1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
Chateau Le Vieux Chene
เพิ่งกลับมาจากงานรวมญาติ..ที่เลี้ยงฉลองสังสรรค์กันทุกปี.. พอช่วงปีใหม่ที...ก็จะจัดเลี้ยงกันครับ.. แล้วที่ขาดไม่ได้เลย...คือการจับฉลากกัน... แล้วปีนี้ที่ผมจับฉลากได้....คือ..ไวน์ ครับ """ Chateau Le Vieux Chene """" ตายล่ะหวา.....ทำไงดีเนี่ย... คิดๆอยู่คับ...จับฉลากได้ไวน์มาขวดนึง...จะจัดการกับมันยังไงดี..!! ปรกติแล้ว...ผมไม่ค่อยได้ดื่มไวน์ซะด้วย... แต่ได้มาแล้ว..ก็ควรที่จะจัดการให้มันหมดสิ้นกันไป...อิอิอิ แต่ที่รู้ๆมา..มันควรที่จะมีพิธีรีตรองกันหน่อย... มันไม่เหมือนเหล้าสาเก..หรือกระแช่ ที่เคยไปแอบชิมๆมา... อุอุอุ ไหนๆๆก็ได้มาแล้ว...ต้องศึกษากันหน่อย... ทั้งเรื่องชนิด..ความเป็นมา...และวิธีการดื่ม.. ขืนซดโฮกๆไปเลย...ใครรู้..ล่ะเสียชื่อกับวงศ์ตระกูลหมด...อิอิ ไวน์ที่ผมได้มา...ดูจากฉลากที่ขวด.. ผลิตที่ ประเทศฝรั่งเศส ครับ รู้สึกว่า...แถวๆแคว้น Bordeaux (ออกเสียงไม่ถูกเหมือนกัน) เป็นไวน์แดงครับ ปี2001 เลยไปเสิร์ชหาข้อมูลมาเก็บไว้ซะหน่อย แต่จะเน้นไปที่ไวน์ยี่ห้อนี้..ของเมืองนี้นะครับ.. แหมๆ...จะดื่มทั้งที ยากเย็นจริงตรู... ไม่ได้ๆครับ... ต้องให้เกียรติกับลิ้นเราหน่อยครับ ฮ่าๆ มาอ่านข้อมูลที่พอหามาได้ครับ เรื่องของไวน์ เรื่องของไวน์ ไวน์(wine) หรือเหล้าองุ่น เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นผลิตผลมาจากการนำเอาองุ่นไปบด หมักและบ่ม เกิดเป็นน้ำองุ่นสีแดง สีชมพู สีขาว ที่มีแอลกอฮอล์เจือปนอยู่ด้วย เราเรียกน้ำองุ่นเหล่านี้ว่าไวน์แดง [red wine] ไวน์สีชมพู [rose' wine หรือ pink wine] และไวน์ขาว [white wine] โดยมีองค์ประกอบหลักเป็น ethyl alcohol น้ำตาล แร่ธาตุ วิตามิน สารเคมีจำพวก polyphenols , aldehydes , ketones และกรดอินทรีย์อีกมากมาย มีการแบ่งแยกไวน์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ 1. Still wine เป็นไวน์ที่มีผู้นิยมดื่มกันมากที่สุด มีแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นเองในระหว่างการหมักประมาณ 8-14% vol 2. Fortified wine เป็น Still wine ที่นำมาปรุงแต่งโดยเอาบรั่นดีหรือว้อดก้าผสมลงไปก่อนที่จะทำการบรรจุขวด มีแอลกอฮอล์ประมาณ 18-24% vol fortified wine ที่ปรุงแต่งด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร เปลือกไม้ รากไม้ ในระหว่างการผลิตจะเรียกว่า aperitif wine หรือ aromatized wine ใช้เป็นเครื่องดื่มก่อนรับประทานอาหาร ที่รู้จักกันดีคือไวน์ vermouth fortified wine ที่ไม่ปรุงแต่งด้วยเครื่องเทศแต่มีความหวาน ใช้ดื่มกับของหวานและผลไม้ จะเรียกว่า dessert wine เช่นไวน์ Sherry และไวน์ Port 3. Sparkling wine เป็นไวน์ที่มีก๊าซ carbon dioxide เพราะมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างจาก Still wine คือจะมีการหมัก 2 ครั้ง นิยมดื่มฉลองในโอกาสสำคัญ ที่รู้จักกันดีคือ Champagne