|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
Competency ที่สำคัญของผู้บริหาร ; ภาคที่ 1 Coaching
ทักษะการ Coaching และ Feedback เป็นหนึ่งใน Competency ที่สำคัญของผู้บริหาร
ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการชี้แนะ และสอนงาน ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการทำงาน ให้บรรลุตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร
ในขณะเดียวกัน การให้ Feedback หรือการเป็นกระจกสะท้อน
ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบว่า ตนเองมีพฤติกรรมการทำงานที่เป็นจุดเด่น
ควรได้รับการยกย่องชมเชยและเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ในด้านใด
หรือจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน ที่เป็นจุดด้อย เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร
กระบวนการสอนงาน ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากขึ้น
โดยสามารถเห็นผลของการสอนงานได้แบบจับต้องกันได้จริง ๆ และมีความชัดเจนมากขึ้น
ถือได้ว่าเป็นกระบวนการสอนงานที่เหนือชั้นนั้น
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอน ไม่ใช่เพียงแค่สอนงานเป็นและสอนตามขั้นตอนได้ดีเท่านั้น
แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีทั้งศาสตร์ และศิลป์ด้วย
การสอนงานที่ว่านี้เรียกว่า Coaching จะไม่เน้นที่การสอน
แต่เน้นที่การให้คำชี้แนะ โดยชี้แนะว่างานชิ้นนี้ควรจะต้องทำอย่างไร
และให้ลูกน้องนำไปคิดว่าขั้นตอนควรจะเป็นอย่างไร
มากกว่าการสอนว่าต้องทำแบบนี้นะ หนึ่ง สอง สาม...
นอกจากนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้แนะ ยังต้องรับบทบาทเป็น โค้ช
เพราะการชี้แนะให้ลูกน้อง แต่ละคนทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย
หรือปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้นนั้น เปรียบเสมือนการชี้แนะของโค้ชในเกมส์กีฬา
เช่น โค้ชของนักฟุตบอล มีหน้าที่สำคัญในการชี้แนะให้นักฟุตบอลแต่ละคนในทีม
ทำหน้าที่ของตนเองให้ได้ตามเป้าหมาย อันจะทำให้ทีมยิงประตูได้ตามที่ต้องการ
การจะเป็น โค้ช จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความศรัทธา, เชื่อถือและไว้วางใจกับลูกน้องขึ้นเสียก่อน
จากการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ โค้ชมืออาชีพ หลาย ๆ ท่าน
ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการชี้แนะ เพื่อให้ลูกน้องปรับปรุงผลงานได้ดีขึ้นนั้น คือ
การสร้างให้ลูกน้องมีความเชื่อถือ และศรัทธาในตัวเราก่อน
จากนั้นการ Coaching หรือชี้แนะ ก็ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก
ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชี้แนะกับผู้ถูกชี้แนะ และใช้เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น
การให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีต่อกัน, การสังเกต, การรับฟัง, การวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ
โค้ชที่ประสบความสำเร็จ ก็คือผู้ที่จะต้องได้รับความไว้วางใจ
ความศรัทธาและเชื่อถือ ขอให้มองย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน..
เมื่อเรายังเป็นเด็ก เราเคยหัดขี่จักรยานกันใช่มั้ย
การขี่จักรยานเป็นประสบการณ์หนึ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็ก ๆ
เนื่องจาก เราต้องพยายามรักษาการทรงตัวของรถจักรยาน
พร้อมกับการทำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในเวลาเดียวกัน
แต่ก็กลัวว่าหากสูญเสียการควบคุม หรือการทรงตัวไป
ก็จะล้มลงกระแทกเข้ากับพื้นแข็งๆ และเจ็บตัวได้
แต่....... คุณพ่อคุณแม่ก็ช่วยให้พวกเรารู้สึกกลัวน้อยลง
ด้วยการพูดให้กำลังใจว่า "ถ้าหนูขี่จักรยานเป็นแล้ว หนูจะรู้ว่าการขี่จักรยานเป็นเรื่องง่ายมากๆ เลย พ่อ(แม่)เชื่อว่าหนูทำได้แน่นอน"
หรือ "พ่อรู้ว่ามันน่ากลัว เพราะตอนที่พ่ออายุเท่าหนู พ่อก็เคยหัดขี่จักรยานเหมือนกัน แล้วพ่อก็ขี่มันได้"
การที่เด็ก ๆ ได้ยินเสียงของคุณพ่อ/คุณแม่ ซึ่งเป็นคนที่เขาไว้วางใจที่สุดบอกว่า
"ไม่ต้องกลัวนะ พ่อ(แม่)จะช่วยจับถ้าหนูล้ม"
เขาก็จะรู้สึกมั่นใจขึ้น และจะหันความสนใจจากความกลัวไปที่การฝึกขี่จักรยานให้เก่งแทน
ไม่ว่าเราจะช่วยให้เด็กหัดขี่จักรยานเป็น
