อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 

เห็นถามกันบ่อยจัง... ว่าทำอย่างไร ภาคกลาง กรุงเทพฯ,ปริมณฑล

หุ.....หุ..... หลังจากภาคปฐมบท ภาคแรกไปแล้ว

เห็นถามกันบ่อยจัง... ว่าทำอย่างไร ภาคปฐมบท

ด้วยความเกรงกลัว เป็นอย่างยิ่ง ว่าจะโดนกด และดันอย่างหนัก

ทำให้ต้องรีบนั่งจิ้มคีย์บอร์ด เขียนถึง 2 รุ่น ที่เหลือต่อโดยด่วน

(เชื่อผมเถอะ ว่าอันนี้ ด่วนที่สุดแล้วนะครับ กว่าโกแก่ๆ คนนึง

จะนั่งจิ้มทีละตัวออกมาได้เนี่ย ลำบากยากเย็นแสนจะเอ่ยเอื้อนนน...)

เอ้า.... พล่ามน้ำท่วมทุ่งมาซะเยอะละ เดี๋ยวผมจะโดน (ตื้บ) ไม่ใช่น้อย

เข้าเรื่องที่ค้างอยู่กันต่อเลยดีกว่าครับ อุปกรณ์ชั้นลอยติดผนัง





สำหรับอุปกรณ์ที่เหลืออีก 2 รุ่น ผมมองว่าเป็นประเภทที่ใช้งานอย่างเดียวกัน

นั่นคือ ใช้กับชั้นลอย ที่เป็นงานขึ้นโครง

(จะสะดวกกว่า ที่เป็นแผ่นตันครับ เพราะอะไร เดี๋ยวตามอ่านดูแล้วกันครับ)


2.แป้นรับชั้น ติดตั้งแบบซ่อน พร้อมเพลทยึด และตัวปรับด้านข้าง (Shelf support for invisible installation, with mounting plate and side adjusment





เห็นอุปกรณ์แล้วใช่มั้ยครับ นั่นแหละครับ สาเหตุที่ผมบอกไว้ว่า ใช้กับงานขึ้นโครงจะง่ายกว่า

เพราะถ้าใช้กับงานแผ่นสำเร็จ ที่เป็นแผ่นไม้ตัน

นอกจาการเจาะฝังแกนเข้าไปแล้ว ยังต้องมีการตีเราท์เตอร์เพื่อฝังแป้นด้านหลังเข้าไปอีก

ซึ่งการตีเราท์เตอร์ฝังแป้นเข้าไป ค่อนข้างจะทำยาก และวุ่นวายพอสมควร

เพราะฉนั้น ถ้าทำชั้นเป็นงานโครง ใช้วิธีเบิ้ลโครง 2 ชั้น

โดยโครงนอกสุด เป็นแค่โครงหลอก แบ่งช่วงไว้ให้เท่ากับความยาวของแป้น





ซึ่งถ้าดูจากภาพด้านบน นั่นก็หมายถึงโครงหลอกด้านนอกสุด

ให้เว้นช่วงห่างไว้ประมาณ 75 มม. ความหนาโครงหลอก 12 มม.

สำหรับโครงเส้นใน ที่โครงหลอกเบิ้ลทับอยู่ ก็เป็นโครงเต็มเส้นยาวปกติ

เจาะทะลุรูกลม Dia เท่าแกน คือ 12 มม. ความลึกรูเจาะ 103 มม.






สำหรับรายละเอียดของอุปกรณ์ ควรใช้กับชั้นที่มีความหนาอย่างน้อยประมาณ 25 มม.

รับน้ำหนักได้ประมาณ 50 - 180 กก./ตรม.

สำหรับการปรับระดับสูง-ต่ำ จะปรับโดยจุดที่ใช้ยึดตะปูเกลียว

ที่วงสีแดง ไว้ในภาพด้านล่างนะครับ





สำหรับการปรับขยับซ้าย-ขวา สามารถปรับได้ด้วยการขยับตัวแกนทั้งชุด

ซึ่งปลายแกน จะมีลักษณะเสมือนเพลาลูกเบี้ยว ไว้ปรับระยะด้านข้าง ประมาณ 3 มม.

และล็อคระยะด้วยน็อตตัวเล็กๆ 2 ตัว ดังภาพด้านล่างครับ







เอ่อ...... จบไปอีกรุ่นแล้วนะครับ เหลือรุ่นสุดท้าย ติดไว้ก่อนเช่นเคย

จริงๆแล้ว รุ่นที่เหลือนั้น ลักษณะการใช้งาน จะคล้ายๆกัน กับรุ่นนี้เลยล่ะ

(ไม่ต้องเขียนได้มะ ข้ออ้างนี้ สงกะสัยฟังไม่ขึ้นแหงม)


รอก่อนเช่นเคยครับ ไม่น่า(จะ)นานเกินรอครับ




เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2552
0 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 1:01:30 น.
Counter : 5399 Pageviews.


ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.