ปริมาณแอลกอฮอล์[alcohol strength] จะขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น ความสามารถของยีสต์ ปริมาณของน้ำตาลในน้ำองุ่น การควบคุมกระบวนการหมักหรือสารปนเปื้อนที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ เป็นต้น ปริมาณแอลกอฮอล์[alcohol strength] จะบอกเป็นเปอร์เซนต์ของแอลกอฮอล์ต่อปริมาตร[alcohol by volume-ABL] เช่น 13% vol หมายถึงไวน์มี ethyl alcohol 130 มิลลิลิตร ในน้ำไวน์ปริมาตร 1 ลิตร ได้เคยมีผลงานวิจัยทางการแพทย์ว่าการดื่มไวน์วันละ 1-2 แก้ว จะช่วยลดความดันโลหิตสูงและช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ไวน์เป็นเครื่องดื่มเก่าแก่ที่มีการผลิตและบริโภคมาช้านานหลายพันปีก่อนคริสตกาล ดังที่ได้มีการกล่าวถึงหลายครั้งหลายหนใน The Old Testament ยุคที่จักรวรรดิ์โรมันเรืองอำนาจ การปลูกองุ่นได้แพร่หลายไปยังหลายพื้นที่ เช่น ตอนเหนือของฝรั่งเศส ในเยอรมัน และแม้แต่ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ในยุคกลาง (ระหว่างปีค.ศ.400-1200) การปลูกองุ่นมีไม่มากนัก หลังจากปีค.ศ.1200 การทำไวน์ได้เป็นกิจของบาทหลวงในศาสนจักร แต่หลังจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสและการถ่ายโอนอำนาจจากศาสนจักรไปสู่อาณาจักร ในประเทศเยอรมันโดยจักรพรรดิ์นโปเลียน การทำไวน์ก็ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มขุนนางและผู้มีบรรดาศักดิ์ ต้นศตวรรษที่ 13 ไวน์จากแคว้น Bordeaux ของฝรั่งเศสถูกนำไปยังเกาะอังกฤษ (อังกฤษยึดแคว้น Bordeaux ไว้ในอาณัติระหว่างปีค.ศ.1152-1435) ในศตวรรษที่ 14 ไวน์จากสเปนและโปรตุเกสถูกส่งออกไปขายนอกประเทศอย่างแพร่หลาย การดื่มไวน์กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชนชั้นสูง ในระหว่างศตวรรษที่ 18 ไวน์จากฝรั่งเศสและโปรตุเกส ได้รับความนิยมอย่างสูงในอังกฤษ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ไร่องุ่นในทวีปยุโรปได้รับความเสียหายจากโรคระบาดและแมลง ซึ่งได้ทำลายถึงรากของเถาองุ่นทีเดียว จนกระทั่งปีค.ศ.1880 โฉมหน้าใหม่ของพันธุ์องุ่นก็เกิดขึ้น เมื่อมีการนำเอากิ่งตอนองุ่นสายพันธุ์ European species ไปทาบกิ่งกับต้นองุ่นสายพันธุ์ American species ที่มีความต้านทานต่อโรคได้ดี ซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ในขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวในฝรั่งเศสในการที่จะให้เกิดความมั่นใจในไวน์พันธุ์แท้ ในปีค.ศ.1936 จึงมีการออกกฏหมายควบคุมคุณภาพของไวน์โดยอนุญาตให้ ผู้ผลิตไวน์ที่ใช้องุ่นจากเขต Champagne เท่านั้นที่จะเรียก Sparkling wine ของตนว่า CHAMPAGNE เรื่องราวของไวน์โลกใหม่ ดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติในยุโรปที่มีความมานะพยายามผลิตไวน์จนประสบความสำเร็จก็คือ ออสเตรเลีย เซ้าท์อัฟริกา ชิลี และรัฐคาลิฟอร์เนีย ไวน์คาลิฟอร์เนียได้รับการยอมรับจากนักดื่มไวน์ว่าเป็นสุดยอดของไวน์จากโลกใหม่ มีพัฒนาการมากว่า 200 ปี หลังจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศสนำพันธุ์องุ่นมาปลูกที่ไร่แห่งหนึ่งชานเมือง San Diego เมื่อปีค.