|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
สัมปันนี




ส่วนผสม แป้งมันคั่วสุก 2 + 1/2 ถ้วย (ถ้วยตวงของแห้ง) น้ำตาลทราย 1 ถ้วย (ถ้วยตวงของแห้ง) มะพร้าวขูดขาว 500 กรัม คั้นให้ได้กะทิ 1 + 1/2 ถ้วย (ถ้วยตวงของเหลว) สีผสมอาหาร
ในรูปนี่จะเห็นเป็นชามผสม 2 ใบ ในนั้นจะเป็นน้ำตาลทรายและกะทิที่เคี่ยวรวมกันแล้วนะคะ แป้งมันคั่วแล้วอยู่ในถุง
เดี๋ยวเราค่อยมาดูรายละเอียดกันค่ะ

ขนม "สัมปันนี" เป็นขนมไทยโบราณอย่างหนึ่ง แต่โบราณขนาดไหนนั้นจุ๋มก็ไม่ทราบได้ บางตำรับใช้แป้งสาลีทำก็มี เคยอ่านเจอค่ะ แต่ส่วนมากใช้แป้งมันทำ ใช้แป้งมันทำจะนุ่มและแทบละลายในปาก ใช้แป้งสาลีจะออกเหนียวหน่อย ๆ เท่าที่อ่านเจอนะคะ จุ๋มอ่านมาจากหลายเวปนานมากแล้วคะ ไม่ได้จดชื่อเวปไว้ อยากทราบลองเข้าพี่ google keyword สัมปันนีเลยคะ
อุปกรณ์จำเป็น กระทะทองเหลืองและไม้พาย สำหรับคั่วแป้งมันและเคี่ยวกะทิและน้ำตาลทรายค่ะ
กรณีไม่มีกระทะทอง อนุโลมใช้กระทะเทปล่อนคั่วแป้งมันแทนค่ะ และใช้หม้อสแตนเลสหรือหม้อเทปล่อนเคี่ยวกะทิและน้ำตาลทรายแทนได้ค่ะ

ภาชนะมีฝาปิดสำหรับใช้อบแป้ง จะเป็นหม้อสแตนเลส ภาชนะดินเผามีฝาปิด หรือชามแก้วมีฝาปิด แต่ไม่แนะนำพวกพลาสติกนะคะ

พิมพ์สำหรับกดขนม เวลาไปซื้อเค้าบอกพิมพ์กดทองเอกค่ะ ส่วนมากเค้าจะรู้จักกันในชื่อนี้ มีทั้งที่ทำจากไม้และพลาสติก สมัยก่อนนี้ทำจากไม้ แต่สมัยใหม่ทำจากพลาสติกเสียส่วนมาก เวลาเลือกซื้อเลือกซื้อที่ลายหยาบ ๆ เพราะเวลากดขนมแล้วจะได้ลายที่สวยกว่าค่ะ เท่าที่จุ๋มเห็นในปัจจุบันที่ทำจากพลาสติกจะมี 2 สี คือสีเหลืองและสีน้ำตาล อันที่สีเหลืองลายจะสวย แต่จะดอกหรือตัวใหญ่คะ ส่วนอันสีน้ำตาลลายจะเรียบ ๆ กว่า และดอกหรือตัวเล็กกว่า อันสีเหลืองนี่อันละประมาณ 50 บาท ซื้อมานานแล้วคะ ทำทองเอกไปครั้งนึงแล้ว พิมพ์นี้ใช้กดข้าวตูก็ได้ค่ะ

เนี่ยคะ ลองสังเกตดูลาย ให้มันหยาบ ๆ ถ้าละเอียดกว่านี้ตอนกดออกมามันไม่เห็นเป็นร่องเป็นหยักค่ะ ถ้าเป็นพิมพ์ที่ทำจากไม้ข้อเสียคือล้างและตากไม่ดีระวังขึ้นรา และใช้ไปนาน ๆ ลายมันจะสึกง่ายกว่าอันที่ทำจากพลาสติกค่ะ

