space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
9 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ทำให้เกิดปิติ เป็นการรู้พร้อมทั้งกายทั้งใจในขณะจิตเดียว เป็นสติสัมปชัญญะฌาน เ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ทำให้เกิดปิติ เป็นการรู้พร้อมทั้งกายทั้งใจในขณะจิตเดียว เป็นสติสัมปชัญญะฌาน เป็นฐานเวทนา(เกิดปิติ)ทำให้เห็นถึงคุณสมบัติที่พิเศษของจิต ที่สามารถรู้พร้อมๆกันหลายอารมณ์ในขณะจิตเดียว เป็นฐานในการรู้ธรรมที่ละเอียดขึ้นไป จึงไม่เข้าใจว่านักปฏิบัติที่กระโดดไปเห็นจิตในจิตได้เลยนั้นโดยไม่มีสัมมาสมาธิ สติสัมปชัญญะ เขาเห็นกันจริงหรือไม่ แล้วเห็นได้อย่างไร
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 

ความคิดเห็นที่ 1เห็นในแบบของเขา แต่จะถูกต้องหรือไม่ก็อีกเรื่องนึง เมื่อเห็นบ่อยๆ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  วันนึงก็จะเห็นได้อย่างถูกต้อง

แต่เราเชื่ออยู่อย่างนึง นักปฏิบัติก็ต้องอ่านและศึกษามาพอสมควร และรู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเป็นทางที่ถูกต้อง เมื่อมีความรู้และปฏิบัติถูกต้อง โอกาสที่จิตเห็นจิตก็ง่ายขึ้น  หรือในผู้ที่มีวาสนาบารมี แค่มีเหตุนำทางก็ทำได้เหมือนง่ายนิดเดียว
ตอบกลับ
0
 
0
 

เพริศพิไลเพรา  
15 มกราคม เวลา 16:05 น.
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 2รู้ว่ามีปิติ  ก็คือเห็นจิตในจิต
รู้ว่ามีโทสะ ก็คือเห็นจิตในจิต
รู้ว่ามีราคะ ก็คือเห็นจิตในจิต

...
บางคน อาจไม่รู้จักบางอย่าง
เช่น ไม่รู้ว่าจิตมีมานะ จิตปราศจากมานะ
ไม่รู้ว่าจิตมีอุทธัจจะ จิตปราศจากอุทธัจจะ

แบบนี้ จึงเรียกว่า ไม่เห็นจิตในจิต
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 19:06 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

จางซานฟง  
15 มกราคม เวลา 19:01 น.
ดู 31 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 3อันนี้ต้องปฏิบัติเอาเอง
1.เห็นกายทั้งกายที่ไม่บอกว่าเป็นเรา จิตรู้สึกอย่างไร
2.สุข อุเบกขา เอกคตา ที่ต่อจากปิติจากฌาน2
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
15 มกราคม เวลา 20:52 น.
ดู 27 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 4การถามเรื่องส่วนตัวคนอื่น การถามเรื่องปัจจตังคนอื่น

การไม่เชื่อแต่ไม่ถาม แล้วไปถามคนอื่น

โดยไม่ใช่หน้าที่

มันไม่ใช่ความเห็นที่เข้าท่าเท่าไหร่ หรือเป็นความเห็นผิด มิจฉาทิฎฐิ

เริ่มพิจรณาจากตรงนี้ก่อนกับปัญหาที่ถามจากนั้น

แล้วถ้าได้คำตอบจะทำยังไง

ถ้า เชื่อ จะเชื่อได้หรือ

ถ้า  ไม่เชื่อ จะถามทำไม
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 มกราคม เวลา 04:18 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

masked rider 
16 มกราคม เวลา 04:16 น.
ดู 7 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 5เห็นจิตในจิต ไม่ใช่เห็นแสงเป็นดวงๆ
แต่คือการเห็น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตน อย่างหยาบๆ ก็รู้เห็นว่ากำลังมีราคะ
กำลังมีโทสะ เป็นต้น

