|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
*** หลุมดำปรโลก *** บิดเบือน ความทรงจำ
เขียน: ชาคริต แก้วทันคำ สำนักพิมพ์ตำหนัก
ต้องบอกว่าพออ่านจบแล้วชอบการตั้งชื่อเรื่องมาก
หลุมดำ ดูดทุกสิ่งเข้าสู่ตัวมัน ระหว่างนั้นมันก็บิดเบือนพื้นที่และเวลา (space time) ปรโลก คือ โลกอื่นที่ไม่ใช่โลกที่เราอยู่อาศัย
"หลุมดำปรโลก" คือโลกอื่นที่ซึ่งข้อมูลความจริงของโลกปัจจุบันถูกบิดเบือนเป็นเรื่องราวใหม่
เหมือนกับนวนิยายเล่มนี้ที่หยิบเอาเรื่องจริงในสังคมมาบิดเป็นเรื่องราวใหม่ แต่ก็ยังสามารถสอบย้อนกลับไปว่าสิ่งที่มันพูดถึงคืออะไรผ่านการตีความสัญลักษณ์ในเรื่อง
หลุมดำปรโลก กระตุ้นต่อมอยากรู้ของผู้อ่านว่า เกิดอะไรขึ้นกับตัวละครแม่ลูกสองที่จมน้ำตายในสระเจ้าแม่ที่มีหลุมดำอยู่ก้นสระ
เรื่องราวส่วนใหญ่ถูกเล่าผ่านคำให้การ (?) และข้อมูลความทรงจำของบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ถูกจัดเก็บไว้ (นี่คือหมู่บ้านที่อยู่ภายใต้โครงการทดลองลบความทรงจำของรัฐบาล แถมยังมีหุ่นเอไอปะปนอยู่ร่วมกับคนในหมู่บ้านอีกด้วย)
*** จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาบางส่วน ไม่ถึงขั้นทำลายอรรถรส แต่ใครที่อยากอ่านแบบไม่รู้อะไรมาก่อนควรข้ามไปครับ ***
อันที่จริงรูปแบบการนำเสนอแบบนี้เคยถูกใช้มาแล้วกับ ฆาตป์ (ผลงานวนิยายสั้นเรื่องก่อนหน้าของชาคริต)
แต่ประเด็นที่ว่าด้วย 'ความทรงจำ และ การบิดเบือน' ในหลุมดำปรโลก สอดคล้องและถูกขับเน้นด้วยรูปแบบการนำเสนอแบบเดียวกันนี้มากกว่าผลงานเรื่องก่อน รูปแบบการนำเสนอที่ว่าคือการให้ตัวละครแต่ละตัวเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น (รวมถึงการดึงข้อมูลความทรงจำของตัวละครมาตรง ๆ) ให้ใครสักคนฟัง (เช่น ตัวผู้ตาย, ลูกผู้ตาย, เจ้าแม่ต้นเทียม และคนอื่น ๆ)
ซึ่งตำแหน่งของ 'ใครสักคน' ที่ว่านั้นคือตำแหน่งของ 'ผู้อ่าน' ที่ซ้อนทับอยู่อีกที
อย่างที่รู้กันว่า 'ความทรงจำ' นั้นไม่ใช่ความจริง มันเป็นผลผลิตของความเป็นจริงที่ถูกบิดเบือนปรุงแต่ง (โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว) จากข้อมูลในสมองและอคติของเจ้าของความทรงจำนั้น ๆ รวมถึงเมื่อเวลาผ่านไปมันก็ค่อย ๆ ลบเลือนตัวมันเอง
ดังนั้นเวลาที่คุณคิดย้อนไปถึงเรื่องในอดีต สมองคุณจะสร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมาโดยอิงจากความทรงจำเดิมที่มีอยู่ผสมกับข้อมูลมากมายในสมองของคุณ จึงเป็นไม่ได้ที่มันจะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ความทรงจำคือความจริงที่ถูกบิดเบือนไปแล้วไม่มากก็น้อย
เช่นเดียวกัน สิ่งที่ตัวละครทั้งหลายในเรื่องเล่าให้ 'ใครสักคน' ฟัง เป็นเรื่องที่มาจากความทรงจำของพวกเขา (ไม่ใช่เรื่องราวที่ถูกเล่าโดยตรงจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นเรื่องจริงในโลกของนวนิยาย)
บ่อยครั้งเราจะเห็นว่าตัวละครเหล่านี้ต้องนึกย้อนกลับไปเพราะจำไม่ค่อยได้, บ่อยครั้งก็พบว่าพวกเขาเล่าเสริมเติมแต่งกันสนุกปาก และบางครั้งเราพบว่าความทรงจำของพวกเขาถูกตัดต่อโดยผู้มีอำนาจ
สัญลักษณ์มากมายอันเป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนยังคงแฝงอยู่ในงานชิ้นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลบข้อมูลความทรงจำของรัฐบาล (ล้างสมอง ?) เพื่อแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น, การที่รัฐบาลส่งแอนดรอยด์เข้ามาแทรกซึมในหมู่บ้าน (แอบสอดส่องข้อมูล ?)
