่า ได้ฌานได้ญาณขั้นสูง อย่าลำพอง อย่าประมาท
เท่าที่โพสมา ผู้ที่มีความเข้าใจธรรมอ่านแล้ว ก็รู้ได้เลยว่า ยังห่างไกลจากความเข้าใจถูก


ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 6675570  
25 มกราคม เวลา 13:35 น.
วงกลม ซึ้ง, สมาชิกหมายเลข 5479922 ขำกลิ้ง
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 48.





--------- https://84000.org/tipitaka/book/m_siri.php?B=16&siri=57


**********

**********


.
ตอบกลับ
0
 
1
 

วงกลม  
25 มกราคม เวลา 20:31 น.
สมาชิกหมายเลข 6675570 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 49พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา
             [๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร? ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา มีใจถูกตัณหา
ครอบงำ จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร? นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศ
นั้นๆ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยง
พระเจ้าข้า.
             พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบ
ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ ขัชชนิยวรรคที่ ๓.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๒๓๒๖ - ๒๓๕๖.  หน้าที่  ๑๐๑ - ๑๐๒.
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2326&Z=2356&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=182


------------------------------------------------------------
และในหนังสือ พุทธธรรม หน้า ๑๕๖

หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงของธรรมชาติให้เห็นว่า สิ่งทั้ง
หลายมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ เป็นไปตาม
กระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มีจริง
ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น แต่ผู้ไม่รู้ความหมายของหลักปฏิจจสมุปบาท มัก
เข้าใจไตรลักษณ์ผิดพลาด โดยเฉพาะหลักอนัตตานั้น มักได้ยินได้ฟังกันอย่าง
ผิวเผิน แล้วตีความเอาว่า อนัตตา หมายถึงไม่มีอะไร กลายเป็นนัตถิกวาท
อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างร้ายแรงไปเสีย

ปฏิจจสมุปบาทธรรม  จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
https://pantip.com/topic/32573624/comment4

ถ้าสูญ จิตดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จริง?? ใครเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด ใครเป็นผู้ได้รับผลของกรรม

คำถาม พ่อหลอด LED เทพสามตา ช่างเหมือนโมฆะบุรุษ ตามพระสูตรเลยครับ  แสดงว่า ที่นั่งสมาธิแล้วอ้างว่าเป็นแบบพระพุทเจ้า ไม่ใช่แล้วครับ น่าจะเป็นเดียรถีย์ข้ามผิดท่า

ฌาน อภิญญา สมาธิตามแบบพระพุทธเจ้า ( face ที่พ่อหลอด LED เป็นแอด ว่าซ่าน)
https://www.facebook.com/groups/354054105965190/
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
26 มกราคม เวลา 07:40 น.
วงกลม ซึ้ง
ความคิดเห็นที่ 50ใครปฏิบัติ ธรรมในพระพุทธศาสนา   แล้วเห็นจิตเป็นอะไร   
ก็เป็นไปตามคำว่า
1 ปัจตัตตัง
2 สันทิฏฐิโก
3 ฯลฯ


เจ้าชายสิทธัตถะ  ทรงปฏิบัติ ฯ
ทรงปฏิญาณพระองค์ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมศาสดา แห่ง พระพุทธศาสนา

ตรัสธรรมะ ไว้ฯ
พระสาวกครั้งปฐมสังคายนา รักษา เสียงที่ตรัสธรรม วินัยไว้


ฉะนั้น   ใครปฏิบัติธรรม ฯ  เห็นธรรม
ก็ย่อม ควร ต้อง   เห็นสอดคล้องกับ  พระพุทธองค์
ตาม ภูมิธรรม ภูมิจิต  นั่น

ผม   มีความเห็น “ตามข้อความข้างบน”

ส่วนใครเห็นต่าง   ก็ เห็นไปตาม  “ภูมิธรรม ภูมิจิต” อันเกิดจากการปฏิบัติ  ของตน   เป็น เช่นนั่นเอง

😀
หมายเหตุ

ข้อภาพภาพ   — หาเครดิตไม่เจอ
แต่ สะท้อน  “ปัญญา” ของผู้  “เสนอข้อความนั้น”


ตอบกลับ
0
 
0
 

เซนเถรวาทปฐมสังคายนานิยม  
26 มกราคม เวลา 08:40 น.
ความคิดเห็นที่ 51.



