|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
|
*** เกลือศรัทธา *** ศรัทธาในเรื่องราว
เขียน: อนุสรณ์ ติปยานนท์
เกลือศรัทธา เล่าถึงชายคนหนึ่งที่เพิ่งเลิกกับภรรยาที่อยู่กันมานานกว่า 10 ปี
หลังจากหย่าร้างเขาตัดสินใจไปเที่ยวที่ค่ายกักกันชาวยิวเอาช์วิทซ์ในโปแลนด์ แต่เหมืองเกลือวีลิชก้าที่อยู่ใกล้เคียงกลับนำพาบางอย่างที่สูญหายกลับคืนสู่ชีวิตของเขาอีกครั้ง
<<< จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ ไม่ควรอ่านก่อนอ่านนิยาย >>>
จากเนื้อเรื่องเราจะพบว่า เมื่อชายผู้เป็นตัวละครหลักของเรื่องถูกภรรยาบอกเลิกเขาก็สูญสิ้นศรัทธาต่อทุกสิ่ง
เราไม่แน่ใจว่าทำไมชายคนนี้เลือกไปค่ายกักกันชาวยิวเอาช์วิทซ์ในโปแลนด์ (อาจเพียงแค่เพราะเป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่คนทั่วไปรู้จัก) แต่แน่นอนว่าสถานที่แห่งการพรากชีวิตย่อมไม่สามารถคืนชีวิตให้กับชายคนนี้ได้
ในทางกลับกันเหมืองเกลือวีลิชก้า อันเป็นเหมือนของแถมในทัวร์นี้ กลับให้ความหวังและชีวิตของเขาคืนมา
เหมือนที่ตัวละครบรรยายเอาไว้ในเรื่อง เกลือคือส่วนประกอบสำคัญในการทำอาหาร และการกินอาหารคือองค์ประกอบสำคัญของความเป็นครอบครัว นอกจากนี้เหมืองเกลือยังเป็นจุดหมายให้ผู้คนมารวมตัว เป็นชุมชน มาตั้งแต่โบราณ
ดังนั้นเกลือคือสิ่งที่ทำให้ผู้คนมาพบปะและสานสัมพันธ์กัน
เกลือ = สื่อสัมพันธ์
พล็อตรองว่าด้วยตัวละครสาวชาวสเปน 'ดาเนียลลา' หญิงสาวในครอบครัวผู้ทำ 'ฮามอน' (แฮมที่ทำจากขาหมู) ซึ่งการทำฮามอนต้องใช้เกลือเป็นวัตถุดิบสำคัญ การที่พ่อของเธอซึ่งเป็นนักทำฮามอนหายไปจากบ้าน ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อตัวเธอและแม่ของเธอ
แม่ไม่สามารถสัมผัสเกลือได้อีก [แม่เธอไม่สามารถสื่อสัมพันธ์กับใครได้อีก]
ดาเนียลลาไม่สามารถรับรสเค็มได้อีกต่อไป [ไม่สามารถสื่อสัมพันธ์กับพ่อได้อีก]
ดาเนียลลาจึงมาที่เหมืองเกลือนี้เพื่อขอพรให้แม่เธอสัมผัสเกลือได้อีกครั้ง
ในแง่ตัวละครเราจะพบความเหมือนและความต่างของ 'เขา' และ 'ดาเนียลลา' ดังนี้
- เหมือนกัน
เขา = สูญเสียคนในครอบครัว
ดาเนียลลา = สูญเสียคนในครอบครัว
- ต่างกัน
เขา = สูญเสียศรัทธา
ดาเนียลลา = ไม่สูญเสียศรัทธา
การสูญเสียศรัทธาคือการขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ จิตใจของเขาจึงเคว้งคว้างไร้จุดหมาย ดังนั้นสิ่งที่เยียวยาจิตใจเขาได้คือการพยายามสร้าง 'จุดมุ่งหมายเทียม' อย่างการท่องเที่ยว เพื่อให้จิตใจมีเป้าหมายชั่วคราว
ในอีกมุมหนึ่งการท่องเที่ยว อาจหมายถึงการออกเดินทางเพื่อตามหาศรัทธาที่หายไปของเขาอีกด้วย
ดังนั้น การมีศรัทธา = การมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แต่สถานที่ไม่ใช่ศรัทธา เหมือนที่วัดและโบสถ์ไม่ใช่สิ่งที่คนศรัทธา
คำสอนในศาสนา หรือตำนานของศาสดาต่างหาก คือสิ่งที่ทำให้ผู้คนศรัทธา
เช่นกัน เหมืองเกลือเป็นแค่สถานที่ แต่สิ่งที่สร้างศรัทธาคือเรื่องราวเกี่ยวกับมัน เหมือนที่เรื่องราวอันข้องเกี่ยวระหว่างเหมืองเกลือและดาเนียลลาที่ค่อย ๆ สร้างศรัทธาให้กับเขา
ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เราศรัทธา คือ 'เรื่องราว'
และจากที่เขียนไปข้างต้นว่าเหมืองเกลือเป็นแหล่งรวมผู้คนซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จนกลายเป็นครอบครัว และขยายตัวต่อจนกลายเป็นชุมชน
ดังนั้น 'บ่อเกลือ' เหล่านี้ก็คือ 'บ่อเกิดของเรื่องราว'
เมื่อบ่อเกลือ = บ่อเกิดของเรื่องราว
และ
เรื่องราว = ศรัทธา
ฉะนั้น
บ่อเกลือ = บ่อเกิดของศรัทธา
ดาเนียลลา ถ่ายทอดเรื่องราวของความสัมพันธ์กับพ่อให้ เขาฟัง [ดาเนียลลา ถ่ายทอดศรัทธาในเกลือให้ เขาฟัง]
เขาที่หมกมุ่นในเรื่องราวการหายตัวไปของพ่อดาเนียลลา จึงมีศรัทธาในเกลือขึ้นมาในท้ายที่สุด
เธอส่งต่อเรื่องราว (ศรัทธา) ให้เขาผ่านเรื่องราวของเกลือที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเธอ
กระทั่งการมีความสัมพันธ์ทางเพศ เกลือที่มาในรูปแบบของกลิ่นจากดาเนียลลา ก็ถูกส่งต่อมาให้เขาได้รับรู้
นี่เองที่เป็นสัญญะเน้นย้ำให้เห็นถึงความหมายของเกลือ ในฐานะสื่อกลางในความสัมพันธ์
คำถามคือ แล้วทำไมเขาถึงศรัทธาเกลือ ?
