space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
8 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ร่างกาย คือ รถยนต์ จิต คือ คนขับรถยนต์ กระทู้คำถาม ติดตาม ศาสนาพุทธมหาสติปัฏฐาน 4พระไตรปิฎกปฏิบัติธร

ร่างกาย คือ รถยนต์ จิต คือ คนขับรถยนต์


กระทู้คำถาม

ศาสนาพุทธมหาสติปัฏฐาน 4พระไตรปิฎกปฏิบัติธรรมทำบุญ

ร่างกาย คือ รถยนต์ จิต คือ คนขับรถยนต์ วิญญาณ คือ ห้องควบคุมรถยนต์ คนส่วนใหญ่หลงว่ากาย คือ เรา นักท่องตำรา หลงว่าวิญญาณ คือ จิต นักปฏิบัติจะพบว่า เรา คือ อุปทานความหลงของจิต ไม่มีอะไรเป็นเรา
0
 
3
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
15 มกราคม เวลา 07:33 น.
สมาชิกหมายเลข 6513655 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 5479922 ถูกใจ, chiwat ถูกใจ
 
ความคิดเห็นที่ 1เชย ระเบิด ระเบ้อ

นักตำรา เขามีแต่จะพูดว่า  จิต คือ ราชรถอัน"วิจิตร (สิ่งเกินจะพรรณา) "  ฮับ

ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ นิพพานธาตุ
 


ขอ สาครลาภ นิดนึง นะฮับ

ผู้บรรลุโดยไม่มี แม้นปฐมฌาน ที่เรียกว่า สุขวิปัสสโก นั้น เป็น อรหันต์ร้อย 66 ฮับ ไม่ใช่ไม่ถึง  1%

ร้อยละ 33 เท่านั้น ที่มี ปฐมฌานขึ้นไป เป็นฐาน  ก็จะเรียกว่า พวก "ญานลาภี" บุคคล

แต่ใน ญานลาภีบุคคล ก็แบ่งออกเป็น  3 กลุ่มย่อย ที่จะมีอภิญญา ไม่มีอภิญญา

พวกมี อภิญญา ก็แบ่งอีกว่าเป็น พวกมี วิโมกข์ หรือไม่มี  
เพราะ การสำเร็จอภิญญา ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ มรรค ผล นิพพาน
( ฤาษี ลิงกัง ก็มี อภิญญาได้ แต่เป็น มิจฉาละมุด )

ฯลฯ ( ละ ไม่กล่าว เพราะ จขพ เห็นแล้ว ก็โยนเป็นเรื่อง ตำรา ทั้งๆที่ มันคือ สัจจธรรม ความจริง )
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 08:08 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
15 มกราคม เวลา 08:03 น.
ความคิดเห็นที่ 2พระสมณโคดม เวลากล่าวธรรม เลือก ศัพท์บัญญัติ จะทรงกล่าวด้วย สมาธิ

เวลาจะทรงเปรียบเปรย เป็น รถ ราชรถ ไม่มีหลอก ฮับ จะไป ติดเรื่อง รถ ต้องมี คนขับ

สมัยนี้ รถไร้คนขับเขาวิ่งกันในท้อง   ถนน กันแว้ว

จขพ มัวแต่เอามือกุม สร้อย คอยชะเง้อ ลุ้น!!ตัวโก่ง เก่งกระเด้ง เห็นกลดเดินได้ อยู่  
เลยยังเชยระเบิด ระเบ้อ เข้าใจไปว่า พระศาสดาทรงไม่มีพระญาน เห็น รถไร้คนขับ มีในโลก

ฮิวววววววววววววววววววววววววววววววววววววววส์
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 08:36 น.
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
15 มกราคม เวลา 08:16 น.
สมาชิกหมายเลข 2748147 ขำกลิ้ง
ความคิดเห็นที่ 3รู้ไปแล้วได้อะไร? ไม่มีอะไรเป็นเรา แต่ จขกท.ก็ยังมาตั้งกระทู้ แถมด้วยคำพูดเหน็บแนมคนอื่น จขกท.ก็ยังเป็นแค่ปลาที่ยังว่ายวนเวียนอยู่ในอ่างเหมือนคนอื่นไม่ต่างกัน
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 6734247 
15 มกราคม เวลา 08:36 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 4ถ้ายังงั้น หักแขนหักขา พระอรหันต์ คนธรรมดา ก็ไม่ผิดสิ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สะพานหมุนติ้ว 
15 มกราคม เวลา 08:46 น.
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 5เรียนก็ไม่เรียน พูดถูกพูดผิดสลับไปมา จิตใจจ้องแต่จะกล่าวร้ายตำรา....อกุศลจิตแท้

แน่ใจนะ ว่าปฏิบัติถูกแล้ว ทำไมความคิดแบบนี้ยังเกิดขึ้นอีกได้
ตอบกลับ
0
 
0
 

ทำหมู 
15 มกราคม เวลา 08:49 น.
ดู 18 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 6กว่าจะเจอพระดีๆสักองค์ที่ให้สัญญา ถูก

แต่ทะว่าคนเราเป็นไปตามกรรม เป็นไปตามธาตุ สัตว์คบค้าสมาคมโดยความเป็นธาตุ
กว่าจะเจอพระที่ใช่   กว่าจะเข้าใจถูก มันยากตรงนี้

แต่สุดท้ายพึ่งตนเองดีสุด
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 08:56 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
15 มกราคม เวลา 08:56 น.
ความคิดเห็นที่ 7เวลานอน จขท เปิดแอร์เปิดพัดลมมั้ย
เพี้ยนขำหนักมาก
ตอบกลับ
0
 
2
 

สะพานหมุนติ้ว 
15 มกราคม เวลา 09:01 น.
ทำหมู ถูกใจ, อวตาร์ ขำกลิ้ง
ดู 6 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 8เมื่อคืนหัวค่ำขับรถเปิดเพลงนี้
ร้องไปขับไปอย่างฟิน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เอะเดี๋ยวนะ ผิดห้อง ขออภัย จขกท ครับ
หัวเราะ
(เเต่เล่าเรื่องจริงนะ)
ตอบกลับ
0
 