เทียนอบ รูปร่างหน้าตาแบบในภาพค่ะ คล้าย ๆ เกือกม้า ทำจากเครื่องหอมหลากชนิด มาปั้น ๆ เป็นแท่ง แล้วตรงกลางมีไส้ค่ะ มีอันใหญ่กับอันเล็ก หาซื้อได้ตามร้านวัตถุดิบเบเกอรี่ ร้านเครื่องพระบางร้านอาจจะมีค่ะ เวลาซื้อลองดม ๆ ดูว่าหอมไหม แต่เทียนอบสมัยนี้ไม่ค่อยหอมเท่าสมัยก่อนแล้วคะ จุ๋มเคยซื้อเทียนอบที่ชลบุรี หอมมาก ๆ ซื้อจากร้านเครื่องพระที่เค้าทำขายนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ใช่เทียนอบที่ผลิตมาจากโรงงานอุตสาหกรรมแบบนี้นะคะ อันนี้ใช้แก้ขัดไป

มาเริ่มต้นคั่วแป้งกันก่อนคะ แป้งที่เราจะใช้ "แป้งมันสำปะหลัง" ค่ะ

เทแป้งมันใส่กระทะทองค่ะ

ก่อนคั่วแป้งลองเอานิ้วมือสัมผัสแป้งดูนะคะว่ามันลื่นขนาดไหน เพราะตอนคั่วสุกแล้วแป้งจะฝืดขึ้นค่ะ จะได้รู้ความแตกต่างค่ะ

เวลาคั่วให้ใช้พายไม้พลิกแป้งกลับไปกลับมาค่ะ บ่อย ๆ ค่ะ

ใช้ไฟอ่อน ๆ ค่ะ คั่วไปเรื่อย ใช้ไฟแรงจะไหม้

คั่วไปเรื่อย ๆ จนแป้งสุก ก็ปิดเตา และยกกระทะลงได้เลย เวลาแป้งสุกจะลื่น ๆ ไม่ติดกระทะ และเอานิ้วสัมผัสจะฝืด ๆ ค่ะ แค่นี้ก็พอแล้ว คั่วนานไปแป้งจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ๆ ทำให้ขนมสีไม่สวยได้ค่ะ

หลังจากแป้งสุกบางคนก็อาจจะพักแป้งไว้แบบนี้ แต่เพื่อเพิ่มความหอมให้กับขนมแนะนำให้อบแป้งที่คั่วแล้วด้วยเทียนอบค่ะ บางคนอาจจะอบตอนเอาขนมอัดใส่พิมพ์และเคาะออกมาแล้ว แต่แบบนั้นหอมแต่ข้างนอก ผิวนอกของขนมค่ะ ถ้าอบแป้งเสียตั้งแต่หอมนี้ ตอนกินหอมมาก ๆ เหมือนสาว ๆ ที่เพิ่งแตกเนื้อสาว กลิ่นหอมออกมาจากตัว ไม่ใช่กลิ่นจากน้ำหอมนะคะ เปรียบเปรยยังไงดีเนี่ย หนุ่ม ๆ ห้ามหัวเราะ ฮิฮิ
เทแป้งที่คั่วแล้วใส่ภาชนะที่เตรียมไว้นะคะ โบราณว่าไว้ว่า ภาชนะที่เหมาะสำหรับอบควันเทียน อบเครื่องหอมนั้นคือภาชนะดินเผาคะ แต่จุ๋มไม่มีนะคะ

แล้วก็เอาช้อนตักแป้งตรงกลางไปอยู่รอบ ๆ ให้หมดนะคะ ตรงกลางเราจะไว้วางถ้วยที่ใส่เทียนอบค่ะ

เวลาจะอบแป้งเอาเทียนอบเสียบไม้จิ้มฟันแบบจุ๋มก็ได้คะ เทียนอบจะได้ไม่ล้ม เอาถ้วยวางตรงพื้นที่ที่เตรียมไว้ วางเทียนอบลงไปในถ้วย จุดไฟที่ไส้เทียนอบทั้ง 2 ข้าง ให้ไฟติดสักพักและให้เนื้อเทียนอบละลายหน่อย ๆ ได้กลิ่นหอม ๆ

แล้วก็เอามือปัด ๆ ให้ไฟดับค่ะ จะมีควันเทียนอบออกมา หอมมาก ๆ ตอนนี้

แล้วรีบเอาฝาภาชนะปิดเลยคะ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้อบแป้งข้ามคืนนะคะ ทำแบบนี้แล้วทิ้งไว้สัก 2 ชั่วโมง แล้วก็จุดไฟอีกสักรอบ แล้วทิ้งไว้ข้ามคืนค่ะ
แต่ถ้ากรณีเร่งด่วนอบแป้งตอนกลางวันทำตอนกลางวัน แนะนำให้จุดไฟสัก 3 รอบคะ แต่ละรอบก็ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาทีค่ะ
ก็พักแป้งไว้ก่อนนะคะ

