วันพุธที่ 14 กันยายนกับ งานนำเสนอ(Pitching) 15 ทีม สตาร์ทอัพกลุ่ม เทคโนโลยี “อวกาศ” 🚀ของ*ไทย
 “ก้าวสำคัญของเศรษฐกิจอวกาศไทย” กับงานนำเสนอ 15 ทีมสตาร์ทอัพกลุ่ม เทคโนโลยี “อวกาศ” ของ*ไทย* (Pitching)   พร้อมทั้งร่วม Network พูดคุยเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ 

Space Economy Lifting Off 2022


443เปลี่ยนจากผู้ซื้อ เป็นคนที่ทำเองได้

443เปลี่ยนจากรับจ้างผลิต มาเป็นบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนหรือวัสดุเองได้ 

443เขยิบอีกนิด จากการผลิตเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมอัตโนมัติ,หุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้ใน”สภาวะอวกาศ”ได้ 

443เทคโนโลยีอวกาศปัจจุบันใกล้ตัวพวกเรามาก ไม่ใช่แค่เรื่องของยานอวกาศ, ดาวเทียม หรือจรวด


385     385     385
แล้วพบกันที่ Victor Club สามย่านมิตรทาวน์ ชั้น 7 (ฝั่งตึกสำนักงาน Mitrtown)📢  ในวันพุธที่ 14 กันยายน   พ.ศ. 2565  เวลา 10.00 – 16.00 น.


จัดโดย สถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) :NIA   ร่วมดำเนินงานโดย ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย 


ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 📡ได้ที่ Link : https://forms.gle/voN4TfmNmUGGkLJS9







รายละเอียดสิ่งที่ 15 สตาร์ทอัพ สายเทคโนโลยีอวกาศ จะนำเสนอ
*ขอขอบคุณข้อมูลจากสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) :NIA

------------------------

Spacedox
ระบบ space traffic management ตรวจสอบและติดตามดาวเทียม

ปัจจุบันมีดาวเทียมขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่ในวงโคจรต่ำเป็นจำนวนมาก จึงอาจเกิดอุบัติเหตุการชนกันได้ ซึ่งระบบ space traffic management จะเป็นระบบที่สามารถติดตามทิศทาง แรงเหวี่ยง ของดาวเทียมและวัตถุอวกาศอื่นๆ แบบ real-time ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ 

------------------------

Solution Makers
อุปกรณ์รับเวลาโดยตรงจากดาวเทียม แทนการที่ใช้งาน NTP/PTP  

อุปกรณ์รับเวลา high accuracy time card ที่ผลิตในประเทศไทย รับรองมาตรฐานเวลา NTP, IEEE1588 PTP และ White Rabbit Protocol โดยเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางด้านเวลาที่มีความแม่นยำสูง
 

------------------------

Gaorai
ระบบปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรที่เชื่อมต่อเกษตรกรกับนักขับโดรนรับจ้างเพื่อการเกษตร

แอพพลิเคชั่นที่จะทำให้เกษตรกรและนักขับโดรนอิสระได้มาพบกัน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ อีกทั้งยังให้ความสะดวก ประหยัดสารที่ใช้ พร้อมทั้งยังบริการประเมินคุณภาพผลิตผลด้วยภาพถ่ายจากสถานที่จริง ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อให้เกษตรกรสามารถประเมินศักยภาพจากข้อมูลที่วัดได้จริง
 
------------------------
 
Premium Robotics
แขนหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง เหมาะกับงานบนอวกาศ

แขนหุ่นยนต์ที่ใช้ระบบ AI ในการคิดคำนวณ เส้นทางการหลบหลีก เข้าแทรกไปในมุมต่างๆได้ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ เพื่อรองรับการทำงานในอวกาศ
 