0
 

อวตาร์ 
15 มกราคม เวลา 09:10 น.
ความคิดเห็นที่ 9เป็นไปตามกรรม หมายถึง  สภาวะที่เราดำริ และกระทำทางกายวาจา

แต่พอเจอ พระที่ใช่  ต้องรู้จักเลียนแบบพระที่ใช่ กายวาจา สอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้ เป็นเหตุไปเจอคนที่ไม่ใช่ แล้วเราคิดว่า ทางนี้ ใช่

แต่จริงๆ ต้องรู้ด้วยตนเอง

เรียกว่า ความงามในเบื้องต้น

อย่างหลวงพ่อพุธ งามจริงๆ กิริยาต่าง ความคิด การกระทำ คือ ต้องรู้จักเป็นบัณฑิต

เพราะว่า ธรรมนี้สำหรับบัณฑิต
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 09:21 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
15 มกราคม เวลา 09:18 น.
ความคิดเห็นที่ 10โนบะ โนบะติ มะเจื้อ จขพ ปู้จายคนนี้ เลยฮะ

ทำเป็น อวดตัวว่ามี ฌาน สมาบัติ ทิ้งกาย เหลือแต่ จิต

พอ โนบะ โนบะติ ให้ ลิงค์ไปพิสูจน์ สมถะ ตบะ  จขพ ปู้จายคนนี้ก็เห็น
ว่าหนูนั้นเป็น ผู้จริ๋ง เลยไม่ให้ค่า ให้ราคา บอกว่า ไร้สาระ เพราะว่า
อิตถียอินทรีย์ จะกี่แสนกัป จะไปเอา เนขขัมบารมี ตายในป่าอย่างฤาษี
มาแต่ไหน   ผู้จริ๋ง มีฌาน มีแฌน จขพ เห็นว่า ไร้สาระ

น้อน"โนบะ โนบะติ"  ขอแสดงหลักฐาน เลย นะฮ้า ว่า จขพ ก็ไม่มีฌาน

ที่ว่าเหลือแต่จิต  ก็ไม่มีแล้วหละ ทิ้งกายอะไรกัน พก ยาสีฟันแอมเวย์
เน้น ฝันขาว ฝันแข็งแรง ห่วงกาย ห่วงรสแซป 1000%

แล้วยังเข้าใจไปว่า ธรรมภายนอกควร ฟันขาวด้วย  ให้ไปได้ ให้พระท่าน
ให้พรคำว่า "อาาาาาาาาาาาาา" กว้างๆ แล้วหรือยัง ก่อนให้ท่านไปใช้เนี่ยะ


ลงชื่อ

"โนบะ โนบะติ"
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
15 มกราคม เวลา 09:46 น.
สมาชิกหมายเลข 7420141 ขำกลิ้ง
ดู 2 ความเห็นย่อย
 
ความคิดเห็นที่ 11คนส่วนใหญ่หลงว่ากาย คือ เรา

จริงๆเป็นธรรมชาติ   เนื่องด้วย โทสะเป็นเหตุ จึงก่อภาวะ
ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง

เช่น เวลาไปเที่ยว เจออากาศร้อน จะเกิดภาวะหงุดงิด ไม่สำราญสบายใจ

แต่พอ เริ่มคลายภาวะนั้น
จะเห็นตามคลิปนี้เลย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

การพิจารณาธรรม  เมื่อสิ่งนี้มี  สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  อาศัยกันและกัน

พอเหตุดับ คลาย  

จึงเกิดสภาพ ร้อนรู้ว่าร้อน
ตอนปฏิบัติธรรมใหม่ๆ ร้อนไม่ได้รู้ว่าร้อนอย่างเดียว แต่มีลักษณะแห่งความเดือดร้อนใจ หงุดงิด มาด้วย พอคลาย เริ่มเข้าใจ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

จึงเข้าใจลักษณะแห่งศีล เป็นต้น เพราะไม่มีเหตุมารบกวนพอดับภาวะนั้นได้  จึงเห็นแง่มุมมิตินึง

การเห็นไม่ใช่เห็นว่า เราหลงว่ากาย คือ เรา อย่างเดียวกันแต่เนื่องกันและอาศัยกันและกัน

ตามเหตุปัจจัย
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 10:00 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
15 มกราคม เวลา 09:57 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 12คนขับไม่ต้องมองทาง ไม่ต้องฟังเสียง เหยียบคันเร่งกับเบรก
และหมุนพวงมาลัยเหรอ คนขับก็คนควบคุมรถ
และรับรู้สิ่งที่อยู่ระหว่างทางด้วยนั่นแหละ

มันไม่ใช่ว่ามีอุปกรณ์ส่องดูนอกรถแล้วบอกว่า มีคน มีรถ
มีทางแยก อยู่ข้างหน้าอะไรแบบนั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 10:23 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

เจ้า(แมว)ขาว 
15 มกราคม เวลา 10:00 น.
ความคิดเห็นที่ 13พอมองเห็นธรรมอันอาศัยกันและกัน

ก็จะมอง แง่สัมมาทิฏฐิ ออก

ตอนแรกจะเชื่อไปในแบบงมงาย
  พอรู้ด่วยตนเองจะเริ่มเข้าใจ

ที่เราไม่เข้าใจ เพราะมีภาวะ ภพและวิภพ อยู่นั้นเอง จึงเป็นเหตุให้ เห็นมุมเดียวนั้นเอง
ตอบกลับ
0
 
0
 

อริยสัจ 
15 มกราคม เวลา 10:33 น.
ความคิดเห็นที่ 14๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง

             [๓๗๙] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจัง อนิจจัง ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนิจจัง? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรราธะ รูปเป็นอนิจจัง เวทนาเป็นอนิจจัง สัญญาเป็นอนิจจัง สังขารเป็นอนิจจัง วิญญาณ
เป็นอนิจจัง. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๓.
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=4586
_________________