เห็นจิตในจิต อย่างหยาบๆ เช่น รู้เห็นว่าตนกำลังโกรธ แต่ก็มีความอยากได้ปนอยู่ด้วย เป็นต้น

ยิ้ม

....๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน...
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

ตอบกลับ
0
 
0
 

Mahasati Neo  
16 มกราคม เวลา 07:19 น.
ความคิดเห็นที่ 6จาก3-19 ตอบ 4,5 ไปด้วยเลย
1.มโนไปเองว่าจิตตั้งมั่นแล้ว จิตตั้งมั้นได้ต้องเป็นจิตที่มีสมาธิ ไม่มีสมาธไม่มีกำลังจิตจะตั้งมั่นไม่ได้ คิดเองเออเอง ว่าเป็นจิตตั้งมั่นแล้ว
จิตตั้งมั่นเป็นจิตที่มีอินทรีย์สังวร สติ สมาธิ ปัญญา  มีวิหารธรรม ตรงไหนของคุณที่บอกว่าจิตมีสมาธิ ไม่มีสมาธิจึงเป็นได้แค่จิตที่ฟุ้งซ่าน
2. อีกอย่างการทรงสมาธิหรือพิจารณาธรรมได้นั้น จิตต้องแยกรูปนามได้ขณะพิจารณา เป็นการละอุปทานขันธ์ให้ได้ก่อน เห็นจิตในจิตได้แต่มีอุปทานในขันธ์อยู่เต็มที่ก็เหมือนเห็นขี้หมานั่นแหละ มันจะสำคัญอะไร หรือเป็นได้แค่ นกแก้ว นกขุนทอง กูเห็นแล้ว กูเห็นแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 มกราคม เวลา 07:42 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
16 มกราคม เวลา 07:30 น.
ความคิดเห็นที่ 7ปิติ  เป็นลักษณะ ไม่มี ความเดือดร้อนใจ ไม่มีความคับแค้น  ต่อเมื่อสิ่งนี้ดับ  ปิติก็จะปรากฏ

พระสูตรท่อน  เรามีปิติเป็นพักสาเหมือนชั้นพาสะระเทพ

การพิจารณา ปิติ สอดคล้องกับ หลัก อิทัปปัจจยตา
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 มกราคม เวลา 08:08 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
16 มกราคม เวลา 08:06 น.
ความคิดเห็นที่ 8อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ                  เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ       เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ           เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ         เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

การดู  จิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน...


เพื่อมาพิจารณา อิทัปปัจจยตา  ว่าปิติมันมาเพราะเหตุมันดับ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ         เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

สิ่งปรากฏเป็นปิติเป็นธรรมชาติ

จริงๆเราไม่ต้องพยายามไปทำให้ปิติเกิด มันจะเองต่อเมื่อเหตุดับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 มกราคม เวลา 08:11 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
16 มกราคม เวลา 08:10 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 9ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นศัพท์ที่นักปฏิบัติธรรมนิยมใช้ ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็นิยม วิปัสสนากรรมฐานก็นิยม เพราะเป็นศัพท์ที่แปลความออกจากศัพท์ว่า สัมปชัญญะ เหมือนในสติปัฏฐานสูตรแสดงไว้ว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ดังนี้ เมื่อเป็นศัพท์ที่แสดงคุณที่น่ายกย่องอย่างสูง คือ ใครก็ตามที่มีสัมปชัญญะแล้ว จะสามารถกำจัดอภิชฌาและโทมนัสได้ จึงเป็นศัพท์ที่นักปฏิบัติธรรมนิยมนำมาใช้พูด แล้วก็พูด คือต้องนำมาพูดบ้าง ส่วนบางคนยังยึดมั่นอย่างแรงกล้าชนิดทิฏฐุปาทานว่า มีตัวตน หรือบางทียึดมั่นว่า ตัวตนที่มีนั้นจงหายไปเสยๆ บางคนนี้เมื่อไปอ่านเห็นคนอื่นเขาใช้ ก็นำมาใช้ด้วยเหมือนกัน ใช้พูดให้ดูดี ให้สมภูมิเป็นนักปฏิบัติกับเขาบ้าง

ศัพท์ว่า สัมปชัญญะ ในสติปัฏฐานสูตรนั่นหมายเอา อสัมโมหสัมปชัญญะ โดยตรงกันเลยทีเดียว ตราบใดยังเข้าใจว่า มีตัวตนซ่อนอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม หรือในรูปนาม หรือในร่างกายจิตใจ ซ่อนอยู่ในฐานะเป็นผู้บัญชาการร่างกายจิตใจอีกที และยังเป็นตัวตนที่สามารถเล็ดลอดหนีตายออกจากร่างก็ได้ แล้วเร่ร่อนเพเนจรไปแดนสุญญากาศก็ได้ ดังนี้เป็นต้น นั่นเป็นเพียงความเข้าใจชนิดทิฏฐุปาทานอยู่ตราบนั้น ผู้นั้นย่อมไม่ใช่ผู้มีสัมปชัญญะ หรือมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมดังที่พูดเป็นแน่นอน หัวจะปวด
ตอบกลับ
0
 
0
 

โอวันติ 
16 มกราคม เวลา 09:46 น.
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 10เพื่อนๆ นักอ่านครับ ปุถุชนคนยึดมั่นว่ามี มีตัวตนนั้น คือคนปุถุชนอย่างเราๆ นี่แหละที่ยึดมั่นกัน ยึดมั่นอะไรว่าเป็นตัวตน ก็ยึดมั่นกาย เวทนา จิต และธรรม หรือยึดมั่นรูปนาม หรือยึดมั่นกายใจว่า เป็นตัวตน รูปนามเป็นสิ่งที่มี มีเพราะเหตุปัจจัยให้มี แล้วการคิดง่ายๆ ว่า รูปนามจงหายไปเสยๆ จงไม่มีร่างกายจิตใจต่อไปนี้นะ มันใช่เรื่องหรือ มันจะไม่เป็นอุจเฉททิฏฐิอย่างแรงกล้าหรือ
ตอบกลับ
0
 
0
 

โอวันติ 
16 มกราคม เวลา 10:05 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
 
ความคิดเห็นที่ 111.เห็นกายทั้งกายที่ไม่บอกว่าเป็นเรา จิตรู้สึกอย่างไร

มี สติ- สัมปชัญญะ (ปัญญา) รู้ว่าสภาพธรรมที่เกิดขึ้น มีเพียง รูป-นาม , กาย-ใจ ไม่มีตัวตนคนสัตว์ อย่าพึ่งไปอยากมีปิติ เดี๋ยวหลง

++++++++++++++++++++++++++++++++++

กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี
+++++++++++++++++++++++++++++
  ก็ในอิริยาบถยืนเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การทรงสกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่ายืน. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลง ทรงกายเบื้องบนตั้งขึ้น ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่านั่ง. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาว ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำจิต เรียกว่า นอน.
               เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่โดยอรรถแล้ว สัตว์ไรๆ ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคำที่กล่าวกันว่า เกวียนเดิน เกวียนหยุด แต่ธรรมดาว่า เกวียนไรๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อนายสารถีผู้ฉลาดเทียมโค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันใด
               กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี
               เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดินเป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน เรายืน เพราะเหตุนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
               ด้วยฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
                   นาวา มาลุตเวเคน        ชิยาเวเคน เตชนํ
                   ยถา ยาติ ตถา กาโย        ยาติ วาตาหโต อยํ
                   ยนฺตํ สุตฺตวเสเนว        จิตฺตสุตฺตวเสนิทํ
                   ปยุตฺตํ กายยนฺตมฺปิ        ยาติ ฐาติ นิสีทติ
                   โก นาม เอตฺถ โส        สตฺโต โย วินา เหตุปจฺจเย
                   อตฺตโน อานุภาเวน        ติฎฺเฐ วา ยทิ วา วเช
                             เรือแล่นไปได้ด้วยกำลังลม ลูกธนูแล่นไปด้วย
                   กำลังสายธนูฉันใด กายนี้อันลมนำไป จึงเดินไปได้
                   ฉันนั้น แม้ยนต์คือกายนี้ อันปัจจัยประกอบแล้ว เดิน
                   ยืนและนั่งได้ด้วยอำนาจสายชัก คือจิต เหมือนเครื่อง
                   ยนต์ หมุนไปได้ด้วยอำนาจสายชักฉะนั้นนั่นแหละ
                             ในโลกนี้ สัตว์ใดเว้นเหตุปัจจัยเสียแล้ว ยังยืน
                   ได้ เดินได้ด้วยอานุภาพของตนเอง สัตว์นั้นชื่อไรเล่า
                   จะมี ดังนี้.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การเจริญสติปัฏฐาน หมวดอิริยาบถบรรพะ
https://pantip.com/topic/35586256/comment3