คราวนี้มาคั้นกะทิค่ะ แนะนำให้ใช้กะทิสดถ้าหาได้ เพราะกะทิสำเร็จทำขนมแล้วกลิ่นไม่น่าชวนกินค่ะ
สาว ๆ คนไหนไม่เคยคั้นกะทิมีไหมคะ จุ๋มคั้นกะทิเป็นตั้งแต่อยู่ประถมแล้วคะ เพราะยายขายกะละแม หน้าที่ของหลาน ๆ คือแช่ข้าวเหนียว โม่แป้ง คั้นกะทิ ตวงน้ำตาล และอื่น ๆ อีกมากมาย
เตรียมกะละมัง 2 ใบนะคะ

แล้วก็ภาชนะใส่น้ำกะทิ 1 ใบ หม้อ กะละมัง หรืออื่น ๆ ตามท่านสะดวก กระชอนสำหรับกรองน้ำกะทิ และจะดีมากถ้ามีผ้าขาวบางเพื่อกรองครั้งสุดท้ายอีกผืน แต่ของจุ๋มหมาเอาไปกัดขาดคะ วันนี้ใช้กระชอนตาถี่กรองอีกรอบ
กระชอนก็วางบนภาชนะที่จะใส่น้ำกะทินะคะ

ระหว่างนี้ตั้งน้ำไว้ก่อน สมมติเค้าบอกว่า มะพร้าวขูด 500 กรัม คั้นให้ได้กะทิ 1 + 1/2 ถ้วย ก็เตรียมตั้งน้ำไว้ประมาณ 1 ถ้วยนะคะ ไม่ต้องใส่น้ำ 1 + 1/2 ถ้วย จะมีน้ำกะทิออกมาจากตัวมะพร้าวบางส่วนค่ะ ตั้งน้ำให้ร้อนแค่มือเราทนได้ ร้อนมากไปมือพองค่ะ

เอามะพร้าวขูดเทใส่กะละมังใบนึงที่เราเตรียมไว้ ปกติแล้วมะพร้าวขูดที่ตลาดเค้าจะปอกเปลือกดำ ๆ ไม่หมดค่ะ สังเกตดูมะพร้าวขูดจะมีสีน้ำตาลของเปลือกติดมาเยอะ บอกแม่ค้าหรือพ่อค้าว่าช่วยปอกเปลือกให้ด้วย จะเอาไปทำขนมค่ะ เค้าจะคิดค่าปอกเปลือกออกเพิ่มกิโลละ 3-5 บาท ประมาณนี้ค่ะ จะได้มะพร้าวขูดที่ขาวมาอีกหน่อย สีขนมจะได้สวยค่ะ ไม่ออกดำ ๆ
ร้านขายมะพร้าวขูดสมัยนี้มีเครื่องคั้นกะทิด้วย ไม่แนะนำให้ซื้อน้ำกะทิที่คั้นแล้วนะคะ เพราะเค้าใส่น้ำเยอะมาก ความมันไม่ได้คะ แบบนั้นทำแกงได้ แต่ทำขนมแบบนี้ไม่เหมาะคะ

แล้วก็เอาน้ำที่เราต้มไว้อุ่น ๆ ใส่ลงไปในมะพร้าวสัก 1/2 นึงค่ะ ไม่แนะนำให้ใส่ทีเดียวหมด การคั้นกะทิจะให้ได้มันมาก ให้ใส่น้ำทีละน้อยค่ะ มันจะออกเยอะกว่าใส่ทีเดียวหมดค่ะ

เอาน้ำใส่ลงไปแล้ว ก็เอามือคน ๆ ขยำ ๆ มะพร้าวและน้ำให้ผสมผสานกัน บีบน้ำออก แล้วก็ขยำใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ซักพักค่ะ จริง ๆ ควรใช้ 2 มือ แต่จุ๋มเก็บอีกมือไว้ถ่ายภาพนะคะ

บีบ ๆ ขยำ ๆ สักพัก ก็ใช้มือขยุ้มมะพร้าวไว้ในอุ้งมือ แล้วบีบน้ำออกไว้ในกะละมังนี้ เอามะพร้าวที่บีบน้ำแล้วไปใส่อีกกะละมังคะ