ดูกรราธะ รูปเป็นอนิจจัง
เวทนา เป็นอนิจจัง
สัญญา เป็นอนิจจัง
สังขาร เป็นอนิจจัง
วิญญาณ เป็นอนิจจัง

สิ่งเป็นอนิจจังมีเท่านี้ครับ
_________________

     [๓๘๐]   สาวตฺถีฯ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข อายสฺมา ราโธ
ภควนฺตํ เอตทโวจ อนิจฺจธมฺโม อนิจฺจธมฺโมติ ภนฺเต วุจฺจติ
กตโม นุ โข ภนฺเต อนิจฺจธมฺโมฯ รูปํ โข ราธ อนิจฺจธมฺโม
เวทนา อนิจฺจธมฺโม สญฺญา อนิจฺจธมฺโม สงฺขารา อนิจฺจธมฺโม
วิญฺญาณํ อนิจฺจธมฺโมฯ เอวํ ปสฺสํ ฯเปฯ นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ
ปชานาตีติฯ
https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=4881
_________________

รูปํ โข ราธ อนิจฺจธมฺโม
เวทนา อนิจฺจธมฺโม
สญฺญา อนิจฺจธมฺโม
สงฺขารา อนิจฺจธมฺโม
วิญฺญาณํ อนิจฺจธมฺโม

สิ่งเป็นอนิจจธรรมมีเท่านี้ครับ
ตอบกลับ
0
 
1
 

โอวันติ 
15 มกราคม เวลา 10:52 น.
จางซานฟง ถูกใจ
ดู 9 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 15๗. อนตฺตสุตฺตํ. {พระบาลีฉบับฉัฏฐ.} ๑๗๖. สาวตฺถินิทานํฯ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข อายสฺมา ราโธ ภควนฺตํ เอตทโวจ – ‘‘‘อนตฺตา, อนตฺตา’ติ, ภนฺเต, วุจฺจติฯ กตโม นุ โข, ภนฺเต, อนตฺตา’’ติ? ‘‘รูปํ โข, ราธ, อนตฺตา, เวทนา อนตฺตา, สญฺญา อนตฺตา, สงฺขารา อนตฺตา, วิญฺญาณํ อนตฺตาฯ เอวํ ปสฺสํ…เป.… นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตี’’ติฯ สตฺตมํฯ {แปลไทยฉบับหลวง} ๗. อนัตตาสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาพระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตา? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. จบ สูตรที่ ๗.

๘. อนตฺตธมฺมสุตฺตํ {พระบาลีฉบับฉัฏฐ.} ๑๗๗. สาวตฺถินิทานํฯ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข อายสฺมา ราโธ ภควนฺตํ เอตทโวจ – ‘‘‘อนตฺตธมฺโม, อนตฺตธมฺโม’ติ, ภนฺเต, วุจฺจติฯ กตโม นุ โข, ภนฺเต, อนตฺตธมฺโม’’ติ? ‘‘รูปํ โข, ราธ, อนตฺตธมฺโม, เวทนา อนตฺตธมฺโม , สญฺญา อนตฺตธมฺโม, สงฺขารา อนตฺตธมฺโม, วิญฺญาณํ อนตฺตธมฺโมฯ เอวํ ปสฺสํ…เป.… นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตี’’ติฯ อฏฺฐมํฯ {แปลไทยฉบับหลวง} ๘. อนัตตธัมมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตธรรม. พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตธรรม อนัตตธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตธรรม เวทนาเป็นอนัตตธรรม สัญญาเป็นอนัตตธรรม สังขารเป็นอนัตตธรรม วิญญาณเป็นอนัตตธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. จบ สูตรที่ ๘.
_________________

ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา
เวทนาเป็นอนัตตา
สัญญาเป็นอนัตตา
สังขารเป็นอนัตตา
วิญญาณเป็นอนัตตา

สิ่งเป็นอนัตตามีเท่านี้ครับ

ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตธรรม
เวทนาเป็นอนัตตธรรม
สัญญาเป็นอนัตตธรรม
สังขารเป็นอนัตตธรรม
วิญญาณเป็นอนัตตธรรม

สิ่งเป็นอนัตตธรรมมีเท่านี้ครับ
ตอบกลับ
0
 
0
 

โอวันติ 
15 มกราคม เวลา 11:20 น.
ความคิดเห็นที่ 16จิต  วิญญาณ มโน  เป็นอย่างเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้อย่างนี้

ปัญญา กับ วิญญาณ(จิต) เป็นอย่างเดียวกันไหม?

    ตอบ ปัญญา กับ วิญญาณ(จิต) ไม่ได้เป็นอย่างเดียวกัน  แต่อยู่รวมกันประปนกันแยกกันไม่ได้

ปัญญา กับ นิพพาน เป็นอย่างเดียวกันไหม?

    ตอบ ปัญญา กับ นิพพาน ไม่ได้เป็นอย่างเดียวกัน  แต่ ปัญญา อยู่ใกล้ นิพพาน เป็นอย่างยิ่ง

    ดังนั้น จิต กับ นิพพาน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังผู้ที่เข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากธรรมมีทิฏฐิเห็นผิดไปว่าเป็นสิ่งเดียวกัน.
ตอบกลับ
0
 
3
 

P_vicha  
15 มกราคม เวลา 12:01 น.
สมาชิกหมายเลข 7420141 ถูกใจ, เจ้า(แมว)ขาว ถูกใจ, ทำหมู ถูกใจ
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 17ฟัง จขกท.พูดแล้วนึกถึง พอจ.มาร์ติน
วัดภูฆ้องทองเลยครับ ท่านพูดถึงเรื่องนี้
บ่อย ๆ ยังมีอีกประโยคที่ท่านพูดบ่อย ๆ คือ
"หาทางออก ที่เมืองไทยมีทางออก"
ตอบกลับ
0
 
0
 

ปัญญาประดิษฐ์ 
15 มกราคม เวลา 14:38 น.
ความคิดเห็นที่ 18จขกท
เห็นความข้องของตนมั้ย

