Kross (เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง~
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
1 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้ (10-13)

ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้
และเง่าคี้

บรรพที่
๑๐ ภูมิประเทศ

บรรพที่
๑๑ พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง

บรรพที่
๑๒ การโจมตีด้วยไฟ

บรรพที่
๑๓ การใช้สายลับ


บรรพที่
๑๐  ภูมิประเทศ

ซุนจู้กล่าวว่า...
พื้นที่อาจแยกประเภทได้ตามลักษณะของธรรมชาติ
คือ
เข้าออกได้ เป็นกับดัก ไม่แน่นอน บีบรัด สูงชัน

และ
มีระยะทาง

พื้นที่ซึ่งทั้งฝ่ายเรา
และฝ่ายข้าศึกสามารถเดินทางผ่านเข้าออกได้ด้วยความสะดวกเท่าๆกัน เช่นนี้เรียกว่า
"พื้นที่เข้าออกได้"ในพื้นที่เช่นนี้ผู้ที่เลือกได้ด้านที่รับแดดและมีเส้นทางลำเลียงสะดวกก่อน 
จะสามารถทำการรบอย่าง ได้เปรียบ

   
พื้นที่ซึ่งยกกำลังเข้าไปได้ง่าย แต่ยากที่จะถอนตัวกลับ อย่างนี้เรียกว่า

"พื้นที่เป็นกับดัก" ธรรมชาติของพื้นที่เช่นนี้
ถ้าข้าศึก

มิได้เตรียมตัวไว้
แล้วท่านกำลังเข้าตีอย่างรวดเร็ว ท่านอาจทำลายข้าศึกได้  ถ้าข้าศึกเตรียมรับ
ท่านยกกำลังเข้ารบแต่ไม่ชนะ

ยากที่จะถอนกลับ
เช่นนี้ไม่มีประโยชน์อันใด

   
พื้นที่ซึ่งเมื่อเข้าไปแล้ว เกิดความเสียเปรียบเท่าๆกันทั้งฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก
เช่นนี้เรียกว่า
"พื้นที่ไม่แน่นอน"
ธรรมชาติของพื้นที่เช่นนี้
แม้ข้าศึกจะวางเหยื่อล่อไว้ ข้าพเจ้าก็จะไม่รุกเข้าไป แต่จะลวงให้ข้าศึกเคลื่อนตัวออกมา 
เมื่อข้าพเจ้าดึงทัพของข้าศึกออกมาได้แล้วครึ่งหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเข้าโจมตีอย่างได้เปรียบ

   
ถ้าข้าพเจ้าเป็นฝ่ายแรกที่ตกอยู่ใน
"พื้นที่บีบรัด"
ข้าพเจ้าต้องปิดทางเข้า
แล้วคอยทีข้าศึก  ถ้าข้าศึกเป็นฝ่ายแรกที่เข้ายึดพื้นที่

เช่นนี้ได้
แล้วปิดทางผ่านเข้า ข้าพเจ้าจะไม่ติดตามข้าศึก   ถ้าข้าศึกมิได้ปิดเสียจนสิ้นหนทาง
ข้าพเจ้าก็อาจรุกเข้าไปได้

    
ถ้าเป็น
"พื้นที่สูงชัน" ข้าพเจ้าจะเลือกตั้งทัพในที่สูงรับแสงตะวันคอยทีข้าศึก 
ถ้าข้าศึกยึดพื้นที่เช่นนั้นได้ก่อน ข้าพเจ้า

จะล่อให้ข้าศึกเคลื่อนที่ออก
ข้าพเจ้าไม่ติดตามข้าศึก

   
เมื่ออยู่ใน
"ระยะทาง" ห่างจากข้าศึกที่มีกำลังทัดเทียมกัน
เป็นการยากที่จะยั่วยุให้เกิดการรบ และไม่มีประโยชน์อันใดที่

จะเข้าทำการรบกับข้าศึกในพื้นที่ซึ่งข้าศึกเป็นผู้เลือกได้ก่อน
   
นี่คือหลักที่เกี่ยวข้องกับประเภทของ
"พื้นที่แตกต่างกัน
๖ ประการ
" เป็นความรับผิดชอบสูงสุดของแม่ทัพที่จะต้องรู้จัก

พื้นที่ต่างๆ
แล้วพิจารณาด้วยความระมัดระวัง

   
เมื่อทหารแตกทัพไม่เชื่อฟังคำสั่ง ขวัญเสียสิ้นกำลัง หมดความเป็นระเบียบ และกระด้างกระเดื่อง
ความผิดตกอยู่ที่แม่ทัพ