นี่คือมะพร้าวที่บีบน้ำออกแล้วนะคะ ที่เราแยกไปใส่กะละมังอีกใบ

ส่วนนี่ก็คือน้ำกะทิที่เราคั้น ๆ เอาไว้ในกะละมังแรก แต่ยังไม่ได้กรองเอาเศษ ๆ ออกค่ะ

ก็ยกส่วนที่มีน้ำกะทินี้ไปเทใส่กระชอนที่เราวางบนภาชนะค่ะ

ในภาชนะด้านล่างเราก็จะได้กะทิน้ำที่ 1 แล้วนะคะ ซึ่งเรียกว่า "หัวกะทิ" นั่นเอง คำว่าหัวกะทิคือแบบนี้ละคะ ถ้าเปรียบกับกะทิกล่อง ๆ แล้วก็คือกะทิในกล่องเลยยังไม่ต้องผสมน้ำ
มะพร้าวบนกระชอนก็บีบน้ำออกแล้วไปรวมกับกะละมังมะพร้าวอีกใบเมื่อกี้นะคะ
จากนั้นก็คั้นกะทิด้วยน้ำที่เหลือ น้ำที่สองเรียก "กะทิ"
น้ำที่ 3 และน้ำต่อ ๆ ไปเรียก "หางกะทิ"
แต่น้ำที่สามของมะพร้าวบางครั้งอาจจะยังเป็น "กะทิ" ได้ถ้ามีความมันเยอะ ขึ้นกับว่ามะพร้าวอ่อนหรือแก่คะ ต้องดูที่สีผิวของกะลา ไม่พูดรายละเอียดตรงนี้นะคะ

ก็คั้นกะทิแล้วตวงให้ได้ตามส่วนค่ะ
คราวนี้มาเคี่ยวกะทิกับน้ำตาลทรายกัน

น้ำตาลทรายใส่กระทะทองค่ะ

เทกะทิตามลงไป กะทิเมื่อกี้จุ๋มกรองด้วยกระชอนตาถี่ ๆ อีกครั้งคะ

ใช้พายไม้คนพอน้ำตาลทรายละลายแล้วเอาไปตั้งไฟกลาง ๆ คะ

กลาง ๆ พอคะ แรงไปแตกมันมากไปค่ะ

ไม่ต้องไปคนมันบ่อยคะ คน 2-3 ทีพอ แล้วก็ปล่อยให้มันเดือดค่ะ แบบนี้ เริ่มเดือดค่ะ ระหว่างที่มันเดือดถ้าน้ำกะทิมันขึ้นไปตรงขอบ ๆ กระทะให้เอาพายไม้ปาด ๆ ลงมาบ่อย ๆ ถ้าไม่ปาดจะทำให้ตกทรายได้ค่ะ

ปล่อยให้มันเดือดสักพักจนเดือดแรงแบบนี้

ลดไฟลงอ่อน แล้วเคี่ยวต่อจนเป็นยางมะตูม ประมาณ 15 นาทีค่ะ

เคี่ยวจนเป็นยางมะตูม น้ำกะทิจะเดือดฟองเล็ก ๆ แบบนี้ค่ะ
ถ้าเคี่ยวกะทิน้อยไป ขนมจะไม่อยู่ตัว ถ้าเคี่ยวนานเกินไป ขนมจะตกทรายมากไปและเนื้อขนมแข็งกระด้าง เทคนิคของขนมนี้อยู่ตรงนี้นะคะ

ก็ลองยกพายไม้ขึ้นมาดูค่ะ จะมีน้ำเชื่อมข้น ๆ ติดพายไม้ ลองเอานิ้วแตะ ๆ ดู นิ้วจะหนึบ ๆ ค่ะ

น้ำเชื่อมได้ที่แล้ว ปิดเตาได้เลยคะ แต่ให้เอาพายไม้คน ๆ ตลอดจนน้ำเชื่อมขุ่นเหมือนนมข้นค่ะ

จากนั้นปล่อยให้มันอุ่นตัวค่ะ รอสักพัก เพราะถ้าเราผสมสีตอนน้ำเชื่อมร้อนจะทำให้สีเพี้ยนได้คะ