ว่าเลือกที่จะโพส เลือกที่จะโพล่งสิ่ง
สิ่งนึงออกมา เป็นกระทู้หนึ่งๆ ว่าด้วยเหตุปัจจัยใด มันถึงมีอาการโพล่ง พูดกล่าวออกมา

หรือเพียงเห็นว่าสิ่งที่โพสที่แปะเอาไว้ ล้วนออกมาจากตน


สังเกตุเห็นอาการของการข้องในห้วงทิฐินึงๆหรือไม่ ที่เวทนามันแล่นไปหยิบมาปักลง แช่ หน่วง หนึบ โดยที่เราเองไม่สามารถบังคับบัญชาได้

สัญญานั้นแตกดับซ้อนๆๆกันนับไม่ถ้วน แต่มันจะแล่นไปหยิบเอาสัญญานึงๆที่มันสำคัญหมายปักแน่น เอามาเสพ เห็นวิบากแห่งขันธ์เหล่านั้นรึไม่

หากการเป็นนักปฏิบัติ ที่แค่อาศัยแต่ตัวตนลงไปปฏิบัติ  เพียรอีกแสนกัป ก็ได้แค่ลอยคอกลางทะเล ที่ไม่เห็นฝั่งเท่านั้น

เพราะอะไร ?!!!

ก็เพราะไม่สามารถยกขึ้นมาสังเห็นเห็นอาการข้องในคลองทิฐิเดิมๆ ที่มันไปจมในแสง จมในความเข้าใจว่าสิ่งที่เด่นดวงนั่นคือตัวตน

ตราบใดที่มีอาการแห่งจิตที่ติดข้องให้ความสำคัญหมายด้วยความเข้าใจว่านั่นคือตัวตน

สมาธิพุทธย่อมไม่มีวันปรากฏให้สัมผัสรสนั้นได้ ดังนั้น สมาธิพุทธจะปรากฏได้ เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นเท่านั้น

อันสัมมาทิฐินั้นจะปรากฏได้ ด้วยอาการสดับธรรมที่ถูกต้อง สดับธรรมจากผู้อื่นจึงน้อมมาสดับธรรมในตนอย่างถูกคลองถูกทาง

เมื่อเราฟังธรรมมาผิด แล้วมีอาการปักใจ น้อมไปในธรรมที่ผิดนั้น

การภาวนาไม่ว่าจะกี่ครั้งกี่หน มันจะพาน้อมไปปักในคลองทิฐิผิดๆนั้น เพื่อปักใจแน่น เพื่อศรัทธาแน่น เพื่อให้จิตเห็นตามหลงตามคลองทิฐิเดิมๆ เหมือนขุดหลุมลงลึกไปเรื่อยๆจนไม่สามารถปีนพ้นหลุมขึ้นมาแจ้งความจริงนั้นได้ด้วยตน ก็จะเรียกว่าเป็น “นิยตมิจฉาทิฐิ ”

เป็นเทวดาแสนดี แต่ไม่รุ้รสหนทางพ้นได้อีกเลย

อย่าประมาทในธรรม สังเกตุปัจจุบันธรรมให้มาก สังเกตุอาการแห่งขันธ์ให้มาก ว่ามันกำลังไปให้น้ำหนักกับสิ่งใดอยู่ แล้วสำรอกออกไปไม่เหลือ

การเป็นผู้ติดตำรา หรือเป็นผู้ติดการปฏิบัติ หากมีทิฐิลงไปในคลองแห่งมิจฉา ย่อมอยู่ในสถานไม่ต่างกัน ด้วยเพราะเป็นผู้ข้องในวัฏฏะ

หรือแม้นเราไปอ่านหรือรับการอบรมสั่งสอนจากพระรูปใดมา นั่นก็ถือเป็นการรับตำราจากผู้อื่น

เมื่อรับตำรามาจากผู้อื่นแล้วมีทิฐิปักใจในธรรมคำสอนเหล่านั้น โดยที่ไม่สามารถยกขึ้นมาเห็นอาการปักแน่นในทิฐิแห่งตนนั้นดับลงได้ ท่านก็ไม่ได้ต่างจาก“พวกยึดติดตำรา” อย่างที่ จขกท กล่าวหาผู้อื่นเอาไว้เลยหนา
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มกราคม เวลา 17:10 น.
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7598766
15 มกราคม เวลา 17:07 น.
สมาชิกหมายเลข 7420141 ถูกใจ
ดู 5 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 19เดิมกายใจไม่มี แต่มามีเพราะอุปาทานแหละ
ถ้าอุปาทานไม่มี กายใจก้อไม่มี ,
วิญญาณไม่เที่ยง ขันธ์ห้าไม่เที่ยง จิตหลุดพ้น ใช่เลย
แต่ถ้าบอกขันธ์ห้าหลุดพ้น อันนี้สิขำกร้าก
เพี้ยนกินกล้วย
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 6513655
15 มกราคม เวลา 20:47 น.
สมาชิกหมายเลข 2748147 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 5479922 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 20เพี้ยนปูเสื่อ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 6939219 
16 มกราคม เวลา 03:29 น.
ความคิดเห็นที่ 21ปัญหา คนส่วนมากเข้าใจว่า ในคนเรามิจิต ซึ่งมั่นคงถาวรไม่รู้จักตาย แม้ร่ายกายตายไปแล้ว จิตก็ยังอยู่ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไรในเรื่องนี้ ?


พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนมิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นต้น ยังชอบกว่า แต่ถ้าจะเข้าไปยึดถือจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและในกลางวัน

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใดธรรมชาติที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันก็ฉันนั้นแล ฯ”

อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๒๓๑-๒๓๒)
ตบ. ๑๖ : ๑๑๔-๑๑๕ ตท. ๑๖ : ๑๐๔-๑๐๕
ตอ. K.S. II : ๖๕-๖๖
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7326608
16 มกราคม เวลา 06:39 น.
P_vicha ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 22เข้าใจสภาวะให้ตรงนะคะ
จิต หรือ วิญญาณ เป็นเพียงศัพท์
สภาวะจริงๆคือ สภาพรู้ อาการรู้

สภาพนี้ที่รู้อะไรๆ นี้ ที่กำลังรู้อยู่นี้จะเรียกว่าจิตก็ได้ วิญญาณก็ได้

เมื่อ จับอาการรู้ได้ ก็จะเห็นว่า สภาพรู้อาการรู้ในแต่ละขณะนี้เปลี่ยนไปๆ แตกต่างกันไปๆ
ตอบกลับ
0
 
1
 

เอิงเอย  
16 มกราคม เวลา 07:28 น.
โนบิ โนบีตะ ถูกใจ
ดู 14 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 23ลิเก เริ่มแต่เช้า..