นั่นก็เพราะเขาเรียนรู้จากเรื่องราวของดาเนียลลาว่า เกลือคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์
และในฐานะคนที่เพิ่งถูกตัดขาดความสัมพันธ์อย่างเขา เกลือคือการนำมาซึ่งเรื่องราวของความสัมพันธ์ ซึ่งมันช่วยเยียวยาจิตใจที่โหยหาความสัมพันธ์ครั้งเก่าให้กับเขา
ถ้าสรุปสัญลักษณ์ ดังต่อไปนี้เกลือ = สื่อสัมพันธ์
ศรัทธา = เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
สิ่งที่ศรัทธา = เรื่องราว
เหมืองเกลือ/บ่อเกลือ = บ่อเกิดของเรื่องราว = บ่อเกิดของศรัทธา
เรื่องราวโดยสรุปของเกลือศรัทธาคือ
เขาขาดเป้าหมายในการมีชีวิตจากการหย่าร้าง [เขาขาดศรัทธาจากการถูกตัดขาดความสัมพันธ์]
เขาจึงตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยว [เขาเดินทางค้นหาศรัทธาที่หายไป]
ที่เหมืองเกลือ เขาได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวจากดาเนียลลา [ที่บ่อเกิดของเรื่องราว เขาได้รับการถ่ายทอดศรัทธาจากดาเนียลลา]
จนเขามีเป้าหมายในชีวิตอีกครั้ง [จนเขามีศรัทธาอีกครั้ง]
ซึ่งศรัทธาของเขาคือการศรัทธาในเรื่องราวของเกลืออันเป็นสัญญะของการสื่อสัมพันธ์ อันหมายถึงการส่งต่อเรื่องราว
เราจะพบว่าเขามีศรัทธาขึ้นมาเพราะเรื่องราวของผู้อื่น จากประโยคด้านล่างในหน้า 133
- ผมจะมีชีวิตใหม่นับจากนี้ มีชีวิตใหม่จากเรื่องเล่าของคุณ
และเราจะพบว่าเขามีเป้าหมายในชีวิตอีกครั้ง ซึ่งเป้าหมายที่ว่าคือการ 'ส่งต่อเรื่องราว (ศรัทธา)' ต่อให้ผู้อื่น จากประโยคสุดท้ายของนวนิยาย หน้า 139
- "ผมกลับมาแล้ว ผมอยากพบคุณ มีหลายสิ่งเหลือเกินที่ผมอยากบอกกับคุณ"
เกลือศรัทธาว่าด้วยศรัทธาในเรื่องเล่าและการส่งต่อเรื่องเล่านี้ต่อไป โดยมีเกลือเป็นสัญญะในฐานะตัวกลางของการส่งต่อ
ผมคิดว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ที่เป็นนักเขียนย่อมหลงใหลและศรัทธาในเรื่องราวและการถ่ายทอดเรื่องราวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะงานเขียนก็คือการถ่ายทอดเรื่องราว
ดังนั้นผลงานชิ้นนี้จึงเปรียบเสมือนการแสดงความคารวะถึงความศรัทธาในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในแง่ของเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ตามประวัติศาสตร์ (อย่างเหมืองเกลือวีลิซก้า) และในแง่ของเรื่องราวปัจเจกเล็ก ๆ (เรื่องของครอบครัวดาเนียลลา)
แต่ในเชิงคุณภาพแล้ว ไม่ว่าเรื่องราวนั้นจะเล็กหรือใหญ่ มันต่างก็สร้างศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน
Create Date : 05 มิถุนายน 2567 |
Last Update : 5 มิถุนายน 2567 23:10:23 น. |
|
0 comments
|
Counter : 182 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]
|
นวกานต์ ราชานาค Navagan Rachanark
สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ
สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน
ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ
|
|
เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม Time 09:00 Date 31/01/2010
by Histats.com
ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog
ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ
ขอบคุณครับ
|
|
|
|
|
|
|
|