ก็รอน้ำเชื่อมอุ่น ๆ นะคะ ก็แบ่งน้ำเชื่อมตามจำนวนสีที่เราต้องการ สีที่นิยมนั้นได้แก่ ชมพู เขียว เหลือง ฟ้า ม่วง ขาว เน้นว่าสีอ่อน ๆ ค่ะ จะไม่ผสมสีเข้มเกินไป สีขาวคือไม่ต้องผสมสีลงไปค่ะ
แป้งก็แบ่งตามจำนวนสีที่ต้องการเช่นกันค่ะ

ก็เอาสีหยดลงไปค่ะ แนะนำว่าทีละ 1-2 หยด ยิ่งแบ่งทำหลายสีใส่ทีละหยดเลยคะ พอดีจุ๋มทำ double สูตร และทำแค่ 2 สีนะคะ เลยใส่ 3 หยด
ถ้าใช้ dropper หยดจะดีมาก มันจะออกมาทีละน้อย ใช้เทระวังสีหยดใส่มากไปค่ะ dropper มีขายตามร้านอุปกรณ์เบเกอรี่ ไม่ก็ศึกษาภัณฑ์ค่ะ อันละประมาณ 15 บาท ลืมถ่ายรูปมาให้ดูว่ามันคือแบบไหน เดี๋ยวไปโพสต์รวมกับอุปกรณ์เบเกอรี่แล้วกัน พรุ่งนี้ถ้าว่างจะโพสต์อุปกรณ์เบเกอรี่ของจุ๋มทั้งหมดที่มีให้คะ

แล้วก็เอาช้อนหรือพายไม้อันเล็ก ๆ คนให้สีเสมอทั่วกันทั้งน้ำเชื่อมค่ะ

สีทั่วกันดีแล้วทะยอยใส่แป้งที่เราอบไว้ลงไปค่ะ ทะยอยใส่ทีละน้อย ๆ ค่ะ ใส่ไปคนไป

ก็ใช้ช้อนหรือพายไม้อันเล็ก ๆ คนจนเข้ากัน ถ้าแป้งมันเปียกไปค่อย ๆ ทะยอยใส่แป้งเพิ่ม จนกระทั่งแป้งหมาด ๆ ค่ะ ยังไม่เข้ากันดีไม่เป็นไร เดี๋ยวต้องใช้มือนวดต่อค่ะ

แล้วใช้มือนวดต่อจนเนียน ๆ แบบนี้ค่ะ เนื้อแป้งที่ดีจะต้องหมาด ๆ ค่ะ ไม่แห้งไป และไม่เปียกไปค่ะ

ก็ทำไปตามจำนวนสีที่ต้องการนะคะ จุ๋มทำสีเดียวก่อน กลัวไม่ทัน ฮ่าฮ่าฮ่า ที่เหลือเดี๋ยวจะไปทำค่ะ
นวดแป้งได้ที่แล้วก็ปั้นแป้งเป็นลูกกลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 1 นิ้วค่ะ

แล้วก็เอาไปใส่ในพิมพ์ค่ะ
ลืมบอกไปอย่าง แป้งจะคั่วเกินสูตรไว้หน่อยก็ดีค่ะ แล้วเก็บแป้งบางส่วนไว้ทำนวลเวลาปั้นแล้วกดลงพิมพ์ค่ะ คือให้เอาแป้งที่คั่วแล้วทาที่พิมพ์ตรงเบ้า ๆ ที่เป็นรูปค่ะ แล้วก็เคาะแป้งส่วนเกินออกบ้าง ช่วยไม่ให้ขนมติดพิมพ์ค่ะ แต่ขนมจะติดพิมพ์หรือไม่นั้นขึ้นกับการเคี่ยวน้ำเชื่อมค่ะ ถ้าใสไปขนมก็ติดพิมพ์ เคาะแล้วขนมไม่ร่อนออกจากพิมพ์ค่ะ
ที่จุ๋มทำก็ทานวลที่พิมพ์บ้างเป็นระยะ แต่ไม่ได้ทามากมายค่ะ

แล้วก็เอานิ้วมือเรากด ๆ แป้งลงไปให้เป็นรูปพิมพ์ค่ะ แน่น ๆ จะสวยค่ะ

ทีนี้จะมีแป้งส่วนเกิน มันมากไป ก็เอานิ้วมืดปาดแป้งส่วนเกินออกไป

แล้วก็เอานิ้วมือกด ๆ แป้งเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อยหน่อยเพื่อความสวยงาม