----------  คนที่เห็นต่างจาก พระศาสดา     ก็เป็นผู้ที่เชื่อความเชื่ออื่น  นอกพระศาสนา




.
ตอบกลับ
0
 
0
 

วงกลม  
26 มกราคม เวลา 10:15 น.
ความคิดเห็นที่ 52จิต คือ อทิสมานกาย ไม่ใช่วิญญาณในขันธ์ 5
อทิสมานกาย เป็นคำกลางๆ ที่ใช้เรียกกายละเอียด
ถ้าเป็นกายละเอียดที่ประกอบด้วยกุศลก็เรียกว่า
กายทิพย์ เช่น กายเทวดา กายพรหม ถ้าประกอบด้วย
อกุศล เช่น กายสัตว์นรก กายเปรต

ถ้ากายละเอียดของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
เป็นอทิสมานกายที่บริสุทธิ์ เรียกว่า กายธรรม

อทิสมานกายนี้ คือ กายใน กายฝัน หรือ กายในกาย
ที่กล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
[youtube]https://www.youtuกbe.com/watch?v=3IKRPNkiQHs[/youtube]

เสียงธรรมก่อนนอน (ฟังยาวต่อเนื่อง) 28/6/64
โดย...หลวงพ่อฤาษี (พระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง
02:08:43
เมื่อขาดใจตายลงไปแล้ว จิตวิญญาณหรืออทิสมานกาย วิญญาณ
ไม่ไปด้วยแน่ ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทฟังไว้ด้วยนะ คำว่า
วิญญาณนี้เป็นความรู้สึกที่เราเรียกกันว่าประสาท ตามที่เขาบอกว่า
ขันธ์ 5 มี 5 อย่างคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง 5
อย่างนี้ เวลาตายมันตายพร้อมกัน คือไม่เกาะกับร่างกาย

วิญญาณไม่ใช่จิต วิญญาณไม่ใช่อทิสมานกาย สำหรับสิ่งที่ออกจาก
ร่างกายไปคือ จิต หรือ อทิสมานกาย จิตมีสภาพคิด อทิสมานกายคิอ
กายหนึ่งที่ซ้อนอยู่ในกายเนื้อ ตามธรรมดาที่เขาบอกว่า คนตายแล้ว
ไปสวรรค์บ้าง ไปนรกบ้าง ไปเกิดที่โน่นบ้าง ไปเกิดที่นี่บ้าง เราจะเห็นว่า
ร่างกายถูกเผาบ้างถูกฝังบ้าง เอาอะไรไปเกิด ก็คือเอาความจริงของ
ตัวเราข้างในไปเกิด

ตัวเราข้างในถ้าจะเห็นได้ ถ้าไม่ได้ทิพจักขุญาณเห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้
เห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ท่านจึงเรียกว่าอทิสมานกายเป็นกายที่ไม่สามารถ
จะเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ถ้าเราจะมีความรู้สึกว่ามีไหมก็ต้องตอบว่ามี นั่นก็
คือเวลาฝัน เรานอนฝันว่าทำโน่นทำนี่ทำนั่น แล้วในกายข้างในจริงๆ
มันไปจริงๆ แต่กายเนื้อมันนอนอยู่

เจ้ากายตัวนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ขณะที่อารมณ์จิตคิดว่า หมา
ตัวนี้ดีกว่าเรา มีบุญวาสนาดีกว่าเรา เมื่อสิ้นลมปราณ ลมหายใจหมด
ไปปั๊บ กายตัวนี้มันออกจากกายเนื้อ เข้าสู่ครรภ์ของนางหมาตัวเมีย
ทันที