การที่คนในหมู่บ้านบางคนมีส่วนในการพัฒนาโครงการลบความทรงจำของรัฐที่นำโดยทหารและเปิดทางให้รัฐเข้ามาควบคุมและแทรกแซง เพื่อผลประโยชน์บางอย่างของตน (การที่กลุ่มคนในสังคมบางกลุ่มเปิดโอกาสให้ทหารเข้ามาแทรกแซงการปกครอง ?)
แต่กลับทำให้เหตุการณ์แย่ไปกว่าเดิม
แถมการเปิดโอกาสให้รัฐกำจัดคนที่พวกเขาคิดว่าเป็นสาเหตุของความชั่วช้า ทั้งที่คนนั้นอาจไม่ได้ผิดอะไร แล้วพยายามให้ทุกคนในสังคมหลงลืมมันไป ราวกับว่าไม่เคยมีเรื่องนี้เกิดขึ้น (รัฐบาลที่พยายามทำให้ประชาชนหลงลืมว่าเคยกำจัดคนบริสุทธิ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อพวกเขา ?)
เหล่านี้ช่างเป็นอะไรที่เสียดสีสังคมไทยในช่วงทศวรรษนี้ได้เป็นอย่างดี
สำนวนภาษาของนวนิยายเรื่องนี้ทันสมัย อ่านสนุก ไหลลื่น ซึ่งการสร้างบทพูดของตัวละครอย่างเป็นธรรมชาติคือเอกลักษณ์สำคัญในงานของชาคริตตั้งแต่ฆาตป์ ตัวละครชาวบ้านก็พูดและคิดในแบบของชาวบ้านไม่มีหลุดความเป็นนักคิดของนักเขียน
และถึงแม้เรื่องราวจะเข้มข้น แต่มุขตลกเสียดสีก็ยังมีให้เห็น ที่ชอบมากและจำได้คือตัวละครลุงคนหนึ่งพูดว่า
'ไม่รู้ -- ไม่รู้ --'
อันที่จริงแล้วเรื่องแต่งส่วนใหญ่ ล้วนแต่มี 'ความทรงจำ' เป็นวัตถุดิบทั้งสิ้น มันจะถูกดัดแปลงมากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่าผู้แต่งต้องการจะสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน
หลุมดำปรโลก คือการหยิบเอาเหตุการณ์จริงของสังคมไทยในช่วงปัจจุบันมาบิดเบือนเป็นเรื่องราวใหม่เพื่อขับเน้นความจริงบางประการให้เด่นชัดขึ้น
สุดท้ายเรื่องแต่งเหล่านี้เมื่อถูกอ่านโดยผู้อ่าน มันก็จะกลายเป็นความทรงจำของผู้อ่านอีกทอดหนึ่ง แน่นอนว่าไม่มีใครจำได้ทุกตัวอักษร ความทรงจำของผู้อ่านแต่ละคนก็จะเจือปนด้วยอคติส่วนตัว, สิ่งที่กระทบใจ รวมไปถึงคลังข้อมูลของผู้อ่านแต่ละคน
เรื่องจริง ==> ความทรงจำ (ของผู้แต่ง) ==> เรื่องแต่ง ==> ความทรงจำ (ของผู้อ่าน) + การตีความ (จากข้อมลของผู้อ่าน) ==> เรื่องแต่งใหม่ในอีกปรโลก
เพราะ 'จริง ๆ แล้ว เราคือหลุมดำ' ที่ดูดเอาความทรงจำผู้อื่นมาบิดเบือนเป็นความทรงจำของเรา
บางทีถ้ามีเวลาจะลองตีความนวนิยายเรื่องนี้โดยละเอียดอีกทีครับ
Create Date : 22 สิงหาคม 2566 |
Last Update : 22 สิงหาคม 2566 0:44:12 น. |
|
0 comments
|
Counter : 630 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]
|
นวกานต์ ราชานาค Navagan Rachanark
สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ
สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน
ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ
|
|
เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม Time 09:00 Date 31/01/2010
by Histats.com
ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog
ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ
ขอบคุณครับ
|
|
|
|
|
|
|
|