ความพินาศฉิบหายด้วยเหตุเหล่านี้จะอ้างว่าเป็นเหตุทางธรรมชาติมิได้


   
ภาวะอย่างอื่นก็เช่นเดียวกัน ถ้ากำลังรบหน่วยใดต้องเข้าตีหน่วยที่ใหญ่กว่าสิบเท่า
ผลก็คือต้องแตกทัพ


เมื่อทหารเข้มแข็ง และนายทหารอ่อนแอ
กองทัพก็ขาดระเบียบ

เมื่อนายทหารมีความฮึกเหิม และไพร่พลไม่กระตือรือร้น กองทัพก็หมดความสามารถ

เมื่อนายทหารชั้นผู้ใหญ่โกรธ และไม่เชื่อฟังคำสั่ง
และเมื่อต้องเข้าสู้รบกับข้าศึก
ก็เร่งรีบเข้าทำการรบโดยไม่เข้าใจ

ผลได้ผลเสียของการปะทะและไม่คอยฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
กองทัพอาจอยู่ในฐานะยับเยินได้

เมื่อจิตใจของแม่ทัพอ่อนแอ การรักษาระเบียบวินัยไม่เคร่งครัด
เมื่อคำสั่งและแนวทางปฏิบัติของแม่ทัพไม่สร้างความเชื่อมั่น
และ

ปราศจากระเบียบและข้อบังคับที่เด็ดขาด
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนายและไพร่พล รูปขบวนทัพก็สับสน หมายถึงกองทัพย่อมเกิด

ความระส่ำระสาย

เมื่อผู้บัญชาการไม่สามารถประมาณกำลังของข้าศึก
ใช้กำลังน้อยเข้าสู้กำลังมาก
กำลังอ่อนแอเข้าตีกำลังเข้มแข็ง หรือไม่สามารถเลือกหน่วยทลวงฟันให้กองทัพ
ผลก็คือ แพ้


เมื่อภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๖ ประการนี้เกิดขึ้น หมายถึงกองทัพมีหนทางพ่ายแพ้
จึงเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของแม่ทัพ

ที่จะต้องตรวจสอบปัญหาด้วยความระมัดระวัง


   
แม่ทัพที่นำทัพรุกโดยไม่ใฝ่หาชื่อเสียงเฉพาะตัว และเมื่อถอยทัพก็ไม่ห่วงใย
หลีกเลี่ยงการลงโทษ แต่ด้วยความมุ่งหมายเพียง

ต้องการป้องกันประชาชน
และเสริมสร้างผลประโยชน์ที่ดีที่สุดให้กับผู้มีอำนาจปกครองแผ่นดิน  แม่ทัพเช่นนี้ถือเป็น

"มณีมีค่ายิ่งของบ้านเมือง
พราะแม่ทัพเช่นนั้นถือว่าคนของตนเหมือนดั่งทารกแรกเกิด ทหารจะเดินตามเขาไปในหุบเขาลึก

ที่สุด 
แม่ทัพเช่นนี้ดูแลทหารปานบุตรสุดที่รักของตน ทหารจะตายกับแม่ทัพ

   
"รู้จักข้าศึก รู้จักตัวท่านเอง" ชัยชนะของท่านจะไม่เป็นอันตราย
รู้จักภูมิประเทศ รู้จักภูมิอากาศ ชัยชนะก็เป็นเรื่องเบ็ดเสร็จ



บรรพที่
๑๑  พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง

ซุนจู้กล่าวว่า....
   
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ขบวนศึกนั้น ให้พิจารณาแบ่งลักษณะของพื้นที่ออกต่างๆกันดังนี้:-
กระจัดกระจาย, หน้าด่าน,

กุญแจ,
คมนาคม, ใจกลาง, เคร่งเครียด, ยากลำบาก, ปิดล้อม และ ตาย

   
- เมื่อเจ้านครต้องทำศึกในเขตแคว้นของตนเอง เขาอยู่ใน "
พื้นที่กระจัดกระจาย"
(ทหารอยากกลับบ้าน)

   
- เมื่อแม่ทัพนำทัพแทรกเป็นแนวแคบเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เขาอยู่ใน "
พื้นที่หน้าด่าน"

   
- พื้นที่ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีความได้เปรียบ ถือเป็น "
พื้นที่กุญแจ"
(พื้นที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์)

   
- พื้นที่ซึ่งออกไปได้ทั้งทัพของข้าศึก และของข้าพเจ้า ถือเป็น "
พื้นที่คมนาคม"
(ใครจะไปมาก็ได้)