คำว่า " ปชานาติ " เป็นคำกิริยา ที่แปลว่า " รู้ชัด " เป็นการแปลไปก่อนเพื่อป้ปงกันคำพูดเยิ่นเย้อ หรือฟังไม่รื่นหูเท่านั้น ความจริงท่านให้ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ " ปกาเรหิ ชานาติ ปชานาติ " แปลว่า " รู้โดยประการทั้งหลาย ชื่อว่า ปชานาติ " หมายความว่าในสิ่งที่ควรรู้นั้น มีประการอะไร ๆ ที่ควรรู้สักกี่ประการก็ตาม ก็ย่อมรู้สิ่งนั้น โดยประการทั้งหมดนั้น

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทุกข์และการกำหนดทุกข์
https://pantip.com/topic/34815646/comment22
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
16 มกราคม เวลา 13:59 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 12สวัสดีครับ

     "ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม"   ก็คือการปราศจาก "นิวรณ์5"  กาม พยาบาท  ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ  วิจิกิจฉา

    จะได้สภาวะนี้ต้องปฎิบัติตาม "อปัณณกปฎิปทา3"  สำรวมศีล สังวรณ์อินทรีย์6  โภชเนมัตตัญญุตา  ชาคริยานุโยค
ที่ยืนยันว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกทางแน่นอน  https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=128

      เมื่อมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ทวารใดกระทบผัสสะ ตากระทบรูป  หู..เสียง  จมูก...กลิ่น  ลิ้น...ฯ  จะเกิดอาการ "เวทนา"
ชอบ-ชัง, ดูด-ผลัก, สุข-ทุกข์..ฯ ที่ใจ  มันคือตัว "กิเลส"     เมื่อมันเกิดเราก็หาเหตุ  และดับม้นที่เหตุนั้น (อันนี้ต้องคบสัตบุรุษ
ฟังสัทธรรม โยนิโสมนสิการ  ทำใจในใจเป็น จึงดับทุกข์ได้)

      เมื่อกิเลสดับ  เราก็จะเกิด "ปิติ" (กะหยิ่ม ยิ้มย่อง ว่าเราก็มีฝีมือเหมือนกันนี่หว่า ที่ปหานมันได้-เป็นอุปกิเลสขึ้น)  เมื่อเรารู้ว่า
มันคือ "อุปกิเลส"  เราก็ดับมันอีก ใจเราก็สงบ (เรียกปัสสัทธิ)   เมื่อใจสงบดีแล้วก็จะเกิดจิตที่ตั้งมั่น แน่วแน่ (เรียกสมาธิ)   ใจจะ
ปลอดโปร่ง โล่งสบาย เพราะปราศจากกิเลสใด ๆ (เรียกอุเบกขา)   เหมาะแก่การงาน จะคิดจะตัดสินใจอะไร ก็จะถูกต้อง
เพราะเห็นของจริง ตามความเป็นจริง เกิด "ปัญญา"