ศ.1769 ซึ่งหลังจากนั้นมาชาวคาลิฟอร์เนียได้เริ่มเรียนรู้การปลูกองุ่นและทำไวน์ จนถึงกลางปีค.ศ.1830 ชาวคาลิฟอร์เนียสามารถผลิตไวน์ได้มากพอต่อการส่งออกไปขายนอกประเทศ ในปีค.ศ.1934 มีการก่อตั้ง The California Wine Institute และในปีค.ศ.1945 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยแห่งรัฐคาลิฟอร์เนียก็กลายเป็นศูนย์กลางทำการวิจัยเรื่องไวน์ของสหรัฐอเมริกา วิธีการปลูกองุ่น กรรมวิธีการผลิตไวน์ และการศึกษาวิจัยเรื่องไวน์ในรัฐคาลิฟอร์เนียมีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ไวน์คาลิฟอร์เนียมีคุณภาพใกล้เคียงกับไวน์ระดับคลาสสิคของฝรั่งเศส ชนิดแทบวัดรอยเท้าได้เลย พันธุ์องุ่นที่ใช้ทำไวน์ พันธุ์องุ่นที่นิยมนำมาทำไวน์จะมาจากสายพันธุ์องุ่น 4 กลุ่ม คือ 1. American species 2. Eastern Asian species 3. North American species 4. European species แต่พันธุ์องุ่นที่ดีที่สุดที่นำมาทำไวน์จะมาจากกลุ่ม European species สายพันธุ์ Vitis vinifera ซึ่งมีหลายร้อยพันธุ์องุ่น ที่รู้จักกันดีก็คือพันธุ์ Cabernet sauvignon พันธุ์ Merlot พันธุ์ Pinot noir พันธุ์ Syrah[Shiraz] ที่นำมาทำเป็นไวน์แดง สำหรับไวน์ขาว พันธุ์องุ่นระดับสุดยอดของโลกก็ต้องเป็นพันธุ์ Chardonnay รองลงไปก็เป็นพันธุ์ Chenin blanc พันธุ์ Riesling พันธุ์ Semillon และพันธุ์ Sauvignon blanc หลายท่านคงเคยดื่มไวน์โลกใหม่จากคาลิฟอร์เนีย จากออสเตรเลีย หรือจากเซ้าท์อัฟริกามาบ้างแล้ว ซึ่งไวน์โลกใหม่เหล่านี้มีพันธุ์องุ่นเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียง เช่น พันธุ์ Zinfandel เป็นพันธุ์องุ่นที่นำมาจากยุโรปแต่ปลูกได้ดีในรัฐคาลิฟอร์เนีย[ Zinfandel พัฒนามาจากพันธุ์ Primitivo ของอิตาลี ] หรือพันธุ์ Pinotage ที่เป็นตัวเก่งของเซ้าท์อัฟริกา ก็มาจากพันธุ์ Pinot noir ของฝรั่งเศส แหล่งผลิตไวน์ที่สำคัญของโลก ประเทศฝรั่งเศส ทั่วโลกยอมรับว่าไวน์จากฝรั่งเศสเป็นไวน์ที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก บริเวณใกล้กับท่าเรือของแคว้น Bordeaux (ฝั่งตะวันตกของประเทศ ติดกับอ่าว Biscay) เป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ที่ปลูกองุ่น พันธุ์ดีที่สุด เช่น พันธุ์ Cabernet sauvignon พันธุ์ Cabernet franc และพันธุ์ Merlot ผลิตไวน์แดงคุณภาพดีคือไวน์ Chateau Latour ไวน์ Chateau Lafite Rothschild และไวน์ Mouton Rothschild ในเขต Medoc แคว้น Burgundy เป็นแคว้นเล็กๆที่สามารถผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงได้โดยใช้องุ่นพันธุ์ Pinot noir ทำไวน์แดง และพันธุ์ Chardonnay ทำไวน์ขาว สำหรับแคว้น Champagne อยู่ทางตอนเหนือของประเทศมีชื่อเสียงในการทำ Sparkling wine CHAMPAGNE