เพี้ยนปูเสื่อรอ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 5777962
16 มกราคม เวลา 10:50 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 24ปรมัตถธรรมที่มีอยู่จริง ในพุทธศาสนา มี 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

เมื่อกล่าว ถึง "จิต" ซึ่งมี ลักขณาทิจตุกะ (หมวดสี่มีลักษณะเป็นต้น ) ดังนี้

ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ
วิชานน ลกฺขณํ           มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ             เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ    มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
นามรูป ปทฺฏฐานํ       มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด



เมื่อจะวิปัสสนาเพื่อรู้จักสภาพธรรม ก็จะต้องทำความรู้จักลักษณะอาการของธรรมนั้น เมื่อรู้ลักษณะของสภาพอย่างหนึ่ง ที่มีการรู้ อารมณ์ ก็ทำให้ทราบว่า สภาพนี้แหละ ที่เป็นปรมัตถธรรมที่มีอยู่จริง  ที่ใช้ศัพท์เรียกขานกันว่า "จิต"

ไม่ใช่ไปแยก "อาการรู้ของจิต" ว่าเป็นปรมัตถธรรมอีกอย่างที่แยกต่างหากจากจิต
(ุถ้าแยกออกเป็นอีกหนึ่ง เช่นนั้น ปรมัตถธรรมก็มี 5 หรืออย่างไร)

----------------------
"วิญญาณ"  ศัพท์นี้นำมาใช้ มีความหมายว่า การรู้อย่างยิ่ง อย่างดี ซึ่งก็คือ ก็เป็นการใช้ศัพท์ "วิญญาณ" ในขณะที่กำลังรู้อารมณ์ทาง ทวารต่างๆ
ถ้ารู้อารมณ์ทางจักขุทวาร  สภาพนี้ก็เรียกว่า "จักขุวิญญาณ"   ไม่นิยมเรียกว่า "จักขุจิต"  
เพราะ ศัพท์ว่า "วิญญาณ" มีความหมาย ตรงตัวเฉพาะมาก ว่า "รู้อย่างยิ่ง"

การเข้าใจศัพท์ ก็จะเข้าใจว่า เพราะเหตุใด พระศาสดาจึงนำศัพท์"วิญญาณ" มาเรียกแทนจิตในบางหน้าที่

--------------------------
การศึกษาพระปริยัติ ให้ทราบว่า สิ่งใด เป็นปรมัตถธรรมที่มีจริง สิ่งใดไม่ใช่ปรมัตถธรรม เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆ


สาธุ ขอให้พระปริยัติธรรมยั่งยืนนาน
ตอบกลับ
0
 
0
 

เอิงเอย  
16 มกราคม เวลา 11:58 น.
ความคิดเห็นที่ 25[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จาก
สัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึง
ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

     [๙๒]   รูปธาตุยา   เจ   ภิกฺขเว  ภิกฺขุโน  จิตฺตํ  วิรตฺตํ  วิมุตฺตํ โหติ   อนุปาทาย   อาสเวหิ  ฯ  เวทนาธาตุยา  เจ  ฯ  สญฺญาธาตุยา เจ   ฯ  สงฺขารธาตุยา  เจ  ฯ  วิญฺญาณธาตุยา  เจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุโน
จิตฺตํ   วิรตฺตํ   วิมุตฺตํ   โหติ   อนุปาทาย   อาสเวหิ   ฯ  วิมุตฺตตฺตา ฐิตํ    ฐิตตฺตา    สนฺตุสิตํ    สนฺตุสิตตฺตา    น   ปริตสฺสติ   อปริตสฺสํ ปจฺจตฺตญฺเญว    ปรินิพฺพายติ    ฯ
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
16 มกราคม เวลา 12:12 น.
ความคิดเห็นที่ 26สิ่งที่ 25 เข้าใจว่าจิตยังดำรงอยู่นะ ไม่ผิดหรอก
เพราะสิ่งที่เรียกว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง คิอขันธ์ 5

เพราะเมื่ออรหันต์ท่านจบกิจ ขันธ์ 5 ท่านก็ยังดำรงอยู่
ไม่ใช่ว่าพอท่านจบกิจปุ๊ป ท่านก็ร่วงปั้ป สลายหายไป

จิตจึงดำรงอยู่ มีสัญญา มีสังขาร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ สอนเวยไนย์สัตว์

คำว่าดำรงอยู่จึงหมายถึงนัยยะนี้
แต่ระดับ จขกท ผมว่าไม่เข้าใจ  
มึนตึ๊บ
ตอบกลับ
0
 
0
 

อวตาร์ 
16 มกราคม เวลา 12:25 น.
ดู 14 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 27จากอัตตโนมติ พ่อหลอด LED สามตา ผมนึกถึง อรรถาธิบายนี้ ครับ

กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี
+++++++++++++++++++++++++++++
  ก็ในอิริยาบถยืนเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การทรงสกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่ายืน. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลง ทรงกายเบื้องบนตั้งขึ้น ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่านั่ง. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาว ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำจิต เรียกว่า นอน.
               เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่โดยอรรถแล้ว สัตว์ไรๆ ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคำที่กล่าวกันว่า เกวียนเดิน เกวียนหยุด แต่ธรรมดาว่า เกวียนไรๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อนายสารถีผู้ฉลาดเทียมโค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันใด
               กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี
               เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดินเป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน เรายืน เพราะเหตุนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
               ด้วยฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
                   นาวา มาลุตเวเคน        ชิยาเวเคน เตชนํ
                   ยถา ยาติ ตถา กาโย        ยาติ วาตาหโต อยํ
                   ยนฺตํ สุตฺตวเสเนว        จิตฺตสุตฺตวเสนิทํ
                   ปยุตฺตํ กายยนฺตมฺปิ        ยาติ ฐาติ นิสีทติ
                   โก นาม เอตฺถ โส        สตฺโต โย วินา เหตุปจฺจเย
                   อตฺตโน อานุภาเวน        ติฎฺเฐ วา ยทิ วา วเช
                             เรือแล่นไปได้ด้วยกำลังลม ลูกธนูแล่นไปด้วย
                   กำลังสายธนูฉันใด กายนี้อันลมนำไป จึงเดินไปได้
                   ฉันนั้น แม้ยนต์คือกายนี้ อันปัจจัยประกอบแล้ว เดิน
                   ยืนและนั่งได้ด้วยอำนาจสายชัก คือจิต เหมือนเครื่อง
                   ยนต์ หมุนไปได้ด้วยอำนาจสายชักฉะนั้นนั่นแหละ
                             ในโลกนี้ สัตว์ใดเว้นเหตุปัจจัยเสียแล้ว ยังยืน
                   ได้ เดินได้ด้วยอานุภาพของตนเอง สัตว์นั้นชื่อไรเล่า
                   จะมี ดังนี้.

ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
16 มกราคม เวลา 12:47 น.
ความคิดเห็นที่ 28พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

             [๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
             จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3
             อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3&mode=bracket
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=112&items=3
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=112&items=3
             ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=112
++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://pantip.com/topic/38517496/comment9

จิตวิสุทธิ , วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
https://pantip.com/topic/33381826/comment3

วิสุทธิ ๗
https://abhidhamonline.org/visudhi.htm
++++++++++++++++++++++++++++

ทิฏฐิ จขกท และอัตตโนมติต่าง ๆ ที่ จขกท ยกมาอ้าง ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาเลยครับ มีแต่จะเกิด สัสสตทิฏฐิ มากขึ้นเรื่อย ๆ  เห็นว่า จิตเที่ยงแท้  ธาตุรู้ เป็น อมตะ ว่าซั่น

เจริญอานาปานสติจนเข้าถึงจิตเดิมแท้จะพบปัญญามากมายมหาศาล

เกิดสภาวะ จิตหดเล็กลงแล้วพุ่งออกไปผ่านรู สว่างไสวเป็นสายยาวดังรูป ลักษณะคล้าย “รูหนอน”
https://pantip.com/topic/42021814

พระไตรปิฏกผ่านมา 2566 ปี สังคายนาแล้ว 9 ครั้ง ทำไมเชื่อว่าเนื้อหาไม่ผิดเพี้ยนหรือตกหล่นเลย???
https://pantip.com/topic/42056110

นักท่องตำรา อ่านตำรา บอกว่าจิตไม่เที่ยง ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ อ่านตำราเล่มเดียวกัน บอกว่าจิตเที่ยง
https://pantip.com/topic/42129919

ทำไมถึงเลิกอ่านตำรา พระไตรปิฏก
https://pantip.com/topic/41514820

ตาที่สาม หรือ ต่อมไพเนียล ฮินดู เรียกว่า จักระที่ 6 อะชะ

คำสอนของพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับหลักฟิสิกส์ควอนตัม   ว่าซั่น

ไม่กลัวบาปกรรมเลย พ่อเทพสามตา ที่กล้าไปกล่าวตู่ พระพุทธเจ้า

ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติตอนบวชที่วัดถ้ำสหายปี 59 ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่จันทร์เรียน

คงจะไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าด้วย แต่กล้าไปกล่าวอ้างว่าเป็น หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คงต้องตั้ง นิกายใหม่ หรือ ลัทธิใหม่กันแล้ว งานนี้
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
16 มกราคม เวลา 12:49 น.
ดู 3 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 29คลายเครียดสักนิด

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ตอบกลับ
0
 
1
 

ทำหมู 
16 มกราคม เวลา 14:12 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 30เมื่อ 4-5 ปีก่อน.......
...มีกระทู้ "มั่นใจในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อ" ทุกวัน วันละหลายกระทู้ สลับ id กันเข้ามาตั้งกระทู้

แต่ละคนก็มั่นหน้า มั่นใจในการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น ฉันมาถูกทางแล้ว หลวงพ่อรีบประกัน วัดฉันมี ปธ.๙ มากที่สุด วัดฉันเชื่อถือได้....ฯลฯ

พอวัดนั้นคดีชัดเจนขึ้น.....อีกพวกที่เอาแต่คำพระศาสดาก็ขึ้นมาแทน.....ตั้งกระทู้ปั่นกระแสไป อาจารย์ฉันแน่ อาจารย์ฉันถูก หลับหูหลับตาเถียงเป็นปีๆ....

ผมคิดว่า คงมีเพียงส่วนน้อยจริงๆ ที่จะยึดพระธรรมคำสอนด้วยใจจริง ส่วนใหญ่ก็เห็นแก่ได้....คงไม่จำกัดว่าเป็นใครบ้าง ดูกันเอาเอง
ตอบกลับ
0
 
0
 

ทำหมู 
16 มกราคม เวลา 14:23 น.
ความคิดเห็นที่ 3119พ.ย.66 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ผู้ถาม : อยากทราบความหมายของจิต ใจและวิญญาณครับ
พระอาจารย์สุชาติ : จิตและใจ คือ อันเดียวกัน ส่วนวิญญาณ คือ ตัวเชื่อมระหว่างจิตและกายเรียกว่าวิญญาณขันธ์ เมื่อไม่มีกาย ก็เรียกว่าวิญญาณ
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
16 มกราคม เวลา 20:06 น.
สมาชิกหมายเลข 5479922 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 32ร่างกาย คือ รถยนต์
จิต คือ คนขับรถยนต์