   
- เมืองใดก็ตาม ถูกล้อมอยู่ด้วยเมืองอื่นๆอีกสามมเมือง เมืองเช่นนี้ถือเป็น
"
พื้นที่ใจกลาง"
ผู้ที่เข้าควบคุมได้ก่อน จะได้รับความสนับสนุนจากทุกอย่างที่อยู่ใต้ฟ้า (อาณาจักร)

   
- เมื่อกองทัพเจาะลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก ทิ้งเมืองเล็กเมืองน้อยไว้เบื้องหลังหลายเมือง
พื้นที่เจาะลึกเข้าไปถือเป็น

"พื้นที่เคร่งเครียด
พื้นที่เช่นนี้ยากจะถอนตัวกลับ

   
- เมื่อกองทัพเดินทางข้ามเขา ผ่านป่า พื้นที่สูงชัน หรือเดินทางผ่านที่รกชัฎ
ที่เปียกชื้น หนองน้ำ หรือ พื้นที่ใดก็ตามผ่านได้ด้วยความยากลำบาก ถือเป็น
"
พื้นที่ยากลำบาก"

   
- พื้นที่ใดทางเข้าจำกัด ทางออกก็ยาก และกองทหารขนาดเล็กของข้าศึกสามารถเข้าตีกำลังขนาดใหญ่กว่าได้
เช่นนี้ถือเป็น "
พื้นที่ปิดล้อม
(ง่ายต่อการซุ่มโจมตี ผู้ตกอยู่ในพื้นที่เช่นนี้อาจพ่ายแพ้ยับเยินได้)

   
- พื้นที่ซึ่งกองทัพจะเอาตัวรอดได้ทางเดียว คือต้องต่อสู้ด้วยความมานะและสุดกำลัง
เช่นนี้ถือเป็น "
พื้นที่ตาย"

   
ฉะนั้น จงอย่าทำการสู้รบใน "พื้นที่กระจัดกระจาย"   
อย่าหยุดยิง ณ "พื้นที่หน้าด่าน"ชายแดน

   
อย่าโจมตีข้าศึกผู้ยึดครอง "พื้นที่กุญแจ"       
ใน "พื้นที่คมนาคม" อย่าให้ขบวนทัพของท่านแตกแยกกัน

   
ใน "พื้นที่ใจกลาง" ผูกมิตรกับเมืองข้างเคียง       
ใน "พื้นที่ลึก" ต้องหักหาญ

   
ใน "พื้นที่ยากลำบาก" ต้องบากบั่น       
ใน "พื้นที่ปิดล้อม" ให้คิดหายุทธวิธี       
ใน "พื้นที่ตาย" ให้สู้


   
ใน "พื้นที่กระจัดกระจาย"  ข้าพเจ้าจะรวบรวมความตั้งใจมั่นของกองทัพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

   
"พื้นที่หน้าด่าน" ข้าพเจ้าจะคอยระวังให้กำลังทหารของข้าพเจ้าต่อเชื่อมใกล้ชิดกัน

   
"พื้นที่กุญแจ"  ข้าพเจ้าจะเร่งความเร็วของกำลังส่วนหลัง

   
"พื้นที่คมนาคม"  ข้าพเจ้าจะเอาใจใส่กับการป้องกันตนเอง

   
"พื้นที่ใจกลาง"  ข้าพเจ้าจะส่งเสริมไมตรีกับพันธมิตร

   
"พื้นที่เคร่งเครียด"  ข้าพเจ้าต้องจัดการให้แน่นอนว่า
เสบียงส่งได้ต่อเนื่องไม่ขาดมือ

   
"พื้นที่ยากลำบาก"  ข้าพเจ้าจะเร่งรีบเดินทาง

   
"พื้นที่ปิดล้อม"  ข้าพเจ้าจะปิดทางเข้าและทางออก

   
"พื้นที่ตาย"  ข้าพเจ้าสามารถแสดงด้วยประจักษ์พยานว่า
ไม่มีทางเอาตัวรอดได้เลย  โดยธรรมชาติของทหารนั้น จะต้านทานเมื่อถูกล้อม
จะสู้จนตายเมื่อไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น  เมื่อสิ้นหนทาง ทหารจะปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

ต้องเลือกยุทธวิธีต่างๆกัน ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ทั้ง
๙ ชนิด
   ความได้เปรียบ เสียเปรียบของการรวมและการกระจายกำลัง
และหลักธรรมชาติของมนุษย์  สิ่งต่างๆเหล่านี้ แม่ทัพจะต้องพิจารณา ด้วยความระมัดระวังมากที่สุด