ต่อมาไม่ช้าไม่นานเท่าใด ก็คลอดออกมาเป็นหมาโทน การที่ตายจาก
คนไปเกิดเป็นสุนัข สุนัขประเภทนี้รู้ภาษาคนดีมาก เป็นที่รักของท่าน
คหบดี นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท อย่าคิดว่ากรรมที่ทำแล้วเกิดเป็น
สุนัขนี้ ยังไม่ได้หมายถึงการทิ้งลูก กรรมที่บาปที่ทิ้งลูกยังไม่มาสนอง

กรรมอย่างอื่นใด กรรมของการปรามาสพระไตรสรณคมน์ก็ยังไม่มาถึง
กรรมเพราะละเมิดศีล 5 ข้อใดข้อหนึ่งก็ยังไม่มาถึง เป็นแต่เพียงความรู้สึก
คิดว่าสุนัขดีหรือหมาดี เพียงเท่านี้พอจิตออกจากร่าง หรืออทิสมานกาย
ออกจากร่าง ก็เข้าสู่ครรภ์ของสุนัขทันที เข้าท้องหมา

นี้จำไว้บรรดาท่านพุทธบริษัท ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้เรา
เจริญสมาธิและวิปัสสนาญาณ ทำอารมณ์ให้ทรงตัวที่เรียกว่าสมาธิคือการ
ตั้งใจ ตั้งใจนึกถึงความดี มีพุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นต้น ธัมมา-
นุสสติ นึกถึงพระธรรม สังฆานุสสติ นึกถึงพระอริยสงฆ์ ศีลานุสสติ จิตคุม
อารมณ์ในศีลให้ทรงตัว จาคานุสสตินึกถึงทานการบริจาคคือการให้ เทวตา-
นุสสติ นึกถึงความดีของเทวดา เป็นต้น

ที่องค์สมเด็จพระทศพลแนะนำให้ทำอย่างนี้ ที่บอกว่าทำให้เป็นฌาน ฌานคือ
อารมณ์ชิน ถ้าเรานึกถึงความดีทั้ง 6 ประการนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเวลา
จะตาย ในยามปกติก็นึกได้บ้าง นึกไม่ได้บ้าง ลืมบ้าง นึกถึงบ้าง แต่เวลาก่อน
จะหลับหรือตื่นใหม่ๆ ควรจะทรงอารมณ์ให้ทรงตัว คือตั้งใจภาวนาและนึกถึง
ให้ทรงตัวไว้สัก 2-3 นาทีก็พอให้ชิน

พอเวลาใกล้จะตายจริงๆ อารมณ์ของความดีจะรวมตัว ถ้านึกถึงอารมณ์ของ
ความดี 6 อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเลวหรืออย่างอ่อนที่สุด ตายจาก
ความเป็นคนจะไปเป็นเทวดาหรือพรหมทันที ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะจิตน้อม
ถึงกุศล คำว่ากุศลหมายถึงจิตคิดอยู่ในความฉลาด ไม่พลาดจากความดี ก็เล่า
กันย่อๆ เรื่องพุทธานุสสติ เป็นต้น เอาไว้ถึงเวลานั้นค่อยพูดกัน

02:20 - พุทธานุสสติกรรมฐาน
02:40 - การตัดสังโยชน์ 3 ประการขั้นต้น
สังโยชน์ 3 ประการมี 3 ขั้น ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด
ใช้สมาธิไม่สูงแค่ปฐมฌานก็ได้ มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย
แต่มีศีลบริสุทธิ์ ฉะนั้นกำลังใจก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียดในสมาธิ
มากจนเกินไป ทำกำลังใจให้สบายๆ นี่เป็นสุขแล้ว ใช้ได้แล้ว