⬆️
แล้ว  เสี้ยนหนาม 10   พุทโธวาท  คือ  อะไร 🤔

ตอบกลับ
0
 
0
 

เซนเถรวาทปฐมสังคายนานิยม  
16 มกราคม เวลา 20:39 น.
ความคิดเห็นที่ 33สมาชิกหมายเลข 2748147
16 มกราคม 2567 เวลา 20:06:10 น.
19พ.ย.66 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

⬆️
ผู้ถาม : อยากทราบความหมายของจิต ใจและวิญญาณครับ
⬆️
พระอาจารย์สุชาติ : จิตและใจ คือ อันเดียวกัน ส่วนวิญญาณ คือ ตัวเชื่อมระหว่างจิตและกายเรียกว่าวิญญาณขันธ์ เมื่อไม่มีกาย ก็เรียกว่าวิญญาณ
++++++++++++++++++++++++++++

รับทราบ ข้อความข้างบน  
น่าจะ สอดคล้องกับ พุทโธวาท  ภาพ

++++++++++++++++++++++++++++


หมายเหตุ
❤️
จิต ไม่ใช่  หัวใจ  (หทัยวัตถุ) ตามพุทโธวาท



😳
อวิชชา  ตาม พุทโธวาท ภาพ 

⬆️
อวิชชา เป็นปัจจัยปรุงแต่งธรรมชาติฝ่าย จิต ให้เกิด (กายสังขาร วจีสังขาร) มโนสังขาร ฯลฯ
( เนื่ิองกับ   ยังมีจิตอนุเสติในสิ่งใดอยู่  สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ เพื่อความตั่งอยู่แห่ง วิญญาณ)

มโนสังขาร   —  ไม่เนื่องกับ   มโนวิญญาณ  หรือ🤔
มโนวิญญาณ  — ไม่เนื่องกับ หมู่ วิญญาณ ๖ หรือ 😀

วิญญาณ 6  เนื่องกับ จิตเล็กน้อย —   “ปริตฺต เจตโส” —
วิญญาณ ๖ จึงเนื่องกับ   วิญญาณัง โหติ ตทุปาทานัง
⬆️
ภิกษุผู้มี วิญญาณ ๖  “ตามพุทโธวาท วิญญาณัง โหตุ ตทุปาทานัง“
ย่อมไม่  ปรินิพพานในทิฏฐธรรม
ตอบกลับ
0
 
0
 

เซนเถรวาทปฐมสังคายนานิยม  
16 มกราคม เวลา 20:59 น.
ความคิดเห็นที่ 34อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://pantip.com/topic/38517496/comment9

เพื่อน ๆ สมช. ทุกท่านครับ  การเลือกศึกษาจากครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก จะทำให้เกิดความเข้าใจ เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้อง  ก็จะส่งผลดีต่อผู้ปฏิบัติ

ผมเห็นหลาย ๆ คนหลงทางเพราะเชื่อใน อัตตโนมติของอาจารย์มากกว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา

เช่นคุณ 147 (พ่อหลอด LED) และ 158 เป็นต้น

ทำไมถึงเลิกอ่านตำรา พระไตรปิฏก (147)
https://pantip.com/topic/41514820

“ธาตุรู้คือใจ ไม่มีวันแตกดับหรือเสื่อมสลาย และตัวเราที่แท้จริงนี่คือธาตุรู้”  โดย ลพ.สุชาติและคุณ 147
https://pantip.com/topic/41903579

เกิดสภาวะ จิตหดเล็กลงแล้วพุ่งออกไปผ่านรู สว่างไสวเป็นสายยาวดังรูป ลักษณะคล้าย “รูหนอน”
https://pantip.com/topic/42021814

พระไตรปิฏกผ่านมา 2566 ปี สังคายนาแล้ว 9 ครั้ง ทำไมเชื่อว่าเนื้อหาไม่ผิดเพี้ยนหรือตกหล่นเลย???
https://pantip.com/topic/42056110

นักท่องตำรา อ่านตำรา บอกว่าจิตไม่เที่ยง ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ อ่านตำราเล่มเดียวกัน บอกว่าจิตเที่ยง
https://pantip.com/topic/42129919
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
17 มกราคม เวลา 04:33 น.
มะม่วงหิมพานต์ ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 5479922 ขำกลิ้ง
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 35ขันธ์ 5 ไม่มีอะไรรับใช้อะไรเลย แต่เป็นการประสานกันทำงาน
เกิดพร้อมๆ กัน แต่ดับอาจจะไม่พร้อมกันบางอย่างเช่นรูป

ดังนั้นอย่าไปคิดว่าอะไรรับใช้อะไร แต่ควรทราบว่าขันธ์ 5 ต่างเป็นปัจจัยเกื้อหนุนกัน
จนกระทั่งองคาพยพเคลื่อนไปได้

ตัวอย่างง่ายๆ คือถ้าไม่มีร่างกายอันเป็นที่เกิดของจิตเสียแล้ว จิตก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ก้อนหินมีร่างกาย แต่ไม่เหมาะสมแก่การเกิดจิต จิตก็ไม่เกิดขึ้นครับ

ร่างกาย คือ รถยนต์ จิต คือ คนขับรถยนต์

ประโยคนี้ จึงไม่ตรงนัก รถยนต์จอดอยู่นิ่งๆ ได้โดยไม่มีจิตก็ได้
แต่ร่างกายอันเป็นที่เกิดของจิต จะอยู่นิ่งๆ โดยไม่มีจิตก็ไม่ได้

การสอดประสานกันทำงานเช่นนี้ จึงเป็นหนึ่งเดียว.
ตอบกลับ
0
 
2
 

มะม่วงหิมพานต์ 
17 มกราคม เวลา 10:57 น.
มะม่วงหิมพานต์ ขำกลิ้ง, สมาชิกหมายเลข 5479922 ขำกลิ้ง
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 36มหาสติปัฏฐานสูตร
อรรถาธิบาย

กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จากอัตตโนมติ พ่อหลอด LED สามตา

