|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
อีกก้าว... ของการเลือกเครื่องมือ D.I.Y เฟอร์นิเจอร์
มาว่ากันต่อนะครับ ถึงเรื่องของการเลือกเครื่องมือ D.I.Y. เฟอร์นิเจอร์
ส่วนนี้ จะเป็นภาคต่อเนื่องจาก กะการเริ่มต้น ลองทำเฟอร์นิเจอร์ นะครับ
ทีนี้ เมื่อเรามีประสบการณ์อยู่ในระดับนึงแล้ว มาลองดูเครื่องมือที่จะหาซื้อมาไว้เพิ่มเติมกันต่อดีกว่าครับ
เครื่องมือที่อยากจะแนะนำให้ซื้อเป็นลำดับต่อไป จะเป็นเครื่องมือที่เกี่ยวกับการขึ้นรูป, เครื่องมือในการช่วยประกอบ
แต่...ยังไม่ก้าวขั้นไปถึงงานไม้จริงนะครับ ขอเป็นพวกงานบอร์ดก่อน
เพราะเครื่องมือ ที่ใช้กับงานไม้จริง จะเป็นเครื่องมือที่ต้องมีความเร็วรอบสูง
ให้มีความรู้สึกว่า ตัวเองชำนาญการทำงานเหล่านี้จริงๆซะก่อน
แล้วค่อยก้าวขึ้นไปซื้อเครื่องมืองานไม้จริง จะได้ไม่เกิดอันตรายครับ
และ.....แน่นอนครับ ผมยังคงแนวความคิดเดิม ในการเลือกซื้อว่า
การซื้อเครื่องมือ เป็นการลงทุนเงินก้อน มากกว่าการซื้อวัสดุ-อุปกรณ์
รวมถึง การเลือกเครื่องมือบางชนิด ที่จะนำมาใช้นั้น ไม่สามารถมองแค่เพียงใช้งานได้
เรายังต้องมองไปถึงการใช้งานสะดวก,หลากหลาย และที่สำคัญ.....
ต้องปลอดภัย และป้องกันอันตรายได้ดี ระหว่างการใช้งาน
เอาล่ะครับ จั่วหัวนำร่องกันไปแล้ว มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เริ่มแรกก่อนเลย
1.ปั๊มลม

อันนี้ จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่เครื่องมือสำหรับทำงาน แต่มันเป็นอุปกรณ์ช่วยในการใช้เครื่องมือ ที่ผมจะแนะนำต่อไป
ส่วนนี้เลือกซื้อมือ 2 มาใช้งานก่อนก็ได้ครับ ซักขนาด 3-5 แรงม้า ราคาไม่เกิน 5,000.- แน่ๆ
2.ปืนยิงตะปูขาเดี่ยว

อันนี้ แนะนำให้ซื้อมือ 1 ของดีๆ ไปเลยครับ มันยังใช้ได้อีกนาน ราคาจะอยู่ตั้งแต่ 4,500 ถึงประมาณ 10,000 บาท
ให้เลือกรุ่นที่สามารถใช้ยิงกับตะปูหลายขนาดความยาวหน่อยนะครับ
(ขนาดความยาวมาตรฐาน จะมี F10, F15, F20, F25 และF30 โดยตัวเลขหลัง คือความยาว หน่วยเป็น มม. ครับ)
3.ไขควงลม

อันนี้ จะเป็นเหมือนอุปกรณ์ที่เสริมเข้ามา เพื่อช่วยในการทำงานได้สะดวกขึ้นเท่านั้นเองครับ
อันนี้ อาจจะซื้อมือ 1 หรือ เก็บเงินไว้ก่อน ซื้อมือ 2 มาแก้ขัดก่อนก็ได้
4.เลื่อยฉลุ (Jig Saw)

ช่วยได้เยอะครับ สำหรับการขึ้นรูปต่างๆ กับเลื่อยฉลุ ที่จะนำมาใช้
ตัวนี้ เป็นเครื่องมือไฟฟ้า ราคาอยู่ระหว่าง 1,500-8,000 บาท
พยายามเลือกที่อัตราช่วงชัก ความเร็วไม่น้อยกว่า 3,000 รอบ/นาทีครับ
เวลาใช้งาน ต้องเลือกใช้ใบเลื่อยฉลุด้วยนะครับ ให้เลือกซื้อใบเลื่อยฟันละเอียดมาใช้งาน จะเหมาะสมกว่า
5.Trim Router

ต้องขอเรียกทับศัพท์นะครับ เพื่อความชัดเจน ถ้าดูตามรูปแบบ มันก็คือ เราท์เตอร์ขนาดเล็กนั่นเอง
จุดประสงค์เครื่องดั้งเดิม จริงๆแล้ว จะใช้สำหรับแค่เพียงเก็บขอบจากการปิดเอดจ์พีวีซีเท่าั้นั้น

แต่มีการประยุกต์นำมาใช้ในการเจาะรู หรือขึ้นรูปที่มีการกินเนื้อไม้ที่ไม่ใหญ่มากได้

ด้วยความเร็วรอบที่มีอยู่ประมาณ 10,000-25,000 รอบ/นาที (ถ้าเป็นเราท์เตอร์ตัวใหญ่ ความเร็ว 22,000 อัพครับ)
ทำให้เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ความระมัดระวังอยู่ในระดับนึงทีเดียว
ราคามือ 1 อาจจะสูงนิดหน่อยครับ แต่แนะนำให้ซื้อมือ 1 ของดีเลยดีกว่า สำหรับ Trim Router ตัวนี้
ถึงแม้ อนาคต เราจะซื้อเครื่องเราท์เตอร์ตีบัวตังใหญ่ก็ตาม
อย่างไร ตัวนี้ยังมีประโยชน์อยู่แน่ๆ ครับ
6.ตัวจับชิ้นงาน

เป็นตัวช่วยจับชิ้นส่วน เวลาเราทำงานครับ ไม่ว่าจะตีขึ้นรูป หรือเจาะรูต่างๆ
จะมีรูปแบบทั้ง C-Clamp และ F-Clamp เชื่อว่าพวกเราคงเคยเห็นมาอยู่บ้างแล้ว
แต่จะมี Clamp อีกประเภท ที่จะมาแนะนำไว้ด้วยครับ ตัวนี้ จะนิยมใช้ในโรงงานเป็นส่วนใหญ่ Toggle Clamp

ใช้งานสะดวกครับ จะมีทั้งแบบกดชิ้นงาน,ดันชิ้นงาน หรือดึงไว้ เพียงแต่ต้องยึดติดไว้กับโต๊ะทำงานก่อนเท่านั้นเอง
ราคาก็ไม่แพงครับ ลองเสิร์ชหาดูแล้วกัน น่าจะเจออยู่
พอแค่นี้ก่อน สำหรับก้าวที่ 2 ของการเลือกซื้อเครื่องมือนะครับ
เดี๋ยวซักพัก ผมจะเขียนก้าวต่อไป เพิ่มเติมให้อีกทีนะ 
เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ
Create Date : 01 กันยายน 2552 |
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 1:00:34 น. |
|
0 comments
|
Counter : 5426 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]

|
|
|
|
|
|
|
|
|