อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

มาลองเริ่มแบบทดลอง DIY บทแรก กันดูดีกว่าครับ ตอนที่ 2

ากที่นัดกันไว้ใน มาลองเริ่มแบบทดลอง DIY บทแรก กันดูดีกว่าครับ ตอนที่ 1 ว่าอีก 10 วัน เราจะกลับมาเจอกันอีกหน

พร้อมกับการลงมือภาคปฏิบัติจริงๆ จังๆ ซักกะที กับโต๊ะทำงานตัวนี้








ถ้างั้นเครื่องมือ และอุปกรณ์พร้อมกันแล้ว เราก็มาเริ่มลงมือทำกันเลยดีกว่าครับ

(หลังจากอู้ไปซะ 10 วัน 5555555 )

โดยในภาพประกอบ ผมจะใช้สัญญลักษณ์สี แทนชิ้นงานแต่ละส่วนนะครับ เพื่อความชัดเจน

(มิได้หมายความว่า ในแผ่นไม้ 1 แผ่น มันจะมีหลายสีอย่างนี้นะ)




1.เริ่มแรก นำแผ่นไม้ที่เราซื้อมา วัดขนาดตัดตามแบบในภาพครับ







2.ตัดแบ่งแผ่นไม้ออกเป็น 2 ส่วน ก่อน ด้วยเลื่อยวงเดือน

โดยตัดแบ่งส่วนที่เป็นชิ้นงานสีน้ำตาลออกมา จะได้เป็นแผ่นไม้ย่อย 2 ชิ้น ตามภาพครับ








3.ชิ้นส่วนงานสีน้ำตาล นำมาซอยแบ่งเป็นชิ้นงาน 2 ชิ้น ที่ขนาดความกว้างเท่ากัน 600 มม.

ซึ่งชิ้นส่วนนี้ เราจะนำไปทำเป็นขาโต๊ะครับ








4.สำหรับแผ่นไม้อีกชิ้น นำมาซอยแบ่งเป็นชิ้นงาน 2 ชิ้น เหมือนเดิมครับ โดยซอยขนาดตามรูป





ซึ่งชิ้นงานสีอมม่วงนั้น จะเป็นพื้นของโต๊ะทำงาน

ส่วนแผ่นไม้เขียว-ส้ม ที่เหลืออยู่ ให้นำไปตัดขนาดความยาวให้สั้นลงอีกที

โดยให้ความยาว จากเดิม 1670 มม. เหลือ 1631 มม.





5.เมื่อตัดแผ่นเขียว-ส้มแล้ว นำมาซอยขนาด 400 และ 50 มม. ตามภาพ

ก็จะได้เป็นชิ้นงานบังตา และคิ้วค้ำพื้น อย่างละ 1 ชิ้น












เอาล่ะครับ ขั้นตอนการตัดเตรียมชิ้นงานเสร็จแล้ว

เท่ากับว่า ตอนนี้ เราจะต้องมีชิ้นส่วนงานทั้งหมด 5 ชิ้น ได้แก่


1.พื้นโต๊ะ ขนาด 750 x 1670 มม. จำนวน 1 แผ่น

2.ขาโต๊ะ ขนาด 600 x 730 มม. จำนวน 2 แผ่น

3.บังหน้า ขนาด 400 x 1631 มม. จำนวน 1 แผ่น

4.คิ้วรับพื้น ขนาด 50 x 1631 มม. จำนวน 1 แผ่น



นำชิ้นงานทั้ง 5 ชิ้น ไปปิดขอบเอดจ์พีวีซี ที่สันขอบความหนาไม้โดยรอบทั้ง 4 ด้าน

โดยวิธีการใช้กาวยาง ทาที่สันขอบความหนาไม้ และทาที่เอดจ์พีวีซี ให้ทั่วผิวหน้าที่จะปิด

ทิ้งไว้ให้กาวแห้งประมาณ 20 นาที ค่อยนำมาปิด โดยให้เอดจ์พีวีซี ที่มีหน้ากว้างกว่าขอบความหนาไม้

(เอดจ์พีวีซี ที่แนะนำให้ซื้อมา จะมีหน้ากว้างอยู่ที่ 22 มม. ซึ่งจะกว้างกว่าความหนาของไม้อยู่ครับ)

ปิดเกินขอบไม้ ทั้งด้านบน-ด้านล่างไว้ก่อน แล้วค่อยนำคัตเตอร์มากรีดเฉือนออกให้เสมอไม้





เอ่อ....... มันยาวแล้วนะครับ ขอขึ้นตอนใหม่ได้มั้ย

...

............

...................

.......

..


แหะ...แหะ... ต่อเลยก็ได้ครับ (ไม่งั้น โดนอาฆาตแหงมๆ) เอ้า... ปิดขอบเสร็จแล้ว มาเลย เริ่มลงมือเจาะรู ใส่อุปกรณ์ยึดกัน




1. พื้นโต๊ะ





รูกลมเล็ก คือ รูเจาะ ขนาด Dia 5 มม. เจาะลึก 12 มม. ครับ

ส่วนรูกลมใหญ่ Dia 8 มม. เจาะลึก 10 มม.