00:05:50 - การเจริญกรรมฐานนั่นแหละเป็นการคลาย หรือสำรอก
กิเลสให้หมดไป คือค่อยๆ เคาพะ กิเลสไม่ใช่น้ำในกระบอก จะได้
จับแล้วเทพรวดให้หมดไป กิเลสมันเกาะใจ และเกาะแน่นเกาะนาน
เกาะลึก แคะมันยากแสนยาก จึงค่อยๆ แคะ ค่อยๆ ทำ อันดับแรก
มีศีลบริสุทธิ์ ประการที่ 2 ต้องมีจิตตั้งมั่น มั่นคงแน่นอน ค่อยๆ ทำ
ประการที่ 3 มีปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถค่อยๆ ตัดกิเลสให้หมด
ไปได้ทีละน้อยๆ ในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง

00:14:20 - การจะปฏิบัติให้ได้ผลในฌานโลกีย์ก็ดีโกกุตตระก็ดี
จึงต้องละส่วนสุด 2 อย่างคือ

1.อัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติ
เครียดเกินไป ไม่พักไม่ผ่อน ไม่หลับไม่นอน ตึงเกินไป อย่างนี้
จะเป็นโรคเส้นประสาท ไม่มีผลในการปฏิบัติในด้านความดี
คือจะไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า

ประการที่ 2 กามสุขัลลิกานุโยค ย่อหย่อนเกินไปและอยาก
ได้เกินไป อย่างนี้ก็ไม่มีโอกาสได้เป็นเพราะจิตฟุ้งซ่าน

ต้องใช้มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์กลางๆ ในเมื่อเข้าถึงจุด
อารมณ์เครียด ตอนนี้ก็ต้องถูกพิสูจน์  แต่ว่าการถูกพิสูจน์นี่
มีน้อยคน ไม่ใช่ทุกคน ท่านที่จะถูกพิสูจน์อย่างหนักแน่น
จริงๆ หนักมากๆ ก็ต้องเป็นพวกที่มาจากพระโพธิสัตว์
ก็หมายความว่า อดีตเคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อน อยากจะ
เป็นพระพุทธเจ้า การที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้เค้าถือว่าเป็น
จอมทัพ ท่านที่จะเป็นจอมทัพปราบข้าศึกคือกิเลสต้องมีความ
เข้มแข็งมาก

ท่านผู้นี้จะถูกพิสูจน์ด้วยเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้น
จาตุมหาราชนี่เป็นเทวดาผู้ทรงฌาน ในสมัยที่เป็นมนุษย์
ท่านได้ฌาน 1, 2 หรือ 3 ใน 3 ฌานนี้ ฌานใดฌานหนึ่ง
ก็ได้ ทรงฌานอย่างนี้แล้ว ถ้าเวลาจะตายแล้วเข้าฌานตาย
การเข้าฌานไม่ได้หมายถึงว่าต้องนั่ง อาจจะนอนหรือยืน
หรือเดิน นอนตะแคงซ้ายตะแคงขวา ทำอะไรอยู่ก็ได้ ก็ตาย
ปุ๊บปั๊บ

แต่ว่าก่อนที่จะตายจิตของเขาน้อมถึงพระไตรสรณคมน์มี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
ที่เขาทำอารมณ์ทรงตัว อารมณ์ทรงตัวนี่ไม่ใช่นั่งนิ่ง ต้อง
นั่งหลับตาปี๋ไม่ใช่อย่างนั้น ไอ้การทรงของสมาธิ นี่พูดกัน
อย่างนี้สมาธิก็ทรงตัวได้ ฌานก็ตั้งอยู่ได้ ฌาน 1 ฌาน 2 นี่
ยังคุยกันสบาย ไม่จำเป็นต้องไปนั่งหลับตาปี๋