ที่ยอมรับกันว่าดีที่สุดในโลก ประเทศเยอรมัน ไวน์ที่ผลิตในเยอรมันส่วนใหญ่เป็นไวน์ขาว ผลิตจากองุ่นพันธุ์ Riesling พื้นที่ปลูกองุ่นจะอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ Rhine มีแอลกอฮอล์ในระดับต่ำ (ประมาณ 9% vol) ผลิตทั้ง dry wine และ sweet wine ชาวเยอรมันชอบที่จะดื่มไวน์โดยไม่ต้องมีอาหารใดๆ ประเทศสเปน ไวน์ที่ผลิตในสเปนส่วนใหญ่จะเป็น Fortified wine ประเภท dessert wine ดื่มกับผลไม้และของหวาน บริเวณตอนใต้ของประเทศจะผลิตไวน์ Sherry ได้มาก ส่วนบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือจะผลิต Still wine ชนิดไวน์แดงและไวน์ขาวได้มาก ประเทศโปรตุเกส จะผลิตทั้ง Fortified wine และ Sparkling wine เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีผู้นิยมดื่มกันมาก ส่วนไวน์แดงที่ดีที่สุดจะผลิตที่ภาคเหนือตอนกลางซึ่งผลิตไวน์ขาวได้บ้างเล็กน้อย และยังมีไวน์เขียว [Green wine] ซึ่งเป็นไวน์ลักษณะพิเศษที่ผลิตที่ภาคเหนือ และที่หมู่เกาะ Madeira จะมี dessert wine ที่เก่าแก่และเยี่ยมยอดมาก ประเทศอิตาลี สามารถผลิตไวน์ชั้นดีออกมาขายได้มากจะเป็นรองก็เพียงไวน์จากฝรั่งเศสเท่านั้น ที่โด่งดังมากจะเป็นไวน์ Barolo จากแคว้น Piedmonte ทางตอนบนของประเทศ ไวน์ Brunello di Montalcino ไวน์ Chianti Classico และไวน์ Bolgheri Sassicaia จากแคว้น Toscana ส่วนไวน์ขาวและ Sparkling wine (ในภาษาอิตาเลียนเรียกว่า Spumante) ก็ผลิตได้มากและมีคุณภาพดี บริเวณที่ปลูกองุ่นสำหรับทำไวน์ได้ดีจะอยู่บริเวณตอนบนของประเทศบริเวณแคว้น Piedmonte แคว้น Veneto และตอนกลางของประเทศบริเวณแคว้น Toscana ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก สามารถผลิตไวน์ได้แทบทุกประเทศ เช่น ฮังการี โรมาเนีย บุลกาเรีย ยูโกสลาเวีย โครเอเทีย มาเซโดเนีย จอร์เจีย มอลโดวา อาเมเนีย ประเทศในทวีปอัฟริกา อัลจีเรียซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสสามารถที่จะผลิตไวน์ออกขายได้มาก ส่วนใหญ่จะส่งไปยังอิสราเอล แต่ที่ดังที่สุดในทวีปนี้คือเซ้าท์อัฟริกา ประเทศออสเตรเลีย ชาวอังกฤษที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในศตวรรษที่ 19 เป็นผู้นำเอาวิธีการปลูกองุ่นและการทำไวน์ไปเผยแพร่ ออสเตรเลียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ผลิตไวน์คุณภาพดีออกสู่ตลาดโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าในประเทศนี้มีเขตผลิตไวน์ไม่น้อยกว่า 34 รัฐ หลายพื้นที่สามารถปลูกองุ่นและผลิตไวน์เป็นสินค้า ได้แก่ รัฐวอชิงตัน รัฐโอเรกอน รัฐไอดาโฮ เป็นต้น แต่ที่สุดยอดจริงๆคือรัฐคาลิฟอร์เนีย ไวน์คาลิฟอร์เนียสามารถปลูกได้ในหลายๆเมือง แต่ที่ดีที่สุดอยู่ในเขต Napa Valley และ Sonoma County เมือง San Francisco การจัดระบบไวน์ในครั้งนั้นเขาเลือกไวน์ออกมาได้ 61 ตัว แบ่งออกเป็น 5 ชั้น โดยเกือบทั้งหมดคัดเลือกไวน์จากกลุ่มเขต M?doc ในแคว้น Bordeaux อันได้แก่ Pauillac, Margaux, St-Julien, St-Est?phe และ Haut-M?doc ซึ่งมีรายละเอียดเป็นชั้น ๆ ดังนี้ อ่อ! แต่ก่อนอื่นก็ต้องขออนุญาตวิจารณ์ไวน์ที่มาจากการจัดลำดับเมื่อร้อยห้าสิบปีที่แล้วนั้น ว่าวันนี้เขาอยู่เป็นสุขดีอย่างไรควบคู่กันไปด้วยนะครับ เริ่มต้นจากชั้นแรกคือ Premiere Crus หรือเรียกง่าย ๆ ว่า First Growths วันนั้นเขาเลือกไวน์มาได้ 4 ตัว คือ Lafite Rothschild, Chateau Margaux, Latour ซึ่งทั้งสี่ล้วนมาจากกลุ่ม M?doc ฮือฮาสุดก็ตรงที่มีไวน์จากเขต Graves ติ่งเข้ามาหน้าตาเฉยอยู่อีกหนึ่งคือ Haut-Brion นัยว่าเป็นไวน์โปรดของนาย Thomas Jefferson นั่นเอง ไวน์ในชั้นหนึ่งนี้ทั้งหมด ถือว่าเยี่ยมยอดสมศักดิ์ศรี ไม่มีข้อกังขา มาชั้นที่สองคือ Deuxi?mes Crus หรือ Second Growths ที่คัดเลือกไวน์มาได้ทั้งหมด 15 ตัว ทุกตัวยังอยู่ครบสมบูรณ์ดีทุกตัว ยกเว้นแต่เพียง Mouton Rothschild ที่ได้ปรับเลื่อนไปอยู่ชั้นหนึ่งในปี ค.ศ.1973 ดังนั้นไวน์ในชั้นนี้จึงเหลืออยู่เพียง 14 ตัวเท่านั้น ถ้านับเอาจริง ๆ แล้ว ไวน์หลายตัวในวันนี้น่าจะถูกพิจารณาขึ้นไปชั้นหนึ่งได้บ้าง อาทิเช่น L?oville-Las Cases, Pichon-Longuevile Comtesse de Lalande และ Cos dEstournel ในขณะที่หลายตัวสมควรถูกลดชั้นอย่าง Montrose และ Rausan-Sega น่าจะหล่นไปอยู่ชั้นสาม ส่วน Brane-Cantenac ควรไปแหมะที่ชั้นสี่ ส่วนที่ควรถอดออกไปเลยคือ Lascombes และ Rausan-Gassies ชั้นต่อมาคือ Troisi?me Cru หรือ Third Growths มีไวน์ทั้งหมด 14 ตัว เป็นชั้นที่รวมเอาไวน์มีปัญหามาอยู่ด้วยกันมากสุด ยกเว้น Palmer, La Lagune กับ Calon-Segur ที่มีดีพอจะอยู่ตรงนี้ต่อไป แต่กับ Kirwan และ Canternac-Brown อย่างน้อยก็ต้องหล่นไปอยู่ชั้นห้า ที่เหลือนั้นแทบจะโละทิ้งจากระบบไปได้ทั้งหมด ส่วนไวน์ในชั้น Quatri?me Crus หรือ Fourth Growths นั้นมีอยู่ 10 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมีปัญหาไม่แพ้ชั้นสาม ที่พอจะเอาตัวรอดอยู่ได้เห็นแต่เพียง Talbot, Prieur?-Lichine กับ Beychevelle แต่สำหรับ Lafon-Rochet, Branaire-Ducru, Duhart-Milon สมควรลงไปชั้นห้า ส่วนที่เหลือนั้นต้องพิจารณา-ปลดออก แล้วก็มาถึงชั้นห้า Cinqui?mes Crus หรือ Fifth Growth มีอยู่ 18 ตัว เป็นชั้นที่ซ่อนของดีเหนือระดับไว้ อย่าง Lynch-Bages, Grand-Puy-Lacoste และ Clerc-Milon ซึ่งควรยกขึ้นไปอยู่ชั้นสองหรืออย่างน้อยก็สาม ส่วน Batailley, Pontet-Canet ควรขยับขึ้นไปอีกหนึ่งชั้น ส่วนที่เหลือก็พอเอาตัวรอดในชั้นนี้ไปได้เกือบทุกตัว การจัดอันดับไวน์ครั้งนั้น ผ่านมาร้อยห้าสิบปีแล้ว จนถึงวันนี้ความน่าเชื่อถือลดลงเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่ง ทั้งที่ทุกฝ่ายต่างก็เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ต้องการให้มีการจัดอันดับกันใหม่ให้สมสมัย แต่ก็ติดด้วยอิทธิพลต่าง ๆ และความยุ่งยากที่อาจตามมาอีกมากมาย (เรื่องแบบนี้ที่ไหน ๆ ก็เกิดได้ทั้งนั้น) วิธีการดื่มไวน์ โดยทั่วๆไป เวลาเราจะดื่มไวน์นั้น ก้อไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากไปกว่าแค่กระดกแก้วขึ้นดื่มเท่านั้น อ๊ะๆๆ แต่ถ้าเราอยากโชว์ออฟให้ชาวบ้านชาวช่องเค้ารู้ว่าเราน่ะก้อไม่ธรรมดานั้น ก้อต้องเพิ่มขั้นตอนกันเข้าไปหน่อย เริ่มตั้งแต่การ พิจารณาฉลากว่าใช่ยี่ห้อที่เราสั่งรึเปล่า แต่ไม่ใช่เท่านั้น เรายังต้อง ดูปีของไวน์ขวดนั้นๆว่าผลิตขึ้นมาเมื่อไร ไวน์นั้นไม่เหมือนกับเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆตรงที่ แม้ว่าจะเป็นยี่ห้อเดียวกันก้อตาม แต่ถ้าปีที่ผลิตต่างกัน ราคาก้อจะไม่เท่ากันด้วย เป็นเพราะว่า ไวน์นั้นมีธรรมชาติเป็นตัวกำหนด เช่นว่า ถ้าปีไหนฝนฟ้าเป็นใจ องุ่นได้ที่ ก้อจะเอามาหมักเป็นไวน์ที่มีคุณภาพ มีรสชาติที่อมตะ สามารถขายได้ราคาแพงๆ แต่ในทางกลับกัน ถ้าปีไหนแห้งแล้ง องุ่นแคระ ไม่ให้ผล ไวน์ที่ผลิตออกมาในปีนั้น ราคาก้อจะตก การดูปีที่ผลิตออกว่าปีไหนดีหรือไม่ บางทีก้ออาจทำให้เราได้ไวน์ดีราคาปานกลางมาดื่มก้อได้ โดยเฉพาะกับชาวฝรั่งเศส ซึ่งผลิตไวน์ส่งออกมากที่สุดนั้น เค้าจะมีการพิมพ์การ์ดใบเล็กๆแจกกันเลยว่า ปีไหนองุ่นดีหรือไม่ดี และองุ่นจากแคว้นไหน ตำบลไหนเป็นยอดในปีนั้นๆ ทำกันถึงขั้นนี้เลยเชียว ถัดจากพอดูยี่ห้อเสร็จ คราวนี้ลองมาดูเนื้อไวน์ในแก้วนั้นว่ามีสีสันเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร และที่สำคัญต้องจับไวน์ที่ก้านแก้วเท่านั้น ห้ามจับที่ตัวแก้วเด็ดขาด เพราะว่าความร้อนจากร่างกายของเราจะทำให้ไวน์นั้นไม่อร่อย พอดมเสร็จ ดูเสร็จก้อยกขึ้นจิบ จิบนะคะ ไม่ใช่ดื่ม คืออมไว้สักครู่แล้วค่อยดื่ม จากนั้นก้อทำท่าปลื้มพอเป็นพิธี เท่าที่ก้อเสร็จสิ้นกระบวนการ ใครมาเห็นก้อจะสรรเสริญ ทั้งที่ไม่รู้ว่าเรานั้นรู้จริงรึเปล่า แต่วิธีนี้ล่ะจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่ถูกนินทาในการออกสมาคมอะไรทำนองนั้น แต่ถ้ามีเวลา เราก้อน่าจะลองทำความรู้จักคุ้นเคยกับมันสักหน่อย ไวน์ฝรั่งเศสรสชาติอาจไม่คุ้นนัก เราก้อต้องลองมาหาไวน์จากโลกใหม่ อย่างเช่น ชิลีไวน์ หรือออสเตรียไวน์ซึ่งราคาไม่แพงและคุ้นปากคนไทย แต่จะให้ดีของไทยเราเองก้อมีผลิตออกมา แถมราคาก้อสบายกระเป๋า ช่วยกันอุดหนุนของไทยบ้าง เท่ไปอีกแบบนะ ผมเพิ่งได้เข้ามาเยี่ยม วิกิ ภาษาไทยครั้งแรกดีนะครับ แต่ขอติงนิดนึงคับ 1.ตอนนี้ผมเรียนไวน์อยู่ที่ฝรั่งเศส แต่พวกพันธุ์องุ่นที่ ให้มามันไม่ใช่พันธุ์ที่เราใช้ทำไวน์ หรือพูดง่ายๆคือพบบ่อยนักที่ฝรั่งเศส เช่น syrah ส่วนใหญ่จะพบในประเทศที่มี อากาศแบบ tropical มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามยังมีองุ่นชนิดอื่นอีกที่สามารถใช่ทำไวน์ได้ ซึ่งเราเรียกในภาษาไวน์กันว่า cepage ผมว่า ไม่น่าจะเน้นว่าองุ่นพวกนี้พบที่ฝรั่งเศสนะคับ แค่บอกว่าเป็นองุ่นส่วนใหญ่ที่ใช้ และที่สำคัญ เพิ่ม ฯลฯ ไว้ข้างหลังก็ได้นะคับ เพราะว่าแม้แต่ที่ Bordeaux ที่ผมอยู่ตอนนี้พันธุ์องุ่นมีมากกว่า แปดสิบพันธุ์(ไม่นับที่สูญพันธ์ไปแล้วนะคับ) เพื่อไม่ให้ พวกที่ดื่มไวน์ที่ผลิตจากประเทศอื่นสับสนลอง เปลี่ยนเป็นแบบ การอธิบายกว้างดูนะคับ 2.