แล้วก็คว่ำพิมพ์เคาะขนมออกมาค่ะ เคาะกับโต๊ะเบา ๆ โต๊ะรองด้วยพลาสติกหรือใบตองไว้นะคะ แล้วก็เอาขนมใส่ถาดผึ่งลมไว้ก่อน รอให้ตกทราย ซึ่งพรุ่งนี้จุ๋มจะถ่ายรูปให้ดูตอนมันตกทรายไว้นะ เมื่อกี้ไปดูมันตกทรายล่ะ แต่แสงไม่มีแล้วค่ะ

ทำไปจนหมดค่ะ ไม่ได้นับว่าได้กี่อัน ยังไม่ทันนับค่ะ




ถ้าอยากให้ขนมหอมเพิ่มมากขึ้น พอขนมตกทรายแล้วนำไปอบเทียนอบอีกรอบได้ค่ะ
ขอบคุณผู้มาเยี่ยมชม blog ทุกท่าน สวัสดีค่ะ
Create Date : 19 มกราคม 2550 |
Last Update : 20 มกราคม 2550 12:20:17 น. |
|
27 comments
|
Counter : 23942 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: habibe IP: 195.93.21.7 วันที่: 20 มกราคม 2550 เวลา:7:49:14 น. |
|
|
|
โดย: หลั่มหมั่นเหม่ง (หลั่มหมั่นเหม่ง ) วันที่: 20 มกราคม 2550 เวลา:8:22:45 น. |
|
|
|
โดย: ammie (luvammie ) วันที่: 20 มกราคม 2550 เวลา:12:28:05 น. |
|
|
|
โดย: ปูเป้ IP: 213.140.22.70 วันที่: 20 มกราคม 2550 เวลา:15:31:23 น. |
|
|
|
โดย: แหม่ม IP: 222.123.6.107 วันที่: 21 มกราคม 2550 เวลา:19:05:08 น. |
|
|
|
โดย: akikonoh IP: 125.25.221.83 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:19:10:38 น. |
|
|
|
โดย: fuji IP: 203.146.88.178 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:17:27:09 น. |
|
|
|
โดย: Pae IP: 125.26.5.209 วันที่: 15 พฤษภาคม 2550 เวลา:18:38:18 น. |
|
|
|
โดย: pong IP: 124.121.26.111 วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:23:24:57 น. |
|
|
|
โดย: J IP: 85.250.37.73 วันที่: 26 กันยายน 2550 เวลา:19:59:27 น. |
|
|
|
โดย: ยนย IP: 61.19.215.2 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:29:49 น. |
|
|
|
โดย: tom IP: 125.25.37.131 วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:19:35:17 น. |
|
|
|
โดย: มะนาวคับผม IP: 222.123.22.192 วันที่: 3 กันยายน 2551 เวลา:17:24:52 น. |
|
|
|
โดย: นุ้ย IP: 158.108.92.29 วันที่: 16 ธันวาคม 2551 เวลา:15:53:52 น. |
|
|
|
โดย: เธเธฑเธเธ IP: 125.27.166.148 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:17:41 น. |
|
|
|
โดย: aprileighth IP: 125.24.157.234 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:23:47:39 น. |
|
|
|
โดย: เปิ้ล IP: 58.9.226.38 วันที่: 15 มกราคม 2553 เวลา:13:46:51 น. |
|
|
|
โดย: จ๊วบจ๊วบ IP: 125.25.164.197 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:10:25 น. |
|
|
|
โดย: jaja IP: 118.172.146.132 วันที่: 6 ธันวาคม 2553 เวลา:22:06:33 น. |
|
|
|
โดย: AUNG+PAO บ้านสวน IP: 223.206.109.133 วันที่: 28 มกราคม 2554 เวลา:14:52:45 น. |
|
|
|
โดย: ต้นรัก IP: 125.27.156.124 วันที่: 12 ตุลาคม 2554 เวลา:14:24:42 น. |
|
|
|
โดย: แววสวาท มิรู้ลืม IP: 180.183.125.166 วันที่: 31 กรกฎาคม 2555 เวลา:16:30:11 น. |
|
|
|
โดย: มลิวัลย์ ศรีวรเวทย์ IP: 171.98.186.242 วันที่: 18 มกราคม 2559 เวลา:23:05:51 น. |
|
|
|
โดย: ชนก IP: 101.108.116.48 วันที่: 3 ธันวาคม 2559 เวลา:23:04:13 น. |
|
|
|
|
|
|
|
สีชมพูสวยจังค่ะ ช๊อบชอบ