ถ้าจิตเข้าถึงฌาน 3 ตอนนี้จะพูดช้าลงไปมาก เพราะฌาน 3
มีกำลังกดมาก ถ้าจิตทรงฌาน 4 พูดมีแต่เหตุและผล เรียกว่า
พูดไอ้ไร้เหตุและผลน่ะไม่มีเพราะจิตสะอาดมาก จิตที่ทรงฌาน
อยู่นี่พูดได้ คุยก็ได้ อยากจะรู้อะไรในขณะที่คุยกับเพื่อน ปากก็
คุยอยู่กับเพื่อน จิตอีกส่วนหนึ่งสามารถจะไปรู้เรื่องต่างๆ ได้

อย่างนั่งคุยกันอยู่ 2 คน เพื่อนก็คุยว่า บ้านของฉันดีอย่างงั้น
มีไอ้นั่นมีไอ้นี่ และประวัติความเป็นมาของฉันเป็นอย่างนั้นเป็น
อย่างนี้ ถ้าเราอยากจะรู้จริงๆ ก็เอาจิตตามเสียง ตาก็พูดกับเขา
ตามกิจที่ต้องพูด ใจเราก็อยากจะรู้ความจริง ไปค้นคว้าหาอดีต
แห่งความจริงที่เขาเล่ามา เราจะพบความจริงหรือไม่จริง จะพบ
ได้ทันทีว่าท่านผู้นี้จริงหรือโกหก อย่างนี้มันหลอกกันไม่ได้

00:17:55 - แต่สำหรับการถูกทดลองจากเทวดาชั้นจาตุมหาราชนี่
ระหว่างที่พูดเป็นวันที่ 16 ธันวาคม 2528 เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา
พระที่วัดท่าซุง เห็นจะชื่ออำนาจล่ะมั้ง เคยทำงานกรมศิลปากรมาก่อน
แล้วก็มาบวชอยู่ สละบ้านสละเรือน มีลูกมีเต้าแล้ว มีภรรยา ภรรยา
รูปร่างหน้าตาก็ดี ลูกทั้ง 2 คนหรือ 3 คนก็ไม่ทราบ เห็น 2 คน

ทั้งหมดทั้งบ้าน ทั้งพ่อ ทั้งแม่ ทั้งลูกเนี่ย ทรงทิพจักขุญาณได้ดีมาก
สามารถพูดกับผีและเทวดา คุยกันได้แบบสบายๆ แต่ฌานโลกีย์
บรรดาท่านพุทธบริษัท อาจจะพลาดได้นะ ต้องระมัดระวัง

เธอเกิดมีความเต็มกำลังใจว่า งานเท่านี้ขอละ ภรรยาสามารถ
เลี้ยงลูกได้  ก็มาบวช กำลังใจท่านเข้มแข็งก็ถูกพิสูจน์ตลอดมา
พิสูจน์ด้วยกำลังของเทวดา เทวดาเค้าจะพิสูจน์เราต่อเมื่อเรา
ไม่กลัว พอพูดอย่างนี้แล้วขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่ยังมี
ความกลัวอยู่

ถ้ายังมีความกลัวอยู่ เขาไม่มาหรอกเพราะเสียเวลาเขา ต้องคน
ที่มีความรู้สึกว่าไม่กลัวจริงๆ แต่ท่านผู้นี้ต้องมาจากสายพุทธภูมิ
สายสาวกภูมินี่เขาไม่ลองมาก ถ้าขืนลองมากเดี๋ยวก็เป็นบ้าไปเลย
ดีไม่ดีเดี๋ยวก็เลิกเพราะว่ามีกำลังใจอ่อน ถ้าเดิมมาจากพุทธภูมิ
พวกนี้มีความเข้มแข็งมากเค้าก็ลองหนัก

