เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
ชี้ชัดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันผลาญงบฯประเทศอื้อซ่า!





ผลวิจัยชี้ชัดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันผลาญงบประเทศ-ผู้ป่วย ระบุ สูญเสียเม็ดเงินมหาศาลในการดูแลรักษา เฉลี่ยผู้ป่วย 1 รายเป็นภาระรัฐมากกว่า 1 แสนบาทในการนอนโรงพยาบาลรัฐครั้งแรก เผยผลการศึกษาคนไข้ 330 ราย ต้นทุนการดูแลรักษาทะลุ 70 ล้านบาทในปีแรก ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในการทำงานเป็นเงินมากกว่า 14 ล้านบาท





นพ.พงศ์ชัย อนุกูลสวัสดิ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่อง “ต้นทุนของการรักษาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันในประเทศไทย” โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่า นอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันจะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และทั่วโลกอันเนื่องมาจากมีอัตราการนอนโรงพยาบาล อัตราการตายที่สูง และเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุแล้ว ยังเป็นภาระใหญ่หลวงด้านงบประมาณในการดูแลรักษาทั้งของรัฐบาลและผู้ป่วยด้วย

การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในไทย เพื่อจะหาต้นทุนการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันในประเทศไทย โดยจะคำนวณต้นทุนการรักษาโรคนี้ตลอดชีวิตของผู้ป่วย ด้วยวิธีการคำนวณต้นทุนทั้งจากมุมมองของรัฐบาลในการให้บริการการรักษาทางการแพทย์โดยตรงทั้งหมดที่หน่วยบริการของรัฐเป็นผู้จ่าย เช่น ต้นทุนค่ายา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การนอนโรงพยาบาล การผ่าตัด การทำหัตถการทางการแพทย์ ตลอดจนค่าแรงของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในหน่วยบริการ และจากมุมมองภาระทางสังคมทั้งหมดที่รัฐบาลและผู้ป่วยเป็นผู้จ่าย ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการแพทย์โดยตรงหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าโดยสาร ค่าจ้างคนดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ค่าปรับปรุงบ้านผู้ป่วยให้เหมาะกับสภาพความเจ็บป่วย ตลอดจนการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต

“จากการศึกษาเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันของโรงพยาบาลรามาธิบดีที่รับรักษาไว้เป็นผู้ป่วยใน ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2545-ธันวาคม 2546 จำนวน 330 เวชระเบียน พบว่าต้นทุนทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย 330 คน ในระหว่างการนอนโรงพยาบาลครั้งแรกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 36.5 ล้านบาท ในช่วง 1 ปีแรกเป็น 55.1 ล้านบาทและตลอดช่วงเวลาการติดตามการรักษาเป็น 62.4 ล้านบาท โดยต้นทุนส่วนใหญ่มาจากการบริการดูแลรักษาในโรงพยาบาล การฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ และต้นทุนค่ายา”

นพ.พงศ์ชัย กล่าวต่อว่า จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยต้นทุนตรงทางการแพทย์ของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันต่อคนไข้ 1 ราย ในระหว่างการนอนโรงพยาบาลครั้งแรกจะเป็นเงินจำนวนมากถึง 110,682 บาท ในช่วง 1 ปีแรกเป็น 167,150 บาท และตลอดการติดตามที่มีอยู่ในเวชระเบียนเป็น 189,020 บาท

จากการทบทวนเวชระเบียน 330 เวชระเบียน พบว่า มีผู้ป่วย 59 รายเสียชีวิตในปีแรก ส่งผลให้สูญเสียโอกาสในการทำงานให้เกิดรายได้ตั้งแต่ 37-365 วัน ประมาณเป็นความสูญเสีย 4,039,512 บาท และถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิต หากก็เจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล ทำให้สูญเสียโอกาสการทำงานให้เกิดรายได้ในปีแรกรวมกันประมาณ 5,818 วัน คิดเป็นความสูญเสียประมาณ 1,457,210 บาท ส่งผลให้ต้นทุนโดยอ้อมอันเกิดจากการสูญเสียโอกาสในการทำงานอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันในปีแรกสูงถึง 14,231,633 บาท

“เมื่อรวมต้นทุนทั้งหมดของการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน ทั้งต้นทุนตรงทางการแพทย์ ต้นทุนโดยตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ และต้นทุนโดยอ้อม จะพบว่าการดูแลรักษาผู้ป่วย 330 คนจะสูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 70.8 ล้านบาท ในปีแรก ขณะที่ปีที่ 2 จะสูญเสียประมาณ 24.3 ล้านบาท”

ด้าน นพ.ปิยมิตร ศรีธรา ที่ปรึกษาโครงการวิจัยดังกล่าว จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า แม้ต้นทุนในการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจฉับพลันในระยะแรกจะสูง และค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากการจัดบริการดูแลรักษาในขณะผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ถ้าคาดคะเนไปตลอดอายุของผู้ป่วยพบว่า ในระยะยาวก็ยังมีต้นทุนการดูแลรักษาที่สูงมากเช่นกัน ดังผลการศึกษาที่พบว่าร้อยละ 38 ของผู้ป่วยที่มีชีวิตรอดจากโรคหลอดเลือดหัวใจฉับพลันในระยะแรกจะต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะๆ

นอกจากนั้น ต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนทางการแพทย์ที่รัฐเป็นผู้จ่าย เช่น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการขาดงานอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือตาย หรือต้นทุนที่ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้จ่ายก็สูงมาก และอาจสูงกว่าต้นทุนตรงทางการแพทย์ที่รัฐเป็นผู้จ่ายเสียอีก

“ทางแก้เพื่อลดต้นทุนของสังคมในการดูแลโรคนี้จึงควรเน้นไปที่การป้องกันโรค การกำเริบของโรค และให้บริการการรักษาทางการแพทย์อย่างเต็มที่ในครั้งแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เพื่อลดอัตราการรักษาตัวซ้ำในระยะหลังซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง” นพ.ปิยมิตร กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดด้านข้อมูลที่เป็นผู้ป่วยเฉพาะของโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ และตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ได้มีการใช้ยาที่ประเทศไทยผลิตได้เองในรายการยาที่เป็นไปได้ ส่งผลให้ต้นทุนอาจยังต่ำกว่าความเป็นจริงที่มีการใช้ยาต้นแบบที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ





Create Date : 11 กันยายน 2550
Last Update : 11 กันยายน 2550 17:41:45 น. 0 comments
Counter : 1852 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.