ในการแนะนำ cru ผมว่าควรจะใช้คำว่า appellation มากกว่า เพราะ cru (นี่คือความคิดผมนะ) เวลาเราจะจัดอันดับไวน์เราจะแบ่งเป็น grand cru classe => medaille d'or, d'argent, de bronze etc.. Meilleur cru de l'annee 2001 etc.. เพราะฉนั้น ในความหมายของผมก็คือ เป็นการเพิ่มราคา หรือ ความสง่าให้ไวน์เมื่อเราพูดถึงคำนี้ แล้วในแต่ละ ที่จะมีการจัดต่างกัน เช่น Bordeaux: Meilleur cru classe ส่วนใหญ่ก็มี Saint-Emillion, Medoc, Sauterne etc..ซึ่ง ถ้าหากเราดูที่ฉลากไวน์แทนที่เขาจะเขียนว่า 'cru saint-emillion' เขาจะเขียนว่า appellation saint-emillion, appellation montagne saint-emillion CONTROLE!... โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า controle ตัวท้ายสุดจะบอกให้ผู้ซื้อไวน์ทราบว่าได้ผ่านการตรวจเช็คอย่างดี จาก นักชิมไวน์(oenologue) แล้ว ซึ้งเราสามารถตรวจสอบคะแนนได้ใน dictionary of wine edition Parker's รายปี หรือไม่ก็ใน edition อื่นๆ ซึ่งจะ แบ่งตาม chateau ในเวปนี้ก็อธิบายไว้แล้วคับ Bourgogne ขอแก้นิดนึง เราจะไม่เรียกไวน์ที่ผลิดใน ย่านนี้ว่า chateau นั้นๆ หรือ cru นั้นๆ เขาจะมีคำเฉพาะนั้นคือ chateau ==> domaine cru ======> cote Champagne เช่นเดียวกันเราจะใช้คำว่า maison แทนคำว่า chateau คับผม โหย...กว่าจะทำบล็อกเสร็จ... อืมม์...มาอ่านดูเห็นว่าเขาให้ ดม อม แล้วค่อยดื่ม หมดไปเกือบครึ่งขวดแล้วคับ...แฮ่ๆๆ
Create Date : 06 มกราคม 2551
Last Update : 6 มกราคม 2551 0:00:56 น.
6 comments
Counter : 3252 Pageviews.
โดย: Picike วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:5:02:22 น.
โดย: มิสเตอร์ฮอง วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:18:43:55 น.
โดย: a (Big Spender ) วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:21:22:42 น.
โดย: dogamania วันที่: 10 มกราคม 2551 เวลา:1:03:47 น.
ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica
free counter
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้
เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม
นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง
ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539
หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง
ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่
ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ.
แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้
ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ
อิอิ
หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน
จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