|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
|
|
|
|
|
|
|
สร้างกำลังใจ...แด่เพื่อนร่วมงาน
ในทุกๆ องค์กร ย่อมต้องการให้พนักงานของตนรักองค์กร และมีความุม่งมั่นตั้งใจทำงาน
คำถาม ก็คือว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานของเรารักองค์กรมากน้อยแค่ไหน จะวัดกันอย่างไรล่ะ
ถ้าเราดูตามองค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต ซึ่งมีอยู่ 7 ปัจจัยประกอบด้วย QCDSMEE
ในที่นี้ ผมจะขอพูดถึงเฉพาะตัว M ซึ่งก็คือ Morale ขวัญและกำลังใจของพนักงานนะครับ
องค์กรที่พนักงานมีขวัญกำลังใจดี ย่อมเป็นองค์กรที่พนักงานรักองค์กร และยินดีที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่อย่างแน่นอน
ขวัญกำลังใจของพนักงานสามารถที่จะวัดออกมาได้ด้วยเตรื่องมือ ที่เรียกว่า Morale Survey
หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Productivity Climate Survey คือ ใช้ในการสำรวจบรรยากาศการเพิ่มผลผลิตในองค์กร
หรือพูดง่าย ๆ คือ เอาไว้วัดขวัญกำลังใจของพนักงานนั่นแหละครับ
ก่อนที่เราจะไปถึงตัวแบบสำรวจ เรามาลองดูปัจจัย ที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานกันก่อน ซึ่งมีปัจจัยทั้งสิ้น 9 ปัจจัยด้วยกันดังนี้ครับ
1.เป้าหมายที่ชัดเจน (Clarity of Goals)
พนักงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับทราบถึงเป้าหมาย นโยบาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ขององค์กร
พนักงานที่สามารถเข้าใจได้ว่างานที่ตนรับผิดชอบมีส่วนสำคัญอย่างไร ในการทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
ก็จะทำงานอย่างเต็มที่ และรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กร
หน้าที่ขององค์กร คือ การแปลเป้าหมายขององค์กรออกมาเป็นงานที่แต่ละคนรับผิดชอบได้อย่างชัดเจน
2.ความน่าสนใจและความท้าทายของงาน (Job interest and Challenge)
ปัจจัยนี้ คือ ดูความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน
สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ จากอัตราการเข้าออกของพนักงาน และความท้าทายของเนื้องานก็เป็นส่วนสำคัญ
องค์กรที่งานมีความท้าทาย พนักงานจะมีความสามารถในการแก้ปํญหา
และใช้ความคิดสร้างสรรค์ และจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรต่อไป
3.การให้ผลตอบแทน (Reward and Recognition)
อันนี้คงจะพูดกันยากนะครับ เพราะใคร ๆ ก็อยากได้ผลตอบแทนเยอะ ๆ ทั้งนั้น
สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ผลตอบแทนที่เป็นธรรม
เทียบดูว่า ผลตอบแทนของเราในตำแหน่งลักษณะเดียวกัน ตลาดแรงงานมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
และอีกประเด็นสำคัญคือ องค์กรมีแนวทางในการตอบแทนผู้ที่ทำผลงานได้ดีอย่างไรบ้าง
อาจจะไม่อยู่ในรูปแบบของตัวเงินนะครับ อาจจะทำป้ายประกาศ ยกย่องเป็น พนักงานดีเด่นประจำเดือน
หรือ อาจจะมีการมอบใบประกาศเกียรติคุณก็ได้นะครับ
4.การพัฒนาบุคลากร (Personal Development)
องค์กรมีการเสริมสร้างศักยภาพให้พนักงานมากน้อยแค่ไหน
มีแผนการฝึกอบรมให้แก่พนักงานหรือไม่
พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจในการวางแผนการฝึกอบรมของตัวเองหรือไม่
และถ้ามีการฝึกอบรมให้แก่พนักงานแล้วควรต้องมีการวัดผลด้วยว่า การฝึกอบรมช่วยพัฒนาพนักงานอย่างแท้จริงหรือไม่ อย่างไร
5.ความสัมพันธ์ในการทำงาน (Working Relation)
ความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมถึงการให้ความร่วมมือ บรรยากาศในการทำงาน มีผลโดยตรงต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน
ความสัมพันธ์ในการทำงานพิจาณาได้ใน 2 ระดับหลัก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บริหาร
และความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ความสัมพันธ์นี้มีผลโดยตรงต่อการทำงานแน่นอนครับ
6.ความก้าวหน้าของงานที่ทำอยู่ (Job Advancement)
โอกาสที่จะได้เลื่อนตำแหน่ง หรืออนาคตในการทำงานที่ดีกว่า
ย่อมสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานที่จะทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่เพื่อองค์กร
ซึ่งความก้าวหน้านี้ต้องเป็นความก้าวหน้าที่วัดมาจากผลการทำงานนะครับ
หากองค์กรใดที่พนักงานได้เลื่อนขั้นโดยที่ไม่มีผลงาน หรือ เพียงแค่รู้วิธีที่จะนำเสนอแก่นาย
ขวัญกำลังใจของคนที่ทำงานจริง ๆ มันย่อมต้องตกลงอย่างแน่นอน
7. ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร (Management Credibility)
ปัจจัยนี้ ดูที่ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร ดูจากความโปร่งใส ความยุติธรรมในการบริหารงาน
รวมถึงการผลักดันให้เกิดการกระทำในนโยบายที่ผู้บริหารได้แถลงไปแล้ว
หากนโยบาย หรือสิ่งใดที่ผู้บริหารได้ประกาศออกไปแล้ว และไม่มีการทำงานรองรับ หรือไม่มีการดำเนินการต่อ
ความน่าเชื่อถือของผู้บริหารจะลดลง และส่งผลให้พนักงานไม่มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
8.การสื่อสารในองค์กร (Feedback and Communication)
องค์กรที่เกิดการสื่อสารแบบสองทาง ย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจกันมากกว่า องค์กรประเภทนายสั่งให้ลูกน้องทำ อย่างแน่นอน
ประเด็นนี้ ควรจะพิจารณาคู่ของการสื่อสารออกเป็นหลาย ๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง, การสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน,
รวมไปถึง ถ้ามีข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น หรือ ไอเดียใด ๆ จากพนักงานที่จะนำไปปรับปรุงงานได้
ความคิดเห็นเหล่านั้นมีช่องทางที่จะส่งผ่านไปถึงผู้บริหารหรือไม่ อย่างไร
9.ความจงรักภักดีต่อองค์กร (Loyalty and Commitment)
ปัจจัยนี้ อาจจะวัดกันยากสักหน่อยนะครับ แต่เราจะสังเกตได้จากอัตราการเข้าออกของพนักงาน
อัตราการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งที่เป็นกิจกรรมสวัสดิการ เช่น งานกีฬาสี, งานปีใหม่ขององค์กร
และกิจกรรมประเภทที่ใช้ปรับปรุงงาน เช่น กิจกรรม 5ส, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ เป็นต้น
องค์กรที่พนักงานใส่ใจ และให้ความสำคัญกับการทำงาน เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
พนักงานย่อมต้องมีระดับขวัญและกำลังใจที่ดี จึงจะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีตามไปด้วย
ผ่านครบไปแล้วทั้ง 9 ปัจจัย ที่จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงาน
ทั้ง 9 ปัจจัยนี้เราสามารถนำมาทำเป็นแบบสอบถาม หรือ เรียกว่า Morale Survey
โดยเนื้อหา ของแบบสอบถาม ก็คือการเอาประเด็นทั้ง 9 มาตั้งเป็นข้อคำถามให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร
ที่มา จาก ; จดหมายข่าวรายเดือน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปีที่ 9 ฉบับที่ 95 กุมภาพันธ์ 2551
จดหมายข่าวรายเดือน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปีที่ 9 ฉบับที่ 96 มีนาคม 2551
เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ
Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2552 |
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2552 17:19:15 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1309 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]

|
|
|
|
|
|
|
|
|