 ------------------------

Centro Vision
ดาวเทียมขนาดเล็กที่ถ่ายภาพที่มีวงโคจรถี่ สามารถถ่ายภาพได้ทุกวัน
 
เทคโนโลยี aero space design และ satellite photogrammetry เพื่อพัฒนาดาวเทียมประเภท nano และ micro ที่แข็งแรง น้ำหนักเบา โคจรในระดับ low earth orbit  มีความถี่ถ่ายภาพได้ทุกวัน พร้อมศักยภาพการถ่ายภาพที่สามารถเก็บภาพได้กว้าง เก็บข้อมูลได้หลากหลาย รวมถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ 
 
 ------------------------

VAAM
จานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ 3 แกน ขนาด 6 เมตร

ในปัจจุบันจานดาวเทียม จะใช้แกนจำนวน 2 แกน ซึ่งหากจับภาพวัตถุที่เคลื่อนที่แบบเปลี่ยนทิศทาง มักจะเกิดปัญหา โดยดาวเทียม 3 แกนจะเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้  

 
 ------------------------

ฟาร์มดีมีสุขพลัส
แพล็ตฟอร์มครบวงจรเพื่อเกษตรกร คาดการณ์ผลผลิต สถานะพืช ด้วยภาพถ่ายดาวเทียม
 
ปัญหาในปัจจุบัน เกษตรกรนั้นประสบปัญหากับการขึ้นราคาของน้ำมัน ปุ๋ย ไปจนถึงการขาดการเข้าถึงข้อมูล ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้หรือโอกาสที่จะได้รายได้ที่เพิ่มขึ้น แพล็ตฟอร์มนี้จะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต สุขภาพพืช ข้อมูลการใช้น้ำ เพื่อพัฒนาการปลูก ไปจนถึงเป็นตัวกลางให้ทางธนาคาร หรือหน่วยงานรัฐ ให้พิจารณาสินเชื่อได้
 
 ------------------------

Mush Composite
วัสดุแห่งโลกอนาคตจากเส้นใยเห็ด

วัสดุที่ผลิตจากเส้นใยเห็ด ที่น้ำหนักเบา ทนไฟ มีความทนทานสูง สำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ในอวกาศ เช่น ดาวเทียม , ที่พักอาศัยบนดวงจันทร์ หรือแม้แต่ผลิตเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ในอวกาศ
 

 ------------------------

ManeeLab
ชุดซอฟต์แวร์ระบบย่อย (IP core) สำหรับสร้างอุปกรณ์ที่ใช้บนยานอวกาศ

ชุดซอฟท์แวร์ระบบย่อย หรือ IP Core เพื่อให้บริษัทต่างๆนำไปใช้งาน หรือใช้ผลิตชิพต่อ โดยเน้นความรวดเร็ว ตรงตามมาตรฐาน CCSDS ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ด้วยการออกแบบการถอดรหัสแบบตาราง ซึ่งทำงานได้รวดเร็วกว่า ซับซ้อนน้อยกว่า ใช้พลังงานที่ต่ำกว่าการออกแบบแบบปกติ จากนั้นจึงผลิตออกมาเป็น IP core เพื่อนำไปผลิตชิพหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆได้อย่างไม่จำกัด
 

------------------------

Semi Latus Rectum
บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา เปลี่ยนอะไหล่ เติมเชื้อเพลิงดาวเทียม เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน

สร้างระบบการซ่อมแซม บำรุงรักษา เพื่อการปล่อยดาวเทียม รวมถึงกิจกรรมทางอวกาศต่างๆ
โดยเป็นการเทียบท่าเพื่อเติมเชื้อเพลิง ซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่ด้วยหุ่นยนต์และระบบสัญญาณที่พัฒนามาเพื่อบริการดังกล่าวโดยเฉพาะ
 
------------------------

TemSys
ชุดฝึกการเรียนรู้ระบบรับส่งสัญญาณจากดาวเทียม

ชุดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบบดาวเทียม โดยมีฟังก์ชั่นที่สามารถปรับค่าต่างๆ ได้ (data rate, bit rate) เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างและเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด เกิดเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาระบบดาวเทียมและระบบสื่อสารได้
 