   
หากมีผู้ถามว่า "ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรกับกองทัพข้าศึกที่ขบวนทัพเป็นระเบียบดี
และกำลังจะเข้าตีข้าพเจ้า
"

   
ข้าพเจ้าตอบว่า "เข้ายึดอะไรสักอย่างหนึ่งที่ข้าศึกหวงแหน แล้วข้าศึกจะยินยอมน้อมตามปรารถนาของท่าน"


สรุปธรรมชาติอันสำคัญของการทำสงคราม
และเป็นหลักสำคัญสูงสุดที่แม่ทัพต้องยึดถือ :-

 
ความเร็ว
เป็นสิ่งสำคัญในการทำสงคราม  ถือเอาความได้เปรียบจากการไม่ได้เตรียมตัวของข้าศึก
เดินทางด้วย เส้นทางที่ข้าศึกคาดไม่ถึง  
แล้วเข้าโจมตีตรงจุดที่ข้าศึกมิได้มีความระมัดระวัง


หลักการโดยทั่วไปของกองทัพที่รุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก
    
กองทัพของท่านต้องรวมตัวกันแน่นแฟ้นเมื่อรุกเข้าไปในเขตของข้าศึก ฝ่ายป้องกันจะไม่สามารถเอาชนะท่านได้


การจะสร้างความกล้าหาญให้มีระดับสม่ำเสมอ
คือ จุดมุ่งหมายในการบริหารงานทางการทหาร
และก็ด้วยการจัดใช้พื้นที่ด้วยความเหมาะสม ประกอบทั้งการใช้กองทหารทลวงฟันและกองทหารที่ปรับตัวได้
จึงจะ

ได้เปรียบมากที่สุด


เป็น "กิจของแม่ทัพ"
ที่ต้องมีความสงบระงับ
และไม่หวั่นไหว  ไม่ลำเอียง และสามารถควบคุมสติตัวเองได้ดี

   
แม่ทัพเปลี่ยนวิธีการ และพลิกแพลงแผนการณ์เพื่อมิให้ผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่

   
การรวมกำลัง และทุ่มเทลงไปในภาวะที่ดูเหมือนหมดหนทางเป็น "ภารกิจของแม่ทัพ"


หลักมูลฐานของการปฏิบัติการทางทหารอยู่ที่ความสามารถปรับตนเองให้สอดคล้องไปกับแผนของข้าศึก
กฎของสงครามอยู่ที่การติดตามสถานการณ์ทางด้านข้าศึก
เพื่อการตัดสินใจเข้าทำการรบ





บรรพที่
๑๒  การโจมตีด้วยไฟ

ซุนจู้กล่าวว่า...
   
การโจมตีด้วยไฟมีอยู่ ๕ วิธี  ข้อแรก เผาคน    ข้อสอง
เผาคลังเสบียง    ข้อสาม เผายุทโธปกรณ์

ข้อสี่
เผาคลังอาวุธ    และข้อห้า ใช้อาวุธลูกไฟต่างๆ

   
ในการใช้เพลิงเผา จะต้องอาศัย "สื่อกลาง"
บางอย่างด้วย (คนทรยศที่ซ่อนอยู่กับข้าศึก)

   
การวางเพลิงต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม และวันสมควร

การโจมตีด้วยไฟนั้น ผู้ใช้จะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
   
เมื่อเพลิงไหม้ขึ้นในค่ายของข้าศึก ทันทีนั้นท่านจะประสานการปฏิบัติจากภายนอกของท่าน 
แต่ถ้าทหารของข้าศึก

ยังคงสงบ
ต้องรอเวลาดูทีท่า อย่าเข้าตี

วันใดลมจัดในตอนกลางวัน  จะอับลมในตอนกลางคืน
   
ผู้ที่ใช้ไฟเข้าช่วยในการโจมตีได้ถือว่าฉลาด ส่วนผู้ที่ใช้น้ำทำลายข้าศึกได้ถือว่ามีอำนาจ 
น้ำสามารถตัดข้าศึกให้อยู่

โดดเดี่ยวได้
แต่ไม่สามารถทำลายเสบียง และยุทโธปกรณ์ได้

ผู้ปกครองที่ฉลาด มีการตัดสินใจดี และแม่ทัพที่ดีย่อมระวังไม่ปฏิบัติการฉาบฉวย




บรรพที่
๑๓  การใช้สายลับ

ซุนจู้กล่าวว่า...
   