2. ขาโต๊ะ






ขาโต๊ะ จะแยกแบบการเจาะ เป็นขาซ้าย-ขวา นะครับ

ระยะการเจาะซ้าย-ขวา ไม่แตกต่างกัน เพียงแค่เป็นการสลับด้านการเจาะเท่านั้นครับ ในรูปจะมีขนาดรูเจาะอยู่ 3 ขนาด นั่นคือ

รูกลมเล็กสุด นั่นคือ รูเจาะ ขนาด Dia 5 มม. เจาะลึก 12 มม. ครับ

ส่วนรูกลมขนาดกลาง Dia 8 มม. เจาะลึก 10 มม.

สำหรับรูใหญ่สุด นั่นคือ รูเจาะ Dia 15 มม. เจาะลึก 15 มม.


ส่วนรูปภาพที่ด้านข้างรูปบน อันนั้น คือ ด้านความหนาของชิ้นงานนะครับ

ซึ่งจะต้องมีการเจาะรูเข้าไปด้วย โดยขนาดรูเจาะที่ใช้ จะเป็นขนาด Dia 8 มม. ลึก 35 มม.




ซึ่งจะมีรูเจาะอยู่ 3 รู ที่เจาะเสร็จแล้ว จะเป็นรูทะลุ เชื่อมเข้าไปถึงรูเจาะขนาด 15 มม. ที่เราเจาะไว้แล้ว ตามรูปนะครับ






3. บังหน้า





สำหรับบังตา จะมีการเจาะที่ด้านหน้าชิ้นงาน และสันขอบความหนา 3 ด้านครับ

โดยการเจาะที่ด้านหน้าชิ้นงาน ให้เจาะรูขนาด Dia 15 มม. ลึก 15 มม.

สำหรับด้านข้าง ก็คือ ให้เจาะสันด้านที่มีรูเจาะบนด้านหน้านั่นล่ะครับ ถ้าดูตามรูป ก็คือ เจาะด้านสันความยาว 1 ด้าน, สั้น 2 ด้าน

ขนาดรูเจาะ เช่นเดิมครับ ขนาด Dia 8 มม. ลึก 35 มม.







4. คิ้วรับพื้น





เนื่องจาก ชิ้นนี้ เป็นชิ้นงานเล็ก ผมกลัวเกิดอันตรายสำหรับมือใหม่ ไม่ให้เจาะนะครับ

แต่ขอให้ไปใช้ฉากเหล็ก ในการยึดชิ้นงานแทน โดยใช้ฉาก 5 ตัว ยึดหัว-ท้าย ด้านสั้น, และเฉลี่ยตำแหน่ง 3 ตัว ที่ด้านยาว





ตอนนี้ ขั้นตอนในการเตรียมชิ้นงาน สำหรับประกอบเป็นตัวทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วครับ

ที่เหลือก็คือ การติดอุปกรณ์ เพื่อจะประกอบให้เป็นตัวโต๊ะ โดยส่วนรูเจาะขนาด Dia 5 มม. ให้ขันแกนเกือกม้าติดเข้าไปตามรูปครับ





ส่วนรูเจาะ ขนาด Dia 8 มม. ทั้งหมด (ยกเว้นรูเจาะ ที่ไปทะลุเชื่อมกับรูเจาะ 15 มม. นะครับ) ให้ตอกเดือยไม้ ใส่เข้าไป

และรูขนาดสุดท้าย Dia 15 มม. ให้ใส่เป็นตัวเฮ้าส์ซิ่ง ลักษณะตามรูปครับ







เมื่อเตรียมชิ้นงานทั้งหมดเสร็จแล้ว เริ่มแรกโดยนำชิ้นส่วนขา กับบังหน้ามาประกอบกันก่อนครับ

จากนั้นตามด้วยคิ้วรับพื้น ที่ยิงฉากรอไว้แล้ว นำมายิงยึดภายในระหว่างขาอีกครั้ง ด้วยตะปูเกลียว (อยู่ตรงข้ามกับบังหน้านะครับ)

ขั้นตอนสุดท้าย ก็คือ วางพื้นบนใส่ตามตำแหน่ง ให้รูเดือยตรงกัน

แล้วให้ขันเฮ้าส์ซิ่งเข้าที่ตำแหน่งล็อคทั้งหมด เท่านี้ก็เสร็จพิธี ได้โต๊ะทำงาน 1 ตัวแล้วครับ



เย้................... เสร็จแล้ว ถ้ามีอะไรสงสัย เชิญถามได้ที่ หน้าสำหรับตอบคำถาม เลยนะครับ




เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ




 

Create Date : 06 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 0:59:50 น.
Counter : 6030 Pageviews.


ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.