หรือช่วยให้ลูกน้องทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
สิ่งสำคัญเริ่มที่การสร้างความไว้วางใจ ซึ่งสามารถสร้างขึ้นได้จากสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
- การมีความเชี่ยวชาญในงาน
พนักงานที่จะเรียนรู้เทคนิคการขาย จะรู้สึกมั่นใจในตัวท่าน
ถ้าท่านได้ชื่อว่า เป็นนักขายที่ประสบความสำเร็จ
- การทำตามสิ่งที่พูดเอาไว้ หรือทำตามที่รับปากไว้
ลูกน้องจะเชื่อถือในตัวท่านได้ และเห็นว่าท่านควรค่าแก่การเชื่อถือ เมื่อท่านได้ทำตามที่พูดหรือรับปากกับเขาไว้
ดังนั้น เมื่อใดที่ท่านพูดว่า "เอาล่ะ ผมจะทำงานส่วนนี้เอง แล้วคุณทำอีกส่วนที่เหลือนะ"
ท่านจะต้องแน่ใจว่า ท่านจะสามารถทำงานในส่วนที่ท่านพูดไว้ให้เสร็จเรียบร้อยได้ทุกครั้ง
- การแสดงความห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงการให้ความสนใจในความสำเร็จของลูกน้อง
โค้ชที่ดี ได้รับความไว้วางใจจากลูกน้อง เพราะเขาแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจในตัวลูกน้อง เช่น
เมื่อเขาจะขอให้ลูกน้องอยู่ทำงานในตอนเย็นหลังเลิกงาน
เขาจะใช้คำพูดว่า "ถ้าวันนี้จะขอให้อยู่ดึกกันสักหน่อย ไม่รู้ว่าคุณมีธุระอะไรหรือเปล่า"
หรือ อาจพูดว่า "งานนี้เป็นงานที่สำคัญมาก เย็นนี้คุณมีธุระอะไรไหม ผมอยากให้คุณอยู่ช่วยทำงานชิ้นนี้นะ"
การ Coaching มีผู้เกี่ยวข้องหลัก ๆ อยู่ 2 ฝ่าย ได้แก่
ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้า ซึ่งทำหน้าที่ชี้แนะ เรียกว่า Coach
และผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้รับการชี้แนะ เรียกว่า Coachee
และเพื่อให้รู้จักและเห็นภาพโค้ชชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ขอแนะนำ คุณซิคเว่ เบรคเก้ CEO ของ DTAC
ซึ่งเป็นหนึ่งในโค้ชมืออาชีพ และได้เขียนหนังสือเรื่อง "My life as a Coach"
ได้กล่าวว่า หน้าที่ของผู้บริหารก็เหมือนโค้ช ซึ่งต้องหาผู้เล่นเก่งๆ มาร่วมทีม
จัดสรรหน้าที่ของแต่ละคน ให้เหมาะสม และพยายามทำให้ทีมทำงานด้วยกันได้ไม่สะดุด
นั่นหมายถึง ทุกคนทำงานได้ ตามเป้าหมายของตนเองและทีมงาน
โค้ชในองค์กรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ ไม่ใช่ผู้สั่งการหรือผู้แก้ปัญหาให้ลูกน้อง
ซิคเว่ บอกว่า เมื่อก่อนเวลามีลูกน้องทำหน้าหมองๆ เดินเข้ามาหาในห้อง พร้อมกับปัญหาเขามักจะแก้ไขให้
ด้วยความที่เขาเป็นคนคิดเร็ว ทำเร็ว เขาจึงคิดเหมาไปเองว่าเขาแก้ปัญหาได้ดีกว่าและเร็วกว่า
ก็เลยรับมาแก้ให้เสร็จสรรพลูกน้อง จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น
แต่พอหลาย ๆ ครั้งเข้าเขาเริ่มรู้สึกว่า ในขณะที่ลูกน้องเดินออกจากห้องไปด้วยใบหน้าแช่มชื่น
ตัวเขากลับต้องนั่งหน้าเครียดอยู่กับปัญหากองโตแทนลูกน้อง
และที่สำคัญลูกน้องก็ไม่มีโอกาสในการใช้ความรู้
ทักษะในการคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเองได้เลย
และเมื่อเขาเกิดความคิดนั้น เวลามีลูกน้องเดินเข้ามาหาเขาพร้อมปัญหา
เขาจะยิ้มแย้มรับฟังอย่างดี (เช่นเดิม) แต่พอฟังจบปุ๊บ เขาจะถามกลับไปว่า
"คิดว่าอะไรคือ ต้นเหตุของปัญหา" และ "คิดว่าจะจัดการแก้ปัญหานั้นด้วยตัวเองได้อย่างไร"
ถ้าคิดไม่ออก เขาจะช่วยชี้แนะให้ แต่ตัวลูกน้องต้องเป็นคนลงมือทำเอง
และถ้าทำแล้วยังติดขัดอยู่อีก เขาก็ลงไปช่วยแก้ปัญหาให้ แต่ไม่ใช่ทุกครั้งแน่นอน
ซึ่งซิคเว่ บอกว่า วันนี้เขาไม่ต้องมานั่งเครียดอยู่คนเดียวอีกแล้ว
ในขณะเดียวกันลูกน้อง ก็ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหามากขึ้น
(หน้าอาจจะยังหมอง ๆ อยู่บ้างเมื่อออกจากห้อง แต่อีกหน่อยก็จะมีทักษะในการคิดและแก้ปัญหา ซึ่งหน้าตาก็จะสดใสตลอดไป) Win Win ทั้งสองฝ่าย
เอ่อ.... เหนื่อยจังเยยย พักกันที่เรื่อง Coaching ก่อนแล้วกันนะครับ
สำหรับเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับ Feedback และการทำให้เห็นพ้องกัน
เดี๋ยวผมขอแยกขึ้นเป็นอีกตอนแล้วกันนะจ๊ะ
ที่มา จาก ; จดหมายข่าวรายเดือน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปีที่ 9 ฉบับที่ 101 สิงหาคม 2551
เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ
Create Date : 25 มีนาคม 2552 |
|
0 comments |
Last Update : 25 มีนาคม 2552 8:31:08 น. |
Counter : 1256 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]
|
|
|
|
|
|
|
|
|