เมื่อลองหนัก ลองแล้วก็ไม่มีอะไร อาจจะมีความหวั่นไหวบ้าง
เล็กๆ น้อยๆ มีอย่างเดียวว่าใครจะชนะใคร แต่การทดลอง
ของเขาไม่มีการซ้ำแบบ ถ้าเราคิดว่าเขาจะมาไม้นี้เขาไม่มา
หรอก เขามาท่าโน้น จากที่ว่าจะมาท่านั้นเขาไม่มา เขาจะมา
อีกท่าหนึ่ง เป็นอย่างนี้ถ้าบังเอิญเรากลัวเขาก็เลิก ถ้ารู้สึกกลัว
มีความหวาดหวั่นมากขึ้น เขาก็เลิกไม่รบกวนต่อไป

ถ้าบังเอิญเราไม่รู้จักกลัว ไม่กลัวเสียจริงๆ เขาก็เลิกเหมือนกัน
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเขาก็ไม่กล้าเล่นกับคนที่เรียกว่า
เลยบาทเลยสลึง คนที่ไม่กลัวไม่ใช่ไม่เต็มบาทนะญาติโยม
พุทธบริษัท คนที่เต็มบาทก็ยังหวาดหวั่นอยู่ ถ้าไม่กลัวจริงๆ นี่
เลยบาท อาจจะถึงหกสลึงก็ได้ ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะกำลังใจ
ของคน

ทุกคนอาจจะสู้กันไปสู้กันมา สู้ก็เพื่อให้หนึพ้นจากความตาย
ถ้าสู้กับข้าศึก ไม่มีใครสู้กับข้าศึกและศัตรู สู้เพื่อให้ตัวตาย
อย่างนี้ไม่มี มีแต่เพียงคิดว่าการสู้กันคราวนี้เราจะต้องฆ่าข้าศึก
หรือศัตรูให้ได้ ศัตรูจะต้องตายเราจะต้องไม่ตายเขาคิดกัน
อย่างนี้ อย่างนี้เขาเรียกคนเต็มบาท

ถ้าคนเลยบาทคิดสู้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ร่างกายจะตายก็
ช่างมัน แต่ความดีส่วนนี้ต้องเอาให้ได้ ถ้าความดีส่วนนี้เอา
ไม่ได้เพียงใดเราจะไม่ยอมเลิกเด็ดขาด แม้จะตายก็ตาม
ยอมพลี เรียกว่ารักธรรมะยิ่งกว่ารักชีวิต อย่างนี้เค้าเรียกว่า
คนเกินบาท แต่ความจริงจะคิดว่าหกสลึงก็ไม่ถูก อาจจะถึง
แปดสลึงหรือสองบาทเลยก็ได้ เพราะอะไรเพราะมีกำลังใจ
เข้มข้นมาก

ฉะนั้นก็ขอเตือนบรรดาท่านพุทธบริษัท ว่าการพิสูจน์ของ
เทวดา เขาจะพิสูจน์ต่อเมื่อเราไม่มีความกลัว ถ้ามีความ
เข้มข้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พิสูจน์หนัก จะเป็นเฉพาะ
พวกพุทธภูมิเท่านั้น หรือว่าเวลาปฏิบัติและปรารถนา
สาวกภูมิ แต่ว่าเดิมมาจากพุทธภูมิด้วยกำลังเข้มข้น
อย่างนี้เขาจึงจะพิสูจน์

ถ้าเราไม่กลัวก็ต้องพิสูจน์กันหนัก จนกว่าจะรู้สึกว่ากลัว
แต่ในที่สุดเราไม่กลัวจริงๆ เทวดาก็กลัว เทวดาก็เลิก
หรือว่าพิสูจน์แล้วเราเกิดมีความกลัวขึ้น มีความหวาดหวั่น
มากขึ้นเขาก็เลิกเหมือนกัน

รวมความว่าขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านทราบ
ตามความเป็นจริงว่า ขอบรรดาพุทธบริษัทชายหญิงอย่า
หวาดหวั่นต่อการพิสูจน์การทดลอง เพราะว่าการพิสูจน์
ของเขาเพื่อให้ทราบกำลังใจของเรา ทุกอย่างแหละของ
ญาติโยมพุทธบริษัท ต้องมีการพิสูจน์ความจริงจึงจะรู้