------------------------
 
Advance Space Composite
สารเคลือบ เพื่อป้องกัน tin whisker บน PCB board หรือขั้ว d-sub
 
ในปัจจุบันนั้นดาวเทียมขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นมาจะใช้ดีบุกเป็นวัสดุในการผลิต ซึ่งมีโอกาสเกิดเส้นใย ที่เรียกว่า tin whisker ทำให้เกิดการช็อต และทำให้ดาวเทียมเสียหายได้ เป็นที่มาของการพัฒนาสารเคลือบซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ทำให้ดาวเทียมมีความเสถียร และลดต้นทุนในการผลิตลงได้
 

------------------------

Intech
แอพพลิเคชั่นครบวงจร เพื่อการเกษตร โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม
 
เพราะหนี้สินของเกษตรกร  เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้คาดการณ์ผลผลิต ทำให้ผลผลิตล้นตลาด หรือมีวัตถุดิบป้อนเข้าโรงงานไม่เพียงพอ  ระบบการจัดสรรข้อมูลนี้ จะใช้ภาพถ่ายดาวเทียม (ระบบ GIS) รวมถึง IoT มาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ผลผลิต การจัดการความเสี่ยงทางภัยพิบัติ นำไปสู่การที่เกษตรกรและผู้ซื้อจะมีธุรกิจที่ยั่งยืน
 
------------------------

เทวดา คอร์ป
ระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอน ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมและระบบ AI

ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถือเป็นปัญหาระดับโลกที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เป็นที่มาของการทำระบบ identify ชนิดของต้นไม้ รวมถึงวัดเส้นรอบวง ความสูงของต้นไม้ อัตราการเจริญเติบโตที่เป็นมาตรฐาน ที่เชื่อถือได้ สามารถลดการใช้กำลังคนเข้าตรวจสอบให้น้อยที่สุด ด้วยกระบวนการตรวจวัดจากภาพถ่ายดาวเทียมและระบบประเมินผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ และคำนวณออกมาเป็น carbon credit โดยจะเป็นศูนย์ซื้อขาย carbon credit แบบครบวงจร
 
------------------------

Link Application
แพลตฟอร์มวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ เพื่อเกษตรกรรม เพื่อพิจารณาปล่อยสินเชื่อ
 
การสำรวจพื้นที่โดยการเข้าพื้นที่จริง โดรน ภาพถ่ายดาวเทียม และ remote sensing เพื่อรวบรวมข้อมูลของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มวิเคราะห์การเพาะปลูกในพื้นที่นั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่สถาบันทางการเงิน ในการปล่อยสินเชื้อ ให้กับพื้นที่การเพาะปลูกที่มีศักยภาพ รวมถึงให้ข้อมูลประวัติการเพาะปลูกของแปลงนั้นๆ เพื่อลดต้นทุน และสร้างผลผลิตได้ดีกว่าเดิม
 
------------------------

แล้วพบกับ15 ทีมสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีอวกาศ ในงานวันพุธที่ 14 กันยายน 2565 น้าาา




Create Date : 29 สิงหาคม 2565
Last Update : 29 สิงหาคม 2565 6:43:11 น.
Counter : 808 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเริงฤดีนะ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkatoy

  

ขอบคุณสำหรับการแชร์
และ PR ให้ทราบค่ะร้องOeace.

ขอให้งานประสบความสำเร็จ เป๊ะๆ ปังๆ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 29 สิงหาคม 2565 เวลา:18:13:38 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

peaceplay
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]



- "ถ้ากินของที่ชอบ"แล้ว"น้ำหนักขึ้น" ของกินนั้น..."ต้องเป็นของอร่อย"
-------------------------------------
-"อยู่เพื่อกิน" แต่ถ้ายามจำเป็นก็"กินเพื่ออยู่"
-------------------------------------
-"อร่อยเรา" แต่อร่อยคนอื่นรึเปล่า "โปรดใช้วิจารณญาณก่อนไปกิน" แต่เกิน80%..."ขอให้มั่น"
สิงหาคม 2565

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog