ไปเที่ยวกันดีกว่าค่ะ .. ^^
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
เรียนวิทยาศาสตร์ทั้งครอบครัวจากไอศครีม

เข้าสู่ห้องปฏิบัติการไอศครีม

ไอศครีมเย็น ๆ ลื่น ๆ หวานมัน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ก็คงไม่อยากปฏิเสธความอร่อยของมัน แม้แต่คนที่กำลังลดความอ้วน ก็ยังมีไอศครีมเพื่อสุขภาพมาชวนชิม

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ครอบครัวขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มีกิจกรรมใหม่ที่น่าสนใจ ก็คือ การทำแล็ปไอศครีม ที่ไม่ใช่สักแต่ว่าสอนให้ทำไอศครีมเท่านั้น แต่สอดแทรกเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย

วันนี้แล็ปไอศครีมมีเพื่อน ๆ พี่ ๆน้อง ๆ ผู้ปกครองมากันเต็มห้อง เต็มทุกโต๊ะเลย โดยนางสาว ราตรี มูลแจ้ (พี่ตรี) รับหน้าที่เป็นวิทยากร และนางสาวธนภรณ์ ก้องเสียง (พี่นุช) เป็นผู้ช่วย เมื่อเริ่มเข้าสู่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

พี่ตรีให้ทุกคนสวมเสื้อกาวน์ แล้วก็ชี้แจงกฏ กติกา มารยาท สั้น ๆ 3 ข้อ คือ
“ห้ามชิมหรือดมก่อนได้รับอนุญาต ห้ามวิ่งเล่นภายในห้องนี้ และให้ทำตามขั้นตอนที่พี่ตรีบอกเท่านั้น...เข้าใจไหมจ๊ะ” พี่ตรีบอก

ส่วนผสมและอุปกรณ์สร้างความอร่อย

เมื่อทุกคนรับทราบกติการ่วมกันแล้ว ก็มาดูถาดส่วนผสม และกาละมังใส่ที่เตรียมไว้ให้ที่โต๊ะเสร็จสรรพ

ส่วนผสมของไอศครีมล้วนแต่หาซื้อได้ง่าย ๆ ทั้งนั้น บางอย่างซื้อได้จากร้านค้าใกล้บ้าน ส่วนบางอย่างต้องซื้อจากร้านขายอุปกรณ์ทำขนม ประกอบด้วย แป้งข้าวโพด อิมัลซิไฟเออร์ น้ำสะอาด นมเปรี้ยว ฟรุตสลัด และนมข้นหวาน
อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีแก้วสแตนเลส เอาไว้ใส่ส่วนผสมทั้งหมด ไม้พายเอาไว้คนส่วนผสมทั้งหมด ทัพพีเอาไว้คนเกลือกับน้ำแข็ง ช้อนตวง

พี่ตรีบอกว่าถ้าอยากรู้ว่าเป็นช้อนตวงขนาดเท่าไหร่ให้ดูที่ด้ามช้อน ถ้วยตวง ที่ตีไข่ และช้อนเล็ก ๆ ไว้ตักไอศครีมชิม แล้วก็มีเตาไฟฟ้าประจำโต๊ะ 1 ชุด

ช่วยกันทำไอศครีม

วิธีทำไอศครีมนั้นง่ายแสนง่าย ไอศครีมที่ทำเป็นสูตรรสนมเปรี้ยวฟรุ๊ตสลัด พี่ตรีเริ่มต้นจาก
•ให้เด็ก ๆ เทนมเปรี้ยวลงในแก้วแสตนเลส อุ่นเตาไฟฟ้าไว้ที่เบอร์ 3
•เทน้ำลงไปในถ้วยตวง จำนวน 1 ออนซ์ แล้วเทน้ำลงไปในแก้วแสตนเลสใบเดิม
•หยิบช้อนตวงขนาด 2 ช้อนโต๊ะ แล้วเทนมข้นหวานลงไป จากนั้นเทใส่ลงไปในแก้วแสตนเลส
•หยิบช้อนตวงขนาดครึ่งช้อนชา ตวงแป้งข้าวโพด ใช้ไม้พายปาดให้เรียบแล้วใส่ส่วนผสมลงไปในแก้วใบเดิม
•ใช้ช้อนตวงขนาด 1/3 ช้อนชา ตักอิมัลซิไฟเออร์ แล้วใช้ไม้พายปาดให้เรียบ ใส่ลงไปคนให้เข้ากัน
•นำส่วนผสมทั้งหมดตั้งบนเตาไฟฟ้า หมุนสวิตช์ไปที่เลข 4 แล้วใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน

ในระหว่างนี้ พี่ตรีถามว่า “ทำไมเราต้องนำส่วนผสมทุกอย่างวางบนเตาไฟฟ้า ?”
“ไม่ทำไม” เกาลัดตอบเบา ๆ ให้พ่อกับแม่ได้ยิน

เมื่อพี่ตรีเดินผ่านมาถาม เกาลัดได้แต่โบกมือหยอย ๆ ให้ผ่านไป ประมาณว่าผมไม่ตอบคร้าบ
จริง ๆ แล้วเกาลัดไม่ได้หยิ่ง แต่ตอบไม่ได้ และเขินอายสุดขีด

เด็ก ๆ หลายคน ช่วยกันตอบหลากหลาย จนพี่ตรีช่วยเฉลยว่า “เป็นเพราะความร้อนจากเตาทำให้ส่วนผสมละลาย นอกจากนั้นยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในแก้วให้ตายไปด้วย”

พี่ตรีบอกว่าถ้ามีไอขึ้นมาจากแก้วแสตนเลสให้ปรับสวิตช์ไว้ที่เลข 0

จากนั้นก็ลงมือทำไอศครีมต่อ โดย

• นำกาละมังไปใส่น้ำแข็งกับเกลือ จากนั้นก็คนให้เข้ากัน

คราวนี้ เด็ก ๆ แต่ละโต๊ะ คว้ากาละมังไปเข้าแถวรับน้ำแข็งกับเกลือ โดยมีเกาลัดต่อแถวท้ายสุดด้วยความเขินอายสุดขีด

• พอทุกคนเข้าประจำโต๊ะแล้ว ก็ใช้ทัพพีคน ๆ ผสมนำแข็งกับเกลือกันใหญ่ จากนั้นก็ทำให้เป็นหลุมตรงกลาง แล้วนำแก้วแสตนเลสที่มีส่วนผสมทั้งหมด ใส่ลงไปในหลุมกลางกาละมัง

• นำที่ตีไข่มาจุ่มลงไปในแก้ว แล้วใช้มือปั่นๆๆๆ ส่วนผสมให้แข็งตัว ถึงจะปวดมือก็อย่าหยุด จนกว่าไอศครีมจะแข็งตัว

• คนที่ปั่นไอศครีมในแก้วก็ปั่นไป ส่วนคนที่เหลือในโต๊ะก็ช่วยกันเขย่ากาละมังกันใหญ่เหมือนที่เคยเห็นตอนเขาทำไอศครีมหลอดขายตามงานวัด จะได้ช่วยให้ส่วนผสมไอศครีมแข็งตัวเร็วขึ้น

พี่ตรีมีคำถามอีกแล้ว ถามว่า “เราใส่เกลือลงไปในน้ำแข็งทำไม ?”มีน้อง ๆ คนเก่งตอบได้ว่า “เพื่อให้อุณหภูมิลดลง”
เอ๊ะ ! ..ว่าแต่ อุณหภูมิอะไรลดลงนะ

ว่าแล้วพี่นุชก็ช่วยพิสูจน์ โดยทำการทดลอง “คุณสมบัติของเกลือเมื่อใส่ในน้ำแข็ง” เพื่อหาคำตอบนี้ โดยนำน้ำแข็งใส่กาละมัง ใส่เกลือ แล้วผสมให้เข้ากัน นำเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิของน้ำแข็งให้ดู จะเห็นว่าอุณภูมิปกติของน้ำแข็งซึ่งอยู่ที่ 0 องศาเซลเซียสนั้น ติดลบลงเรื่อย ๆ

พี่ตรีอธิบายว่าเมื่อน้ำแข็งละลาย เกลือจะไปจับกับน้ำ ทำให้อุณภูมิลดลงเรื่อย ๆ นั่นเอง

• ให้น้อง ๆ ดูที่แก้วแสตนเลส จะพบว่าเนื้อไอศครีมด้านข้างแก้วเริ่มแข็งตัวเกาะกับแก้วแล้ว ให้ใช้ไม้พายขูดส่วนที่แข็งตัวลงมาผสมให้เข้ากับส่วนผสมที่เหลือ ความเย็นจะได้เสมอกัน