เหตุผลที่เจ้านครผู้ฉลาด และแม่ทัพผู้มีสติปัญญาเอาชนะข้าศึกได้ ไม่ว่าจะทำศึกเมื่อใด
และผลสำเร็จอยู่เหนือคนธรรมดา

สามัญ
คือ รู้การณ์ล่วงหน้า (เกี่ยวกับภาวการณ์ข้าศึก)

   
"สาย" ซึ่งใช้งานได้มีอยู่ ๕ ประเภท คือ สายลับพื้นเมือง  สายลับภายใน 
สายลับสองหน้า สายลับกำจัดได้ และสายลับมีชีวิต

   
เมื่อสายลับทั้ง ๕ ประเภทลงมือทำงาน ต่างก็ปฏิบัติภารกิจของตนไปพร้อมๆกัน
โดยไม่มีผู้ใดรู้วิธีหาข่าวของสายลับเหล่านี้

เราเรียกคนพวกนี้ว่า
"เทวปักษี"  เป็นสมบัติมีค่าของผู้มีอำนาจปกครองสูงสุดในแผ่นดิน

สายลับพื้นเมือง คือ คนท้องถิ่นของข้าศึกที่เราเอามาใช้งานได้
สายลับภายใน คือ นายทหารของข้าศึกที่เราเอามาใช้งานได้

สายลับสองหน้า
คือ สายลับของข้าศึกที่เราเอามาใช้งานได้

สายลับกำจัดได้  คือ สายลับของฝ่ายเรา
ที่เราส่งไปในดินแดนของข้าศึก เพื่อสร้างข่าวลวงขึ้น


สายลับมีชีวิต
คือ สายลับที่กลับมาได้พร้อมข่าว

   
ในบรรดาผู้อยู่ใกล้ชิดผู้บัญชาการทัพ ใครไม่สนิทสนมยิ่งไปกว่าสายลับ  
ในบรรดาผู้ที่ได้รับปูนบำเหน็จรางวัล ใครก็ไม่ควรได้

มากไปกว่าสายลับ   
ในบรรดาเรื่องต่างๆไม่มีเรื่องใดเป็นความลับมากกว่าเรื่องที่เกี่ยวกับการสืบราชการลับ


ผู้ที่ไม่สามารถถึงขั้นเซียน และมีสติปัญญา 
มีความเป็นมนุษย์และมีความยุติธรรม จะไม่สามารถใช้สายลับได้

ผู้ที่ไม่ละเอียดละออ และปราศจากไหวพริบ ก็ไม่สามารถเอาความจริงจากสายลับได้

"พึงระวังสายลับที่กลับใจ"

ถ้าแผนเกี่ยวกับงานสืบราชการลับแตกออกเสียก่อนจะลงมือทำการ ทั้งสายลับและทุกคนที่รู้เรื่องราวแล้วนำไปพูดถึง
จะถูกประหารชีวิตหมด

   
เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องค้นให้พบสายลับของข้าศึกที่มาสืบราชการลับของท่าน
แล้วติดสินบนให้กลับทำงานเพื่อท่าน สั่งงานแล้ว

ดูแลด้วยความระมัดระวัง
ด้วยวิธีนี้จะได้ "
สายลับสองหน้า"
ไว้ใช้

   
โดยวิธีการใช้สายลับสองหน้า ก็จะจัดหา "
สายลับภายใน"
และ "
สายลับพื้นเมือง"
มาใช้งานได้

   
และด้วยสายลับสองหน้า จะสามารถส่ง "สายลับกำจัดได้"
นำข่าวลวงไปถึงข้าศึกได้

   
ด้วยวิธีดังกล่าว จะสามารถใช้ "สายลับมีชีวิต"
ได้ด้วยในจังหวะอันเหมาะสม

"พึงต้องปฏิบัติสายลับสองหน้าโดยอิสระที่สุด"
งานราชการลับเป็นเรื่องสำคัญในการทำสงคราม
ด้วยสายลับ กองทัพได้อาศัยดำเนินงานศึกได้ทุกระยะ
"กองทัพที่ปราศจากสายลับ
ไม่ผิดอะไรกับคนที่ปราศจากตาและหู"

1



Create Date : 01 กันยายน 2552
Last Update : 1 กันยายน 2552 23:56:30 น. 0 comments
Counter : 949 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kross_ISC
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 79 คน [?]




Blog จับฉ่ายของ Kross ครับ เทคโนโลยี, การทหาร,Military Expert, การ์ตูน, Anime, Manga, Review, Preview, Game, Bishojo Game, Infinite Stratos (IS), Hidan no Aria, Light Novel (LN)

ติดตามเพิ่มเติมได้ทาง Twitter ที่ @PrameKross
New Comments
Friends' blogs
[Add Kross_ISC's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.