ร่างกาย คือ รถยนต์ จิต คือ คนขับรถยนต์ วิญญาณ คือ ห้องควบคุมรถยนต์ คนส่วนใหญ่หลงว่ากาย คือ เรา นักท่องตำรา หลงว่าวิญญาณ คือ จิต นักปฏิบัติจะพบว่า เรา คือ อุปทานความหลงของจิต ไม่มีอะไรเป็นเรา
++++++++++++++++++++++++++++++++

พวกสัสสตทิฏฐิจากสมาธิรูหนอนอวกาศนี้ พยายามจะให้จิตมันเที่ยง จริง ๆ น่ะครัช

ว่าแต่ถ้าจิตเที่ยงจริง คนขับรถยนต์ ก็ต้องขับตลอดสิครับ ห้ามแวะปั๊ม ปตท. ว่าซ่าน
เพี้ยนเซ็งเป็ด
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
18 มกราคม เวลา 05:32 น.
มะม่วงหิมพานต์ ถูกใจ
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 37ใช่​ แล้วจิตก้บังคับไม่ได้​ เป็นผู้สั่งให้กายทำนั่นทำนี่​ แล้วเราจะมีได้อย่างไร​ จิตเป็นผู้สั่งโดยมีกรรมเป็นนายใหญ่​ กายเป็นผู้ทำตาม​
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7062862
18 มกราคม เวลา 05:48 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 38พ่อเทพสามตา LED และสมาชิก ทุกท่าน ตอนเย็น ๆ ผมจะวิ่งออกกำลังกาย เพราะความดันสูง นอนหลับยาก  เวลาวิ่ง ผ่านวัดมาบข่า (ระยอง) ก็ทำความรู้สึกใน รูปก้าวแต่ละก้าว (รูปวิ่ง จะเร็วกว่ารูปเดิน) แล้วก็ภาวนาแต่ละก้าวว่า กรรม,จิต,อุตุ,อาหาร  (จากการเรียน รูปถูกปรุงแต่งด้วย ๔ อย่างนี้)

ผมว่า ผมมี สติ - สมาธิ จดจ่ออยู่กับการวิ่ง 30 นาที ตามข้างทางได้ดีพอสมควรน่ะ  มีบางครั้ง ก็นึกถึงว่า รูปกายเคลื่อนที่โ้วยจิตสั่ง และธาตุลม ที่เกิดขึ้น

อาจจะดูลิเกน่ะครัช แต่ก็ดีกว่า วิ่งไปด้วยฟังเพลงไปด้วย แบบนั้น ผมว่า ขาดสติ-สัมปชัญญะ อ่ะครัช ปีที่แล้วนักวิ่งถูกเครื่องบินชน เพราะเสียงเพลงที่ฟังดังไป จนลืมว่ามีเครื่องบินอยู่ใกล้ มั่งครัช

+++++++++++++++++++++++++++++++++++
แบบนี้ถือว่าเคารพหรือไม่เคารพในธรรม?

comment6

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้


+++++++++++++++++++++++++++++++++

เจริญวิปัสสนาแบบนี้ มีโอกาส เกิด ความรู้ชัด ปชานาติ ใน กาย  มากกว่าใช้สมาธิเทพสามตา น่ะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 18 มกราคม เวลา 07:54 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
18 มกราคม เวลา 07:50 น.
ดู 5 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 39มาลองพิจารณากันว่าจิตสั่งจริงไม๊ครับ ?

ยกตัวอย่างหยิบช้อนตักข้าวเข้าปาก

ขณหนึ่งตาเห็นข้าวในจาน ขณะหนึ่งมีองค์ธรรมประกอบจิตกระตุ้นว่าต้องเอาลงท้องเพราะหิว
ขณะหนึ่งพิจารณาว่าปลอดภัยลงมือกินได้ ขณะหนึ่งมือก็เอื้อมไปจับช้อนทันที

จากเหตุการณ์ที่ยกมา ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า จิตไม่ได้สั่งมือโดยตรง
แต่เป็นองคาพยพของการปรุงแต่ง โดยเริมตั้งแต่ตาเห็นรู้ข้าวในจาน
แล้วองค์ธรรมประกอบจิตก็มะรุมมะตุ้มปรุงแต่งจิต

จนกระทั่งมือได้เอื้อมไปจับช้อนตักข้าวเข้าปาก

การสอดประสานกันทำงานเช่นนี้ได้ ก็เพราะเกิดการปรุงแต่งมากมายของขันธ์ 5
โดยที่จิตไม่ได้เป็นคนสั่งมือโดยตรง เพราะมือนั้นสั่งไม่ได้ครับ

คนเป็นอัมพาตที่แขน จิตย่อมสั่งการให้มือยกขึ้นไม่ได้

อนุโมทนาฯ ครับ.
ตอบกลับ
0
 
1
 

มะม่วงหิมพานต์ 
18 มกราคม เวลา 10:38 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 40ยกตัวอย่างให้ง่ายขึ้นไปอีก

เอาตอนนี้เลยก็ได้ครับ "เรายกมือจับศรีษะ"
ถ้าระยะสั้น เราว่าจิตเราเป็นคนสั่งมือให้ยกขึ้น แต่กลไกที่ซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ข้างในก็คือ
ก่อนที่จะเกิดแอคชั่นยกมือขึ้นนั้น มีผัสสะเกิดขึ้นกับจิตใช่ไม๊ มีแรงยั่วยุ เร่งเร้าว่า เราจะต้องยกมือมาจับศรีษะ

จากผัสสะในครั้งนั้น จึงทำให้เกิดการปรุงแต่งขึ้นภายในจนกระทั่งมือยกขึ้นมาจับศรีษะครับ

จิตไม่ได้สั่งการโดยตรง

จิตเกิดขึ้นมารู้ผัสสะ แต่การปรุงแต่งด้วยองค์ธรรมประกอบจิต เป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดแอตชั่น
ส่วนมากเป็น "เจตนา" ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เป็นกรรม" นั่นเองครับ.

อมยิ้ม04
ตอบกลับ
0
 
1
 

มะม่วงหิมพานต์ 
18 มกราคม เวลา 11:20 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ทึ่ง


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2567 8:06:31 น. 0 comments
Counter : 53 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space