พี่ตรีอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังอีกว่า อิมัลซิไฟเออร์ ใส่ไว้เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากัน คือ ให้น้ำกับไขมันที่มีอยู่ในส่วนผสมของไอศครีมเข้ากัน

อิมัลซิไฟเออร์ เป็นเนื้อครีมข้น ๆ หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทำขนม

ว่าแล้ว พี่ตรีก็ให้เด็ก ๆ มาช่วยทำการทดลอง “คุณสมบัติของอิมัลซิไฟเออร์ในน้ำยาล้างจาน” เริ่มโดยนำขวดใส ๆ มาใส่น้ำ แล้วเทน้ำมันใส่ลงไป พบว่าน้ำกับน้ำมันแยกชั้นกัน ไม่ยอมรวมตัวกัน เขย่าอย่างไรก็ไม่เข้ากัน

แต่พอใส่น้ำยาล้างจานลงไป แล้วเขย่า พบว่า น้ำกับน้ำมันสามารถผสมกันได้แล้ว

• เอาล่ะ ในที่สุดความเพียรของเด็ก ๆ ทุกโต๊ะก็เกิดผล เมื่อช่วยกันปั่น ช่วยกันเขย่านาน ๆ ไอศครีมก็เริ่มแข็งตัว ก็ใส่ฟรุตสลัดเข้าไป ใช้มือจับเครื่องตีไข่หมุนๆ ปั่น ๆ ให้เข้ากันอีกครั้ง เมื่อเนื้อไอศครีมแข็งและเหนียวหนืดได้ที่ ก็ตักใส่ถ้วยแบ่งกันชิม

........อื้มมม อร่อยจัง

ขณะที่เด็ก ๆ กำลังกินไอศครีมแสนอร่อย พี่ตรีก็มีคำถามอีกแล้วว่า “เมื่อก่อนประเทศไทยเรายังไม่มีเครื่องจักรผลิตน้ำแข็ง แล้วคนไทยเอาอะไรมาทำไอศครีม ? ”
หลายคนตอบว่า “ลูกเห็บ” ซึ่งยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก

พี่ตรีเล่าต่อว่าไอศครีมนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกที่ทวีปยุโรปโดยใช้หิมะทำ คนแรกที่ได้ลิ้มรสความอร่อยของไอศครีมก็คือจักรพรรดิ์ยุคโรมัน ให้ทหารที่แข็งแรงมากขี่ม้าขึ้นเขาไปนำหิมะบริสุทธิ์บนยอดเขามาทำไอศครีม ให้จักรพรรดิ์เสวย

พี่ตรีบอกว่า ไอศครีมเข้ามาถึงประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 ตอนที่ประเทศไทยยังไม่มีเครื่องทำน้ำแข็ง มีการนำเข้าน้ำแข็งมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศอะไรรู้ไหม ?
หลายคนตอบ “จีน สิงคโปร์ อินเดีย”
ซึ่งคำตอบที่ถูกต้องคือ “สิงคโปร์” นั่นเอง




Create Date : 14 ธันวาคม 2550
Last Update : 11 สิงหาคม 2554 15:43:31 น. 3 comments
Counter : 2414 Pageviews.

 


โดย: vintage วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:14:22:33 น.  

 
อิอิ เอ๊!!วิทยากรกร ไม่รู้เรื่องเลย
ก็เกาลัดตอบเบาๆแล้วว่า ไม่ทำไม จึงไม่มีข้อสงสัยอะไรเลย อย่าถามเกาลัดเชียว อิอิ

ท่าปั่นไอศครีม ขยันขันแข็งดีจริง


โดย: 1girlshow วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:21:37:05 น.  

 
ถ้าไม่เข้ามาอ่านก่อน
ฉันต้องแพ้เด้กประถามแน่ๆเลย อิอิ


โดย: เช้านี้ยังมีเธอ วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:23:49:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชมจันทร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เดินทางสู่โลกกว้าง เพื่อไปเรียนรู้โลก ผู้คน เพื่อประสบการณ์ชีวิต

Friends' blogs
[Add ชมจันทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.