        ในชีวิตประจำวันไปทำงาน  ก็ปฎิบัติแบบนี้   ได้ศีล(สติ)  สมาธิ  ปัญญา วิชชา  ครบเป็น "สมังคีธรรม"   ไม่ได้แยกไปนั่ง
หลับตาให้ได้  "สมาธิ"       เพราะสมาธิของพุทธต้อง "สงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม"   ก็คือการดับกิเลสได้ตามที่กล่าวแล้ว
จึงได้ "สัมมาสมาธิ"    กิเลสสายเดียวกัน คล้ายกัน(อภิชฌา โทมนัส) เราเคยดับได้สนิทแล้ว มันจะไม่มาเกิดอีก  ได้แล้วได้เลย

         ที่กล่าวมาถ้าเอา "ภาษาธรรม" มาจับการปฎิบัติ  ก็ได้มากมายเช่น   "อปัณณกปฎิปทา3"  "สัทธรรม7"   "จรณะ15"  "โพชฌงค์7"
"มรรคองค์8"  "ปฎิจสมุปปบาท" ... ฯลฯ  เพราะธรรมของพระพุทธเจ้า จะเป็นไปทางเดียวกันคือ "ดับทุกข์" ทั้งสิ้น  จะเอาคำสอนไหนมา
ปฎิบัติมันก็จะเป็นไปทางเดียวกัน สอดคล้องกัน

          ก็ฝากไว้พิจารณา  เป็น "ปรโตโฆสะ"  ลอง "โยนิโสมนสิการ" ดู  จะได้ปฎิบัติไม่ผิดทางพุทธ  เป็นฤษี ชีไพร ดาบส ไป

             
               ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
0
 
0
 

จุ๊ด.จุ๊ด 
16 มกราคม เวลา 14:45 น.
ดู 5 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 13ความรู้สึกตัวพร้อม... น่าจะหมายถึง​ มีสตืสัมปชัญญะ


____________________

ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้สติสัมปชัญญะเจริญไพบูลย์ ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้แจ้งเวทนาที่กำลงเกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่กำลังดับไป

รู้แจ้งสัญญาที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่กำลังดับไป

รู้แจ้งวิตกที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่กำลังดับไป


“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้ ที่บุคคลเจริญพัฒนาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ”

สมาธิสูตร จ. อํ.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7326608
17 มกราคม เวลา 13:53 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 14คนที่เห็นจิตในจิตได้​ ส่วนมากเป็นคนที่ฝึกสมาธิเป็นประจำอยู่แล้ว​ เรียกว่ามีกำลังของจิตพออยู่แล้ว​ การดูกายเพราะให้จิตเกิดขนิกสมาธิต่อๆๆๆ​กัน​ จนมีกำลังมากพอที่จะดูจิต​ เพราะจิตเท่านั้นที่ทำให้ถึงความดับทุกข์
แก้ไขข้อความเมื่อ 18 มกราคม เวลา 05:45 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7062862
18 มกราคม เวลา 05:45 น.
ความคิดเห็นที่ 14-1เป็นเหตุเป็นผลกัน
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
18 มกราคม เวลา 09:04 น.
ความคิดเห็นที่ 15คนที่เห็นจิตในจิตได้​ ส่วนมากเป็นคนที่ฝึกสมาธิเป็นประจำอยู่แล้ว​ เรียกว่ามีกำลังของจิตพออยู่แล้ว​ การดูกายเพราะให้จิตเกิดขนิกสมาธิต่อๆๆๆ​กัน​ จนมีกำลังมากพอที่จะดูจิต​ เพราะจิตเท่านั้นที่ทำให้ถึงความดับทุกข์
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7881572 
23 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 15-1ครับไม่เห็นจิต เห็นกันแต่วิญญาน ก็เหมือนพายเรือในอ่าง
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
22 ชั่วโมงที่แล้ว


Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2567 7:13:18 น. 0 comments
Counter : 56 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space