00:26:30 - ทีนี้การสอบจิตใจของนักเจริญกรรมฐานของ
เทวดาก็เหมือนกัน เทวดาจะต้องไม่มาตามแนวที่เราคิด
เราคิดว่าอาการอาจจะเกิดอย่างนี้เขาจะไม่มาแบบนั้น
ต้องหลบกันไปเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริง

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง บทพิสูจน์ของ
เทวดานี้ ไม่เฉพาะของพุทธานุสสติอย่างเดียว จะเจริญ
กรรมฐาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็เหมือนกัน ถ้าอารมณ์
เข้าถึงขั้นใกล้จะเป็นพระ อริยเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ท่านบรรดาพุทธบริษัทชายหญิงท่านนั้น เคยปรารถนา
พุทธภูมิมาก่อนจึงจะมี

ถ้าไม่ปรารถนาพุทธภูมิมา จะไปนั่งนึกเรียกก็ไม่มีมา
เทวดาเขาไม่พิสูจน์ เพราะว่าเด็กเดินป้อแป้ๆ ไปชกเขา
ผิดๆ เขาอาจจะหลบลงมาตายก็ได้ เขาต้องพิสูจน์กับ
คนที่มีความเข้มแข็งจริงๆ

เอาหละบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง เรื่องนี้มาเล่าสู่
กันฟัง เป็นการตัดท้ายพุทธานุสสติกรรมฐาน เพื่อเป็น
การป้องกันไว้ ป้องกันก็คือว่าเราไม่กลัว ก่อนภาวนาและ
พิจารณาคิดว่า มันจะตายเวลานี้ก็เชิญ  ถ้าตายเวลานี้
อย่างเลวเราไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหมโลก อย่าง
สูงสุดเราไปพระนิพพาน อะไรมันจะเกิดขึ่นยังไงก็ตาม
เราไม่ยอมหวั่นไหว ไม่ยอมแพ้เท่านี้ก็พอแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 27 มกราคม เวลา 13:03 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 4655194 
27 มกราคม เวลา 10:52 น.
ความคิดเห็นที่ 53ก็คงจะเป็นจุดที่เกี่ยวกับอทิสมานกายนี้ ที่เข้าใจว่า
วิญญาณในขันธ์ 5 กับจิตเป็นตัวเดียวกัน เมื่อนิพพาน
และกายเนื้อตายไปแล้วจิตก็ดับตาม ซึ่งจะเข้าข่าย
อุจเฉททิฏฐิ ที่ว่าตายแล้วสูญ นิพพานจิตไม่สูญแต่ก็
ไม่ไปเกิดอีก

สมัยเด็กๆ สัก 40-50 ปีที่แล้ว ที่เคยอ่านก็ไม่เคยเห็น
บอกว่านิพพานและจิตมีสภาพสูญ เพิ่งจะมาสังเกตเห็น
ช่วง 20-30 ปีหลังนี่ที่สอนแปลกๆ ไปจากเดิม ไม่รู้ว่า
นักวิชาการวิชาเกินจากไหน ที่ไปอธิบายพลิกจาก
หน้ามือเป็นหลังมือเลย อ่านแล้วก็มึนๆ เพราะที่เคยอ่าน
ไม่ใช่แบบนี้ พอมาอ่านเจอเรื่องนิพพานที่สมเด็จญาณสังวร
อธิบายไว้ เออยังพอมีเหลือเค้าเดิมที่เคยอ่านตอนเด็กบ้าง
แก้ไขข้อความเมื่อ 27 มกราคม เวลา 13:12 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 4655194 
27 มกราคม เวลา 13:08 น.


Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2567 7:30:08 น. 0 comments
Counter : 64 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space