กล้องโทรทัศน์วิทยุ ผลงานจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งความอลังการก็มาพร้อมกับคุณสมบัติสุดเยี่ยมหลายอย่าง รวมถึงสามารถดูการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกได้อีกด้วย ทำให้การติดตาม ในเรื่องของ
"โอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติ" เป็นเรื่องที่เร็วและฉับไวขึ้น เพิ่มโอกาสการป้องกันรวมไปถึงรับมือได้อย่างทันเวลา



ขอฝากวิดีโอที่น่าสนใจ ซึ่ง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดทำขึ้นไว้ด้วย ดูแล้วใจมันฮึกเหิมสุดๆ
ที่จริงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศในไทย ก็มีหลายหน่วยอยู่นะ อย่าง
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนก็เกี่ยวเช่นกัน เพราะอย่างถ้ามี
นวัตกรคนไทยต้องการจะสร้างชิ้นส่วนวัสดุ(composite)หรืออุปกรณ์ประกอบดาวเทียม มันก็ต้องนำไปทดสอบก่อนนำไปประกอบเป็นชิ้นส่วนของดาวเทียมจริงว่า
พอออกนอกโลก วัสดุมันจะต้องยังคงรูปเดิมอยู่เป็นต้น เพื่อที่พอส่งดาวเทียมขึ้นบนอวกาศจริง จะได้ไม่เกิดปัญหา แล้วมันจะไปทดสอบที่ไหนได้บ้าง? แบบนี้ก็ต้องมาทดสอบที่ห้องสภาวะสูญญากาศ(ซึ่งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนก็มีภาคส่วนที่บริการด้านนี้อยู่เด้อ)

สำหรับแวดวงธุรกิจอวกาศไทย ช่วง
กลางเดือนกันยายนนี้ จะมีกิจกรรมสำคัญที่จะ
เปิดโลกเศรษฐกิจอวกาศของไทยให้สามารถออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้ง่ายขึ้น ผลงานดีๆของนวัตกรไทยรวมถึง(นักวิจัย) จะต้องเป็นให้มากกว่าคำว่า "ผลงานวิจัย" หรือ ธุรกิจที่เริ่มต้นด้วยคนกลุ่มเล็กๆที่Thinkingแบบ Good Mind&Big heart อย่างเหล่าสตาร์ทอัพ พวกเขาต้องมีเวทีให้ได้แสดงผลงาน(เวทีที่ไหนนะ อ๋ออ! ที่งานเนี้ยแหละ)
แค่เติมBusiness Modelเข้าไปอีกนิด ใส่ Special technologyเข้าไปอีกหน่อย แล้วก็สร้าง"Core competitive advantage" ให้มีอัตลักษณ์เข้าไปเสริม มายลโฉมของดีๆก้นจ้าาาพบกับการนำเสนอ(Pitching) เทคโนโลยีจาก 15 สตาร์ทอัพกลุ่ม “Space Technology” ในโครงการ Space Economy Lifting Off 2022 ถ้าโครงการPublic กิจกรรมเมื่อไหร่ ทางเราจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับ 15 ทีมนี้เป็นน้ำจิ้มๆ
แต่ของจริงไปพบกันในงานน้าา
ไปๆๆค่ะ
So anazing.